การบวช
1) เล่มที่ ๑๒
[๓๑๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
แม้เราก่อนตรัสรู้
ยังไม่ได้ตรัสรู้
เป็นโพธิสัตว์อยู่ทีเดียว
โดยตนเองเป็นผู้มีชาติเป็นธรรมดา
ก็ยังแสวงหาสิ่งมีชาติเป็นธรรมดานั่นแล
เป็นผู้มีชราเป็นธรรมดา
ก็ยังแสวงหาสิ่งมีชราเป็นธรรมดานั่นแล
เป็นผู้มีพยาธิเป็นธรรมดา
ก็ยังแสวงหาสิ่งมีพยาธิเป็นธรรมดานั่นแล
เป็นผู้มีมรณะเป็นธรรมดา
ก็ยังแสดงหาสิ่งมีมรณะเป็นธรรมดานั่นแล
เป็นผู้มีโศกเป็นธรรมดา
ก็ยังแสวงหาสิ่งมีความโศกเป็นธรรมดานั่นแล
เป็นผู้มีสังกิเลสเป็นธรรมดา
ก็ยังแสวงหาสิ่งมีสังกิเลสเป็นธรรมดานั้นแล
เราจึงคิดดังนี้ว่า
เราเป็นผู้มีชาติเป็นธรรมดา
ไฉนจึงยังแสวงหาสิ่งมีชาติเป็นธรรมดาอยู่เล่า
เป็นผู้มีชราเป็นธรรมดา
ไฉนจึงยังแสวงหาสิ่งมีชราเป็นธรรมดาอยู่เล่า
เป็นผู้มีพยาธิเป็นธรรมดา
ไฉนจึงยังแสวงหาสิ่งมีพยาธิเป็นธรรมดาอยู่เล่า
เป็นผู้มีมรณะเป็นธรรมดา
ไฉนจึงยังแสวงหาสิ่งมีมรณะเป็นธรรมดาอยู่เล่า
เป็นผู้มีโศกเป็นธรรมดา
ไฉนจึงยังแสวงหาสิ่งมีโศกเป็นธรรมดาอยู่เล่า
เป็นผู้มีสังกิเลสเป็นธรรมดา
ไฉนจึงยังแสวงหาสิ่งมีสังกิเลสเป็นธรรมดาอยู่เล่า
ไฉนหนอ
เราเมื่อเป็นผู้มีชาติเป็นธรรมดา
ก็ควรทราบชัด
โทษในสิ่งมีชาติเป็นธรรมดา
แล้วแสวงหาพระนิพพานที่ไม่เกิด
หาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้
เกษมจากโยคะ
เมื่อเป็นผู้มีชราเป็นธรรมดา
ก็ควรทราบชัดโทษในสิ่งมีชราเป็นธรรมดา
แล้วแสวงหาพระนิพพานที่ไม่แก่
หาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้
เกษมจากโยคะ
เมื่อเป็นผู้มีพยาธิเป็นธรรมดา
ก็ควรทราบชัดโทษในสิ่งมีพยาธิเป็นธรรมดา
แล้วแสวงหาพระนิพพานที่หายพยาธิมิได้
หาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้
เกษมจากโยคะ
เมื่อเป็นผู้มีมรณะเป็นธรรมดา
ก็ควรทราบชัดโทษในสิ่งมีมรณะเป็นธรรมดา
แล้วแสวงหาพระนิพพานที่ไม่ตาย
หาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้
เกษมจากโยคะ
เมื่อเป็นผู้มีโศกเป็นธรรมดา
ก็ควรทราบชัดโทษในสิ่งมีโศกเป็นธรรมดา
แล้วแสวงหาพระนิพพาน
ที่หาโศกไม่ได้
หาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้
เกษมจากโยคะ
เมื่อเป็นผู้มีสังกิเลสเป็นธรรมดา
ก็ควรทราบชัดโทษในสิ่งมีสังกิเลสเป็นธรรมดา
แล้วแสวงหาพระนิพพานที่ไม่เศร้าหมอง
หาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้
เกษมจากโยคะ.
[๓๑๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
สมัยต่อมา เรากำลังรุ่นหนุ่ม
แข็งแรงมีเกศาดำสนิท
ยังหนุ่มแน่น ตั้งอยู่ในปฐมวัย
เมื่อพระมารดาและพระบิดาไม่ทรงปรารถนาจะให้บวช
มีพระพักตร์อาบด้วยน้ำพระเนตร
ทรงกรรแสงอยู่
จึงปลงผมและหนวด
นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์
ออกบวชเป็นบรรพชิต
เมื่อบวชแล้ว
ก็เสาะหาว่ากุศลเป็นอย่างไร ...
