ปฏิจจสมุปบาท
1) พระวินัยปิฎก เล่ม ๔ มหาวรรค ภาค
๑
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
มหาขันธกะ โพธิกถา
ปฏิจจสมุปบาทมนสิการ
[๑] โดยสมัยนั้น
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า
แรกตรัสรู้ ประทับอยู่ ณ
ควงไม้โพธิพฤกษ์
ใกล้ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา
ในอุรุเวลาประเทศ. ครั้งนั้น
พระผู้มีพระภาคประทับนั่งด้วยบัลลังก์เดียว
เสวยวิมุตติสุข ณ
ควงไม้โพธิพฤกษ์ตลอด ๗ วัน
และทรงมนสิการปฏิจจสมุปบาทเป็นอนุโลม
และปฏิโลม ตลอดปฐมยามแห่งราตรี
ว่าดังนี้:
ปฏิจจสมุปบาท อนุโลม
เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย
จึงมีสังขาร
เพราะสังขารเป็นปัจจัย
จึงมีวิญญาณ
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย
จึงมีนามรูป
เพราะนามรูปเป็นปัจจัย
จึงมีสฬายตนะ
เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย
จึงมีผัสสะ
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย
จึงมีเวทนา
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย
จึงมีตัณหา
เพราะตัณหาเป็นปัจจัย
จึงมีอุปาทาน
เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ
เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ
เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรา
มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส
อุปายาส
เป็นอันว่ากองทุกข์ทั้งมวลนั่นย่อมเกิด
ด้วยประการฉะนี้.
ปฏิจจสมุปบาท ปฏิโลม
อนึ่ง
เพราะอวิชชานั่นแหละดับโดยไม่เหลือด้วยมรรคคือวิราคะ
สังขารจึงดับ
เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ
เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ
เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ
เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ
เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ
เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ
เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ
เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ
เพราะภพดับ ชาติจึงดับ
เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ
ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส
จึงดับ
เป็นอันว่ากองทุกข์ทั้งมวลนั่นย่อมดับ
ด้วยประการฉะนี้.
2) มหานิทานสูตร (๑๕)
เล่มที่ ๑๐
[๕๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-
สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคประทับอยู่
ณ กุรุชนบท
มีนิคมของชาวกุรุ นามว่า
กัมมาสทัมมะ
ครั้งนั้น
ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้วถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค
แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ครั้นท่านพระอานนท์นั่งเรียบร้อยแล้ว
ได้กราบทูลความข้อนี้กะพระผู้มีพระภาคว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
