ธนาคารหมู่บ้านแก้ปัญหาวิกฤตชุมชนได้จริงหรือ ?

      ด้วยประเทศไทยต้องประสบปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจด้านการเงินการคลัง ธนาคารพาณิชย์และบริษัทเงินทุนขาดสภาพคล่องล่มสลาย บริษัทธุรกิจและโรงงานต้องเลิกกิจการ แรงงานต้องถูกเลิกจ้าง ประชาชนต้องเดือดร้อนทั่วแผ่นดินรัฐบาลต้อง ไปกู้เงินต่างประเทศจำนวนมหาศาล เพื่อนำมาฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศ แต่สภาวะการณ์ก็ยังไม่กลับคืนสู่ปกติประชาชนเริ่มเดือดร้อน ในการดำรงชีพมากขึ้นทุกวัน และเมื่อถึงเวลาที่รัฐบาลจะต้องนำเงินส่งต้น และดอกเบี้ยเงินกู้ต่างประเทศในอีก 3-5 ปี ข้างหน้านี้ ประชาชนจะยิ่งเดือดร้อนหนักยิ่งขึ้นเพราะรัฐบาลจะต้องเก็บภาษีเพิ่มขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่พ้น
      ฉะนั้น การประหยัด และออมทรัพย์ร่วมกันในรูปธนาคารหมู่บ้าน ตามแนวพระราชดำริในหลวงที่มีต่อของชาวชนบทโดยเฉพาะเกษตรกรจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งและการจัดตั้ง "ศูนย์เครือข่ายธนาคารหมู่บ้านฯ ระดับจังหวัด" เพื่อผนึกพลังร่วมกันกอบกู้เศรษฐกิจ ของชาติบ้านเมืองเป็นเรื่องสำคัญที่สุด จะอยู่แบบต่างคนต่างอยู่ ตัวใครตัวมันไม่ได้อีกต่อไปแล้ว พ่อสมศรี ทองหล่อ (ประธานกลุ่มธนาคารหมู่บ้าน จ.บุรีรัมย์) เกษตรกรบ้านหนองแม่มด ต.ร่อนทอง อ.สตึก ผู้มีบทบาทในเรื่องนี้ได้ให้เกียรติตอบปัญหา "พลังอีสาน" ที่ค้างคาใจต่อไปนี้
ถาม : คิดอย่างไรถึงมาตั้งกลุ่มธนาคารหมู่บ้านขึ้น
พ่อสมศรี : ตอนนั้นธนาคารพาณิชย์ 56 ไฟเน้นล้มละลาย เราเห็นต่างประเทศเขามีระบบธนาคาร 52 แบบ คือ ธนาคารชาวนา และธนาคารพาณิชย์ประเทศไทยมีเพียงธนาคารเดียวคือธนาคารพาณิชย์บริหาร โดยบุคคลกลุ่มเดียว แล้วให้ชาวบ้านเอาเงินไปฝากธนาคาร พอเศรษฐกิจตกต่ำ เขาเอาเงินชาวบ้านปล่อยให้เพื่อนพ้องญาติพี่น้องของเขากู้ เวลาเกิดปัญหาขึ้นมาทางบริษัทกลับปัดความรับผิดชอบ ก็เลย มีแนวความคิดว่าเมื่อเราเป็นชุมชนเงินออกจากชุมชนแต่ชุมชนไม่รู้จัก บริหารเงิน เรา ต้องทำให้ชุมชนรู้จักบริหารเงินด้วยชุมชนเอง ทำด้วยตนเองถึงจะล้มลุกคลุกคลานอย่างไร ก็เป็นของชุมชนเองไม่มีใครเข้าไปเบียดบังทำให้เสียหายเป็นพัน ๆ ล้าน อย่างที่ผ่านมา
ถาม : ธนาคารหมู่บ้านมีระบบการฝากเงินและปันผลอย่างไร ?
พ่อสมศรี : ถ้าฝากโดยไม่ทางธนาคารหมู่บ้านจะคิดดอกเบี้ยให้สูงกว่าธนาคารพาณิชย์ อาจเป็น 2 เท่า ของธนาคารพาณิชย์ เช่น ธนาคารพาณิชย์ให้ดอกเบี้ย ร้อยละ 3.5 บาทต่อปี ธนาคารหมู่บ้านอาจให้ดอกเบี้ย ร้อยละ 12 บาทต่อปี เป็นผลกำไรตอบแทนให้แก่สมาชิก ซึ่งเราสามารถลดการกู้เงินจากภายนอกร้อยละ 5 ร้อยละ 10 ลงได้ เนื่องจากการไปกู้นายทุน พ่อค้าเขาจะคิดดอกเบี้ยร้อยละ 5-10 บาทต่อปี แต่ถ้ากู้ธนาคารหมู่บ้านคิดเพียงร้อยละ 2 บาทต่อปี สิ้นปียังมี กำไรที่ได้มาปันผลให้แก่สมาชิกจัดสวัสดิการให้ชุมชน เช่น ให้ค่ารักษาพยาบาล จัดทุนการศึกษาแก่เด็กในชุมชนเป็นการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน การปันผลกำไรที่ได้ให้แก่สมาชิกจำแนก อาจเป็น 2 ส่วน คือ 50% แรก ปันผลกำไรให้สมาชิก และอีก 50% เป็น
- ค่าตอบแทนคณะกรรมการ 10 %
- ค่าวัสดุสำนักงาน 10 %
- ค่าสวัสดิการแก่สมาชิก
เช่น การรักษาพยาบาลในยามเจ็บป่วย

