อุปกรณ์สายไฟฟ้า
วิธีสร้างชิ้นงาน
การเตรียมวัสดุ
ให้เลือกนำไม้ไผ่ที่มีความหนาตั้งแต่
1
นิ้วขึ้นไปมาตัดเอาข้อออกและนำมาผ่าให้ได้
เนื้อไม้มีหน้ากว้างประมาณ
2 นิ้ว
หนาประมาณครึ้งเช็นเสร็จแล้วนำมาขัดให้เรียบและนำส่วนที่เหลือคือ
บริเวณที่เป็นผิวของไม้ไผ่ให้นำมาขูดลอกผิวชั้นนอกที่มีสีหมองคล้ำออกนำมาผ่าฝานบางๆโดยให้เก็บบริเวณของผิวไม้ไผ่เอาไว้เพื้อนำมาประกอบเป็นชิ้นงานในภายหลังซึ้งจะต้องใช้เป็นจำนวนมาก
หลังจากได้แผ่นไม้และแผ่นของผิวไม้ไผ่ตามจำนวนที่มากพอ
ให้นำแผ่นผิวไม้ไผ่มาปรับขนาดตามส่วนประกอบต่างๆของบ้านเช่น
ส่วนประกอบที่เป็นรอด
, ตง
, เส
,พึง
,ขอบเชิงชาย
, ปั้นลม
เป็นต้น
ส่วนเสาให้นำเนื้อขของไม้ไผ่ชั้นรองจากชั้นผิวมาเหลาให้กลมให้มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ
3 ม.ม.
ส่วน
ตง,
รอด
, เส
, พึง
นั้นจะมีขนาดใกล้เคียงกันคือกว้างประมาณ
3 ม.ม.
หนาประมาณ
0.5 ม.ม.
วิธีทำฝาบ้านทรงไทย
(เฟี้ยม)
หลังจากเมื่อได้ไม้ที่ปรับแต่งตามที่ต้องการแล้วให้นำเอาไม้แผ่นหน้ากว้าง
2
นิ้วมาทาบแบบและใช้ดินสอขีดตามแบบซึ่งมีแบบของผาทั้งสี่ด้าน
จั่วสองด้าน
เสร็จแล้วนำมาตัดด้วยเลื้อยฉลุ
ตรวจสอบดูขนาดของชิ้นงานว่ามีขนาดเท่ากับต้นแบบหรือไม่ถ้าไม่เท่าก็ให้ปรับแต่งแก้ไข
เมื่อได้ขนาดเท่าตามที่ต้องการแล้วให้นำมาวางลายหรือประกอบลายตามลักษณะของฝาในแต่ละด้าน(ฝาเฟี้ยมลายลูกฝัก)
จนครบหมดทั้งสี่ด้านด้วยกาวตราช้าง
แล้วจึงนำมาขัดให้เรียบด้วยกระดาษทราย
ที่เป็นมอเตอร์ไฟฟ้าและขัดให้เนื้อไม้ด้านที่ไม่มีลายให้บางเมือนกันทุกชิ้น
จากนั้นจึงประกอบชนขอบฝาให้ฝาด้านข้างที่มีลักษณะแบ่งออกเป็นสองส่วนคือ
ส่วนของห้องที่มีหน้าต่างสองบาน
กับส่วนของระเบียงที่มีหน้าต่างเพียงหนึ่งบาน
ให้นำขอบส่วนของที่เป็นห้องมาประกอบชนกับขอบฝาที่เป็นส่วนของฝาด้านหลังส่วนของด้านหลังจะเป็นส่วนประกอบที่มีห้องแบ่งเป็นสามห้องมีหน้าต่างห้องละหนึ่งบานเมี่อต่อฝาด้านข้างทั้งสองข้างทั้งด้านซ้ายและด้านขวากับฝาหลัง
