ความแตกต่างของสิ่งที่เห็นกับสิ่งที่เป็น |
ข้อมูลประกอบหลักฐานที่นำเสนอต่อท่านผู้อ่านนั้น ล้วนแล้วแต่ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริง เป็นจริง แม้พระไตรปิฎกบาลี ที่ยกมากล่าวอ้างนั้น ก็เป็นพุทธพจน์ อยู่ในระดับสุตตะ คือ ขั้นสูงสุดทั้งสิ้น นี่คือสิ่งที่เป็น แต่เมื่อเทียบเคียง กับข้อความของพระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต) แล้วทำให้ทราบว่า ไม่ตรงกับข้อความ ที่พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต) นำเสนอต่อสาธารณชน นี่คือสิ่งที่เห็น ขัดแย้งต่อพระธรรมวินัย ด้วยประการทั้งปวง จัดอยู่ในลักษณะ สัทธรรมปฏิรูป ก็จัดได้ว่า พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต) ได้กระทำการอันขัดต่อ พ.ร.บ.กำหนดวิทยฐานะ ผู้สำเร็จการศึกษาชั้นสูง ของการศึกษาปริยัติธรรม ของคณะสงฆ์ (ปธ.๙) และการศึกษา ด้านหลักสูตร ปริญญาศาสนศาสตร์บัณฑิต (ศบ.) ของสภาการศึกษา มหามกุฏราชวิทยาลัย และ ปริญญาพุทธศาสตร์บัณฑิต (พธ.บ.) ของมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยฯ ให้เทียบเท่ากับ คุณวุฒิการศึกษา ของมหาวิทยาลัยฝ่ายราชอาณาจักร โดยยึดหลักสำคัญ ๓ ประการคือ ๑. การศึกษาของสงฆ์ หรือการศึกษาพระพุทธศาสนา ของพระภิกษุสามเณร ควรอยู่ในความควบคุม หรือการดำเนินการ ของคณะสงฆ์ ซึ่งมีมหาเถรสมาคม อันเป็นองค์ปกครองคณะสงฆ์สูงสุด ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ ๒. การจัดให้เป็นการศึกษาพระธรรมวินัย หรือพระปริยัติธรรมเป็นหลัก โดยให้วิชาอื่นๆ เป็นส่วนประกอบ คณะวิชชาอื่นๆ นี้จะต้องไม่ขัดกับพระธรรมวินัย ๓. ต้องป้องกันไม่ให้เกิดสัทธรรมปฏิรูป คือ เปลี่ยนแปลงพระธรรม ให้ผิดไปจากพระพุทธวจนะ หรือพระบาลี อันเป็นพระไตรปิฎก จากพระพุทธวจนะ ที่พระเถราจารย์ได้สังคายนาไว้ ตั้งแต่ครั้งปฐมสังคายนา (มติชน ปีที่ ๗ ฉบับที่ ๒๒๑๗ วันพุธที่ ๒๘ มี.ค. ๒๕๒๗) ดังที่กล่าวมานี้จะเห็นว่า พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต) ขาดคุณสมบัติ ในข้อ ๓ ตามพระราชบัญญัติ การกำหนดวิทยฐานะ ข้อ ๓ อย่างชัดแจ้ง คือการจัดทำให้เกิด และ/หรือ เผยแพร่สัทธรรมปฏิรูป ต่อสาธารณชน จึงควรที่ ทางมหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จะต้องถอดถอนปริญญา พุทธศาสตรบัณฑิต และพุทธศาสตรดุษฎี บัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากพระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต) จึงจะเป็นการถูกต้อง และถ้าหากทางมหาจุฬาฯ ไม่ถอดถอนปริญญา ทั้งสองนั้น ก็ต้องมีคำตอบ ให้กระจ่างต่อสาธารณชนว่า เพราะอะไร และทำไม นี่คือสิ่งที่เห็น และสิ่งที่เป็น อันได้เกิดขึ้นแล้ว และยังคงเป็นอยู่ในขณะนี้ มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นสถาบันการศึกษา สำหรับพระภิกษุสงฆ์สามเณร ในพระพุทธศาสนา เป็นแหล่งผลิต นักปราชญ์ราชบัณฑิต ให้กับประเทศ ผู้เชี่ยวชาญทางด้าน การศาสนามากมาย ที่มีความรักและความหวงแหน แน่นเหนียว ด้วยศรัทธาที่แท้จริง ในพุทธศาสนา และสมาคมเปรียญธรรม ก็มากไปด้วย ผู้รู้ระดับอัจฉริยะ จึงเป็นสิ่งที่ไม่ยากเกินไป ที่จะพิสูจน์ทราบ จากเอกสาร หนังสือ บทความ และเอกสารของ พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต) เพื่อดำเนินการใดๆ อันเป็นการพิทักษ์รักษาพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นศูนย์รวมแห่งจิตใจ ของชนในชาติ เพราะสิ่งที่เห็น กับสิ่งที่เป็น ย่อมแตกต่างกันเสมอ |