10 %
- เก็บไว้เป็นทุนสำรอง 10 %
- พัฒนาหมู่บ้าน 10 %

ถาม : หุ้นแต่ละหุ้นกำหนดหรือไม่ว่าจะต้องฝากเท่าไหร่?
พ่อสมศรี : ธนาคารหมู่บ้านไม่เหมือนกับกลุ่มสัจจะถ้า 50 บาท ก็ 50 บาท ตลอด ธนาคารหมู่บ้านเปิดทำงานหนึ่งวัน ใน 1 เดือน หลังจากเปิดทำการ สมาชิกสามารถนำเงินไปฝากได้ เช่น เดือนนี้ขายข้าวได้ 100 บาท ฝาก 100 บาท ขายกล้วยได้ 20 บาท ฝาก 20 บาท ขายควายได้ 5,000 บาท ฝาก 5,000 บาท แต่ไม่เกิน 10,000 บาท ต่อคนต่อเดือน เพราะจะเป็นการเอาเปรียบคนอื่นตอนปันผลออกมา อันนี้ทำให้ชาวบ้านรู้จักการฝากมากขึ้น เดือนไหนไม่มีจริง ๆ ฝาก 10 บาทก็ได้
ถาม : นอกจากที่อำเภอสตึกแล้วมีการขยายเครือข่ายไปที่ไหนบ้าง ?
พ่อสมศรี : ตอนนี้เครือข่ายธนาคารหมู่บ้านในจังหวัดบุรีรัมย์ มีทั้ง 20 อำเภอ 70 หมู่บ้าน ส่วนระดับภาคอีสานมีที่จังหวัด นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ ขอนแก่น ชัยภูมิ และมหาสารคาม มีการประชุมแลกเปลี่ยนแนวความคิดกันทุกปีพัฒนาขึ้นมาเรื่อย ๆ อันนี้เราต้องการให้ชุมชนบริหารการเงินเอง ทำการเงิน การบัญชีเอง ดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นทุกเดือนชุมชนสามารถ รับรู้ตรวจสอบได้
ถาม : คาดหวังกับกลุ่มธนาคารหมู่บ้านอย่างไร
พ่อสมศรี : ความคาดหวังต้องการเห็นชุมชนในหมู่บ้านเป็นชุมชนพึ่งตนเอง ไม่ต้องอาศัยปัจจัยภายนอกใช้เงินทุนที่มีในชุมชน ยืนอยู่บนพื้นฐานของตัวเอง ทำ เท่าที่กำลังของเรามีอยู่ คิดจากชุมชน ร่วมกันคิดร่วมกันทำ ร่วมกันใช้ประโยชน์ ต่อไปนี้ชุมชนต้องคิดเอง ทำเอง แก้ปัญหาเอง หน่วยงานรัฐเพียงแค่เข้ามา สนับสนุนเท่านั้น
1