เสร็จแล้วก็นำฝาด้านหน้าซึ่งมีขนาดเท่ากับฝาด้านหลังมีลักษณะแบงเป็นสามห้องเหมือนกันแต่มีประตูหนึ่งประตู
ให้ทากาวที่ขอบด้านปลายของทั้งสองด้านจึงนำเอาไปประกอบในส่วนระหว่างที่เป็นส่วนแบ่งระหว่างห้องกับระเบียงของฝาด้านข้าง
ให้เหมือนกันทั้งสองฝาเสร็จแล้วให้พักชิ้นงานทิ้งไว้ให้กาวแห้ง
-
ขั้นตอนต่อไปก็นำไม้ไผ่แผ่นบางมาตัดใก้มีความยาวประมาณ
1.5
ม.ม.กว้างประมาณ
4
ม.ม.เพื้อทำหน้าต่าง
และให้ใช้วิธีเดียวกันกับการทำประตูซึ้งประตูจะมีความยาวประมาณ
1.8
ม.ม.เมื่ได้ครบแล้วก็นำมาประกอบติดกับช้องของประตูและหน้าต่างจนครบ
-
ขั้นตอนต่อไปคือการทำจั่วก็ให้นำไม้ไผ่หน้าสองมาทำการทาบแบบและทำเช่นเดียวกันกับขั้นตอนของฝาบ้าน
-
ขั้นตอนการทำเสาเรือนและเสารั้ว
เสาเรือนใหญ่จะแบ่งออกเป็นสามส่วนคือส่วนที่อยู่ในตัวเรือนด้านในมีอยู่
8
เสาและเสาของระเบียงมี
4 เสา
(เป็นเรือนไทยสามห้อง)
ทั้งหมดมีสิบสองเสา
ส่วนที่สองคือเสารั้วมี่ทั้งหมดสิบสี่เสา
ส่วนที่สามคือเสาตอม้อมีสี่ต้น
ให้นำเสาที่หลาวเส็จแล้วมาตัด
เสาเรือนใหญ่จะมีความยาวประมาณ
5.8 ซ.ม.ทั้งหมด
8
ต้นที่อยู่ในตัวเรือนส่วนเสาระเบียงมี่ความยาวประมาณ
4.7 ซ.ม.จำนวน
4 ต้น
เสารั้วทั้งสิบสี่ต้นจะยาวเท่ากันหมดคือ
5 ซ.ม.
โดยเสารั้วจะมีลักษณะพิเศษคือจะมีหัวขุนอยู่ตรงปลายเสาส่วนเสาตอม้อจะมีขนาดสั้นเพียง
2.1 ซ.ม.เท่านั้น
เสารั้วแถวหน้าและแถวสองเป็นเสาตอม้อนั้นจะอยู่ในบรเวณของชาน
-
เมื่อได้ส่วนประกอบหลักแล้วก็มาถึงขั้นตอนการทำบล๊อก
สำหรับตั้งระยะการประกอบเสาต่างๆ
โดยนำไม้อัดมาตัดให้มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า
กว้าง 22
ซ.ม.
ยาว
35
ซ.ม.จำนวนสองแผ่นเท่าๆกัน
และนำไม้ระแนง
(ไม้สัก)
ขนาดความหนา
1.5 ซ.ม.
เป็นลักษณะสี่เหลี่ยมเท่ากันนำมาตัดให้มีความยาว
35 ซ.ม.
สองกันและ
19 ซ.ม.
