การวิจัยเพื่อท้องถิ่น
ปิยะวัติ บุญ-หลง
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ภาคเหนือ
การวิจัยเพื่อท้องถิ่น *
ปิยะวัติ บุญ-หลง และคณะ ***
การวิจัยเพื่อท้องถิ่นนับว่าเป็นเรื่องใหม่ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) เริ่มงาน "การวิจัยเพื่อท้อถิ่น" เมื่อปลายปี 2541 ด้วยคำถามง่าย ๆ ว่า "ทำอย่างไรชาวบ้านจะได้ประโยชน์จากงานวิจัย ?" ซึ่งเมื่อเริ่มจากฐานคิดนี้ ก็ทำให้ สกว. ต้องทบทวนแนวคิดและหาวิธีทำงานใหม่เพื่อให้เหมาะสมกับ "ลูกค้า" กลุ่มใหม่นี้ ตั้งแต่ทบทวนว่า "วิจัยคืออะไร?" ไปถึงการกำหนดเรื่องวิจัย การสนับสนุนการทำวิจัย และการรายงานผลการวิจัยด้วยวิธีใหม่ ที่จะตอบสนองความต้องการและเงื่อนไขของชาวบ้านได้ ที่ผ่านมาชาวบ้านถูกทำให้เชื่อว่า การสร้างความรู้เป็นเรื่องของนักวิชาการ อาจารย์มหาวิทยาลัย นักศึกษา ปริญญาโท โดยที่กระบวนการสร้างความรู้เข้ามาเกี่ยวข้องกับชาวบ้านในลักษณะที่ชาวบ้านเป็นผู้ ถูกวิจัย ถูกถาม ถูกสังเกตเท่านั้น ชาวบ้านมักถูกใช้เป็นเครื่องมือสร้างผลงานทางวิชาการให้นักวิจัย แทบจะไม่มีที่ว่างให้ชาวบ้านในฐานะผู้สร้างความรู้ ทั้ง ๆ ที่ชาวบ้านย่อมจะเข้าใจตัวเองมาที่สุด และปัญหาของชาวบ้านมีหลากหลายหลาย ๆ เรื่องต้องการงานวิจัยเป็นเครื่องเพื่อหาคำตอบหรือทางเลือกที่เหมาะสม แต่มักพบเสมอว่า คนภายนอกที่เข้าไปพยายามช่วยแก้ปัญหาให้ก็ไม่เข้าใจกับปัญหาที่แท้จริง และดูจะมีปัญหาให้แก้ไม่สิ้นสุด ในขณะที่ชาวบ้านรู้ปัญหาดีและคิดเองได แต่ไม่เป็นระบบ ไม่เชื่อมโยง การแก้ปัญหาทั้งสองวิธีจึงได้ผลเพียงชั่วคราวงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น (Community-Based Research) ที่ สก.ริเริ่มขึ้น จึงเน้นการให้ "คน" ในชุมชนเข้ามาร่วมกระบวนการคิด ตั้งคำถาม วางแผนและทำวิจัยเพื่อหาคำตอบอย่างเป็นระบบ และเรียนรู้จากการทำงานวิจัยที่เป็นเชิงปฏิบัติจริง (Action Research) เพื่อแก้ปัญหาของตัวเอง โดยมีกระบวนการทำงานอย่างเป็นเหตุเป็นผลงานวิจัย เช่นนี้ต่างจากงานวิจัยอื่น ๆ อย่างมากตรงที่มิได้เน้น "ผลงานวิจัย" เป็นหลัก แต่มองการวิจัยเป็น "กระบวนการ" ในฐานะ "เครื่องมือ" ที่จะเพิ่มพลัง (Empower) ชุมชนเพื่อให้ชุมชนได้ร่วมกันจัดการชีวิตของตัวเอง เป็นทางหนึ่งที่จะนำไปสู่การสร้างเสริมความเข้มแข็งของชุมชนได้ ดังนั้น "ผลงานวิจัย" ที่สำคัญยิ่งของงานวิจัยนี้ มิใช่บทบาทความทางวิชาการหรือเทคโนโลยีใหม่ แต่คือ "คน" และ "กลุ่ม" ที่เกิดขึ้นจากการที่ชุมชนเข้ามาร่วมกระบวนการวิจัย ซึ่งจะนำไปสู่การแก้ปัญหาของชุมชนตัวเองทังในปัจจุบัน และมีความพร้อมในการรับมือกับอนาคต ในการชี้นำและเฝ้าระวังการเปลี่ยนแปลงของชุมชนต่อไปด้วยวิธีการทำงาน
