4.2
การทำวิเคราะห์รูปธรรม ต้องสนใจความขัดแย้งหลักและด้านหลักของความขัดแย้ง
ในการวิเคราะห์ลักษณะเฉพาะของความขัดแย้งนั้น มีสภาพ 2 อย่าง ต้องสนใจพิเศษ
คือ สนใจวิเคราะห์ความขัดแย้งหลักและด้านหลักของความขัดแย้ง ถ้าไม่ทำการวิเคราะห์สภาพ
2 อย่างนี้ ก็ไม่สามารถกุมใจกลางของสิ่งและธาตุแท้ของสิ่งได้ และก็ไม่สามารถค้นพบวิธีการที่ถูกต้องในการแก้ความขัดแย้งให้ตกไป
แบ่งออกเป็น 2 ด้าน คือ |
...ก.
ความขัดแย้งหลักและความขัดแย้งรอง |
......สิ่งที่ง่ายๆ
มีความขัดแย้งอยู่คู่เดียว และสิ่งที่สลับซับซ้อนมีความขัดแย้งหลายคู่ดำรงอยู่
ในกระบวนการแห่งการพัฒนาของสิ่งที่สลับซับซ้อน ความขัดแย้งต่างๆ มีฐานะและบทบาทที่ต่างกันในองค์รวมหลัก
ของสิ่งนั้น ฉะนั้น เราไม่ควรมองข้ามความขัดแย้งให้เท่าเทียมกัน ความขัดแย้งที่มีบทบาทนำและชี้ขาดและที่กำหนดหรือส่งผลสะเทือนต่อการดำรงอยู่และการพัฒนาบทบาทนำและชี้ขาดและที่กำหนดหรือส่งผลสะเทือนต่อการดำรงอยู่และการพัฒนาของความขัดแย้งอื่นๆ
ก็คือความขัดแย้งหลัก ส่วนอื่นๆ ที่ขึ้นต่อ ล้วนเป็นรองทั้งนั้น ในสังคมทุนนิยม
ความขัดแย้งของชนชั้นกรรมาชีพกับนายทุนเป็นความขัดแย้งหลัก ความขัดแย้งอื่นๆ
ล้วนถูกความขัดแย้งนี้กำหนดหรือ รับผลสะเทือนจากความขัดแย้งนี้ เช่น ในการทำงานของเราอาจมีงานมากมายแต่ต้องมีชิ้นงานชิ้นหนึ่งสำคัญกว่าชิ้นอื่นๆ
ทำงานนี้ได้ดีหรือไม่ มันจะส่งผลสะเทือนต่องานอื่นๆ ฉะนั้นการทำงานของเราจึงควรกุมความขัดแย้งหลักในการต่อสู้ทางทหารและการเมืองก็มีปัญหานี้ดำรงอยู่
เช่น การวิเคราะห์ว่าใครเป็นศัตรูตัวสำคัญในระยะแน่นอนระยะหนึ่ง ถ้าการทำงานเราไม่สนใจ
จำแนกว่าอะไรเป็นหลัก อะไรเป็นรองก่อน หลัง ด่วน ช้า การงานของเราก็จะเป็นไปอย่างสับสน
ในที่สุดก็จะคล้ายกับการจับค้างคาวทั้งหมด |
......อะไรก็จับ
อะไรก็กุม ไม่มีการจำแนก สุดท้ายก็ไม่ได้อะไรเลย ฉะนั้นการจำแนกความขัดแย้งหลักและรองจึงมีความสำคัญ
เมื่อเราจับความขัดแย้งหลักได้ก็จะรวมศูนย์เข้าแก้ความขัดแย้งหลักให้ตกไปก่อนแน่นอน
การกุมความขัดแย้งหลักก็ไม่ใช่ว่าจะไม่กุมความขัดแย้งรองเลย ถ้าความขัดแย้งรองแก้ไม่ได้อาจมีผลสะเทือนต่อความขัดแย้งหลักได้
แต่เราต้องวางกำลังให้เหมาะสม |
......ความขัดแย้งหลักและรองแปรเปลี่ยนกันได้ไม่ใช้แปรเปลี่ยนกันไม่ได้
ในระยะหนึ่งอาจจะมีใจกลางงานอย่างหนึ่ง พอถึงอีกระยะหนึ่งก็อาจจะเปลี่ยนเป็นอีกอย่างหนึ่ง
การจำแนกว่าอะไรเป็นหลักเป็นรองควรดำเนินไปตามกาลเวลา และเงื่อนไขที่เป็นรูปธรรมถ้าสถานการณ์คลี่คลายไป
ความขัดแย้งหลักเปลี่ยนไปแต่งานของเราไล่ไม่ทัน ก็จะทำงานไม่ได้ผล |
.....ข.
