กาลเวลา
(1) เล่ม ๒๕ ข้อ ๑๕
ราตรียาวแก่คนผู้ตื่นอยู่
โยชน์ยาวแก่คนผู้เมื่อยล้า
สงสารยาวแก่คนพาลผู้ไม่รู้แจ้งพระสัทธรรม
ถ้าว่าบุคคลเมื่อเที่ยวไปไม่พึงประสบสหายประเสริฐกว่าตน
หรือสหายผู้เช่นด้วยตนไซร้
บุคคลนั้นพึงทำการเที่ยวไปผู้เดียวให้มั่น
เพราะว่าคุณเครื่องความเป็นสหายย่อมไม่มีในคนพาล
คนพาลย่อมเดือดร้อนว่า
บุตรของเรามีอยู่
ทรัพย์ของเรามีอยู่
ดังนี้ตนนั่นแลย่อมไม่มีแก่ตน
บุตรทั้งหลายแต่ที่ไหน
ทรัพย์แต่ที่ไหน
ผู้ใดเป็นพาลย่อมสำคัญความที่ตนเป็นพาลได้
ด้วยเหตุนั้น
ผู้นั้นยังเป็นบัณฑิตได้บ้าง
ส่วนผู้ใดเป็นพาลมีความสำคัญตนว่าเป็นบัณฑิต
ผู้นั้นแลเรากล่าวว่าเป็นพาล
ถ้าคนพาลเข้าไปนั่งใกล้บัณฑิตแม้ตลอดชีวิต
เขาย่อมไม่รู้แจ้งธรรมเหมือนทัพพีไม่รู้จักรสแกง
ฉะนั้น
ถ้าว่าวิญญูชนเข้าไปนั่งใกล้บัณฑิตแม้ครู่หนึ่ง
ท่านย่อมรู้ธรรมได้ฉับพลัน
เหมือนลิ้นรู้รสแกงฉะนั้น
คนพาลมีปัญญาทราม
มีตนเหมือนข้าศึกเที่ยวทำบาปกรรมอันมีผลเผ็ดร้อน
บุคคลทำกรรมใดแล้วย่อมเดือดร้อนในภายหลัง
กรรมนั้นทำแล้วไม่ดี
บุคคลมีหน้าชุ่มด้วยน้ำตา
ร้องไห้อยู่
ย่อมเสพผลของกรรมใดกรรมนั้นทำแล้วไม่ดี
บุคคลทำกรรมใดแล้ว
ย่อมไม่เดือดร้อนในภายหลัง
กรรมนั้นแลทำแล้วเป็นดี
บุคคลอันปีติโสมนัสเข้าถึงแล้ว
[ด้วยกำลังแห่งปีติ]
[ด้วยกำลังแห่งโสมนัส]ย่อมเสพผลแห่งกรรมใด
กรรมนั้นทำแล้วเป็นดี
คนพาลย่อมสำคัญบาปประดุจน้ำหวาน
ตลอดกาลที่บาปยังไม่ให้ผล
แต่บาปให้ผลเมื่อใด
คนพาลย่อมเข้าถึงทุกข์เมื่อนั้น
คนพาลถึงบริโภคโภชนะด้วยปลายหญ้าคาทุกเดือน
ๆ
เขาย่อมไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖
ซึ่งจำแนกออกไปแล้ว ๑๖ หน
ของพระอริยบุคคลทั้งหลายผู้มีธรรมอันนับได้แล้ว
ก็บาปกรรมบุคคลทำแล้วยังไม่แปรไป
เหมือนน้ำนมในวันนี้ยังไม่แปรไปฉะนั้น
บาปกรรมนั้นย่อมตามเผาคนพาล
เหมือนไฟอันเถ้าปกปิดแล้ว
ฉะนั้น
ความรู้นั้นย่อมเกิดแก่คนพาลเพื่อสิ่งมิใช่ประโยชน์อย่างเดียว
ความรู้ยังปัญญาชื่อว่ามุทธาของเขาให้ฉิบหายตกไป
ย่อมฆ่าส่วนแห่งธรรมขาวของคนพาลเสีย
ภิกษุผู้เป็นพาล
พึงปรารถนาความสรรเสริญอันไม่มีอยู่
ความห้อมล้อมในภิกษุทั้งหลาย
ความเป็นใหญ่ในอาวาส
และการบูชาในสกุลของชนเหล่าอื่น
ความดำริย่อมบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุพาลว่า
คฤหัสถ์และบรรพชิตทั้งสองฝ่าย
จงสำคัญกรรมที่บุคคลทำแล้วว่า
เพราะอาศัยเราผู้เดียว
คฤหัสถ์และบรรพชิตเหล่านั้นจงเป็นไปในอำนาจของเราผู้เดียว
ในบรรดากิจน้อยและกิจใหญ่ทั้งหลาย
กิจอะไร ๆ อิจฉา[ความริษยา]
มานะ[ความถือตัว]