น่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีมา
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ปฏิจจสมุบาทนี้ลึกซึ้งสุดประมาณ
และปรากฏเป็นของลึก
ก็แหละถึงจะเป็นเช่นนั้น
ก็ยังปรากฏแก่ข้าพระองค์เหมือนเป็นของตื้นนักฯ
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
เธออย่าพูดอย่างนั้น อานนท์
เธออย่าพูดอย่างนั้น อานนท์
ปฏิจจสมุบาทนี้ลึกซึ้งสุดประมาณและปรากฏเป็นของลึก
ดูกรอานนท์ เพราะไม่รู้จริง
เพราะไม่แทงตลอดซึ่งธรรมอันนี้
หมู่สัตว์นี้จึงเกิดเป็นผู้ยุ่งประดุจด้ายของช่างหูก
เกิดเป็นปมประหนึ่งกระจุกด้าย
เป็นผู้เกิดมาเหมือนหญ้ามุง
กระต่ายและหญ้าปล้อง
จึงไม่พ้นอุบาย ทุคติ วินิบาต
สงสาร
ดูกรอานนท์ เมื่อเธอถูกถามว่า
ชรามรณะมีสิ่งเป็นปัจจัยหรือ
เธอพึงตอบว่า มี
ถ้าเขาถามว่า
ชรามรณะมีอะไรเป็นปัจจัย
เธอพึงตอบว่า มีชาติเป็นปัจจัย
เมื่อเธอถูกถามว่า
ชาติมีสิ่งเป็นปัจจัยหรือ
เธอพึงตอบว่า มี
ถ้าเขาถามว่า
ชาติมีอะไรเป็นปัจจัย
เธอพึงตอบว่า มีภพเป็นปัจจัย
เมื่อเธอถูกถามว่า
ภพมีสิ่งเป็นปัจจัยหรือ
เธอพึงตอบว่า มี
ถ้าเขาถามว่า
ภพมีอะไรเป็นปัจจัย
เธอพึงตอบว่า
มีอุปาทานเป็นปัจจัย
เมื่อเธอถูกถามว่า
อุปาทานมีสิ่งเป็นปัจจัยหรือ
เธอพึงตอบว่า มี
ถ้าเขาถามว่า
อุปาทานมีอะไรเป็นปัจจัย
เธอพึงตอบว่า มีตัณหาเป็นปัจจัย
เมื่อเธอถูกถามว่า
ตัณหามีสิ่งเป็นปัจจัยหรือ
เธอพึงตอบว่า มี
ถ้าเขาถามว่า
ตัณหามีอะไรเป็นปัจจัย
เธอพึงตอบว่า มีเวทนาเป็นปัจจัย
เมื่อเธอถูกถามว่า
เวทนามีสิ่งเป็นปัจจัยหรือ
เธอพึงตอบว่า มี
ถ้าเขาถามว่า
เวทนามีอะไรเป็นปัจจัย
เธอพึงตอบว่า มีผัสสะเป็นปัจจัย
เมื่อเธอถูกถามว่า
ผัสสะมีสิ่งเป็นปัจจัยหรือ
เธอพึงตอบว่า มี
ถ้าเขาถามว่า
ผัสสะมีอะไรเป็นปัจจัย
เธอพึงตอบว่า
มีนามรูปเป็นปัจจัย
เมื่อเธอถูกถามว่า
นามรูปมีสิ่งเป็นปัจจัยหรือ
เธอพึงตอบว่า มี
ถ้าเขาถามว่า
นามรูปมีอะไรเป็นปัจจัย
เธอพึงตอบว่า
มีวิญญาณเป็นปัจจัย
เมื่อเธอถูกถามว่า
วิญญาณมีสิ่งเป็นปัจจัยหรือ
เธอพึงตอบว่า มี
ถ้าเขาถามว่า
วิญญาณมีอะไรเป็นปัจจัย
เธอพึงตอบว่า
มีนามรูปเป็นปัจจัย
ดูกรอานนท์
เพราะนามรูปเป็นปัจจัยดังนี้แลจึงเกิดวิญญาณ
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัยจึงเกิดนามรูป
เพราะนามรูปเป็นปัจจัยจึงเกิดผัสสะ
เพราะผัสสะเป็นปัจจัยจึงเกิดเวทนา
เพราะเวทนาเป็นปัจจัยจึงเกิดตัณหา
เพราะตัณหาเป็นปัจจัยจึงเกิดอุปาทาน
เพราะอุปาทานเป็นปัจจัยจึงเกิดภพ
เพราะภพเป็นปัจจัยจึงเกิดชาติ
เพราะชาติเป็นปัจจัยจึงเกิดชรามรณะ
โสกปริเทวทุกขโทมนัสอุปายาสฯ
ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ย่อมมีด้วยประการฉะนี้ฯ
[๕๘] ก็คำนี้ว่า
เพราะชาติเป็นปัจจัยจึงเกิดชรามรณะ
เรากล่าวอธิบายดังต่อไปนี้-
ดูกรอานนท์
เธอพึงทราบความข้อนี้
โดยปริยายแม้นี้
เหมือนที่เราได้กล่าวไว้ว่า
เพราะชาติเป็นปัจจัยจึงเกิดชรามรณะ
ดูกรอานนท์
ก็แลถ้าชาติมิได้มีแก่ใครๆ
ในภพไหนๆ ทั่วไปทุกแห่งหน คือ
