โกรธ
(1) ธนัญชานีสูตรที่ ๑
เล่มที่ ๑๕
[๖๒๖]
ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้-
สมัยหนึ่ง
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในพระวิหารเวฬุวัน
อันเป็นที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต
เขตพระนครราชคฤห์
ก็โดยสมัยนั้นแล
นางพราหมณีชื่อธนัญชานีแห่งพราหมณ์
ผู้ภารทวาชโคตรคนหนึ่ง
เป็นผู้เลื่อมใสยิ่งในพระพุทธเจ้า
พระธรรม และพระสงฆ์ ฯ
[๖๒๗] ครั้งนั้นแล
นางธนัญชานีพราหมณี
กำลังนำภัตเข้าไป
เพื่อพราหมณ์ภารทวาชโคตร
ก้าวเท้าพลาดจึงเปล่งอุทาน ๓
ครั้งว่า
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น...
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นฯ
เมื่อนางธนัญชานีพราหมณีกล่าวอย่างนี้แล้ว
พราหมณ์ภารทวาชโคตรได้กล่าวกะนางธนัญชานีพราหมณีว่า
ก็หญิงถ่อยนี้กล่าวคุณของสมณะโล้นอย่างนี้
อย่างนี้ ไม่ว่าที่ไหนๆ
แน่ะหญิงถ่อย
บัดนี้เราจักยกวาทะต่อพระศาสดานั้นของเจ้า
ฯ
นางธนัญชานีพราหมณีกล่าวว่า
พราหมณ์
ฉันยังไม่เห็นบุคคลผู้จะพึงยกถ้อยคำต่อพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นในโลก
พร้อมด้วยเทวโลก มารโลก พรหมโลก
ในหมู่สัตว์พร้อมด้วยสมณพราหมณ์เทวดาและมนุษย์
ข้าแต่พราหมณ์ เอาเถิด ท่านจงไป
แม้ไปแล้วก็จักรู้ฯ
[๖๒๘] ลำดับนั้นแล
พราหมณ์ภารทวาชโคตรโกรธขัดใจ
เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ครั้นแล้ว
สนทนาปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคแล้ว
นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ฯ
พราหมณ์ภารทวาชโคตรนั่ง ณ
ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว
ได้กล่าวกะพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า
บุคคลฆ่าอะไรได้ ย่อมนอนเป็นสุข
ฆ่าอะไรได้ ย่อมไม่เศร้าโศก
ข้าแต่พระโคดม
พระองค์ย่อมชอบใจการฆ่าธรรมอะไรเป็นธรรมอันเอกฯ
[๖๒๙] พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
บุคคลฆ่าความโกรธได้
ย่อมนอนเป็นสุข
ฆ่าความโกรธได้ย่อมไม่เศร้าโศก
ดูกรพราหมณ์
พระอริยะเจ้าทั้งหลายย่อมสรรเสริญการฆ่าความโกรธ
อันมีมูลเป็นพิษ
มีที่สุดอันคืนคลาย
เพราะว่าบุคคลฆ่าความโกรธนั้นได้แล้ว
ย่อมไม่เศร้าโศก ฯ
[๖๓๐]
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว
พราหมณ์ภารทวาชโคตรได้
กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ
ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ
ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก
พระโคดมผู้เจริญทรงประกาศพระธรรมโดยปริยายเป็นอันมาก
เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ
เปิดของที่ปิด
บอกทางแก่คนหลงทาง
หรือส่องประทีปในที่มืดด้วยคิดว่า
คนมีจักษุย่อมเห็นรูปได้ ฉะนั้น
ข้าพระองค์นี้
ขอถึงพระโคดมผู้เจริญกับทั้งพระธรรมและพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ
ขอข้าพระองค์พึงได้บรรพชา
พึงได้อุปสมบทในสำนักของพระโคดมผู้เจริญ
ฯ
พราหมณ์ภารทวาชโคตรได้บรรพชาได้อุปสมบทแล้วในสำนักของพระผู้มีพระภาค
ก็ท่านพระภารทวาชอุปสมบทแล้วไม่นาน