เมื่องานวิจัยเช่นนี้ต้องเริ่มจากเรื่องที่ชาวบ้านต้องการ ดังนั้น สกว.จะไม่ตั้งหัวข้อวิจัย(Research Issues) ล่วงหน้า แต่ให้ชมุชนเป็นผู้กำหนด โดยผ่านเวทีชุมชน และตรวจสอบหลาย ๆ ทางให้แน่ใจว่าเป็นประเด็นของชุมชนนั้นจริง ทั้งนี้โดยใช้ "เวที" เป็นเครื่องมือสำคัญในทุกขั้นตอน ตั้งแต่การประมวลสถานภาพและองค์ความในชุมชน ตั้งโจทย์วิจัย วางแผนการวิจัย เสนอโครงการวิจัยเก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล สรุปผล และรายงานผลการวิจัยเพื่อให้คนในชุมชนได้เข้าร่วมตัดสินใจให้มากที่สุด วิธีการนี้ไม่ง่ายนัก เนื่องจากในปัจจุบันยังไม่บรรยากาศของการทำวิจัยเพื่อตอบคำถามของชุมชน หรือเพื่อแก้ปัญหาของชาวบล้าน การพบปะพูดคุยทุกครั้งมักจะได้ยินว่า "งานวิจัยยุ่งยาก ไม่จบปริญญาโท ไม่เคยทำวิทยานิพนธ์ จะทำวิจัยได้หรือ ?" การวิจัยเพือ่ท้องถิ่นับว่าเป็นเรื่องใหม่ ดังนั้นการทำความเข้าใจกับชุมชนทั้งในมิติของพื้นที่ องค์กร หน่วยงาน และเครือข่ายจึงเป็นสิ่งจำเป็น การหารือครั้งแรกจึงเป็นการทำความเข้าใจกับแนวทางการวิจัยเพื่อท้องถิ่น ซึ่งผู้ประสานงานของ สกว. จะอธิบายแนวทางการวิจัยโดยมักเลี่ยงการใช้คำว่า "วิจัย" เพื่อมิให้เกิดความสับสน แต่จะกล่าวถคงกระบวนการที่ชาวบ้านและผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย เป็นผู้ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมวิเคราะห์สังเคราะห์ เพื่อค้นหาทางเลือกในการแก้ปัญหาหรือตอบข้อสงสัยของชุมชน และไม่ใช่การสร้างผลงานวิชาการหรือการทำวิทยานิพนธ์ที่ชาวบ้านเป็นเพียงผู้ให้ข้อมูลเท่านั้น "ผู้ประสานงานวิจัย" ในแต่ละพท้นที่เนกลไกสำคัญที่จะสื่อกับชาวบ้าน ผู้นำชุมชน นักพัฒนาทั้งภาครัฐและองค์กรพัฒนาเอกชน พระสงฆ์ ผู้ประกอบการ นักวิจัยในสถาบันการศึกษา ให้เข้าใจแนวคิดนี้ โดยทำทุกโอกาศ ทุกสถานการณ์ เพื่อเสนอว่า "เรื่องนี้เป็นปัญหาของเรา มาลองคิดลองทำด้วยกันดีไหม?" ทั้งที่เป็นการพูดคุยรายตัวหารือเป็นกลุ่มเล็ก ๆ สองสามคน ประชุมกับกลุ่มสนใจเฉพาะเรื่อง แทรกการนำเสนอข้อมูลในการประชุมของหน่วยงานหรือองค์กร จัดประชุมระดับตำบล อำเภอ และจังหวัดที่มีผู้เข้าร่วมหลากหลาย รวมทั้งการพบปะชาวบ้านกลุ่มใหม่ ผซึ่งมีประเด็นปัญหาเรื่องอื่น ๆ ) ในระหว่างที่เยี่ยมพื้นที่วิจัยด้วย ความต้องการและปัญหาของชุมชนมีหลากหลาย บางเรื่องสามารถแก้ไขได้ด้วยงานพัฒนา แต่บางเรื่องต้องการงานวิจัยเป็นเครื่องมือเพื่อหาคำตอบหรือทางเลือกที่เหมาะสม นักวิจัยมีความสนใจของตัวงเองอยู่แล้วซึ่งบ่อยครั้งที่ไม่สอดคล้องกับความต้องการ ปัญหาหรือข้อสงสัยของชุมชน