มิได้มีเพื่อความเป็นเทพแห่งพวกเทพ
เพื่อความเป็นคนธรรพ์แห่งพวกคนธรรพ์
เพื่อความเป็นยักษ์แห่งพวกยักษ์
เพื่อความเป็นภูตแห่งพวกภูต
เพื่อความเป็นมนุษย์แห่งพวกมนุษย์
เพื่อความเป็นสัตว์สี่เท้าแห่งพวกสัตว์สี่เท้า
เพื่อความเป็นปักษีแห่งพวกปักษี
เพื่อความเป็นสัตว์เลื้อยคลานแห่งพวกสัตว์เลื้อยคลาน
ดูกรอานนท์
ก็ถ้าชาติมิได้มีเพื่อความเป็นอย่างนั้นๆ
แห่งสัตว์พวกนั้นๆ
เมื่อชาติไม่มีโดยประการทั้งปวง
เพราะชาติดับไป
ชราและมรณะจะพึงปรากฏได้บ้างไหม
ฯ
ไม่ได้เลยพระเจ้าข้า ฯ
เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ เหตุ
นิทาน สมุทัย ปัจจัยแห่งชรามรณะ
ก็คือชาตินั่นเองฯ
ก็คำนี้ว่า
เพราะภพเป็นปัจจัยจึงเกิดชาติ
เรากล่าวอธิบายดังต่อไปนี้-
ดูกรอานนท์
เธอพึงทราบข้อความนี้โดยปริยายแม้นี้
เหมือนที่เราได้กล่าวไว้ว่า
เพราะภพเป็นปัจจัยจึงเกิดชาติ
ดูกรอานนท์
ก็ถ้าภพมิได้มีแก่ใครๆ ในภพไหนๆ
ทั่วไปทุกแห่งหน คือ กามภพ รูปภพ
อรูปภพ
เมื่อภพไม่มีโดยประการทั้งปวง
เพราะภพดับไป
ชาติจะพึงปรากฏได้บ้างไหมฯ
ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ
เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ เหตุ
นิทาน สมุทัย ปัจจัยแห่งชาติ
ก็คือภพนั่นเองฯ
ก็คำนี้ว่า
เพราะอุปาทานเป็นปัจจัยจึงเกิดภพ
เรากล่าวอธิบายดังต่อไปนี้-
ดูกรอานนท์
เธอพึงทราบความข้อนี้โดยปริยายแม้นี้
เหมือนที่เราได้กล่าวไว้ว่า
เพราะอุปาทานเป็นปัจจัยจึงเกิดภพ
ดูกรอานนท์
ก็ถ้าอุปาทานมิได้มีแก่ใครๆ
ในภพไหนๆ ทั่วไปทุกแห่งหน คือ
กามุปาทาน ทิฏฐุปาทาน
สีลัพพตุปาทาน อัตตวาทุปาทาน
เมื่ออุปาทานไม่มี
โดยประการทั้งปวง
เพราะอุปาทานดับไป
ภพจะพึงปรากฏได้บ้างไหม ฯ
ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ
เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ เหตุ
นิทาน สมุทัย ปัจจัยแห่งภพ
ก็คืออุปาทานนั่นเองฯ
ก็คำนี้ว่า
เพราะตัณหาเป็นปัจจัยจึงเกิดอุปาทาน
เรากล่าวอธิบายดังต่อไปนี้-
ดูกรอานนท์
เธอพึงทราบความข้อนี้
โดยปริยายแม้นี้
เหมือนที่เราได้กล่าวไว้ว่า
เพราะตัณหาเป็นปัจจัยจึงเกิดอุปาทาน
ดูกรอานนท์
ก็ถ้าตัณหามิได้มีแก่ใครๆ
ในภพไหนๆ ทั่วไปทุกแห่งหน
คือรูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา
รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธรรมตัณหา
เมื่อตัณหาไม่มีโดยประการทั้งปวง
เพราะตัณหาดับไป
อุปาทานจะพึงปรากฏได้บ้างไหม ฯ
ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ
เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ เหตุ
นิทาน สมุทัย ปัจจัยแห่งอุปาทาน
ก็คือตัณหานั่นเองฯ
ก็คำนี้ว่า
เพราะเวทนาเป็นปัจจัยจึงเกิดตัณหา
เรากล่าวอธิบายไว้ดังต่อไปนี้-
ดูกรอานนท์
เธอพึงทราบความข้อนี้โดยปริยายแม้นี้
เหมือนที่เราได้กล่าวไว้ว่า
เพราะเวทนาเป็นปัจจัยจึงเกิดตัณหา
ดูกรอานนท์ ก็ถ้าเวทนามิได้มี
แก่ใครๆ ในภพไหนๆ
ทั่วไปทุกแห่งหน คือ
เวทนาที่เกิดเพราะจักษุสัมผัส
โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส
กายสัมผัส มโนสัมผัส
เมื่อเวทนาไม่มีโดยประการทั้งปวง
เพราะเวทนาดับไป
ตัณหาจะพึงปรากฏได้บ้างไหม ฯ
ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ
เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ เหตุ
นิทาน สมุทัย ปัจจัยแห่งตัณหา
ก็คือเวทนานั่นเองฯ
[๕๙] ดูกรอานนท์
ก็ด้วยประการดังนี้แล คำนี้ คือ
เพราะอาศัยเวทนาจึงเกิดตัณหา
เพราะอาศัยตัณหาจึงเกิดการแสวงหา
เพราะอาศัยการแสวงหาจึงเกิดลาภ
เพราะอาศัยลาภจึงเกิดการตกลงใจ
เพราะอาศัยการตกลงใจจึงเกิดการรักใคร่พึงใจ
เพราะอาศัยการรักใคร่พึงใจจึงเกิดการพะวง
เพราะอาศัยการพะวงจึงเกิดความยึดถือ
เพราะอาศัยความยึดถือจึงเกิดความตระหนี่
เพราะอาศัยความตระหนี่จึงเกิดการป้องกัน
เพราะอาศัยการป้องกันจึงเกิดเรื่องในการป้องกันขึ้น
อกุศลธรรมอันชั่วช้าลามกมิใช่น้อย
คือการถือไม้ ถือมีด การทะเลาะ
การแก่งแย่ง การวิวาท
การกล่าวว่า มึง มึง
การพูดคำส่อเสียด และการพูดเท็จ
ย่อมเกิดขึ้น
คำนี้เรากล่าวไว้ด้วยประการฉะนี้แล
ดูกรอานนท์
เธอพึงทราบความข้อนี้
โดยปริยายแม้นี้
เหมือนที่เราได้กล่าวว่า
เรื่องในการป้องกันอกุศลธรรม
อันชั่วช้าลามกมิใช่น้อย
คือการถือไม้ ถือมีด การทะเลาะ
การแก่งแย่ง การวิวาท
การกล่าวว่า มึง มึง
การพูดคำส่อเสียด และการพูดเท็จ
ย่อมเกิดขึ้น
ดูกรอานนท์
ก็ถ้าการป้องกันมิได้มีแก่ใครๆ
ในภพไหนๆ ทั่วไปทุกแห่งหน
เมื่อไม่มีการป้องกันโดยประการทั้งปวง
เพราะหมดการป้องกัน
อกุศลธรรมอันชั่วช้าลามกมิใช่น้อย
คือการถือไม้ ถือมีด การทะเลาะ
การแก่งแย่ง การวิวาท
การกล่าวว่า มึง มึง
การพูดคำส่อเสียด และการพูดเท็จ
จะพึงเกิดขึ้นได้บ้างไหม ฯ
ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ
เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ เหตุ
นิทาน สมุทัย ปัจจัยแห่งการเกิด
ขึ้นแห่งอกุศลธรรมอันชั่วช้าลามกเหล่านี้
คือ การถือไม้ ถือมีด การทะเลาะ
การ แก่งแย่ง การวิวาท
การกล่าวว่า มึง มึง
การกล่าวคำส่อเสียด
และการพูดเท็จ
ก็คือการป้องกันนั่นเองฯ
ก็คำนี้ว่า
เพราะอาศัยความตระหนี่จึงเกิดการป้องกัน
เรากล่าวอธิบายดังต่อไปนี้-
ดูกรอานนท์
เธอพึงทราบความข้อนี้โดยปริยายแม้นี้
เหมือนที่เราได้กล่าวไว้ว่า
เพราะอาศัยความตระหนี่จึงเกิดการป้องกัน
ดูกรอานนท์ ก็ถ้าความ
ตระหนี่มิได้มีแก่ใครๆ ในภพไหนๆ
ทั่วไปทุกแห่งหน
เมื่อไม่มีความตระหนี่โดยประการทั้งปวง
เพราะหมดความตระหนี่
การป้องกันจะพึงปรากฏได้บ้างไหม
ฯ
ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ
เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ เหตุ
นิทาน สมุทัย ปัจจัยแห่งการ
ป้องกัน
ก็คือความตระหนี่นั่นเองฯ
ก็คำนี้ว่า
เพราะอาศัยความยึดถือจึงเกิดความตระหนี่
เรากล่าวอธิบายดังต่อไปนี้-
ดูกรอานนท์
เธอพึงทราบความข้อนี้โดยปริยายแม้นี้
เหมือนที่เราได้กล่าวไว้ว่า
เพราะอาศัยความยึดถือจึงเกิดความตระหนี่
ดูกรอานนท์
ก็ถ้าความยึดถือมิได้มีแก่ใครๆ