หลีกไปอยู่ผู้เดียวไม่ประมาท
มีความเพียร
มีตนส่งไปอยู่ไม่นานเท่าไรนัก
ก็กระทำให้แจ้งซึ่งคุณวิเศษอันยอดเยี่ยม
เป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์
ซึ่งกุลบุตรทั้งหลายผู้ออกจากเรือน
บวชเป็นบรรพชิตโดยชอบ
มีความต้องการด้วยปัญญาเป็นเครื่องรู้ยิ่งเองในปัจจุบันนี้เข้าถึงอยู่
ได้ทราบว่า ชาติสิ้นแล้ว
พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว
กิจที่จะต้องทำได้ทำเสร็จแล้ว
กิจอื่นอีกเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี
ก็แหละท่านพระภารทวาชได้เป็นพระอรหันต์รูปหนึ่ง
ในบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย
ดังนี้แลฯ
(2) อักโกสกสูตรที่ ๒
เล่มที่ ๑๕
[๖๓๑] สมัยหนึ่ง
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในพระวิหารเวฬุวัน
อันเป็นที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต
เขตพระนครราชคฤห์ ฯ
อักโกสกภารทวาชพราหมณ์ได้สดับมาว่า
ได้ยินว่า
พราหมณ์ภารทวาชโคตรออกจากเรือน
บวชเป็นบรรพชิต
ในสำนักของพระสมณโคดมแล้ว
ดังนี้ โกรธ ขัดใจ
เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ครั้นแล้ว
ด่าบริภาษพระผู้มีพระภาคด้วยวาจาอันหยาบคาย
มิใช่ของสัตบุรุษ ฯ
[๖๓๒]
เมื่ออักโกสกภารทวาชพราหมณ์กล่าวอย่างนี้แล้ว
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะอักโกสกภารทวาชพราหมณ์ว่า
ดูกรพราหมณ์ ท่านย่อมสำคัญ
ความข้อนั้นเป็นไฉน
มิตรและอำมาตย์ ญาติสาโลหิต
ผู้เป็นแขกของท่าน
ย่อมมาบ้างไหม ฯ
อักโกสกภารทวาชพราหมณ์ตอบว่า
พระโคดมผู้เจริญ มิตรและอำมาตย์
ญาติสาโลหิต
ผู้เป็นแขกของข้าพระองค์ย่อมมาเป็นบางคราว
ฯ
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ดูกรพราหมณ์
ท่านย่อมสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
ท่านจัดของเคี้ยวของบริโภคหรือของดื่ม
ต้อนรับมิตรและอำมาตย์ญาติสาโลหิต
ผู้เป็นแขกเหล่านั้นบ้างหรือไม่ฯ
อ. พระโคดมผู้เจริญ
ข้าพระองค์จัดของเคี้ยวของบริโภคหรือของดื่ม
ต้อนรับมิตรและอำมาตย์ญาติสาโลหิตผู้เป็นแขกเหล่านั้นบ้างในบางคราวฯ
พ. ดูกรพราหมณ์
ก็ถ้าว่ามิตรและอำมาตย์ญาติสาโลหิตผู้เป็นแขกเหล่านั้น
ไม่รับของเคี้ยวของบริโภคหรือของดื่มนั้น
จะเป็นของใคร ฯ
อ. พระโคดมผู้เจริญ
ถ้าว่ามิตรและอำมาตย์ญาติสาโลหิตผู้เป็นแขกเหล่านั้น
ไม่รับของเคี้ยวของบริโภคหรือของดื่มนั้น
ก็เป็นของข้าพระองค์อย่างเดิม ฯ
พ. ดูกรพราหมณ์
ข้อนี้ก็อย่างเดียวกัน
ท่านด่าเรา ผู้ไม่ด่าอยู่
ท่านโกรธเรา ผู้ไม่โกรธอยู่
ท่านหมายมั่นเรา
ผู้ไม่หมายมั่นอยู่
เราไม่รับเรื่องมีการด่าเป็นต้นของท่านนั้น
ดูกรพราหมณ์
เรื่องมีการด่าเป็นต้นนั้นก็เป็นของท่านผู้เดียว
ดูกรพราหมณ์
เรื่องมีการด่าเป็นต้นนั้นก็เป็นของท่านผู้เดียว
แล้วตรัสต่อไปว่า ดูกรพราหมณ์
ผู้ใดด่าตอบบุคคลผู้ด่าอยู่
โกรธตอบบุคคลผู้โกรธอยู่
หมายมั่นตอบบุคคลผู้หมายมั่นอยู่
ดูกรพราหมณ์ ผู้นี้เรากล่าวว่า
ย่อมบริโภคด้วยกัน
ย่อมกระทำตอบกัน
เรานั้นไม่บริโภคร่วม
ไม่กระทำตอบด้วยท่านเป็นอันขาด
ดูกรพราหมณ์
เรื่องมีการด่าเป็นต้นนั้นเป็นของท่านผู้เดียว
ดูกรพราหมณ์