สองอันเสร็จแล้วนำไม้มาวางบนกระดานไม้อัดที่ตัดไว้ให้เสมอขอบกระดานใช้ตะปูควงไขอัดไม้กระดานกับระแนง
ให้ติดกันทั้งสี่ด้านแล้วนำแผ่นกระดานอีกแผ่นมาปิดทับบนกรอบระแนงให้ใส่ตะปูควงเช่นกัน
เมื่อได้ บล๊อก
แล้วนำบล๊อกมามากำหนดระยะเสาต่างๆด้วยดินสอจนครบจึงนำไปเจาะรูด้วยสว่าน
3
ม.ม.โดยเจาะเฉพาะกระดานแผ่นบนเท่านั้น
วิธีประกอบ
นำเสาเรือนมาใส่ลงในรูของบล๊อก
(ให้ดูจากภาพ)
ตามตำแหน่งแล้วใส่รอดยึดโดยเริ่มจากแถวของรั้ว
หน้าบ้านก่อนจัดเสาของรั้วให้ตั้งตรงวางระยะให้เสมอกันด้วยการทากาวยึดในแต่ระเสา
ในแถวที่สองจะมี
เสารั้วอยู่ที่ปลายรอดทั้งสองด้านเท่านั้นส่วนตรงกลางจะเป็นเสา
ตอม้อ จำนวนสี่เสาให้ทำการยึดเสาเช่น
เดียวกันกับเสารั้ว
แถวสามจะเป็เสารั้วทั้งสองด้านเช่นกันส่นตรงกลางจะเป็นเสาระเบียงสี่ต้นก็ทำการยึด
ติดด้วยเช่นกัน
แถวสี่และแถวห้าให้ตัดรอดสันเท่ากับระยะเสารั้วกับเสาเรือนสองเสาเท่าให้ประกอบเช่น
เดียวกันทั้งสองด้าน
รอดที่นำมาประกอบติดในชั้นแรกนี้จะวางเสมอกับพื้นกระดานเป็นแถวตามเรือน
-
ขั้นตอนต่อไปนำไม้ตงมาวางทับบนรอด
(รอดและตงมีขนาดเท่ากัน
กว้าง 3
ม.ม.
, หนา
0.5 ม.ม.)
ในทิศ
ทางตรงกันข้ามคือจากเสาเรือนด้านซ้ายของเรือนเป็นเสารั้วห้าต้นให้เอาตงวางทับซ้อนจากต้นหน้าสุดจน
ถึงต้นหลังสุดให้ปลายไม้ทั้งสองเสมอเสาทั้วสองด้านในแถวสองก็เช่นกัน
ในแถวที่สามให้ความยาวของ
ตงจะสั้นกว่าโดยมีความยาวระหว่างเสาร้ัวจนถึงเสาระเบียง
แถวสี่ก็เช่นเดียวกัน
ส่วนแถวห้าและแถวหก
ให้ทำเช่นเดียวกันกับแถวที่หนึ่งและแถวที่สอง
เมื่อใส่รอดและตงเสร็จแล้วก็มาถึงขั้นตอนการใสรอดของ
ตัวเรือนให้ใชไม้แบบเดียวกันกับ
รอด,ตง
ของชาน จะมี่ความของรอดประมาณ
7.9
ม.ม.จำนวนสามอัน
นำมาติดที่ละอันโดยเริ่มจากเสาของระเบียงทั้งสี่ต้นเป็นแถวแรกให้ประกอบติดในระดับเดียวกับ
ตง ของ
ชาน
เสร็จแล้วให้นำไม้ขนาดเดียวกันวางตั้งระยะความสูงของเสาเรือนแถวหลังสุดทั้งสี่เสาโดยวางลงไป
บนพื้นของกระดานในลักษณะให้สันของไม้ต้ังขึ้นพาดเรียงตามเสาทั้งสี่เสา
แล้วจึงนำไม้รอดที่ตัดไว้มาติด
กับเสาโดยติดซ้อนอยู่เนือไม้ที่วางพาดไว้
ก็จะได้ระยะความสูงอยู่เสมอกับรอดของเสาระเบียง
เสร็จแล้ว
ให้เอาไม้ที่รองตั้งระยะความสูงออก
เสร็จแล้วให้นำไม้ขนาดเดียวกันมาตัดความยาวประมาณ
5.5 ซ.ม.
จำนวนสี่อัน
ให้นำมาติดตั้งระยะความกว้างของฝาด้านข้างโดยการนำฝาบ้านที่ประกอบเสร็จแล้วมาทาบ
จะได้ระยะที่จะประกอบตั้งไว้บนรอดระหว่างรอดเสาระเบียงกับเสาตัวเรือนแถวหลังให้ติดตั้งจนครบที่สี่เสา
เสร็แล้วให้นำไม้รอดที่เหลืออีกหนึ่งอันมาติดไว้ใต้ตงทั้งสี่ในแถวกลางเป็นอันเสร็จขั้นตอนการประกอบเสา
รอด,ตง
ต่อไปเป็นขั้นตอนการวางพื้น
พื้นที่จะนำมาวางจะตอ้งหลาวไม้ให้บางให้มีความหนา
0.5 ม.ม.