ในภพไหนๆ ทั่วไปทุกแห่งหน
เมื่อไม่มีความยึดถือโดยประการทั้งปวง
เพราะดับความยึดถือเสียได้
ความตระหนี่จะพึงปรากฏได้บ้างไหม
ฯ
ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ
เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ เหตุ
นิทาน สมุทัย
ปัจจัยแห่งความตระหนี่
ก็คือความยึดถือนั้นเองฯ
ก็คำนี้ว่า
เพราะอาศัยการพะวงจึงเกิดความยึดถือ
เรากล่าวอธิบายดังต่อไปนี้-
ดูกรอานนท์
เธอพึงทราบความข้อนี้โดยปริยายแม้นี้
เหมือนที่เราได้กล่าวไว้ว่า
เพราะอาศัยการพะวงจึงเกิดความยึดถือ
ดูกรอานนท์
ก็ถ้าการพะวงมิได้มีแก่ใครๆ
ในภพไหนๆ ทั่วไปทุกแห่งหน
เมื่อไม่มีการพะวงโดยประการทั้งปวง
เพราะดับการพะวงเสียได้
ความยึดถือจะพึงปรากฏได้บ้างไหม
ฯ
ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ
เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ เหตุ
นิทาน สมุทัย
ปัจจัยแห่งความยึดถือ
ก็คือการพะวงนั่นเองฯ
ก็คำนี้ว่า
เพราะอาศัยความรักใคร่พึงใจจึงเกิดการพะวง
เรากล่าวอธิบายดังต่อไปนี้-
ดูกรอานนท์
เธอพึงทราบความข้อนี้โดยปริยายแม้นี้
เหมือนที่เราได้กล่าวไว้ว่า
เพราะอาศัยความรักใคร่พึงใจจึงเกิดการพะวง
ดูกรอานนท์
ก็ถ้าความรักใคร่พึงใจมิได้มีแก่ใครๆ
ในภพไหนๆ ทั่วไปทุกแห่งหน
เมื่อไม่มีความรักใคร่พึงใจโดยประการทั้งปวง
เพราะดับความรักใคร่พึงใจเสียได้
การพะวงจะพึงปรากฏได้บ้างไหม ฯ
ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ
เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ เหตุ
นิทาน สมุทัย ปัจจัยแห่งการพะวง
ก็คือความรักใคร่พึงใจนั่นเองฯ
ก็คำนี้ว่า
เพราะอาศัยความตกลงใจจึงเกิดความรักใคร่พึงใจ
เรากล่าวอธิบายดังต่อไปนี้-
ดูกรอานนท์
เธอพึงทราบความข้อนี้โดยปริยายแม้นี้
เหมือนที่เราได้กล่าวไว้ว่า
เพราะอาศัยความตกลงใจจึงเกิดความรักใคร่พึงใจ
ดูกรอานนท์
ก็ถ้าความตกลงใจมิได้มีแก่ใครๆ
ในภพไหนๆ ทั่วไปทุกแห่งหน
เมื่อไม่มีความตกลงใจโดยประการทั้งปวง
เพราะดับความตกลงใจเสียได้
ความรักใคร่พึงใจจะพึงปรากฏได้บ้างไหม
ฯ
ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ
เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ เหตุ
นิทาน สมุทัย ปัจจัยความรักใคร่
พึงใจ ก็คือความตกลงใจนั่นเองฯ
ก็คำนี้ว่า
เพราะอาศัยลาภจึงเกิดความตกลงใจ
เรากล่าวอธิบายดังต่อไปนี้-
ดูกรอานนท์
เธอพึงทราบความข้อนี้โดยปริยายแม้นี้
เหมือนที่เราได้กล่าวไว้ว่า
เพราะอาศัยลาภจึงเกิดความตกลงใจ
ดูกรอานนท์
ก็ถ้าลาภมิได้มีแก่ใครๆ
ในภพไหนๆ ทั่วไปทุกแห่งหน
เมื่อไม่มีลาภโดยประการทั้งปวง
เพราะหมดลาภ
ความตกลงใจจะพึงปรากฏได้บ้างไหม
ฯ
ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ
เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ เหตุ
นิทาน สมุทัย
ปัจจัยแห่งความตกลงใจ
ก็คือลาภนั่นเองฯ
ก็คำนี้ว่า
เพราะอาศัยการแสวงหาจึงเกิดลาภ
เรากล่าวอธิบายดังต่อไปนี้-
ดูกรอานนท์
เธอพึงทราบความข้อนี้โดยปริยายแม้นี้