เรื่องมีการด่าเป็นต้นนั้นเป็นของท่านผู้เดียว
ฯ
อ. บริษัทพร้อมด้วยพระราชา
ย่อมทราบพระโคดมผู้เจริญ
อย่างนี้ว่า
พระสมณโคดมเป็นพระอรหันต์
ก็เมื่อเป็นเช่นนั้น
ไฉนพระโคดมผู้เจริญ
จึงยังโกรธอยู่เล่าฯ
[๖๓๓] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ผู้ไม่โกรธ ฝึกฝนตนแล้ว
มีความเป็นอยู่สม่ำเสมอ
หลุดพ้นแล้ว เพราะรู้ชอบ สงบ
คงที่อยู่
ความโกรธจักมีมาแต่ที่ไหน
ผู้ใดโกรธตอบบุคคลผู้โกรธแล้ว
ผู้นั้นเป็นผู้ลามกกว่าบุคคลนั้นแหละ
เพราะการโกรธตอบนั้น
บุคคลไม่โกรธตอบบุคคลผู้โกรธแล้ว
ชื่อว่าย่อมชนะสงครามอันบุคคลชนะได้โดยยาก
ผู้ใดรู้ว่าผู้อื่นโกรธแล้ว
เป็นผู้มีสติ สงบเสียได้
ผู้นั้นชื่อว่าย่อมประพฤติประโยชน์แก่ทั้งสองฝ่าย
คือแก่ตนและแก่บุคคลอื่น
เมื่อผู้นั้นรักษาประโยชน์อยู่ทั้งสองฝ่าย
คือของตนและของบุคคลอื่น
ชนทั้งหลายผู้ไม่ฉลาดในธรรม
ย่อมสำคัญบุคคลนั้นว่าเป็นคนเขลา
ดังนี้ฯ
[๖๓๔]
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว
อักโกสกภารทวาชพราหมณ์
ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ
ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้ง นัก
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ
ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก
พระโคดมผู้เจริญ
ทรงประกาศพระธรรมโดยปริยายเป็นอันมาก
เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ
เปิดของที่ปิด
บอกทางแก่คนหลงทาง
หรือส่องประทีปในที่มืดด้วยคิดว่า
คนมีจักษุ ย่อมเห็นรูปได้ฉะนั้น
ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระโคดมผู้เจริญ
พระธรรม และพระ
ภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ
ขอข้าพระองค์พึงได้บรรพชาพึงได้อุปสมบทในสำนักของ
พระโคดมผู้เจริญ ฯ
อักโกสกภารทวาชพราหมณ์ได้บรรพชาได้อุปสมบทแล้วในสำนักของ
พระผู้มีพระภาค
ก็ท่านอักโกสกภารทวาชอุปสมบทแล้วไม่นานแล
หลีกไปอยู่ ผู้เดียว ไม่ประมาท
มีความเพียร มีตนส่งไปอยู่
ไม่นานเท่าไรนัก ก็กระทำให้
แจ้งซึ่งคุณวิเศษอันยอดเยี่ยมเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ซึ่งกุลบุตรทั้งหลายออกจาก
เรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบมีความต้องการ
ด้วยปัญญาเป็นเครื่องรู้ยิ่งเองใน
ปัจจุบันนี้เข้าถึงอยู่
ได้ทราบว่าชาติสิ้นแล้ว
พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว
กิจที่จะต้อง ทำได้ทำเสร็จแล้ว
กิจอื่นอีกเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี
ก็แหละท่านพระอักโกสก-
*ภารทวาชะได้เป็นพระอรหันต์รูปหนึ่ง
ในบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย
ดังนี้แล ฯ
(3) อสุรินทกสูตรที่ ๓
เล่มที่ ๑๕
[๖๓๕] สมัยหนึ่ง
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในพระวิหารเวฬุวัน
อันเป็นที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต
เขตพระนครราชคฤห์ ฯ
อสุรินทกภารทวาชพราหมณ์ได้สดับมาว่า
ได้ยินว่า พราหมณ์ภารทวาชโคตร
ออกจากเรือน
บวชเป็นบรรพชิตในสำนักของพระสมณโคดม
โกรธขัดใจ
เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ครั้นแล้ว ด่า
