คำอธิบายการใช้งาน
1. ประเภทของไฟล์ในโฮมเพจ
1.1) แฟ้มพระไตรปิฎกมีให้เลือก 3 แบบ
คือแบบ (1) HTM file , (2) TXT file และ (3) ZIP file
โดย HTM file เหมาะสำหรับการอ่านด้วย
Browser แบบ online ได้เลย
ไม่ต้องดาวน์โหลดมาเก็บไว้ที่เครื่อง
แต่ไม่สะดวกในการนำข้อมูลไปใช้งานอื่น
เช่น cut and paste หรือ print เป็นต้น
และจะใช้เวลานานในการโหลดข้อมูลอย่างน้อยประมาณ
5 นาที
สำหรับ TXT file
เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการอ่านแบบ
online หรือไม่ต้องการ unzip file ในภายหลัง
แต่จะต้องมีโปรแกรม WORD ใน hard disk
อยู่แล้ว
เพื่อให้เปิดอ่านไฟล์ได้โดยเลือกคำสั่งเปิดแบบ
"ข้อความอย่างเดียว" หรือ "text
file" และสามารถ save
ไฟล์เก็บไว้ได้โดยตรง
ซึ่งไฟล์ประเภทนี้
จะสะดวกในการนำข้อมูลไปใช้งานอื่นได้อีก
และใช้เวลาส่งข้อมูลนานเช่นเดียวกับ
HTM file
อนึ่ง ไม่ควรเปิดไฟล์เกินกว่า 3
ไฟล์เพราะอาจทำให้เครื่องค้างได้
ส่วน zip file
เหมาะสำหรับการเก็บไฟล์ไว้อ่านและศึกษาในภายหลัง
และจะลดเวลาดาวน์โหลดน้อยกว่า HTM
และ TXT file แต่จะต้อง extract file
ก่อนใช้งานได้
1.2) ไฟล์ในรูปแบบ HTM และ TXT
จะมีขนาดประมาณ 500 Kb ถึง 1.5 Mb
ใช้เวลาโหลดประมาณ 5 -10 นาที
เมื่อ zip แล้ว จะเหลือ 100-300 Kb
ใช้เวลาดาวน์โหลดประมาณ 2-5 นาที
TXT File ของทั้ง 45 เล่มรวมกันมีขนาด 32 MB
แต่ไม่มีให้โหลดเพราะไฟล์จะใหญ่มาก
เมื่อ Zip แล้วเหลือ 6 MB
1.3)
เนื่องจากพระไตรปิฎกแต่ละเล่มมีข้อมูลจำนวนมาก
ถ้ารู้เนื้อหาบ้างแล้ว
จะทำให้สะดวกรวดเร็วในการใช้งาน
ขอแนะนำหนังสือ
พระไตรปิฎกฉบับประชาชน
ของอาจารย์สุชีพ ปุญญานุภาพ
และหนังสือ
พจนานุกรมพุทธศาสน์ฉบับประมวลธรรม
ของพระธรรมปิฎก
เพื่อใช้เป็นสารบัญได้
2. คำอธิบายในการดาวน์โหลด
2.1) เมื่อท่าน download file
มาเรียบร้อยแล้ว
ก็ใช้โปรแกรม Winzip เพื่อ extract หรือ unzip
file นั้นก่อน
มิฉะนั้นจะอ่านไฟล์ไม่ได้
(ถ้าไม่มีโปรแกม
Winzip ก็ download ที่นี่)
แต่ถ้า Download
แล้วมีข้อความว่า This page is unavailable.
