2. เหตุมูลฐานแห่งการพัฒนาของสรรพสิ่งอยู่ที่ลักษณะขัดแย้งภายในของสรรพสิ่ง
2.1 การที่ยอมรับหรือไม่ว่า “การก่อให้เกิดสรรพสิ่งเกิดการพัฒนาด้วยความขัดแย้งภายใน”นั้นเป็นข้อแตกต่างพื้นฐานระหว่างวิภาษวิธีวัตถุนิยมกับอภิปรัชญา
......ต่อไปเปรียบเทียบทัศนะที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงของวิภาษวิธีวัตถุนิยมอภิปรัชญา
......ก. อภิปรัชญาเห็นว่าสรรพสิ่งล้วนอยู่อย่างโดดเดี่ยวเหินห่างจากกัน และไม่เกี่ยวข้องกัน ส่วนวิภาษวิธีวัตถุนิยมเห็นว่า สรรพสิ่งล้วนเกี่ยวพันซึ่งกันและกัน ส่งผลสะเทือนต่อกัน ไม่มีสิ่งที่ดำรงอยู่อย่างโดดเดี่ยว ถ้าใช้ทัศนะของอภิปรัชญามาพิจารณาคน คนหนึ่ง ก็จะพิจารณาโดยตัดขาดจากประวัติ ตัดขาดจากความเกี่ยวข้องทางชนชั้น แต่วิภาษวิธีวัตถุนิยมจะต้องพิจารณาจากประวัติทั้งหมดของคน คนนั้น เพราะประวัติการแสดงออกในปัจจุบันมีความเกี่ยวข้องกับอดีต และในอนาคตจะพัฒนาไปอย่างไร ก็ต้องสัมพันธ์กับการแสดงออกในปัจจุบันด้วย ฉะนั้นวิภาษวิธีวัตถุนิยมพิจารณาสรรพสิ่งเริ่มต้นสัมพันธ์กัน
......ข. อภิปรัชญาเห็นว่าสรรพสิ่งไม่เปลี่ยนแปลงชั่วนิรันดร์ ถ้าจะมีการเปลี่ยนแปลง ก็เป็นการเพิ่มหรือลดทางปริมาณ และการสับเปลี่ยนทางสถานที่เท่านั้น ไม่มีการเปลี่ยนแปลงทางคุณภาพและไม่มีการก้าวกระโดดเลย ส่วนการวิภาษวิธีวัตถุนิยมเห็นว่า สรรพสิ่งล้วนพัฒนาแปรเปลี่ยนอยู่เสมอ กระบวนกานการพัฒนาของสรรพสิ่ง คือกระบวนการเปลี่ยนแปลงปริมาณไปสู่คุณภาพ และเป็นกระบวนการที่สิ่งหนึ่งเปลี่ยนแปรไปเป็นอีกสิ่งหนึ่ง ชนชั้นปฏิกริยาได้ใช้ทัศนะอภิปรัชญามาอธิบายปรากฏการณ์ทางสังคมว่า ระบอบกรรมสิทธิ์เอกชนมีมาแต่ไหนแต่ไร และจะดำรงอยู่ชั่วนิรันดร์ เมื่ออนุมานไปอีกขั้นหนึ่งแล้ว ก็สรุปได้ว่าการที่จะให้สังคมก้าวหน้าไป ก็มีแต่ดำเนินการปฏิรูปทางสังคมเท่านั้น อภิปรัชญาปฏิเสธการเปลี่ยนแปลงทางคุณภาพ เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงของสรรพสิ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงทางจำนวนเท่านั้น ฉะนั้นอภิปรัชญาจึงเป็น ปรัชญาทีชนชั้นนายทุน ใช้มาปกป้องรักษาระบอบสังคมทุนนิยมไปตลอดกาล
......ค. ในขณะที่พูดถึงมูลเหตุแห่งการพัฒนาของสรรพสิ่ง อภิปรัชญาเห็นว่า มูลเหตุแห่งการเปลี่ยนแปลงของสิ่ง ไม่ใช่อยู่ภายในของสิ่ง หรือว่าเนื่องจากการผลักดันของพลังภายนอก เขาว่าถ้วยน้ำแตกได้เพราะเราไปตีหรือขว้างจึงแตก ถ้าไม่มีแรงจากภายนอกไปแตะต้อง มันก็ไม่เปลี่ยนแปลงตลอดไป แต่วิภาษวิธีวัตถุนิยมเห็นว่า “สาเหตุมูลฐานแห่งการพัฒนาสรรพสิ่ง อยู่ที่ลักษณะขัดแย้งภายในของสรรพสิ่ง” โลกธรรมชาติเป็นอย่างนี้ ในสังคมมนุษย์ก็เช่นกัน การพัฒนาของสังคมแต่ละสมัย ก็ล้วนมาจากความขัดแย้งภายในสังคม ฉะนั้นความเป็นปรปักษ์ ของวิภาษวิธีวัตถุนิยมกับอภิปรัชญา สรุปแล้วมีอยู่ข้อเดียวคือ ยอมรับหรือไม่ว่าเหตุมูลฐาน แห่งการพัฒนา ของสิ่งที่อยู่ลักษณะขัดแย้งภายในของสรรพสิ่ง ในที่นี้ต้องสนใจคำว่า “เหตุมูลฐาน” เพราะว่าการพัฒนาของสรรพสิ่งล้วนเกิดจากเหตุภายในและภายนอก แต่อันไหนสำคัญกว่า อันไหนเป็นหลัก วิภาษวิธีเห็นว่า เหตุภายในเป็นมูลฐานของการพัฒนา เป็นเหตุอันดับแรก สรรพสิ่งทั้งปวงล้วนแยกเป็น 1 เป็น 2 ภายในของสิ่งล้วน กรปอด้วย 2ด้านที่เป็นปรปักษ์กัน ความขัดแย้ง การต่อสู้ ละความเป็นเอกภาพของสิ่งจึงผลักดันสิ่งพัฒนาไป สังคมหนึ่งจะพัฒนาไปต้องอาศัยความขัดแย้งของการต่อสู้ภายในสังคมนั่นเอง การที่พรรคหนึ่งจะเสริมความมั่นคง พัฒนาและเจริญเติบใหญ่ต้องอาศัย ตัวเอง โดยการทำให้เกิด ความคิดของตนเป็นแบบชนชั้นกรรมาชีพ ขจัดสิ่งที่ไม่ใช่ชนชั้นกรรมาชีพออกจากสมองของตนโดยมีจิตสำนึก ถ้าไม่เช่นนั้นเราก็ไม่อาจอธิบายได้ว่าทำไม เงื่อนไขอย่างเดียวกัน คนคนหนึ่งจึงพัฒนาไปอีกทางหนึ่ง อีกคนหนึ่งไปอีกทางหนึ่ง
1