เหมือนที่เราได้กล่าวไว้ว่า
เพราะอาศัยการแสวงหาจึงเกิดลาภ
ดูกรอานนท์
ก็ถ้าการแสวงหามิได้มีแก่ใครๆ
ในภพไหนๆ ทั่วไปทุกแห่งหน
เมื่อไม่มีการแสวงหาโดยประการทั้งปวง
เพราะหมดการแสวงหาลาภจะพึงปรากฏได้บ้างไหมฯ
ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ
เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ เหตุ
นิทาน สมุทัย ปัจจัยของลาภ ก็คือ
การแสวงหานั่นเองฯ
ก็คำนี้ว่า
เพราะอาศัยตัณหาจึงเกิดการแสวงหา
เรากล่าวอธิบายดังต่อไปนี้-
ดูกรอานนท์
เธอพึงทราบความข้อนี้โดยปริยายแม้นี้
เหมือนที่เราได้กล่าวไว้ว่า
เพราะอาศัยตัณหาจึงเกิดการแสวงหา
ดูกรอานนท์
ก็ถ้าตัณหามิได้มีแก่ใครๆ
ในภพไหนๆ ทั่วไปทุกแห่งหน คือ
กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา
เมื่อไม่มีตัณหาโดยประการทั้งปวง
เพราะดับตัณหาเสียได้
การแสวงหาจะพึงปรากฏได้บ้างไหม
ฯ
ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ
เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ เหตุ
นิทาน สมุทัย ปัจจัยของการ
แสวงหาก็คือตัณหานั่นเองฯ
[๖๐] ดูกรอานนท์
ธรรมทั้งสองเหล่านี้รวมเป็นอันเดียวกันกับเวทนา
โดยส่วนสองด้วยประการดังนี้แลฯ
ก็คำนี้ว่า
เพราะผัสสะเป็นปัจจัยจึงเกิดเวทนา
เรากล่าวอธิบายดังต่อไปนี้
ดูกรอานนท์
เธอพึงทราบความข้อนี้โดยปริยายแม้นี้
เหมือนที่เราได้กล่าวไว้ว่า
เพราะผัสสะเป็นปัจจัยจึงเกิดเวทนา
ดูกรอานนท์
ก็ถ้าผัสสะมิได้มีแก่ใครๆ
ในภพไหนๆ ทั่วไปทุกแห่งหน
คือจักษุสัมผัส โสตสัมผัส
ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส
มโนสัมผัส
เมื่อไม่มีผัสสะโดยประการทั้งปวง
เพราะดับผัสสะเสียได้เวทนาจะพึงปรากฏได้บ้างไหม
ฯ
ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ
เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ เหตุ
นิทาน สมุทัย ปัจจัยแห่งเวทนา
ก็คือผัสสะนั่นเองฯ
ก็คำนี้ว่า
เพราะนามรูปเป็นปัจจัยจึงเกิดผัสสะ
เรากล่าวอธิบายดังต่อไปนี้-
ดูกรอานนท์
เธอพึงทราบความข้อนี้โดยปริยายแม้นี้
เหมือนที่เราได้กล่าวไว้ว่า
เพราะนามรูปเป็นปัจจัยจึงเกิดผัสสะ
ดูกรอานนท์ การบัญญัตินามกาย
ต้องพร้อมด้วยอาการ เพศ นิมิต
อุเทศ เมื่ออาการ เพศ นิมิต
และอุเทศ นั้นๆ ไม่มี
การสัมผัสเพียงแต่ชื่อในรูปกายจะพึงปรากฏได้บ้างไหมฯ
ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ
ดูกรอานนท์ การบัญญัติรูปกาย
ต้องพร้อมด้วยอาการ เพศ นิมิต
อุเทศ
เมื่ออาการ เพศ นิมิต อุเทศนั้นๆ
ไม่มี
การสัมผัสโดยการกระทบจะพึงปรากฏในนามกายได้บ้างไหมฯ
ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ
ดูกรอานนท์ การบัญญัตินามก็ดี
รูปกายก็ดี ต้องพร้อมด้วยอาการ
เพศ นิมิต อุเทศ เมื่ออาการ เพศ
นิมิต อุเทศนั้นๆ ไม่มี
การสัมผัสเพียงแต่ชื่อก็ดี
การสัมผัสโดยการกระทบก็ดี
จะพึงปรากฏได้บ้างไหมฯ
ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ
ดูกรอานนท์
การบัญญัตินามรูปต้องพร้อมด้วยอาการ
เพศ นิมิต อุเทศ