บริภาษพระผู้มีพระภาคด้วยวาจาอันหยาบคาย
มิใช่ของสัตบุรุษ ฯ
เมื่ออสุรินทกภารทวาชพราหมณ์กล่าวอย่างนี้แล้ว
พระผู้มีพระภาคได้ทรงนิ่งเสีย ฯ
ลำดับนั้นแล
อสุรินทกภารทวาชพราหมณ์ได้กล่าวกะพระผู้มีพระภาคว่า
พระสมณะ เราชนะท่านแล้ว พระสมณะ
เราชนะท่านแล้ว ฯ
[๖๓๖] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ชนพาลกล่าวคำหยาบด้วยวาจา
ย่อมสำคัญว่าชนะทีเดียว
แต่ความอดกลั้นได้เป็นความชนะของบัณฑิตผู้รู้แจ้งอยู่
ผู้ใดโกรธตอบบุคคลผู้โกรธแล้ว
ผู้นั้นเป็นผู้ลามกกว่าบุคคลผู้โกรธแล้ว
เพราะการโกรธตอบนั้น
บุคคลไม่โกรธตอบบุคคลผู้โกรธแล้ว
ย่อมชื่อว่าชนะสงครามอันบุคคลชนะได้โดยยาก
ผู้ใดรู้ว่า ผู้อื่นโกรธแล้ว
เป็นผู้มีสติสงบอยู่ได้
ผู้นั้นชื่อว่าย่อมประพฤติประโยชน์แก่ทั้งสองฝ่าย
คือแก่ตนและแก่ผู้อื่น
เมื่อผู้นั้นรักษาประโยชน์อยู่ทั้งสองฝ่าย
คือของตนและของผู้อื่น
ชนทั้งหลายผู้ไม่ฉลาดในธรรม
ย่อมสำคัญบุคคลนั้นว่าเป็นคนเขลา
ดังนี้
[๖๓๗]
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว
อสุรินทกภารทวาชพราหมณ์
ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ
ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ
ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก
พระโคดมผู้เจริญ
ทรงประกาศพระธรรมโดยปริยายเป็นอันมาก
เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ
เปิดของที่ปิด
บอกทางแก่คนหลงทาง
หรือส่องประทีปในที่มืดด้วยคิดว่าคนมีจักษุย่อมเห็นรูปได้ฉะนั้น
ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระโคดมผู้เจริญ
พระธรรม
และพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ
ขอข้าพระองค์พึงได้บรรพชา
พึงได้อุปสมบทในสำนักของพระโคดมผู้เจริญฯ
อสุรินทกภารทวาชพราหมณ์ได้บรรพชา
ได้อุปสมบทแล้วในสำนักของพระผู้มีพระภาค
ก็ท่านอสุรินทกภารทวาชะอุปสมบทแล้วไม่นานแล
หลีกไปอยู่ผู้เดียว ไม่ประมาท
มีความเพียร มีตนส่งไปอยู่
ไม่นานเท่าไรนัก
ก็กระทำให้แจ้งซึ่งคุณวิเศษอันยอดเยี่ยมเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์
ซึ่งกุลบุตรทั้งหลายผู้ออกจากเรือน
บวชเป็นบรรพชิตโดยชอบ
มีความต้องการ
ด้วยปัญญาเป็นเครื่องรู้ยิ่งเอง
ในปัจจุบันนี้เข้าถึงอยู่
ได้ทราบว่าชาติสิ้นแล้ว
พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว
กิจที่จะต้องทำได้ทำเสร็จแล้ว
กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี
ก็แหละท่านพระอสุรินทกภารทวาชะได้เป็นพระอรหันต์รูปหนึ่ง
ในบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย
ดังนี้แล ฯ
(4)
พระโอวาทแสดงการเปรียบด้วยเลื่อย
เล่มที่ ๑๒
[๒๗๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
หากจะมีพวกโจรผู้มีความประพฤติต่ำช้า
เอาเลื่อยที่มีที่จับทั้งสองข้าง
เลื่อยอวัยวะใหญ่น้อยของพวกเธอ
แม้ในเหตุนั้นภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดมีใจคิดร้ายต่อโจรเหล่านั้น
ภิกษุหรือภิกษุณีรูปนั้น
ไม่ชื่อว่าเป็นผู้ทำตามคำสั่งสอนของเรา
