ส่วนที่ ๒
หนังสือ "พุทธธรรม" คือ "สัทธรรมปฏิรูป"

p10-68.jpg (10916 bytes)

 

ก่อนที่เราจะวิเคราะห์หนังสือ "พุทธธรรม" สมควรที่เราจะต้องทำความรู้จัก หรือทบทวนความจำ กันเสียก่อนว่า พระไตรปิฎก คืออะไร? พระไตรปิฎก ตามอรรถ แปลว่า ตระกร้าใส่พระพุทธพจน์ พระธรรมวินัย สามใบ

เนื่องจากสิ่งที่ต้องวิเคราะห์กันต่อไปนั้น เป็นกรณีที่เกี่ยวข้อง ด้วยเรื่องของ "พระไตรปิฎก" ฉะนั้น บางท่านแม้จะเป็นชาวพุทธ หรือ ไม่ใช่พุทธ ก็จะได้ทราบ เพื่อเป็นการทวนความทรงจำว่า "พระไตรปิฎก" คือที่รวบรวมพระธรรมวินัย ของ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า บรมศาสดา แห่งศาสนาพุทธ ที่ทรงเทศนาสั่งสอนพุทธสาวก รวมไปถึง คำอธิบายขยายความพระธรรมวินัย ให้กระจ่าง โดยพระอรหันตสาวก ซึ่งเรียกว่า อรรถกถา หรือ ฎีกา พระไตรปิฎก เมื่อแปลตามศัพท์ จะมีความหมายดังนี้ คำว่า ไตร แปลว่า สาม คำว่าปิฎก แปลว่า ตระกร้า รวมแล้วคือ ตะกร้า ๓ ใบ ซึ่งบรรจุพระธรรมวินัย ไว้แยกจากกัน เป็นส่วน ๆ ๓ ส่วนคือ

ตะกร้าใบที่หนึ่ง เรียกว่า พระสุตตันตปิฎก บรรจุพระสูตร คำเทศนาต่างๆ

ตะกร้าใบที่สอง เรียกว่า พระวินัยปิฎก บรรจุระเบียบปฏิบัติของพระสงฆ์

ตะกร้าใบที่สาม เรียกว่า พระอภิธรรมปิฎก บรรจุวิธีฝึกจิต และการพิจารณาสภาวธรรม

ทั้ง ๓ ตระกร้า เมื่อรวมกันแล้วจึงมีชื่อเรียกว่า "พระไตรปิฎก"

                           จุดเด่นของพระพุทธศาสนา                            

พระพุทธศาสนามีความทันสมัยในตัวเอง เรียกว่า สัจธรรม สามารถปรับใช้ได้ทุกสภาวะ ทุกยุค และกาล เป็นศาสนาเดียว ที่ไม่มีชั้นวรรณะ (ไม่มีชนชั้น) ทุกคนไม่ว่าผู้ใด โง่ หรือฉลาด เมื่อปฏิบัติตามวิธี ที่ทรงเทศนาปรากฏไว้ ในพระไตรปิฎก มีสิทธิ์บรรลุโลกุตรธรรม เช่นเดียวกัน โดยเฉพาะการปริวัติ การปฏิบัติทางจิต ซึ่งเป็นวิธีปฏิบัติอันปรากฏใน พระอภิธรรมปิฎก เป็นวิธีการที่ให้ผล และเห็นผล อย่างเฉียบพลัน ทันทีทันใด จะปรากฏกับผู้ปฏิบัติ และท้าทายการพิสูจน์ ในกาลทุกเมื่อ สำหรับผู้ชอบทดลอง

ด้วยจุดเด่นของพระพุทธศาสนา ในด้านพระธรรม คำสั่งสอนนี้เอง ทำให้มีการเผยแพร่ และมีอิทธิพล ให้เกิดศาสนาต่างๆ แก่ชาวตะวันตกนั้น เริ่มต้นจาก พุทธศักราช ๕๐ โสเครติส ได้เดินทางมาศึกษา ยังตักศิลา ในชมพูทวีป (อินเดีย) และได้ปวารณาตน เป็นอุบาสกในพุทธศาสนา ปฏิบัติทางสมาธิจิต จากพระอรหันต์ จากนั้นได้เดินทาง กลับไปยังประเทศกรีก (สมัยโบราณ เรียกว่า ชาว Jonia) เข้ารับราชการ เป็นราชปุโรหิต มีตำแหน่งเป็นอาจารย์ สอนวิชาการให้กับ พระเจ้าอเล็กซานเดอร์ (Alexzander The Great) ด้วยความฉลาดของ พระเจ้าอเล็กซานเดอร์ ทำให้โสเครติส ไม่สามารถถวาย วิชาพุทธศาสตร์ ภาคจิตปฏิบัติได้หมด จึงฝังอยู่ในพระทัยตลอดว่า จะต้องมายังชมพูทวีป เพื่อศึกษากับพระอริยบุคคล ตามที่ได้รับรู้ จากโสเครติส พระองค์ได้ยกทัพ เข้าสู่ทางภาคเหนือ ของชมพูทวีป อันได้แก่ ประเทศอาฟกานิสถาน ปัจจุบัน ซึ่งในขณะนั้น กำลังรุ่งเรืองด้วย พุทธศาสนา แต่ไม่ทันได้ศึกษา ได้มากนัก ก็ถูกทหารคนสนิท วางยาพิษ ถึงแก่พิราลัย แม่ทัพนายกองที่ครองนครต่างๆ ในชมพูทวีป นั้น ก็ต่างปวารณาตัว เป็นอุบาสก นับถือพุทธศาสนา บ้างก็ออกบวช เป็นพระภิกษุในพุทธศาสนา ศึกษาในนาลันทา แล้วนำพุทธศาสนา กลับไปเผยแผ่ ในประเทศของตน จนมีวัดพุทธศาสนา เกิดขึ้นมากมาย ในแคว้นต่างๆ อันขึ้นตรงกับ กรีก การเผยแผ่พุทธศาสนา เป็นไปอย่างต่อเนื่อง ระหว่างชมพูทวีป กับตะวันออกกลาง