ย่อมเจริญแก่ภิกษุพาลนั้น
ภิกษุผู้เป็นสาวกของพระพุทธเจ้ารู้ยิ่งแล้ว
ซึ่งปฏิปทา ๒ อย่างนี้ว่า
ปฏิปทาอันเข้าอาศัยลาภเป็นอย่างหนึ่ง
ปฏิปทาเครื่องให้ถึงนิพพานเป็นอย่างหนึ่ง
ดังนี้แล้ว
ไม่พึงเพลิดเพลินสักการะ
พึงพอกพูนวิเวกเนือง ฯ
(2) เล่ม ๒๕ ข้อ ๑๘
หากว่าวาจาแม้ตั้งพันประกอบด้วยบทอันไม่เป็นประโยชน์ไซร้
บทอันเป็นประโยชน์บทหนึ่งที่บุคคลฟังแล้วย่อมสงบ
ประเสริฐกว่า
คาถาแม้ตั้งพันประกอบด้วยบทอันไม่เป็นประโยชน์ไซร้
คาถาบทหนึ่งที่บุคคลฟังแล้วย่อมสงบ
ประเสริฐกว่า
ก็บุคคลใดพึงกล่าวคาถา
ประกอบด้วยบทอันไม่เป็นประโยชน์ตั้งร้อย
บทธรรมบทหนึ่งที่บุคคลฟังแล้วย่อมสงบ
ประเสริฐกว่า
บุคคลใดพึงชนะหมู่มนุษย์ตั้งพันคูณด้วยพันในสงคราม
บุคคลนั้นไม่ชื่อว่าเป็นผู้ชนะอย่างสูงในสงคราม
ส่วนบุคคลใดพึงชนะตนผู้เดียว
บุคคลนั้นแล
ชื่อว่าเป็นผู้ชนะอย่างสูงสุดในสงคราม
ตนแลอันบุคคลชนะแล้วประเสริฐ
ส่วนหมู่สัตว์นอกนี้ ๆ
อันบุคคลชนะแล้วจักประเสริฐอะไร
เพราะว่า เทวดา คนธรรพ์
มารกับทั้งพรหม
พึงทำความชนะของบุรุษผู้มีตนอันฝึกแล้ว
มีปกติประพฤติสำรวมเป็นนิตย์
ผู้เป็นสัตว์เกิดเห็นปานนั้นให้กลับแพ้ไม่ได้
ก็การบูชาของผู้ที่บูชาท่านผู้มีตนอันอบรมแล้วคนหนึ่งแม้เพียงครู่หนึ่ง
ประเสริฐกว่าการบูชาของผู้ที่บูชาด้วยทรัพย์พันหนึ่งตลอดร้อยปีเสมอทุกเดือนๆ
การบูชาตั้งร้อยปีนั้นจะประเสริฐอะไร
ก็การบูชาของผู้ที่บูชาท่านผู้มีตนอันอบรมแล้วคนหนึ่งแลแม้เพียงครู่หนึ่ง
ประเสริฐกว่าผู้บำเรอไฟในป่าตั้งร้อยปี
การบำเรอไฟตั้งร้อยปีนั้นจะประเสริฐอะไร
บุคคลผู้มุ่งบุญพึงบูชายัญที่บุคคลเซ่นสรวงแล้ว
และยัญที่บุคคลบูชาแล้ว
อย่างใดอย่างหนึ่งในโลกตลอดปีหนึ่ง
ยัญที่บุคคลเซ่นสรวงแล้ว
และยัญที่บุคคลบูชาแล้ว [ทาน]
นั้น
แม้ทั้งหมด ย่อมไม่ถึงส่วนที่ ๔
แห่งการอภิวาทในท่านผู้ดำเนินไปตรงทั้งหลาย
การอภิวาทในท่านผู้ดำเนินไปตรงทั้งหลาย
ประเสริฐกว่า
ธรรม ๔ ประการคือ อายุ วรรณะ สุขะ
พละ
ย่อมเจริญแก่บุคคลผู้มีการอภิวาทเป็นปกติ
ผู้อ่อนน้อมต่อผู้เจริญเป็นนิตย์
ก็บุคคลผู้มีศีลเพ่งพินิจ
มีชีวิตอยู่วันเดียว
ประเสริฐกว่าบุคคลผู้ทุศีล
มีจิตไม่มั่นคง
มีชีวิตอยู่ตั้งร้อยปี
ก็บุคคลผู้มีปัญญาเพ่งพินิจ
มีชีวิตอยู่วันเดียว
ประเสริฐกว่าบุคคลผู้ไร้ปัญญา
มีจิตไม่มั่นคง
มีชีวิตอยู่ตั้งร้อยปี
ก็บุคคลผู้ปรารภความเพียรมั่น
มีชีวิตอยู่วันเดียว
ประเสริฐกว่าบุคคลผู้เกียจคร้าน
มีความเพียรอันเลว
มีชีวิตอยู่ตั้งร้อยปี
ก็บุคคลผู้พิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและเสื่อมไป