เมื่ออาการ เพศ นิมิต อุเทศนั้นๆ
ไม่มี
ผัสสะจะพึงปรากฏได้บ้างไหมฯ
ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ
เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ เหตุ
นิทาน สมุทัย ปัจจัยแห่งผัสสะ
ก็คือนามรูปนั่นเองฯ
ก็คำนี้ว่า
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัยจึงเกิดนามรูป
เรากล่าวอธิบายดังต่อไปนี้-
ดูกรอานนท์
เธอพึงทราบความข้อนี้โดยปริยายแม้นี้
เหมือนที่เราได้กล่าวไว้ว่า
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัยจึงเกิดนามรูป
ดูกรอานนท์
ก็วิญญาณจักไม่หยั่งลงในท้องแห่งมารดา
นามรูปจักขาดในท้องแห่งมารดาได้บ้างไหมฯ
ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ
ดูกรอานนท์
ก็ถ้าวิญญาณหยั่งลงในท้องแห่งมารดาแล้วจักล่วงเลยไป
นามรูปจักบังเกิดเพื่อความเป็นอย่างนี้ได้บ้างไหม
ฯ
ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ
ดูกรอานนท์
ก็ถ้าวิญญาณของกุมารก็ดี
ของกุมาริกาก็ดี
ผู้ยังเยาว์วัยอยู่
จักขาดความสืบต่อ
นามรูปจักถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ได้บ้างไหมฯ
ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ
เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ เหตุ
นิทาน สมุทัย ปัจจัยแห่งนามรูป
ก็คือวิญญาณนั่นเองฯ
ก็คำนี้ว่า
เพราะนามรูปเป็นปัจจัยจึงเกิดวิญญาณ
เรากล่าวอธิบายดังต่อไปนี้-
ดูกรอานนท์
เธอพึงทราบความข้อนี้โดยปริยายแม้นี้
เหมือนที่เราได้กล่าวไว้ว่า
เพราะนามรูปเป็นปัจจัยจึงเกิดวิญญาณ
ดูกรอานนท์
ก็ถ้าวิญญาณจักไม่ได้อาศัยในนามรูปแล้ว
ความเกิดขึ้นแห่งชาติชรามรณะและกองทุกข์พึงปรากฏต่อไปได้บ้างไหมฯ
ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ
เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ เหตุ
นิทาน สมุทัย ปัจจัยแห่งวิญญาณ
ก็คือนามรูปนั่นเอง
ด้วยเหตุผลเพียงเท่านี้แหละ
อานนท์ วิญญาณและนามรูป
จึงยังเกิด แก่ ตาย จุติ
หรืออุปบัติ
ทางแห่งชื่อ ทางแห่งนิรุติ
ทางแห่งบัญญัติ
ทางที่กำหนดรู้ด้วยปัญญาและวัฏฏสังสาร
ย่อมเป็นไปด้วยเหตุเพียงเท่านี้ๆ
ความเป็นอย่างนี้
ย่อมมีเพื่อบัญญัติ
คือนามรูปกับวิญญาณ ฯ
3) นิทานสูตร
เล่มที่ ๑๖
[๒๒๔] สมัยหนึ่ง
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่นิคมของหมู่ชนชาวเมืองกุรุ
อันมีชื่อว่ากัมมาสทัมมะ
แคว้นกุรุรัฐ ครั้งนั้นแล
ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้ว
นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
เมื่อท่านนั่งเรียบร้อยแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
น่าอัศจรรย์ พระเจ้าข้า
ไม่เคยมีมา พระเจ้าข้า
คือปฏิจจสมุปบาทนี้เป็นธรรมลึกซึ้งเพียงไร
ทั้งมีกระแสความลึกซึ้ง
แต่ถึงอย่างนั้น
ก็ปรากฏเหมือนเป็นธรรมง่ายๆ
แก่ข้าพระองค์ ฯ
[๒๒๕] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ดูกรอานนท์
เธออย่ากล่าวอย่างนี้
ดูกรอานนท์
เธออย่ากล่าวอย่างนี้
ปฏิจจสมุปบาทนี้