2) เล่มที่ ๑๒
[๔๕๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ตถาคตอุบัติในโลกนี้
เป็นพระอรหันต์
ตรัสรู้เองโดยชอบ
ถึงพร้อมแล้วด้วยวิชชาและจรณะ
ไปดีแล้ว รู้แจ้งโลก
เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก
ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า
เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
เป็นผู้ตื่นแล้ว
เป็นผู้จำแนกธรรม
ตถาคตนั้น
ทำโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก
พรหมโลก
ให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเอง
แล้วสอนหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์
เทวดาและมนุษย์ให้รู้ตาม
แสดงธรรมงามในเบื้องต้น
งามในท่ามกลาง งามในที่สุด
ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ
ทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์
บริบูรณ์สิ้นเชิง
คฤหบดี บุตรคฤหบดี
หรือผู้เกิดภายหลัง
ในสกุลใดสกุลหนึ่ง
ย่อมฟังธรรมนั้น
ครั้นฟังธรรมแล้ว
ได้ศรัทธาในตถาคต
เมื่อได้ศรัทธานั้นแล้ว
ย่อมตระหนักว่า ฆราวาสคับแคบ
เป็นทางมาแห่งธุลี
บรรพชาเป็นทางปลอดโปร่ง
การที่บุคคลผู้ครองเรือนจะประพฤติพรหมจรรย์ให้บริบูรณ์
ให้บริสุทธิ์โดยส่วนเดียว
ดุจสังข์ที่เขาขัด
ไม่ใช่ทำได้ง่าย ถ้ากระไร
เราพึงปลงผมและหนวด
นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ออกบวชเป็นบรรพชิต
สมัยต่อมา
เขาละกองโภคสมบัติน้อยใหญ่
ละเครือญาติน้อยใหญ่
ปลงผมและหนวด
นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์
ออกบวชเป็นบรรพชิต.
3) เล่มที่ ๗
[๔๖๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เปรียบเหมือนแม่น้ำใหญ่บางสาย
คือ
แม่น้ำ คงคา ยมุนา อจิรวดี สรภู
มหี
ไหลถึงมหาสมุทรแล้วย่อมละนามและโคตรเดิมเสีย
ถึงซึ่งอันนับว่ามหาสมุทรทีเดียว
วรรณะ ๔ เหล่านี้ คือ กษัตริย์
พราหมณ์ แพศย์ ศูทร ก็เหมือนกัน
ออกจากเรือน บวชเป็นบรรพชิต
ในธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว
ย่อมละชื่อและตระกูลเดิมเสีย
ถึงซึ่งอันนับว่า
สมณะเชื้อสายพระศากยบุตรทีเดียว
ข้อที่วรรณะ ๔ เหล่านี้ คือ
กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร
ออกจากเรือน บวชเป็นบรรพชิต
ในธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว
ย่อมละชื่อและตระกูลเดิมเสีย
ถึงซึ่งอันนับว่าสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรทีเดียว
แม้นี้ก็เป็นความอัศจรรย์ไม่เคยมีในธรรมวินัยนี้
เป็นข้อที่ ๔
ที่ภิกษุทั้งหลายพบเห็นแล้วพากันชื่นชมในธรรมวินัยนี้
4) เล่มที่ ๒๐
[๒๔๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ในโลกมีความเพียรซึ่งเกิดได้ยาก
๒ อย่าง
๒ อย่างเป็นไฉน
คือ
ความเพียรเพื่อทำให้เกิดจีวร
บิณฑบาต เสนาสนะ และ
คิลานปัจจัยเภสัชบริขารของคฤหัสถ์ผู้อยู่ครองเรือน
๑
ความเพียรเพื่อสละคืนอุปธิทั้งปวงของผู้ที่ออกบวชเป็นบรรพชิต
๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ในโลกมีความเพียรซึ่งเกิดได้ยาก
๒ อย่างนี้แล
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