มีชีวิตอยู่วันเดียว
ประเสริฐกว่าบุคคลผู้ไม่พิจารณาเห็นความเกิดขึ้น
และความเสื่อมไป
มีชีวิตอยู่ตั้งร้อยปี
ก็บุคคลผู้พิจารณาเห็นอมตบท
มีชีวิตอยู่วันเดียว
ประเสริฐกว่าบุคคลผู้ไม่พิจารณาเห็นอมตบท
มีชีวิตอยู่ร้อยปี
ก็บุคคลผู้พิจารณาเห็นธรรมอันสูงสุด
มีชีวิตอยู่วันเดียว
ประเสริฐกว่าบุคคลผู้ไม่พิจารณาเห็นธรรมอันสูงสุด
มีชีวิตอยู่ร้อยปี
(3) สุปุพพัณหสูตร
เล่ม ๒๐ ข้อ ๕๙๕
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
สัตว์เหล่าใดประพฤติสุจริตด้วยกาย
ประพฤติสุจริตด้วยวาจา
ประพฤติสุจริตด้วยใจ ในเวลาเช้า
เวลาเช้าก็เป็นเวลาเช้าที่ดีของสัตว์เหล่านั้น
สัตว์เหล่าใดประพฤติสุจริตด้วยกาย
ประพฤติสุจริตด้วยวาจา
ประพฤติสุจริตด้วยใจ
ในเวลาเที่ยง
เวลาเที่ยงก็เป็นเวลาเที่ยงที่ดีของสัตว์เหล่านั้น
สัตว์เหล่าใดประพฤติสุจริตด้วยกาย
ประพฤติสุจริตด้วยวาจา
ประพฤติสุจริตด้วยใจ ในเวลาเย็น
เวลาเย็นก็เป็นเวลาเย็นที่ดีของสัตว์เหล่านั้น
สัตว์ทั้งหลายประพฤติชอบในเวลาใด
เวลานั้นชื่อว่าเป็น ฤกษ์ดี
มงคลดี สว่างดี รุ่งดี ขณะดี
ยามดี และบูชาดี
ในพรหมจารีบุคคลทั้งหลาย
กายกรรมเป็นส่วนเบื้องขวา
วจีกรรมเป็นส่วนเบื้องขวา
มโนกรรมเป็นส่วนเบื้องขวา
ความปรารถนาของท่านเป็นส่วนเบื้องขวา
สัตว์ทั้งหลายทำกรรมอันเป็นส่วนเบื้องขวาแล้ว
ย่อมได้ผลประโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องขวา
ท่านเหล่านั้นได้ประโยชน์แล้ว
จงได้รับความสุข
จงงอกงามในพระพุทธศาสนา
จงไม่มีโรค ถึงความสุข
พร้อมด้วยญาติทั้งมวล ฯ
(4) เล่ม ๒๓ ข้อ ๑๑๙
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ส่วนขณะและสมัยในการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์
มีประการเดียว
ประการเดียวเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ตถาคตอุบัติขึ้นแล้วในโลกนี้
เป็นพระอรหันต์
ตรัสรู้เองโดยชอบ
ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ
เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก
เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก
ไม่มีผู้อื่นยิ่งไปกว่า
เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
เป็นผู้เบิกบานแล้ว
เป็นผู้จำแนกธรรมและธรรมอันตถาคตทรงแสดง
เป็นธรรมนำความสงบมาให้
เป็นไปเพื่อปรินิพพาน
ให้ถึงการตรัสรู้
พระสุคตเจ้าทรงประกาศแล้ว
และบุคคลนี้เกิดในมัชฌิมชนบท
ทั้งมีปัญญา ไม่บ้าใบ้
สามารถเพื่อจะรู้อรรถแห่งสุภาษิตและทุพภาษิตได้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