กว้าง
5. ม.ม.
การวางพื้นของบ้านทรงไทยจะวางยาวตามเรือน
จะต้องวัดความยาวของกระดานจากรั้ว
ด้านซ้ายกับด้านขวาเมื่อได้ความยาวแล้วนำมาตัดให้มีจำนวนมากพอ
แล้วนำมาประกอบวางเรียงที่ระแผ่น
จนครบทั้งพื้นของชานด้านหน้าและด้านข้างที่มีขนาดสั้นทั้งสองข้าง
เมื่อวางพื้นเสร็จแล้วก็นำฝาบ้านที่
ประกอบเสร็จแล้วมาใส่
โดยครอบล้อมเสาเรือนเสาทั้งแปดต้นอยู่ในกรอบฝาทั้งสี่ด้านและจะสังเกตุได้ว่า
มีมุมของห้องภายในสี่มุมและมีเสาอยู่กับมุมทั้งสี่ก็ให้ใช้กาวหยอดเข้ามุมทั้งสี่
และดึงเสาติดเข้ากับมุม
ทั้งสี
ในขนะเดียวกันให้สังเกตุดูว่าขอบของฝาบ้านด้านล้างวางแตะอยู่บนตงเสมอกันพร้อมกับดูว่าตัวเรือน
เอียงไปทางใดหรือไม่เสาส่วนที่เหลือให้ติดเข้ากับฝาตามระยะที่ฝามีช้วงแบ่งขั้นห้องทั้งสามห้องเมื่อเสร็จ
แล้วก็มาติดเสาด้านนอกอีกสองเสาคือเสาตรงระเบียงด้าน
ซ้าย,ขวา
ติดให้เสมอขอบของฝาบ้านส่วนเสา
สองเสาตรงกลางให้ปล่อยเว้นไว้
ต่ดจากนั้นก็นำพื้นมาวางทั้งในห้องและระเบียงโดยใช้ขั้นตอนเดียวกับ
การวางพื้นของตง
ขั้นตอนการประกอบกันสาดหลังคา
ที่ลักษณะเป็นเหมือนปีกยื้นออกมาจากตัวบ้าน
ให้นำไม้ไผ่แผ่นที่มีหน้ากว้าง
3.5 ซ.ม.
ยาว
7.3 ซ.ม.
หนา
3 ม.ม.
มาวางไว้บนแบบที่ใช้ทำหลังคา
(
ในกรณีทำกันสาดจะแนะนำการทำโครงวางแบบหลังคาให้ในที่นี้ไม่สามรถอธิบายการทำโครงแบบหลัง
คาให้ได้ไม่ชัดเจนเท่ากับการปฎิบัติ
)
แล้วนำแผ่นไม้ไผ่หน้ากว้าง
1.2 ซ.ม.
หนา
1 ม.ม.
ยาว
9.3 ซ.ม.
มาตัดปลายให้เป็นแนวเฉียงโดยวัดความเฉียงจากแบบโครงหลังคานำไปติดกับด้านข้างของไม้แผ่นส่วนนี้
เป็นส่วนของกันสาดด้านหลังมีความยาวตามตัวเรือนตรอดหลังและยื้นออกด้านข้างทั้สองข้าง
ส่วนต่อมา
คือส่วนของด้านข้างทั้งสองด้านก็ให้ตัดในลักษณะเดียวกันกับด้านหลังแต่มีความยาวสั้นกว่า
คือมีความ
ยาวประมาณ
5.8 ซ.ม.
เมือนกันทั้งสองด้านและนำไปติดกับด้านข้างของไม้แผ่นโดยให้ปลายแหลมมา
ประจบติดกันให้ปลายกันสาดเฉียงลงประมาณ
30 องศาทุกด้าน
เมื่อประกอบได้สามด้านแล้วก็ให้มาทำ
ด้านหน้าซึ้งจะมีความกว้าวของกันสาดเฉียงลงมาปิดระเบียงของบ้านมากว่าทั้งสามด้านโดยนำไม้แผ่นบาง
ที่มีความกว้างประมาณ
2.4 ซ.ม.