เพราะเหตุที่อดกลั้นไม่ได้นั้น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ในข้อนั้น
เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า
จิตของเราจักไม่แปรปรวน
เราจักไม่เปล่งวาจาที่ลามก
เราจักอนุเคราะห์ผู้อื่นด้วยสิ่งที่เป็นประโยชน์
เราจักมีเมตตา
จิตไม่มีโทสะในภายใน
เราจักแผ่เมตตาจิตไปถึงบุคคลนั้น
และเราจักแผ่เมตตาอันไพบูลย์
ใหญ่ยิ่ง หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร
ไม่มีพยาบาท
ไปตลอดโลกทุกทิศทุกทาง
ซึ่งเป็นอารมณ์ของจิตนั้น
ดังนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
พวกเธอพึงศึกษาด้วยอาการดังที่กล่าวมานี้แล.
[๒๗๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ก็พวกเธอควรใส่ใจถึงโอวาท
แสดงการเปรียบด้วยเลื่อยนี้
เนืองนิตย์เถิด
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
พวกเธอจะไม่มองเห็นทางแห่งถ้อยคำที่มีโทษน้อย
หรือโทษมาก
ที่พวกเธอจะอดกลั้นไม่ได้
หรือยังจะมีอยู่บ้าง
ไม่มีพระเจ้าข้า
เพราะเหตุนั้นแหละ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
พวกเธอจงใส่ใจถึงโอวาทแสดงการเปรียบด้วยเลื่อยนี้เนืองนิตย์เถิด
ข้อนั้นจักเป็นประโยชน์และความสุขแก่พวกเธอสิ้นกาลนาน
ดังนี้แล.
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว
ภิกษุเหล่านั้นมีใจชื่นชมยินดีภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล้วแล.
(5) เล่มที่ ๑๑ ข้อ ๓๕๑
อาฆาตวัตถุ ๙ อย่าง
๑. ผูกอาฆาตด้วยคิดว่า
ผู้นี้ได้ประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เราแล้ว
๒. ผูกอาฆาตด้วยคิดว่า
ผู้นี้ประพฤติอยู่ซึ่งสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรา
๓. ผูกอาฆาตด้วยคิดว่า
ผู้นี้จักประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรา
๔. ผูกอาฆาตด้วยคิดว่า
ผู้นี้ได้ประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่บุคคล
ผู้เป็นที่รักเป็นที่ชอบใจของเราแล้ว
๕. ผูกอาฆาตด้วยคิดว่า
ผู้นี้ประพฤติอยู่ซึ่งสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่บุคคล
ผู้เป็นที่รักเป็นที่ชอบใจของเรา
๖. ผูกอาฆาตด้วยคิดว่า
ผู้นี้จักประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่บุคคล
ผู้เป็นที่รักเป็นที่ขอบใจของเรา
๗. ผูกอาฆาตด้วยคิดว่า
ผู้นี้ได้ประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่บุคคล
ผู้ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบใจของเราแล้ว
๘. ผูกอาฆาตด้วยคิดว่า
ผู้นี้ประพฤติอยู่ซึ่งสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่บุคคล
ผู้ไม่เป็นที่ชอบใจของเรา
๙. ผูกอาฆาตด้วยคิดว่า
ผู้นี้จักประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่บุคคล
ผู้ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบใจของเราฯ
[๓๕๒] อาฆาตปฏิวินัย ๙ อย่าง
๑.
บรรเทาความอาฆาตเสียด้วยคิดว่า
เขาได้ประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เราแล้ว
เพราะเหตุนั้น
การที่จะไม่ให้มีการประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรา
จะหาได้ในบุคคลนั้นแต่ที่ไหน
๒.