ดังนั้นผู้ประสานงาน จึงต้องช่วยประสานงานให้มีการประชุมหารือระหว่างที่เกี่ยวข้องหรือผู้มีส่วนร่วมได้ส่วนเสีย ผstakeholders) ทั้งชาวบ้าน ผู้นำชุมชน นักพัฒนา นักวิจัย และภาคอื่น ๆ ได้ร่วมกันคิด วิเคราะห์สถานการณ์ของชุมชนตั้งแต่ต้น ร่วมกันตรวจสอบความต้องการปัญหา กำหนดข้อสงสัยหรือคำถามวิจัย วัตถุประสงค์ รวมทั้งผลที่คาดว่าจะได้รับจากงานนั้นด้วยกระบวนการจัดระบบความคิด Z(conceptualization) นี้มักจะใช้เวลานานหลายเดือนแต่ก็จำเป็น ทั้งนี้เพื่อให้แน่ใจว่าชุมชนมีโอกาสระบุความต้องการที่แท้จริง และมั่นใจว่ามีแกนนำที่จะเป็นทีมวิจัย ซึ่งประกอบด้วย "ชาวบ้าน" และ "ภาค" ที่พร้อมเข้ามาร่วมคิด ร่วมทำงาน ร่วมวิเคราะห์ เพื่อหาทางออกหรือทางเลือกในการแก้ไขปัญหา เป็นการสานความเข้าใจของทุกฝ่าย นักวิจัยหรือนักพัฒนาเองก็ต้องเปิดใจกว้าง พร้อมที่จะเรียนรู้จากชาวบ้านและประเด็นให้สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน ผู้ประสานงานจำเป็นต้องสนับสนุนให้เกิดการ "คิดเป็นหมู่ ทำเป็นหมู่" โดยการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน การมีส่วนร่วมในกระบวนการวิจัยของชาวบ้านมีหลายระดับหลายความเข้มข้น (รูปที่ 1 ตั้งแต่การเป็นผู้ "ถูกวิจัย" (ปลายซ้ายสุด) ซึ่งเป็นภาพในอดีต ไปจนถึงการคิดงานวิจัยเอง ทำงานวิจัยเองได้ (ปลายขวาสุด) ซึ่งเป็นเป้าหมายสำคัญของงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นในอนาคต แต่ในปัจจุบันรูปธรรมชัดเจนที่มักพบคือจุดที่อยู่ระหว่างปลายทั้งสอง กลาวคือชาวบ้าน "ร่วม" เป็นผู้วิจัย "ร่วม" ตัดสินใจในกระบวนการวิจัย เลือกวิธีการแก้ปัญหาของตนเอง โดยยังต้องมีคนภายนอกช่วยเหลืออยู่บางส่วน อย่างไรก็ดีสถานภาพนี้ควรจะเคลื่อนไปทางขวาไปเรื่อย ๆ เมื่อชาวบ้านมีประสบการณ์และความเก่งมากขึ้นหลังจากการประชุมหารือแล้ว ทีมวิจัยจะจัดทำเอกสารเชิงหลักการ (concept paper) ที่ได้จากข้อสรุปของการหารือ เพื่อใช้เป็นฐานสำหรับพัฒนาแผนปฏิบัติการ (action plan) ร่วมกับ สกว. ต่อไป ซึ่งจะเป็นภาพรวมของขั้นตอนการทำงานโดยละเอียดต่อไป อันจะประกอบด้วยกิจกรรม ผู้ดำเนินการ ช่วงเวลา ประมาณการงบประมาณผลที่คาดว่าจะได้รับ และตัวบ่งชี้ผลการทำงาน ซึ่งจะต้องสอดคล้องกับคำถามวิจัยและวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ทั้งนี้งานวิจัยเพื่อท้องถิ่นมีลักษณะพิเศษคือ ไม่สามารถจัดทำแผนปฏิบัติงานที่ตายตัวหรือวางระยะยาวได้ยางแม่นยำ จำต้องเป็นแผนปฏิบัติงานที่มีความยืดหยุ่น พร้อมปรับแผนได้ตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป แต่ภายใต้วัตถุประสงค์และเป้าหมายเดิม