ลักษณะโดยรวมจะเป็นสี่เหลี่ยมพืนผ้า
ให้ตัดมุมด้านบนของทั้งสอง
ด้านในแนวเฉียงเหมือนกันส่วนด้านมุมด้านล้างทั้งสองให้ตัดตรงเข้ามาในแนวตรงโดยห่างมุมเข้ามาประ
มาณ
9 ม.ม.
และสูงขึ้นไปประมาณ
1 ซ.ม.
มุมที่ถูกตัดออกมาแล้วจะมีลักษณะเป็นมุมฉากทั้ด้านซ้าย
และด้านขาวเสร็จแล้วนำมาประกอบกับด้านข้างของไม้แผ่นที่เหลือให้ทำมุมเฉียงลง
30 องศา
เช่นกัน
เมื่อได้กันสาดครบทุกด้านแล้วก็นำไม้กว้าง
3 ม.ม
หนา 0.5
ม.ม.
มาตัทำขอบชายคาให้ตัดไม้ติดชาย
คาในความยาวเท่ากับขอบที่ทำเสร็จจนครบทุกด้าน
เสร็จแล้วให้จับชิ้นงานที่ทำเสร็จหงายขึ้นเพื้อที่จะ
ใส่จันทันให้วัดระยะของเสาแต่ระต้นของแต่ระด้านและมุมของกันสาดด้วยแล้วกำหนดจุดใส่จันทันโดยจัน
ทันที่ใส่จะมีขนาดความหนา
1 ม.ม.
กว้าง
2 ม.ม.
ยาว
1.2 ซ.ม.
จากนั้นก็นำกันสาดมาวางครอบลงบน
ฝาบ้านที่ประกอบแล้ว
โดยให้ด้านที่มีกันสาดด้านที่กว้างปิดตรงระเบียงให้ทากาวที่ขอบฝาบ้านให้หมด
ตรอดแนวขอบและปลายเสาของระเบียงแล้ว
จึงนำมาประกอบติดให้ตรวจดูว่าขอบของกันสาดอยู่ในแนว
ขนานเสมอกับตัวบ้านหรือไม่
เสร็จแล้วนำไม้แผ่นมาทาบแบบของจั่ว(แบบที่นำมาทาบทั้หมดตั้งแต่ตอน
ต้นนั้นผู้สอนจะแนะนำให้ในการสอน)
นำมาตัดให้ได้รูปจั่วทั้งหมดสี่อันเท่า
ๆ กันให้นำมาสองอันมาวาง
วางลายของจั่ว
เสร็จแล้วนำมาติดตั้งไว้บนแผ่นกระดานของกันสาดโดยนำจั่วที่มีลายมาติดไว้ให้ชิดขอบ
และหันเอาลายของจั่วออกของทั้งสองด้านที่เหลืออีกสองอันให้ติดตั้งในลักษณะแบ่งเป็นสามห้อง
ต่อ
จาดนั้นจึงนำไม้ขนาดเล็ก
1 ม.ม.
ยาว
8.8 ซ.ม
.ตัดมาจำนวนสามอัน
อันที่หนึ่งใส่ที่บนปลายของจั่ว
-
เพื่อทำเป็น
อกไก่
โดยให้ปลายไม้ทั้งสองด้านเลยออกมาข้างละ
6 ม.ม.
อันที่สองและสามให้ใส่ที่ด้าน
ชายล่างสุดของจั่วทั้งสองข้างให้ปลายไม้เสมอกับ
อกไก่ จานั้นนำขนาดเล็กหนา
0.5 ม.ม.กว้าง
1 ม.ม.
ยาว
8.8 ซ.ม.