บรรดาความเพียร ๒ อย่างนี้
ความเพียรเพื่อสละคืนอุปธิทั้งปวงเป็นเลิศ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เพราะฉะนั้นแหละ
เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า
เราจักเริ่มตั้งความเพียรเพื่อสละคืนอุปธิทั้งปวง
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แล
ฯ
5) ๔. สมยสูตร
เล่มที่ ๒๒
[๕๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
สมัยที่ไม่ควรบำเพ็ญเพียร ๕
ประการนี้
๕ ประการเป็นไฉน คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นคนแก่
ถูกชราครอบงำ
นี้เป็นสมัยที่ไม่ควรบำเพ็ญเพียรข้อที่
๑
อีกประการหนึ่ง
ภิกษุเป็นผู้อาพาธ
ถูกพยาธิครอบงำ
นี้เป็นสมัยที่ไม่ควรบำเพ็ญเพียรข้อที่
๒
อีกประการหนึ่ง
สมัยที่มีข้าวแพง ข้าวเสียหาย
มีบิณฑบาตหาได้ยาก
ไม่สะดวกที่จะยังอัตตภาพให้เป็นไปได้ด้วยการแสวงหาบิณฑบาต
นี้เป็นสมัยที่ไม่ควรบำเพ็ญเพียรข้อที่
๓
อีกประการหนึ่ง สมัยที่มีภัย
มีความกำเริบในป่าดง
ชาวชนบทพากันขึ้นยานพาหนะอพยพไป
นี้เป็นสมัยที่ไม่ควรบำเพ็ญเพียรข้อที่
๔
อีกประการหนึ่ง
สมัยที่สงฆ์แตกกัน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ก็เมื่อสงฆ์แตกกันแล้ว
ย่อมมีการด่ากันและกัน
บริภาษกันและกัน
มีการใส่ร้ายกันและกัน
มีการทอดทิ้งกันและกัน
คนผู้ไม่เลื่อมใสในสงฆ์หมู่นั้นย่อมไม่เลื่อมใส
และคนบางพวกที่เลื่อมใสย่อมเป็นอย่างอื่นไป
นี้เป็นสมัยที่ไม่ควรบำเพ็ญเพียรข้อที่
๕
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
สมัยที่ไม่ควรบำเพ็ญเพียร ๕
ประการนี้แล ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
สมัยที่ควรบำเพ็ญเพียร ๕
ประการนี้
๕ ประการ เป็นไฉน คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เป็นหนุ่มแน่น มีผมดำสนิท
ประกอบด้วยความเป็นหนุ่ม
ตั้งอยู่ในปฐมวัย
นี้เป็นสมัยที่ควรบำเพ็ญเพียรข้อที่
๑
อีกประการหนึ่ง
ภิกษุเป็นผู้มีอาพาธน้อย
มีโรคเบาบาง
ประกอบด้วยไฟธาตุที่เผาอาหารให้ย่อยสม่ำเสมอ
ไม่เย็นนัก ไม่ร้อนนัก
เป็นปานกลาง
ควรแก่การบำเพ็ญเพียร
นี้เป็นสมัยที่ควรบำเพ็ญเพียรข้อที่
๒ ฯ
อีกประการหนึ่ง สมัยที่ข้าวถูก
ข้าวดี มีบิณฑบาตหาได้ง่าย
สะดวกที่จะยังอัตตภาพให้เป็นไปด้วยการแสวงหาบิณฑบาต
นี้เป็นสมัยที่ควรบำเพ็ญเพียรข้อที่
๓ ฯ
อีกประการหนึ่ง
สมัยที่พวกมนุษย์พร้อมเพรียงกัน
[สามัคคีกัน]
ยินดีต่อกัน ไม่วิวาทกัน
เป็นเหมือนน้ำนมกับน้ำ
มองดูกันและกันด้วยจักษุที่ประกอบด้วยความรัก
นี้เป็นสมัยที่ควรบำเพ็ญเพียรข้อที่
๔ ฯ
อีกประการหนึ่ง
สมัยที่สงฆ์พร้อมเพรียงกัน
ยินดีต่อกัน ไม่วิวาทกัน
มีอุเทศร่วมกัน
ย่อมอยู่เป็นผาสุก
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เมื่อสงฆ์สมัครสมานกัน
ย่อมไม่มีการด่ากันและกัน
ไม่บริภาษกันและกัน
ไม่มีการใส่ร้ายกันและกัน
ไม่มีการทอดทิ้งกันและกัน
คนผู้ไม่เลื่อมใสในสงฆ์หมู่นั้น
ย่อมเลื่อมใส
และคนที่เลื่อมใสแล้ว
ย่อมเลื่อมใสยิ่งขึ้นไป
นี้เป็นสมัยที่ควรบำเพ็ญเพียรข้อที่
๕
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
สมัยที่ควรบำเพ็ญเพียร ๕
ประการนี้แล ฯ
จบสูตรที่ ๔