เป็นธรรมลึกซึ้ง
ทั้งมีกระแสความลึกซึ้ง
เพราะไม่รู้ ไม่ตรัสรู้
ไม่แทงตลอดธรรมนี้
หมู่สัตว์นี้จึงเป็นเหมือนเส้นด้ายที่ยุ่ง
เป็นเหมือนกลุ่มเส้นด้ายที่เป็นปม
เป็นเหมือนหญ้ามุงกระต่ายและหญ้าปล้อง
ย่อมไม่ผ่านพ้นอบาย ทุคติ
วินิบาต สงสาร ฯ
[๒๒๖] ดูกรอานนท์
เมื่อภิกษุเห็นความพอใจเนืองๆ
ในธรรมทั้งหลาย
อันเป็นปัจจัยแห่งอุปาทานอยู่
ตัณหาย่อมเจริญ
เพราะตัณหาเป็นปัจจัย
จึงมีอุปาทาน
เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ
เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ
เพราะชาติเป็นปัจจัย
จึงมีชราและมรณะ
โสกปริเทวทุกขโทมนัส และอุปายาส
ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้
ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ
[๒๒๗] ดูกรอานนท์
ต้นไม้ใหญ่มีรากหยั่งลงและแผ่ไปข้างๆ
รากทั้ง
หมดนั้นย่อมดูดโอชารสไปเบื้องบน
ก็เมื่อเป็นอย่างนี้
ต้นไม้ใหญ่นั้น
มีอาหารอย่างนั้น
มีเชื้ออย่างนั้น
พึงเป็นอยู่ตลอดกาลนาน
แม้ฉันใด อานนท์
เมื่อภิกษุเห็นความพอใจเนืองๆ
ในธรรมทั้งหลาย
อันเป็นปัจจัยแห่งอุปาทานอยู่
ตัณหาย่อมเจริญ
ฉันนั้นเหมือนกัน
เพราะตัณหาเป็นปัจจัย
จึงมีอุปาทาน
เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ
ฯลฯ
ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้
ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ
[๒๒๘] ดูกรอานนท์
เมื่อภิกษุเห็นโทษเนืองๆ
ในธรรมทั้งหลาย
อันเป็นปัจจัยแห่งอุปาทานอยู่
ตัณหาย่อมดับ
เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ
เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ ฯลฯ
ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้
ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ
[๒๒๙] ดูกรอานนท์
ต้นไม้ใหญ่ยืนต้นอย่างนั้น
ทีนั้นบุรุษเอาจอบและ ภาชนะมา
ตัดต้นไม้นั้นที่โคนต้น
แล้วขุดลงไป
ครั้นขุดลงไปแล้ว
คุ้ยเอารากใหญ่
เล็กแม้เท่าก้านแฝกขึ้น
บุรุษนั้น
ทอนต้นไม้นั้นเป็นท่อนเล็กท่อนใหญ่
แล้วพึงผ่า
ครั้นผ่าแล้ว เจียกเป็นชิ้นๆ
ครั้นเจียกให้เป็นชิ้นๆ แล้ว
พึงผึ่งลม ตากแดด
ครั้นผึ่งลม ตากแดดแล้ว
พึงเอาไฟเผา
ครั้นเอาไฟเผาแล้ว
พึงทำให้เป็นเขม่า
ครั้นทำให้เป็นเขม่าแล้ว
พึงโปรยที่ลมแรง
หรือลอยในแม่น้ำมีกระแสอันเชี่ยว
ก็เมื่อเป็นอย่างนี้
ต้นไม้ใหญ่นั้น
ถูกตัดเอารากขึ้นแล้ว
ถูกทำให้เป็นดังตาลยอดด้วน
ถึงความไม่มี ไม่เกิดอีกต่อไป
แม้ฉันใด อานนท์
เมื่อภิกษุเห็นโทษเนืองๆ
ในธรรมทั้งหลาย
อันเป็นปัจจัยแห่งอุปาทานอยู่
ตัณหาย่อมดับ ฉันนั้น เหมือนกัน
เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ
เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ
เพราะภพดับ ชาติจึงดับ
เพราะชาติดับ
ชราและมรณะโสกปริเทวทุกขโทมนัสและ
อุปายาสจึงดับ
ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้
ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ
จบสูตรที่ ๑๐ จบทุกขวรรคที่ ๖