ด้านหลักของความขัดแย้ง ไม่ว่าจะเป็นความขัดแย้งอะไรก็ตาม 2 ด้านของความขัดแย้งพัฒนาไปไม่สม่ำเสมอ
ทั้ง 2 ฝ่ายของความขัดแย้งนั้น ย่อมมีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นรอง ปราชญ์ว่า
"ไม่ว่าจะเป็นความขัดแย้งชนิดใดด้านต่างๆ ของความขัดแย้งย่อมพัฒนาไม่สม่ำเสมอ
บางครั้งดูคล้ายกับว่ามีกำลังพอๆ กัน แต่นั่นก็เป็นเพียงสภาพชั่วคราวและสัมพัทธ์เท่านั้น
ส่วนรูปการ พื้นฐานหาสม่ำเสมอกันไม่ ในด้าน 2 ด้านที่ขัดแย้งกันอยู่ ย่อมมีด้านหนึ่ง
ที่เป็นหลัก อีกด้านหนึ่งเป็นรอง ด้านหลักของมันก็คือสิ่งที่เรียกว่า ด้านที่มีบทบาทนำในความขัดแย้งนั้นเอง
ลักษณะของสรรพสิ่งกำหนดโดยด้านหลักของความขัดแย้งซึ่งมีฐานะครอบงำเป็นสำคัญ"
เช่นในสังคมทุนนิยมความขัดแย้งระหว่างชนชั้นกรรมาชีพกับชนชั้นนายทุนผู้อยู่ในฐานะครอบงำ
คือ ชนชั้นนายทุนฉะนั้นชนชั้นนายทุนจึงเป็นด้านหลักของความขัดแย้ง ด้านหลักของความขัดแย้งคือชนชั้นนายทุน
จึงได้กำหนดลักษณะพิเศษของสังคมนี้ คือสังคมทุนนิยมเมื่อผ่านการต่อสู้ชนชั้นกรรมาชีพได้อยู่ในฐานะครอบงำ
ชนชั้นกรรมาชีพกลายเป็นด้านหลักของความขัดแย้ง ลักษณะของสังคมก็ได้เปลี่ยนไป
คือ กลายเป็นสังคมนิยม ฉะนั้นการรับรู้ด้านหลักของความขัดแย้งให้แจ่มชัด
จึงเป็นปัญหาที่มีลักษณะปมเงื่อน ในการรับรู้ลักษณะของสิ่งถ้าเราไม่รู้าจักจำแนกด้านไหนหลักและรอง
เราก็ไม่สามารถจำแนกลักษณะของสิ่งได้เช่นในการพิจารณางานชิ้นหนึ่งๆ ผลงานเป็นหลักหรือข้อบกพร่องเป็นหลัก
ถ้าผลงานเป็นหลัก 70%เราก็ยืนยันได้ว่างานนั้นได้ถูก ถ้าข้อบกพร่องเป็นหลักเราก็ต้องปฏิเสธโดยพื้นฐานว่างานนั้นไม่ควรทำ
การดูคนคนหนึ่งก็ต้องดูข้อดีของเขาเป็นหลัก หรือข้อบกพร่องของเขาเป็นหลัก
มีแต่จำแนกแจ่มชัดเช่นนี้ จึงจะรู้ว่าคนคนนี้เป็นเพื่อนร่วมอุดมการณ์ของเราหรือไม่
สำหรับด้านหลักและด้านรองนั้นมักจะแปรเปลี่ยนได้ ในเงื่อนไขที่แน่นอนหนึ่งๆ |