จนกระทั่งประมาณพุทธศักราช ๓๐๐ ปี พระเจ้าอโศกมหาราช ก็ทรงส่งพระสมณทูต ไปประกาศศาสนา ณ อาณาจักรของ พระเจ้าแอนโตนิโอคอส ที่ ๒ (Antiochos II) อันได้แก่ ประเทศซีเรียปัจจุบัน และอาณาจักรของ แอนติโคนอส โคนาตอส (Antigonos Gonatos) ในประเทศมาซิโดเนีย ประเทศกรีก และด้วยการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ในครั้งนั้น ทำให้มีชาวกรีก มาบวชเป็นพระภิกษุ ในพุทธศาสนา จนสำเร็จเป็นพระอรหันต์ อันมีนาม ที่เรารู้จักกันดีว่า พระโยนธรรมรักขิตะ ซึ่งเชี่ยวชาญในด้าน ภาษาสันสกฤต ภาษามคธ ภาษาคฤณ และภาษากรีก และท่านผู้นี้ ได้แปลพระสูตรมากมาย ออกมาเป็นภาษากรีก ทำให้พุทธศาสนา กระจายออกไปทั่ว ตะวันออกกลาง เป็นต้นแบบของ ศาสนาแอสเซเนส (Essenes) นิกายกำเนิดของศาสนายูดาย ซึ่งนิกายนี้ จะแยกตัวออกไปอยู่ตามป่า หรือที่วิเวก เพื่อประพฤติพรหมจรรย์ และฝึกสมาธิจิต ตามหลักในพระไตรปิฎก แม้ในหนังสือรายงานคริสเตียน ของสหประชาชาติ กล่าวว่า พระเยซู ศาสดาแห่งศาสนาคริสต์ ได้เข้าไปศึกษาในนิกายนี้ ตั้งแต่เด็กจนได้สมาธิ และได้ศึกษาพระธรรม จนอายุได้ ๓๒ ปีจึงกลับไปปาเลสไตน์ เพื่อประกาศศาสนา

ด้วยความละเอียดสุขุม น่าศึกษา สงบ และ ท้าทาย ทำให้ พระเจ้าบาสิเลอุส โสเตโรส เมมานโดส (มิลินทร์) เป็นกษัตริย์กรีกได้ ซึ่งศึกษาพุทธศาสนามาแต่เด็ก มีความสนใจเป็นอย่างมาก จึงกรีฑาทัพเข้าสู่ชมพูทวีป เพื่อศึกษาพระธรรม และได้เรียนรู้ ศึกษาพระธรรม จากพระนาคเสน และในที่สุด ทรงออกบรรพชา เป็นพระภิกษุในพุทธศาสนา จนได้บรรลุเป็นพระอรหันต์

นี่คือความยิ่งใหญ่และจุดเด่น ของพระสัทธรรมคำสั่งสอน ของพระพุทธศาสนา

ฉะนั้น ในส่วนของพระธรรม อันเป็นสิ่งละเอียดอ่อนที่สุด ในการวิเคราะห์ เกินกำลังปัญญา ของมนุษย์ปุถุชนอย่างเราๆ ซึ่งยังไม่บรรลุอรหันต์ จะสามารถตัดสินได้ เราจึงต้องอาศัย หลักในการวิเคราะห์ความจริงแท้ หรือความเท็จใดๆ โดยหลักการ อันได้บัญญัติไว้ในพระไตรปิฎก เท่านั้น ไม่อนุญาตให้กล่าวอ้าง หรือคิดขึ้นเอง ซึ่งหลักในการวิเคราะห์พระธรรมวินัย เรียกว่า มหาปเทส ๔ ซึ่งมีอยู่ ๓ ชุด ด้วยกัน

สำหรับในการตัดสินระดับของพระสัทธรรม ในหนังสือนี้นั้น เพื่อให้ความยุติธรรมกับ พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตโต) ผมก็จะใช้การตัดสิน ระบบเดียวกับ ที่ท่านได้อ้างไว้ในหนังสือ "กรณีธรรมกาย" คือ ชุดที่ ๓ อันได้แก่