นี้เป็นขณะและสมัยในการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ประการเดียว
ฯ
ชนเหล่าใด เกิดในมนุษยโลกแล้ว
เมื่อพระตถาคตทรงประกาศสัทธรรม
ไม่เข้าถึงขณะ
ชนเหล่านั้นเชื่อว่าล่วงขณะ
ชนเป็นอันมาก
กล่าวเวลาที่เสียไปว่า
กระทำอันตรายแก่ตน
พระตถาคตเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นในโลก
ในกาลบางครั้งบางคราว
การที่พระตถาคตเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นในโลก
๑
การได้กำเนิดเป็นมนุษย์ ๑
การแสดงสัทธรรม ๑
ที่จะพร้อมกันเข้าได้
หาได้ยากในโลก
ชนผู้ใคร่ต่อประโยชน์
จึงควรพยายามในกาลดังกล่าวมานั้น
ที่ตนพอจะรู้จะเข้าใจสัทธรรมได้
ขณะอย่าล่วงเลยท่านทั้งหลายไปเสีย
เพราะบุคคลที่ปล่อยเวลาให้ล่วงไป
พากันยัดเยียดในนรก
ย่อมเศร้าโศกอยู่
หากเขาจะไม่สำเร็จอริยมรรค
อันเป็นธรรมตรงต่อสัทธรรมในโลกนี้ได้
เขาผู้มีประโยชน์อันล่วงเสียแล้ว
จักเดือดร้อนสิ้นกาลนาน
เหมือนพ่อค้าผู้ปล่อยให้ประโยชน์ล่วงไป
เดือดร้อนอยู่
ฉะนั้น
คนผู้ถูกอวิชชาหุ้มห่อไว้
พรากจากสัทธรรม จักเสวยแต่สงสาร
คือ ชาติและมรณะสิ้นกาลนาน
ส่วนชนเหล่าใดได้อัตภาพเป็นมนุษย์แล้ว
เมื่อพระตถาคตประกาศสัทธรรม
ได้กระทำแล้ว จักกระทำ
หรือกระทำอยู่
ตามพระดำรัสของพระศาสดา
ชนเหล่านั้นชื่อว่าได้ประสบขณะ
คือ
การประพฤติพรหมจรรย์อันยอดเยี่ยมในโลก
ชนเหล่าใดดำเนินไปตามมรรคาที่พระตถาคตเจ้าทรงประกาศแล้ว
สำรวมในศีลสังวรที่พระตถาคตเจ้าผู้มีจักษุเป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระอาทิตย์
ทรงแสดงแล้ว คุ้มครองอินทรีย์
มีสติทุกเมื่อ ไม่ชุ่มด้วยกิเลส
ตัดอนุสัยทั้งปวงอันแล่นไปตามกระแสบ่วงมาร
ชนเหล่านั้นแล
บรรลุความสิ้นอาสวะ ถึงฝั่ง คือ
นิพพานในโลกแล้ว ฯ
(5) เล่มที่ ๑๑
[๓๕๔] อขณะอสมัยเพื่อพรหมจริยวาส
๙ อย่าง
๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย
พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จอุบัติในโลกนี้
และธรรมที่พระองค์ทรงแสดง
ก็เป็นไปเพื่อความสงบระงับ
เป็นไปเพื่อความดับ
ให้ถึงความตรัสรู้
เป็นธรรมอันพระสุคตประกาศไว้
แต่บุคคลนี้เข้าถึงนรกเสีย
นี้มิใช่ขณะมิใช่สมัยเพื่อการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ข้อที่หนึ่ง
ฯ
๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย
ข้ออื่นยังมีอีก
พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จอุบัติในโลก
และธรรมที่พระองค์ทรงแสดงก็เป็นไปเพื่อความสงบระงับ
เป็นไปเพื่อความดับ
ให้ถึงความตรัสรู้เป็นธรรมอันพระสุคตประกาศ
