1.3 กฎแห่งความเป็นเอกภาพของด้านตรงกันข้ามเป็นแก่นแห่งวิภาษวิธีวัตถุนิยม |
......อะไรคือธาตุแท้ทีสุด
หรือแก่นที่สุดของวิภาษวิธีวัตถุนิยม ปราชญ์รัสเซียได้ค้นคว้าในระดับที่ลึกซึ้งต่อปัญหานี้
ภายหลังที่ท่านได้บรรยายถึงปัจจัยสำคัญ 16 ข้อแล้ว ท่านได้กล่าวว่า |
......อาจกำหนดวิภาษวิธีโดยสังเขปได้ว่า
เป็นทฤษฎี เกี่ยวกับเอกภาพทางด้านตรงข้ามเช่นนี้แล้ว ก็กุมแก่นของวิภาษวิธีได้แต่นี่จำเป็นต้องอธิบายขยาย
ปราชญ์จีนได้อาศัยข้อสรุปนี้ ได้อรรถาธิบายและบรรยายในเรื่อง ว่าด้วยความขัดแย้งว่า
กฎแห่งความขัดแย้งในสรรพสิ่งนัยหนึ่ง กฎแห่งความเป็นเอกภาพของด้านตรงข้าม
เป็นกฎที่เป็นมูลฐานที่สุดของวิภาษวิธีวัตถุนิยม เพื่อที่จะได้มวลชนอันไพศาลกุมแก่นแห่งวิภาษวิธีนี้ได้ท่านได้พูดอย่างง่ายๆ
ว่า สรรพสิ่งล้วนหนึ่งแยกเป้นสองทั้งนั้น ต้องถือทฤษฎีว่าด้วย 2 จุด
อย่าถือจุดเดียว งานชิ้นหนึ่งย่อมมีทั้งผลงานและข้อบกพร่อง สหายคนหนึ่งก็ย่อมมีทั้งข้อดี
และข้อด้อย ฯลฯ เหล่านี้ล้วนเป็นกฎแห่งความเป็นเอกภาพของด้านตรงข้าม กฎนี้เป็นกฎทั่วไปที่สุดในโลกธรรมชาติ
ในสังคมมนุษย์และในความคิดของเรา เพราะในสิ่งเหล่านี้ล้วนเต็มไปด้วยความขัดแย้งในโลกธรรมชาติ
มีไฟฟ้า บวก ลบ มีปฏิกิริยา กิริยาในสังคมมนุษย์มีความขัดแย้งเก่ากับใหม่
พลังการผลิตและความสัมพันธ์ทางการผลิต โครงสร้างชั้นบนและรากฐานทางเศรษฐกิจ
ฉะนั้นความขัดแย้งจึงดำรงอยู่ในกระบวนการของสิ่งทั้งปวง และซึมซาบอยู่ในกระบวนการของสิ่งทั้งปวงตั้งแต่ต้นจนจบ
ถ้าปฏิเสธความขัดแย้งก็เป็นการปฏิเสธทุกสิ่งทุกอย่าง ฉะนั้น กฏนี้จึงเป็นกฏทั่วไปที่มีอยู่ในจักรวาล
ส่วนกฏอื่นๆ คือการเปลี่ยนแปลงจากปริมาณไปสู่คุณภาพ กฏปฏิเสธในปฏิเสธ และปริมณฑลอื่นๆ
ล้วนเป็นด้านเดียว ด้านข้าง ของกฏแห่งความเป็นเอกภาพของด้านตรงข้ามไม่ใช่รอบด้าน |
......ในปี 1957 ปราชญ์จีนได้อรรถาธิบายเรื่องนี้ว่า
ความขัดแย้งมีอยูทั่วไป แต่ว่าเมื่อลักษณะของสิ่งต่างกัน ลักษณะของความขัดแย้งก็ย่อมต่างกัน
การทีเราเข้าใจกฏที่เป็นมูลฐานของวิภาษวิธีแล้ว เราต้องยอมรับความขัดแย้ง
วิเคราะห์และแก้มันให้ตกไป มิเช่นนั้นก็จะละเมิดวิภาษวิธี นิยมวัตถุ และโลกทัศน์ชนชั้นกรรมาชีพ
ในหมู่เพื่อนของเราบางคนกลัวความขัดแย้ง เมื่อได้ยินเรื่องความขัดแย้งก็กลุ้มใจ
เมื่อพบความขัดแย้งก็เดินอ้อมไป ไม่ใช่วิเคราะห์ความขัดแย้งอย่างเป็นรูปธรรม
ในขณะที่แก้ความขัดแย้งก็ไม่กล้าต่อสู้ต่อไป พวกเขาไม่รู้ว่า ถ้าความขัดแย้งไม่มีในโลก
กระบวนการแห่งการทำงาน ก็คือ กระบวนการแห่งการแก้ความขัดแย้ง ให้ตกไป |
......สรุปข้อ 1.
วิภาษวิธีวัตถุนิยมเป็นโลกทัศน์ของชนชั้นกรรมชีพ ปรัชญาเมธีจีนว่า โลกทัศน์วิภาษวิธีนี้ที่สำคัญ
ก็คือสอนให้เราสันทัดในการสังเกต และวิเคราะห์ การเคลื่อนไหวของความขัดแย้งในสิ่งต่างๆ
และอาศัยการวิเคราะห์อย่างนี้ ชี้ให้เห็นถึงวิธีแก้ด้านความขัดแย้ง ฉะนั้น
การเดข้าใจกฏแห่งความขัดแย้งในสรรพสิ่งอย่างเป็นรูปธรรม จึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งสำหรับพวกเรากฏแห่งความเป็นเอกภาพด้านตรงข้าม
เป็นกฏทั่วไปของจักรวาล เป็นแก่นแท้ของวิภาษวิธี |