จำนวน
10
อันมาติดเรียงเป็นระยะเท่า
ๆ กันด้านละห้าอันเพื่อทำเป็นระแนงจาก
อกไก่
ลงมา
จากนั้นจะเป็นขั้นตอนการทำกระเบื้องมุงหลังคา
ให้นำใบมะพร้าวแห้งที่ไม่มีก้านมารีดให้เรียบ
-
ตัดใบมะพร้าวยาวประมาณ
14 ซ.ม.กว้าง
1 ซ.ม.จำนวน
75
ชิ้นใช้กรรไกรที่มีลักษณะเป็นหยักฟันปลา
มาตัดตามยาวบริเวณขอบของใบมะพร้าวเสร็จแล้ว
นำมาทากาวยางให้ทั้วทิ้งไว้ให้แห้งแล้วนำมาวางเรียง
สลับฟันปลาให้เหมือนการกระเบื้องเรียงซ้อนกัน
18 ชิ้น
จำนวน 3
แผ่น
และ 7
ชิ้น
3 แผ่นจากนั้น
จึงนำชุด
7
ชิ้นมาวัดตัดกับกันสาดด้านยาวและนำไปประกอบให้เสร็จก้อนแล้วค่อยมาทำด้านสั้นทั้งสอง
ด้านจากนั้นนำแผ่น
18 ชิ้น
มาวัดตัดด้านระเบียงตามลัษณะของกันสาดระเบียงแล้วประกอบติดหลังจาก
นั้นก็เป็นขั้นตอนของการทำปั้นลมก่อนที่จะใส่กระเบื้องหลังคา
วิธีการทำปั้นลมก็ให้นำแผ่นกระดานไม้ไผ่
มาทาบแบบขีดเส้นตามแบบแล้วนำไปฉลุ
(องศาและความกว้างความยาวจะเปลี่ยนไปตามลักษณะของ
จั่วของผู้ที่ทำขนาดจึงไม่แน่นอน)
จำนวนสี่ชิ้นแลนำไปขัดแต่งให้เรียบบางทุกชิ้น
นำปลายของปั้นลมที่
แหลมมาประกอบชนกันให้ป็นรูปจั่ว
และวางเทียบกับจั่วทั้งสองเมื่อได้องศาตามที่ต้องการให้นำมาวางไว้
ที่ปลาย
อกไก่กับแปรหัวเสาให้ห่างจากจั่ประมาน
5 ม.ม.
ของทั้งสองด้านของจั่วให้จัดปลายแหลมของ
ปั้นลมให้อยู่ในแนวเดียวกัน
เสร็จแล้วจึงนำไม้
1 x 3 ม.ม.
มาวัดระยะระหว่างปั้นลมตรงบริเวณ
เหงาของ
ปั้นลมแล้วตัดใส่โดยวางอยู่บนกระเบื้องกันสาดกับระหว่าง
เหงาปั้นลมทั้งสองด้านจากนั้นจึงนำกระเบื้อง
หลังคามาวัดระยะความยาวความกว้างแล้วทากาวลงบนระแนง,อกไก่
ให้ทั้วจึงนำไปติดแบบเดียวกันทั้ง
สองด้าน
ต่อไปคือการทำครอบสันหลังคาก็นำไม้ไผ่ที่มีความหนาด้านละ
6 ม.ม.
มาทำให้เป็นแท่งสาม
เหลี่ยม
วัดความยาวตัดทากาวประกอบลงบนสันหลังคาจากนั้นก็มาทำปิดขอบกระเบื้องบริเวณแนวข้าง
ปั้นลมดว้ยไม้บางขนาด
0.5 x 2 ม.ม.
ตรอดแนวปั้นลมทุกปั้นลม
จากนั้นก็เป็นการทำปิดครอบกันสาด
ให้ใช้ไม้ชนิดเดียวกันตัดปิดตามแนวสันที่ประจบกันสาดทั้งสี่มุม
ส่วนที่เหลือคือขอบเชิงชายระเบียง
ที่ต่อเชื้อมกันกับปั้นลมลงมาถึงชายคามีลักษณะด้านปลายคล้ายกับเหงาของปั้นลม
ให้ใช้วิธีเดียวกัน
กับการทำปั้นลมแล้วนำมาประกอบต่อติดกับปั้นลมกับชายคาระเบียง
และปิดแนวกระเบื้องเช่นเดียว
กันเป็นอันเสร็จขั้นตอนการประกอบตัวบ้าน
ที่เหลือคือ
รั้ว ,
ซุ้มประตู
,บรรใด
, ไม้ค้ำยัน
รั้วเป็นส่วนที่ใช้ล้อมรอบตัวเรือนกันชานมีลักษณะคล้ายกับฝาบ้าน
แต่มีช้องโปร่งตรงกลางแบ่งช้องไป
ตามช้วงเสารั้วในช้องโปร่งตรงกลางจะมีลูกกรงระแนงอยู่
ให้ใช้วิธีเดียวกับการทำฝาบ้านโดยวัดระยะ
ความยาวทั้งหมดของเสารั้วด้านหน้าและแบ่งช้องให้เท่ากัน
ความสูงของรั้วจะประมาณ
2.4 ซ.ม.