แต่บุคคลนี้เข้าถึงกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานเสีย
นี้มิใช่ขณะมิใช่สมัยเพื่อการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ข้อที่สอง
ฯ
๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย
ข้ออื่นยังมีอีก
พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จอุบัติในโลก
และธรรมที่พระองค์ทรงแสดงก็เป็นไปเพื่อความสงบระงับ
เป็นไปเพื่อความดับ
ให้ถึงความตรัสรู้
เป็นธรรมอันพระสุคตประกาศไว้
แต่บุคคลนี้เข้าถึงวิสัยแห่งเปรตเสีย
นี้มิใช่สมัยเพื่อการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ข้อที่สาม
ฯ
๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย
ข้ออื่นยังมีอีก
พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จอุบัติในโลก
และธรรมที่พระองค์ทรงแสดงก็เป็นไปเพื่อความสงบระงับ
เป็นไปเพื่อความดับ
ให้ถึงความตรัสรู้
เป็นธรรมอันพระสุคตประกาศไว้
แต่บุคคลนี้เข้าถึงอสุรกายเสีย
นี้มิใช่ขณะชิใช่สมัยเพื่อการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ข้อที่สี่
ฯ
๕. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย
ข้ออื่นยังมีอีก
พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จอุบัติในโลก
และธรรมที่พระองค์ทรงแสดงก็เป็นไปเพื่อความสงบระงับ
เป็นไปเพื่อความดับ
ให้ถึงความตรัสรู้เป็นธรรมอันพระสุคตประกาศไว้
บุคคลนี้เข้าถึงพวกเทพที่มีอายุยืนพวกใดพวกหนึ่งเสีย
นี้มิใช่ขณะมิใช่สมัยเพื่อการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ข้อที่ห้า
ฯ
๖. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย
ข้ออื่นยังมีอีก
พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จอุบัติในโลก
และธรรมที่พระองค์ทรงแสดงก็เป็นไปเพื่อความสงบระงับ
เป็นไปเพื่อความดับ
ให้ถึงความตรัสรู้
เป็นธรรมอันพระสุคตประกาศไว้
แต่บุคคลนี้เกิดเสียในปัจจันติมชนบท
ในจำพวกชนชาติ
มิลักขะผู้โง่เขลา
ไร้คติของภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก
อุบาสิกา
นี้มิใช่ขณะมิใช่สมัยเพื่อการอยู่พระพฤติพรหมจรรย์ข้อที่หก
ฯ
๗. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย
ข้ออื่นยังมีอีก
พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จอุบัติในโลก
และธรรมที่พระองค์ทรงแสดงก็เป็นไปเพื่อความสงบระงับ
เป็นไปเพื่อความดับ
ให้ถึงความตรัสรู้
เป็นธรรมอันพระสุคตประกาศไว้
และบุคคลนี้ก็เกิดในมัชฌิมชนบทแต่เขาเป็นคนมิจฉาทิฐิ