บรรเทาความอาฆาตเสียด้วยคิดว่า
เขาประพฤติอยู่ซึ่งสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรา
เพราะเหตุนั้น
การที่จะไม่ให้มีการประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรา
จะหาได้ในบุคคลนั้นแต่ที่ไหน
๓.
บรรเทาความอาฆาตเสียด้วยคิดว่า
เขาจักประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรา
เพราะเหตุนั้น
การที่จะไม่ให้มีการประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรา
จะหาได้ในบุคคลนั้นแต่ที่ไหน
๔.
บรรเทาความอาฆาตเสียด้วยคิดว่า
เขาได้ประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่บุคคลผู้เป็นที่รักที่ชอบใจของเราแล้ว
เพราะเหตุนั้น
การที่จะไม่ให้มีการประพฤติเช่นนั้น
จะหาได้ในบุคคลนั้นแต่ที่ไหน
๕.
บรรเทาความอาฆาตเสียด้วยคิดว่า
เขาประพฤติอยู่ซึ่งสิ่งที่ไม่เป็น
ประโยชน์แก่บุคคลผู้เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา
เพราะเหตุนั้น
การที่จะไม่มีการประพฤติเช่นนั้น
จะหาได้ในบุคคลนั้นแต่ที่ไหน
๖.
บรรเทาความอาฆาตเสียด้วยคิดว่า
เขาจักประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่บุคคลผู้เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา
เพราะเหตุนั้น
การที่จะไม่ให้มีการประพฤติเช่นนั้น
จะหาได้ในบุคคลนั้นแต่ที่ไหน
๗. บรรเทาความอาฆาตด้วยคิดว่า
เขาได้ประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่บุคคลผู้ไม่เป็นที่รัก
ไม่เป็นที่ชอบใจของเราแล้ว
เพราะเหตุนั้น
การที่จะไม่ให้มีการประพฤติเช่นนั้น
จะหาได้ในบุคคลนั้นแต่ที่ไหน
๘.
บรรเทาความอาฆาตเสียด้วยคิดว่า
เขาประพฤติอยู่ซึ่งสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่บุคคลผู้ไม่เป็นที่รัก
ไม่เป็นที่ชอบใจของเรา
เพราะเหตุนั้น
การที่จะไม่ให้มีการประพฤติเช่นนั้น
จะหาได้ในบุคคลนั้นแต่ที่ไหน
๙.
บรรเทาความอาฆาตเสียด้วยคิดว่า
เขาจักประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์
แก่บุคคลผู้ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบใจของเรา
เพราะเหตุนั้น
การที่จะไม่ให้มีการประพฤติเช่นนั้น
จะหาได้ในบุคคลนั้นแต่ที่ไหน
(6) เล่มที่ ๒๔
[๒๒๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เมื่อเมตตาเจโตวิมุติ
อันบุคคลเสพแล้ว เจริญแล้ว
ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจยาน
ทำให้เป็นที่ตั้ง
ให้ตั้งมั่นโดยลำดับ
สั่งสมดีแล้ว ปรารภด้วยดีแล้ว
พึงหวังอานิสงส์ ๑๑ ประการ
๑๑ ประการ เป็นไฉน คือ
ย่อมหลับเป็นสุข ๑
ย่อมตื่นเป็นสุข ๑
ย่อมไม่ฝันลามก ๑
ย่อมเป็นที่รักแห่งมนุษย์ทั้งหลาย
๑
ย่อมเป็นที่รักแห่งอมนุษย์ทั้งหลาย
๑
เทวดาทั้งหลายย่อมรักษา ๑
ไฟยาพิษหรือศาตราย่อมไม่กล้ำกรายได้
๑
จิตย่อมตั้งมั่นโดยรวดเร็ว ๑
สีหน้าย่อมผ่องใส ๑
เป็นผู้ไม่หลงใหลทำกาละ ๑
เมื่อไม่แทงตลอดคุณอันยิ่ง
ย่อมเป็นผู้เข้าถึงพรหมโลก ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เมื่อเมตตาเจโตวิมุติ
อันบุคคลเสพแล้ว เจริญแล้ว
ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจยาน
ทำให้เป็นที่ตั้ง
ให้ตั้งมั่นโดยลำดับ
สั่งสมดีแล้ว ปรารภด้วยดีแล้ว
พึงหวังอานิสงส์ ๑๑ ประการนี้แล ฯ
จบสูตรที่ ๕