โดยมีชุมชนเป็นฐานหรือเวทีของการเรียนรู้ ปรากฎการณ์ทางสังคมที่หลายกหลายซับซ้อน ทำให้ผู้ประสานงานเรียนรู้ว่า ในการจัดทำแผนปฎิบัติการ จะต้องตั้งคำถามให้ทีมวิจัยพิจารณากระบวนการทางสังคม ดูวิธีคิดของชาวบ้าน ดูต้นทุนทางสังคมของชุมชน โดยการยึดความหลากหลาย ทุกมิติ ทั้งอุดมการณ์อำนาจ มิติชุมชน วัฒนธรรมประเพณี รวมทั้งการกำหนดกิจกรรมที่จะทำให้ชาวบ้านมองว่า "เป็นธุระ" ที่ชาวบ้านจะต้องดูแลด้วยตนเอง ผู้ประสานงานอาจจะช่วยตั้งคำถาม เพื่อเกิดความชัดเจนขึ้น เติมข้อมูล แลกเปลี่ยนประสบการณ์ แลกเปลี่ยนยุทธศาสตร์ แต่ผู้ประสานงานมิได้เป็น "ผู้ทำ" เป็นเพียงผู้กระตุ้นประสาน (facilitator) ให้เกิดการสนทนาวิวาทระหว่างทีมวิจัย และผู้เกี่ยวข้อง ผู้ประสานงานเป็นผู้ตั้งคำถาม ให้ข้อสังเกต ให้ข้อมูลเพื่อให้เกิดการคิดให้รอบคอบ ในระยะแรกผู้ประสานงานจะช่วยเขี่ยผงที่เข้าตา แต่ครั้งต่อไปชาวบ้านจะต้องป้องกันไม่ให้ผงเข้าตาอีกด้วยตนเอง ผู้ประสานงานต้องกระตุ้นให้เกิดอิสระทางความคิด เกิดความภาคภูมิใจที่จะคิดเอง "ให้อยู่ในสายเลือด มิใช่เอาแป้งมาพอก" และท้ายที่สุดชาวบ้านเป็นผู้ตัดสินใจเลือกทางเดินเอง กระบวนการสนับสนุนการวิจัยของ สกว.ภาค ส่วนหนึ่งยังเป็นกระบวนการที่แปลกแยกจากวิถีการสร้างความรู้ของชาวบ้าน เช่น การเขียนเอกสารเชิงหลักการ การเขียนโครงการวิจัยซึ่งจะต้องระบุแผนการทำงานที่ชัดเจน ชาวบ้านจะเกิดความรู้สึกทั้ง "มึน" และ "งง" เนื่องจากความไม่คุ้นเคย ด้วยเหตุนี้จึงจำเป็นต้องมีพี่เลี้ยงที่ชำนาญทางด้านนี้อยู่ในทีมวิจัย และในขณะเดียวกัน สกว. ก็พยายามจะทดลองหาวิธีอื่น (ที่มิใช่การเขียน) ซึ่งอาจจะเหมาะสมกว่าในการสื่อความคิดและประสบการณ์ของชาวบ้านด้วย มีงานวิจัยหลายโครงการที่นักวิจัยได้ร่วมพัฒนาโครงการด้วยกันตั้งแต่ต้น เนื่องจากประเด็นเชื่อมโยงกัน เช่น ชุดโครงการเกษตรกรรมยั่งยืน ซึ่งครอบคลุมเรื่องการขยายการผลิต การพัฒนาเครือข่ายผุ้บริโภค กาพรัฒนาตลาดและการสร้างมาตรฐาน ทีมวิจัยจะร่วมประชุมหารือกันทุกเดือนเพื่อตรวจสอบความก้าวหน้าและปรับแผนการทำงานให้สอดคล้องเอื้อประโยชน์ต่อกัน ในขณะเดียวกันมีโครงการวิจัยอื่น ๆ ที่มีประเด็นร่วม แต่นักวิจัยมิได้สร้างเครือข่ายความร่วมมือกันตั้งแต่แรก เช่น ประเด็น อบต. ประเด็นการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ในกรณีนี้ ผู้ประสานงานจะกระตุ้นประสานให้มีการพบปะหารือแลกเปลี่ยนกัน โดยการจัดเวทีเป็นระยะ ๆ ทุก 1-2 เดือน เช่น เวทีพบผู้รู้เฉพาะด้าน เวทีให้ความรู้ด้านกระบวนการวิจัย เช่น การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม การวิเคราะห็ข้อมูล การสังเคราะห์ เวทีแลกเปลี่ยนระหว่างโครงการวิจัย เวทีนักวิจัยแลกเปลี่ยนกับนักศึกษาปริญญาโท การเยี่ยมพื้นที่วิจัย การจัดเวทีรายงานความก้าว ซึ่งจะเชิญผู้สนใจที่กำลังพัฒนาและนักศึกษาปริญญาโทเข้าร่วมด้วย นอกจากนี้ยังมีเวทีประจำปี ซึ่งจะเป็นเครื่องมือติดตามสถานการณ์และความเคลื่อนไหว (movement) ของงานพัฒนาและงานวิจัยในแต่ละเนื้อหาด้วย เสียงสะท้อนของนักวิจัยที่เข้ามาอยู่ใน "ครอบครัว สกว.ภาค" และได้ร่วมในกระบวนการเช่นนี้ค่อนข้างหลากหลาย เช่น "อย่ากเห็นงานอย่างนี้มานานแล้ว" ไปจนถึง "สกว. เรื่องมากละเอียดยิบย่อย" หรือ "พูดถึง สกว. จะนึกเรื่องเงินก่อน" ทำให้ผู้ประสานงานต้องจัดกิจกรรมอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องเพื่อสร้างความเข้าใจในแนวคิด และเรียนรู้ที่จะปรับกระบวนการสนับสนุนเพื่อให้เกิดทั้งเกิดความคล่องตัว มีประสิทธิภาพ และเกิดความประทับใจโดยพยายามพัฒนากระบวนการเรียนรู้จากการทำงานร่วมกัน (learning through interaction) ระหว่างผู้ประสานงานและนักวิจัย สกว.เชื่อว่าหลังจากที่ชาวบ้านได้ร่วมค้นหาคำตอบอย่างเป็นระบบ และมีกระบวนการสร้างเสริมนักวิจัยในโครงการ โดยมีทั้งการฝึกอบรม สัมมนา ดูงาน แลกเปลี่ยนประสบการณ์ และมี "มีพีเลี้ยง" (Research Counsellor)" ในพื้นที่ทำงานใกล้ชิดกับทีมวิจัยด้วยนั้น ชาวบ้านจะเกิดความมั่นใจมากขึ้น ในการร่วมสร้างความรู้ใหม่ และจะสามารถทำงานวิจัยในขั้นต่อไปได้ลึกซึ้งมากขึ้นกลายเป็น "นักวิจัยท้องถิ่น" อย่างแท้จริงในอนาคต" นอกจากนี้ สกว.ยังช่วยเสริมพลังของชุมชนโดยการสร้างโครงการวิจัยเชิงนโยบายและเชิงวิชาการ (โดยผ่านสำนักงาน สกว.กลาง) ที่จะสนับสนุนกับงานวิจัยในท้องถิ่น เพื่อสร้างเงื่อนไขใหม่ในระดับบนที่จะเอื้อกับชุมชนมากขึ้น ในขณะเดียวกันก็เชื่อมโยงงานวิจัยท้องถิ่นหลาย ๆ โครงการเข้าด้วยกันเป็น "เครือข่าย" เพื่อให้เกิดพลังที่จะผลักดันการเปลี่ยนแปลงมากขึ้นด้วย การทำงานเช่นนี้จึงหวังผลหลายชั้น ได้แก่
ชั้นแรก ในระดับของท้องถิ่น หวังว่าจะเกิดความเปลี่ยนแปลงในชุมชนเอง จากผลของงานวิจัยปฎิบัติการดังกล่าวแล้วข้างต้น โดยผ่าน "คน" และ "กลุ่มคน" ในชุมชน
ชั้นที่สอง เกิดระบบภายนอกที่จะเสริมการปฏิบัติการในชุมชน เช่น ระบบการตลาด มาตรฐานสินค้า การรวมกลุ่มผู้บริโภคเพื่อซื้อผลิตภัณฑ์จากชุมชน การเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบและมาตรการต่าง ๆ เป็นต้น
ชั้นที่สาม สังเคราะห์ความรู้จากจากโครงการวิจัยที่กระจายอยู่ตามพื้นที่ต่าง ๆ ภายใต้เงื่อนไขต่าง ๆ กัน เป็นแนวคิดใหม่ ที่จะเอื้อกับชุมชนมากขึ้น ให้ชุมชนสามารถจัดการตนเองได้ดีขึ้น และให้รัฐใช้ทรัพยากรของชาติได้ประสิทธิภาพสูงขึ้นในการพัฒนา
ลักษณะของงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น
เป้าหมายของงานลักษณะนี้ มุ่งเน้นการให้เกิดเป้าหมายย่อยใน 5 ระดับคือ
โครงสร้างและการจัดการ
หากมองในเชิงโครงสร้าง การสนับสนุนการวิจัยแบบนี้เป็นการทำงาน "แนวราบ" โดยใช้ความต้องการของชุมชนท้องถิ่นเป็นศูนย์กลาง และบูรณาการงานวิจัย องค์กร ความรู้และเทคโนโลยีด้านต่าง ๆ เท่าที่จำเป็นเข้าหาชุมชนเพื่อตอบสอนงความต้องการนั้น โดยมีคนในชุมชนเป็นผู้เลือกและดำเนินการเองเป็นส่วนใหญ่ โครงสร้างการจัดการงานวิจัยเช่นนี้จึงเป็นแบบ "เครือข่าย" ซึ่งประกอบด้วยโครงการเล็ก ๆ จำนวนมากที่กระจายอยู่กว้างขวาง เน้นการสร้างทีมบริหารงานวิจัยในเชิงพื้นที่ สร้างจุดย่อย (Nods) ในท้องถิ่นเพื่อประสานงานวิจัยเหล่านี้ และทำหน้าที่เกาะติดสถานการณ์ เฝ้าระวังและเตือนภัยล่วงหน้าให้ชุมชนด้วย โดยทั้งหมดนี้มองการเชื่อมโยงงานวิจัยในพื้นที่เพื่อเป้าหมายทางการพัฒนา แต่เป็นการพัฒนาตามความต้องการของชุมชน ในการทำงานเช่นนี้ "การจัดการสารสนเทศ" หรืออาจเรียกว่า "การจัดการความรู้ (Knowledge Management)" เป็นสิ่งจำเป็นมากในการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ถ่ายทอดความรู้ เฝ้าระวังและเตือนภัยล่วงหน้าดังที่กล่าวข้างต้น ซึ่งต้องใช้วิธีการแบบผสมผสานที่เหมาะสม ทั้งการประชุมพบปะกันโดยตรง การใช้เอกสาร และการใช้สื่ออิเล็กโทรนิคส์ ตามบริบทของพื้นที่ เพื่อให้ความรู้ที่เกิดขึ้นถ่ายทอดได้เร็วทันกับการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน สกว.ได้จัดตั้ง "สำนักงานภาค" ขึ้นเพื่อประสานงานวิจัยแบบใหม่นี้ โดยให้ความสำคัญกับการจัดองค์กรแบบใหม่ที่เน้นการเรียนรู้ มีวิะการทำงานในการจัดกการองค์ความรู้ที่ได้จากการวิจัยอย่างเป็นระบบเชื่อมโยง แปรความรู้สู่ความได้เปรียบในการปฏิบัติและแก้ไขปัญหาของชุมชนท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ตามพันธกิจ "สร้างสรรค์ปัญญา เพื่อพัฒนาท้องถิ่น"
"สำนักงานภาค" เป็นหน่วยงานย่อยของ สกว. ที่มีพันธกิจเฉพาะตัวคือการสนับสนุนการวิจัยเพื่อท้องถิ่น มีแผนงานและตัวชี้วัดผลงานเฉพาะ เป็นส่วนหนึ่งของงานสนับสนุนการวิจัยของ สกว. แต่มิใช่ "สาขา" ของ สำนักงาน สกว.ส่วนกลาง การจัดการสำนักงานภาคนี้ก็เป็น "งานวิจัย" อีกชิ้นหนึ่งด้วยในส่วนของ สกว.เอง เพื่อหารูปแบบของการบริหารที่ดีในการสนับสนุนการวิจัยเพื่อท้องถิ่นในวงกว้างต่อไป
เนื้อหาโครงการวิจัย
จากการ "ต่อ" กับชุมชน ดังกล่าวข้างต้น ทำให้เกิดโครงการวิจัยจำนวนมากที่มีเนื้อหาหลากหลาย ตามบริบทของชุมชน อย่างไรก็ตามพอจะจัดกลุ่มของโครงการตามประเด็นร่วมได้ดังนี้