มีความเห็นวิปริตว่า
ทานที่บุคคลให้ไม่มีผลการบูชาไม่มีผล
ผลวิบากของกรรมที่บุคคลทำดีหรือทำชั่วไม่มี
โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี
มารดาไม่มี บิดาไม่มี
โอปปาติกะสัตว์ไม่มี
ในโลกไม่มีสมณพราหมณ์
ผู้ดำเนินไปดี ปฏิบัติชอบแล้ว
กระทำให้แจ้งซึ่งโลกนี้และโลกหน้า
ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองแล้วยังผู้อื่นให้รู้
นี้มิใช่ขณะมิใช่สมัยเพื่อการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ข้อที่เจ็ด
ฯ
๘. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย
ข้ออื่นยังมีอีก
พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จอุบัติในโลก
และธรรมที่พระองค์ทรงแสดงก็เป็นไปเพื่อความสงบระงับ
เป็นไปเพื่อความดับ
ให้ถึงความตรัสรู้
เป็นธรรมอันพระสุคตประกาศไว้
และบุคคลนี้ก็เกิดในมัชฌิมชนบทแต่เป็นคนโง่
เซอะซะ เป็นคนใบ้
ไม่สามารถที่จะรู้อรรถแห่งสุภาษิตและทุพภาษิตได้
นี้มิใช่ขณะมิใช่สมัยเพื่อการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ข้อที่แปด
ฯ
๙. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย
ข้ออื่นยังมีอีก
พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้ามิได้เสด็จอุบัติในโลก
และธรรมที่เป็นไปเพื่อความสงบระงับ
เป็นไปเพื่อความดับ
ให้ถึงความตรัสรู้
เป็นธรรมอันพระสุคตประกาศไว้
ก็มิได้มีผู้ทรงแสดงไว้
และบุคคลนี้เกิดในมัชฌิมชนบท
เป็นคนมีปัญญาไม่เซอะซะ
ไม่เป็นคนใบ้
สามารถที่จะรู้อรรถแห่งสุภาษิตและทุพภาษิตได้
นี้มิใช่ขณะมิใช่สมัยเพื่อการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ข้อที่เก้า
ฯ
(6) เล่มที่ ๑๔
[๕๒๗]
พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า
บุคคลไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว
ไม่ควรมุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง
สิ่งใดล่วงไปแล้ว
สิ่งนั้นก็เป็นอันละไปแล้ว
และสิ่งที่ยังไม่มาถึง
ก็เป็นอันยังไม่ถึง
ก็บุคคลใดเห็นแจ้งธรรมปัจจุบันไม่ง่อนแง่น
ไม่คลอนแคลนในธรรมนั้นๆ ได้
บุคคลนั้นพึงเจริญธรรมนั้นเนืองๆ
ให้ปรุโปร่งเถิด
พึงทำความเพียรเสียในวันนี้แหละ
ใครเล่าจะรู้ความตายในวันพรุ่ง
เพราะว่าความผัดเพี้ยนกับมัจจุราชผู้มีเสนาใหญ่นั้น
ย่อมไม่มีแก่เราทั้งหลาย
พระมุนีผู้สงบย่อมเรียกบุคคลผู้มีปรกติอยู่อย่างนี้
มีความเพียรไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันและกลางคืน
นั้นแลว่าผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ
ฯ