ฉลุ
ให้เป็นช้องโปร่งทุกช้วงเสาให้เว้นบริเวณเสาไว้ประมาณ
4 ม.ม.
ส้วนบน
4 ม.ม.
ส่วนล้าง
7 ม.ม.
และให้ช่วงท่ีเสาคู่กลางทำซุ้มประตู
จากนั้นให้วางลายของพึง
,ลูกฝัก
และใส่ลูกกรงแล้วนำไปขัดให้เรียบ
จึงมาใส่ประตู
เสร็จแล้วให้ใส่เสาสี่เหลี่ยม
2 x 2 ม.ม.
สองต้นสูง
3.8 ซ.ม.
ระยะห่าง
1.2 ซ.ม.โดยให้
ประกอบติดกับตัวรั้วตั้งแต่หลังพึงขึ้นไปจากนั้นก็ทำหลังคาซุ้ม
เริ่มจากทำปั้นลมเสร็จก็วางคาวบนเสา
ทั้งสองเสาเป็นลักษณะแขนยื้นออกมาและวางแปร
2 ม.ม.
ยาว
2.4 ซ.ม.
ที่ปลายแขนทั้สองข้างนำไม้
ขนาด
1 ม.ม.
ยาว
2.4 ม.ม.
มาทำ
อกไก่ มาประกอบไว้บนแขนแล้วนำปั้นลมมาติด
, มุงหลัง
,ใส่ครอบ
ปิดขอบแนวปั้นลม
, และไม้ค้ำยัน
(แขนที่ทำจะเหมือนกับไม้กางเขนดั้งด้านบนสูง
8 ม.ม.)
ในส่วนของ
รั้วด้านข้างก็ให้วัดระยะและใช้ขั้นตอนเดียวกันทั้หมด
ต่อมาให้ใช้ไม้ขนาด
1 x 1 ม.ม.
มาทำค้ำยันกันสาด
ให้วัดจากใต้ชายกันสาดบริเวณจันทันของกันสาดลงมาถึงตรงกลางพึงแล้วตัดใส่
ให้ตรงกับบริเวณเสา
เรือนกับจันทันโดยให้ความเฉียงอยู่ในแนวเดียวกัน
ส่วนที่จะต้องติดค้ำยันมีสามส่วนคือ
ฝาด้านหลัง
ให้ติดแนวเสาทั้งสี่ต้นเรียงกันและฝาด้านข้างอีกด้านระสามอัน
คือตรงเสาระหว่างห้องเสาระหนึ่งอันกับ
ตรงกลางระหว่างเสาห้องอีกหนึ่งอันรวมเป็นด้านละสามอันสุดท้าย
คือการทำบรรใดขั้นของบรรใดจะมีอยู่
9
ขั้นใช้ไม้
0.5 x 3
ม.ม.วัดความยาวลงมาให้ทอดเฉียงประมาณ
45 องศา
แล้วตัดจำนวนสองอันใช้ไม้
ขนาดเดียวกันทำขั้นบรรใดให้กว้าง
1.2 ซ.ม.
ในแต่ละขั้นให้แบ่งตามความยาวจนครบ
9 ขั้น
และนำไป
ประกอบติดตรงซุ้มประตูก็เป็นอันเสร็จขั้นตอนการทำบ้านทรงไทยแล้วก็ทำการถอดออกจากบล๊อกแล้วนำ
ไปเครือบด้วยแลคเกอร์ก็เป็นอันเสร็จวิธีการสร้างโดยสังเขป