กรุณาอ่านที่นี่
Zip file ทั้งหมด
สามารถดาวน์โหลดไปใช้โดยไม่มีปัญหา
แต่บางครั้งเมื่อดาวน์โหลดมาแล้ว
ไฟล์นั้นอาจเปิดไม่ได้
เพราะมีสัญญาณรบกวนในขณะดาวน์โหลด
ขอแนะนำให้ดาวน์โหลดใหม่
หรือถ้าเหลือไฟล์ไม่มาก
ก็อาจเปิด TXT file แล้ว save ได้เลย
2.2) ขอแนะนำให้เก็บแต่ละไฟล์ไว้ใน
directory เดียวกัน เช่น \tipitaka
และแยกต่างหากจากไฟล์อื่น
เพื่อความสะดวกในการค้นหาข้อมูลในภายหลัง
2.3) เมื่อ unzip
แล้วก็จะได้ข้อมูลในรูปแบบของ text
file
โดยเปิดอ่านได้ด้วยโปรแกรม WORD
หรือ Wordpad Thai
2.4)
ท่านสามารถค้นหาข้อความในไฟล์ทั้งหมดได้ตามรายละเอียดที่
http://geocities.datacellar.net/Athens/Delphi/6613/tipitaka.htm
2.5)
ตัวอักษรบาลีบางตัวไม่มีในภาษาไทยหรือไม่มี
font ทำให้ WORD
แสดงตัวอักษรนั้นเป็นสัญลักษณ์สี่เหลี่ยมแทน
เช่น ฺ
แต่สามารถอ่านเป็นบาลีได้ด้วยการเปิดแฟ้มด้วย
Word Pad Thai
หรือ copy ข้อความนั้นไปใส่ไว้ใน NOTEPAD
แต่ไม่สามารถเปิดแฟ้มด้วย NOTEPAD
ได้เพราะแฟ้มมีขนาดใหญ่เกินไป
3.
ข้อแนะนำสำหรับผู้ที่ใช้ Internet Explorer
5.0
ท่านสามารถกำหนดสีของ Text
และ Background
ตามความต้องการของตนเองได้ด้วยคำสั่ง
tools > internet options > general > accessibility แล้ว
check ที่ ignore color specified on web pages
เสร็จแล้วก็ไปที่ช่อง colors
แล้วตั้งค่าของสี text และ background
หรือ use windows colors ตามความต้องการ
ต่อไปก็จะไม่เห็นสีที่ web page ต่าง ๆ
กำหนดมาให้
ซึ่งจะมีผลกับทุก web เช่นเดียวกัน
4. คำอธิบายเกี่ยวกับ
"สารบัญโดยสังเขป"
4.1)
การอ้างอิงข้อความในสารบัญจะใช้
เล่มที่ และข้อที่ในพระไตรปิฎก
เช่น 10/100 หรือ ๑๐/๑๐๐ หมายถึง
เล่มที่ ๑๐ ข้อที่ ๑๐๐
ทั้งนี้เพื่อความสะดวกในการค้นหาในหนังสือต่อไป
4.2) ตัวเลขที่อยู่ใน [ ] เช่น [๑๐๐]
หมายถึง ข้อที่ ๑๐๐
4.3) ในบางหัวข้อ
จะมีตัวเลขอยู่ในเครื่องหมายวงเลบ
ต่อจากชื่อเรื่องแต่ละเรื่อง
เช่น กรรม (2) หมายถึงว่า
ในเรื่องกรรมนั้นมีข้อความจำนวน
2 ตอน ซึ่งตัวเลขนี้อาจเปลี่ยน
แปลงเพื่อให้ทราบว่ามีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมข้อความตอนใหม่เข้าไป
ซึ่งจะช่วยประหยัดเวลา
ไม่ต้องเข้าไปอ่านหน้าที่ไม่ได้เปลี่ยนแปลง
4.4) ขอขอบพระคุณ คุณผู้คัดลอก
ที่ได้แนะนำและสนับสนุน
ให้ผมได้ทำโฮมเพจนี้ขึ้นมา
และสำนักคอมพิวเตอร์
มหาวิทยาลัยมหิดลที่ได้จัดทำ
พระไตรปิฎก ฉบับ CD ROM
สุดท้ายนี้หากมีความผิดพลาดใด ๆ
ขออภัยมา ณ ที่นี้
ขอบคุณครับ
อมตะ (ETERNITY)