การวิเคราะห์หนังสือของ พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต)
หลบหลีกและปกปิดความจริงในพระไตรปิฎก

 

 

ความบิดเบือนในพระไตรปิฎก ที่ต้องพยายาม ทำให้พระพุทธศาสนา ขาดความเป็นสัจจธรรม ซึ่งจะทำให้เกิด ความไขว้เขว แก่ผู้ไฝ่ศึกษา และปฏิบัติธรรมแนวพุทธ ทั้งในปัจจุบันและอนาคตนั้น ปรากฏชัดในหนังสือ "พุทธธรรม" หน้า ๘๒๗ อ้างพระสูตร องฺ.อฏฺŸก ๒๓/๑๖๐/๓๐๙ ว่า

" ๒. เมื่อใดแล จิตของเธอ เป็นจิตตั้งมั่น ดำรงแน่ว เป็นอย่างดีแล้ว ในภายใน"

และธรรมชั่วร้าย เป็นอกุศล ไม่เกาะกุมจิต ตั้งอยู่ได้....."

และในคำอธิบายถึงข้อ ๒ ที่ว่านี้ก็มีไม่ครบ ว่าคำว่า "ในภายใน" น่ะคืออะไร ไม่กล่าวถึงแม้แต่น้อย และ นี่คือการพยายามบิดเบือน เพื่อหนีคำว่า "อัตตา" หรือหนีคำว่า "กายในกาย" ซึ่งพระธรรมปิฎก(ป.อ.ปยุตฺโต) คัดค้านมาตลอด จึงพยายามเลี่ยง การอ้างอิงพระสัทธรรม และทำให้เกิดความสับสน ทั้งๆ ที่มีบัญญัติไว้ชัด ปรากฏในพระไตรปิฎก (บาลี มหา.ที. ๑๐/๑๑๘/๙๓) (บาลี มหาวาร สํ. ๑๙/๒๐๕/ ๗๑๒-๓) ว่า

"อานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ตามเห็นซึ่ง กายในกาย ฯลฯ"

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าบรมศาสดา ท่านได้ทรงมีพุทธพจน์ ยืนยันการเข้าถึงนิพพานว่า ทำได้ทางเดียวเท่านั้น คือการตามเห็น กายในกาย ดังมีปรากฏใน พระไตรปิฎกเถรวาท บาลี มหาวาร. สํ. (๑๙/๒๔๖-๒๔๘/๘๒๐-๘๒๔) ว่า

"...เพื่อบรรลุเญยยธรรม เพื่อทำนิพพานให้แจ้ง...คือภิกษุ เป็นผู้มีธรรมดา ตามเห็นกายในกาย ...นี้แหละ เป็นเส้นทางสายเอก ดังนี้" แม้แต่ในมหาสติปัฏฐานสูตร ๑๐/๒๗๕ สติปัฏฐานสูตร ๑๒/๘๔ และ พรหมสูตร ๑๙/๒๐๙ ก็มีว่า

" อิธ ภิกฺขุ กาเย กายานุปสฺสี วิหรติ อาตาปี สมฺปชาโน สติมา วิเนยฺย โลเก อภิชฺฌาโทมนสฺสํ

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌา และโทมนัส ในโลกเสียได้"

เป็นลักษณะของการอ้างให้ผู้ที่ได้อ่าน หรือศึกษา สับสนในพระสัทธรรมคำสั่งสอนของ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยเจตนา ทั้งๆ ที่พระสูตร ที่ผมยกมาอ้างนี้ อยู่ในชั้นสุตตะสูงสุด ชั้นที่ ๑ คือ เป็นพุทธพจน์ ไม่ต้องตีความ แต่พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต) กลับนำเอาพระสูตร อันเป็นฏีกา ซึ่งจัดอยู่ใน ชั้นที่ ๔ เรียกว่า อาจริยวาท มาอ้างอิง หากพระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต) เป็นพระธรรมดาไม่มีความรู้ทางบาลี ก็ว่าไปอย่าง นี่ท่านเชี่ยวชาญบาลี ได้เปรียญธรรม ๙ ประโยคสูงสุด และเกียรตินิยม จากมหาจุฬาฯ อันเป็นสถาบันการศึกษาของสงฆ์ จึงน่าจะเป็นสิ่งปกติธรรมดา ที่จะต้องนำเสนอ พระธรรมคำสั่งสอน ในส่วนสำคัญของการปฏิบัติ ของพระพุทธศาสนา ให้พุทธศาสนิกชน สามารถนำไปศึกษา ปฏิบัติได้

จากตัวอย่างเพียงเล็กน้อยในหนังสือ "พุทธธรรม" ซึ่งได้พิมพ์เผยแพร่ สู่สาธารณชน โดยเฉพาะได้ถูกกำหนดให้สถานศึกษา ใช้เป็นคู่มือครูอาจารย์ ใช้ประกอบการสอน โดยคำสั่งของ สภาสถาบันราชภัฏนั้น จัดว่าเป็นการกรอกยาพิษ ให้กับเยาวชนโดยแท้ เพราะหลักธรรม คำสั่งสอน อันเป็นพุทธวจนะ ซึ่งปรากฏในพระไตรปิฎกนั้น ได้ถูกปลอมปน จนเป็นสัทธรรมปฏิรูป เสียเป็นส่วนใหญ่ โดยเฉพาะในส่วนสำคัญที่สุด คือเรื่อง สมาธิ อันเป็นหนทางปฏิบัติ ให้เข้าสู่โลกุตรธรรม และส่วนที่เกี่ยวกับ นิพพาน และวิมุตติ ซึ่งเป็นเรื่องของการหลุดพ้นจากโลกิยะ (ทางโลก) และ วัฏฏสงสาร (การเวียนว่ายตายเกิด) ถูกปรับเปลี่ยนปลอมปน จนแทบไม่เหลือหลักธรรม ที่แท้จริง


(หน้าปก - - - สารบัญ - - - อ่านต่อ)

1