๑. สุตตะ คือ พระไตรปิฎก ส่วนที่เป็นพุทธวจนะเท่านั้น อันถือเป็นระดับธรรมสูงสุดไม่สามารถคัดค้านได้

๒. สุตตานุโลม คือ พุทธสาวกเทศนาอ้างได้ฟังจากพระพุทธเจ้า (ขึ้นต้นด้วย เอวเม สุตฺตํ เอกํ สมยํ ภควา)

๓. อาจริยวาท คือ อรรถกถา (พ่วงฏีกา อนุฏีกา) คือ อธิบายจากที่ได้ศึกษา และปฏิบัติตามพระสัทธรรม

๔. อัตโนมติ คือ มติ ทัศนะ ความเห็นส่วนตัวของท่านผู้รู้ ไม่มีในพระไตรปิฎก

ข้อ ๑ ตัดสินข้อ ๒ - ๓ - ๔ เพราะองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงแสดงเอง

ข้อ ๒ ตัดสินข้อ ๓ - ๔

ข้อ ๓ ตัดสินข้อ ๔

ทัศนะความเห็น คำอธิบายของพระเถระ และพระมหาเถระทั้งหลาย เป็นต้น จัดเป็นอัตโนมติ

สำหรับ พระไตรปิฎก ที่ผมจะนำมาใช้อ้างอิงในหนังสือนี้ เพื่อเทียบเคียงความถูกผิด กับหนังสือ "พุทธธรรม" และหลักธรรมที่ พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตโต) นำไปอ้างในสถานที่ต่าง ๆ ก็คือ พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับสยามรัฐ อนุสรณ์ ร.๗ (ฉบับพิมพ์ครั้งแรก) ซึ่งถือว่า เป็นฉบับที่ถูกต้องที่สุด และใช้เป็นหลักในการ แปลภาษาบาลีทั้งปวง แม้กระทั่ง ใช้เป็นแม่แบบของฉบับ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อีกด้วย จึงสามารถยืนยันในความถูกต้อง ที่ใช้อ้างอิงได้ ในทางวิชาการ ข้อความซึ่งในส่วนที่อ้างนั้น จะใช้ส่วนที่เป็น พระพุทธวจนะ ที่ตรัสโดยตรงทั้งสิ้น หากเทียบชั้นความเชื่อถือ จะจัดอยู่ในระดับสูงสุด คือ ระดับสุตตะ ไม่มีข้อธรรมใด มาลบล้างได้ ด้วยประการทั้งปวง ไม่ว่าในอดีต ปัจจุบัน หรือ ในอนาคต ก็ตาม

สิ่งที่จะต้องทำความเข้าใจร่วมกันกับท่านผู้อ่าน ให้ทราบถึงกฎเกณฑ์ของนักเขียนหรือนักวิจารณ์ โดยเขียนออกมา เป็นหนังสือเพื่อเผยแพร่นั้น จะมีหลักอยู่ ๓ ประการ คือ

๑. "เขียนเพื่ออะไร" คือเขียนสร้างสรร เขียนทำลาย หรือรับจ้างเขียน เอาเพียงค่าน้ำหมึก หรืออยากดัง

๒. "เขียนเรื่องอะไร" ต้องรู้ว่าเนื้อหาที่ตนเองเขียนในหัวข้อนั้นๆ เรื่องอะไร ต้องอยู่ในกรอบนั้น

๓. "ต้องการอะไร" ชี้นำให้ผู้อ่านเข้าใจว่า ผู้เขียนต้องการให้ผลเป็นยังไง ถูกต้องด้วยความเป็นจริงไหม

ดังนั้นการวิเคราะห์หนังสือต่างๆ หากแสดงทั้ง ๓ ข้อชัดแจ้ง ไม่เคลือบแคลงสงสัย ในด้านเหตุผล หากมีการอ้างอิง ตรงไหมกับที่อ้างมา หากตรงก็ใช้ได้ หากผิดเพี้ยน ก็ใช้ไม่ได้ นี่คือหลักการพิจารณา การอ่าน หรือการวิเคราะห์ หนังสือหรือบทความ โดยทั่วไป ซึ่งจะเป็นประโยชน์ แก่นักค้นคว้า และนักวิชาการ ได้เป็นอย่างดี และในบางกรณี อาจะพบว่าความหมาย ของคำเดียวกัน ของผู้เขียนคนเดียวกัน แต่ต่างกลับไม่เหมือนกัน อย่างนี้ก็ใช้ไม่ได้ เรียกว่า ผิดหลักการ ไม่ควรจัดว่า เป็นนักวิชาการ ที่ควรอ้างอิง หรือใช้ตำรานั้นศึกษา เพราะขาดความหนักแน่น แน่นอน ในด้านเหตุผล ข้อแท้จริงที่สามารถยึดถือ เป็นบรรทัดฐานได้ "เกลืออยู่ที่ใด ต้องเค็ม" จึงพึงเข้าใจตรงนี้


(หน้าปก - - - สารบัญ - - - อ่านต่อ)

1