|
||
|
11 |
|
ในการเลือกว่าจะใช้โปรเจคเตอร์อย่างไรที่มีความละเอียดเท่าใด ก็ขึ้นอยู่กับว่าอุปกรณ์ที่กำเนิดสัญญาณภาพนั้นมีความละเอียดเท่าใด โดยควรเลือกให้เท่ากัน เช่น หากเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ก็ไม่ควรมีความละเอียดต่ำกว่าระดับ SVGA หรือ 800X600 จุดแล้ว เพราะในปัจจุบันแทบจะไม่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีความละเอียดในการแสดงผลระดับ VGA ในการตรวจสอบสเปกของโปรเจ๊กเตอร์ด้านความละเอียดในการแสดงผลนั้นให้ดูที่ Native Resolution ว่าเป็นเท่าใด ซึ่งค่านี้คือค่าความละเอียดตามปกติ ไม่มีการบีบอัดหรือขยายภาพ หากความละเอียดของสัญญาณภาพตรงกับ Native Resolution ก็จะทำให้ภาพที่ได้ไม่มีการผิดเพี้ยน หากถามว่าจะเกิดอะไรขึ้น หากระดับความละเอียดของสัญญาณภาพไม่พอดีกับ Native Resolution คำตอบมีได้ 2 กรณีคือ ในกรณีที่เครื่องโปรเจ๊กเตอร์นั้นไม่มีความสามารถในการย่อหรือขยายภาพ ก็จะแสดงผลไปตามที่เป็น เช่น เมื่อแสดงภาพขนาด SVGA ด้วยโปรเจคเตอร์ระดับ XGA ก็จะเห็นภาพที่มีขนาดเพียง 800X600 จุด (ตามขนาดของ SVGA) จำนวนพิกเซลที่เหลืออีกกว่า 35% จะไม่ได้ถูกใช้งาน ในกรณีเช่นนี้นอกเหนือจากจะเสียพื้นที่โดยเปล่าประโยชน์แล้ว ยังมีผลให้ความสว่างลดลงด้วย เพราะจะไม่มีแสงสว่างออกมาจากพื้นที่ส่วนที่ไม่ได้ใช้งานนั้นด้วย หรือในกรณีที่ภาพที่แสดงมีขนาดใหญ่กว่า Native Resolution ของโปรเจคเตอร์ ก็จะทำให้สามารถแสดงได้เพียงบางส่วนของภาพเท่านั้น ดังนั้นเครื่องโปรเจ๊กเตอร์ในปัจจุบันน้นส่วนใหญ่จึงมีความสามารถในการปรับความละเอียดให้เข้ากับความละเอียดให้เข้ากับความละเอียดของสัญญาณภาพได้ เช่น หากสัญญาณภาพมีความละเอียดน้อยกว่าก็จะขยายภาพ (Scale-up) ให้มีขนาดเท่ากับความละเอียดของโปรเจคเตอร์ ในทางตรงกันข้ามหากสัญญาณภาพมีความละเอียดสูงกว่า ภาพนั้นก็จะถูกย่อมาแทน แต่เนื่องจากส่วนที่สร้างภาพในโปรเจคเตอร์ทั้งแบบ LCD และ DLP นั้นมีจำนวนพิกเซลที่แน่นอน การปรับขนาดภาพโดยการย่อ-ขยาย จึงต่างจากกรณีที่เราปรับความละเอียดของจอมอนิเตอร์ ซึ่งจะมีความต่อเนื่องมากกว่า เช่น ในกรณีของโปรเจคเตอร์ เมื่อเราขยายภาพขนาด SVGA ให้พอดีกับโปรเจคเตอร์ที่มี Native Resolution ขนาด XGA แสดงว่าจำนวนจุดตามแนวนอน ซึ่งเดิมมีอยู่ 800 จุด จะต้องเพิ่มเป็น 1024 จุด วิธีการทำงานที่ง่ายที่สุด ก็คือ ทุกๆ 3 จุดเดิมจะต้องเพิ่มจุดใหม่ลงในภาพอีกหนึ่งจุด ดังนั้นจึงอย่าแปลกใจหากคุณเห็นว่าบางช่วง ภาพลายเส้นจะหนากว่าปกติ อย่างไรก็ตาม ความผิดเพี้ยนนี้จะมากหรือน้อยขึ้นกับอัลกอริธึม และเทคโนโลยีการย่อ- ขยายภาพ โดยอาจมีการ Interpolate เพื่อเกลี่ยสีตรงจุดที่เพิ่มขึ้นมาใหม่ให้ดูกลมกลืนกับจุดรอบๆ ข้าง เป็นต้น แต่ใช่ว่าลักษณะของภาพทุกๆ ภาพจะมีผลผิดเพี้ยนเมื่อถูกย่อ หรือขยาย เช่นหากภาพนั้นเป็นภาพตัวอักษร ตัวเลขขนาดเล็กใน สเปรดชีต การถูกย่อลง อาจทำให้สูญเสียรายละเอียดลงจนผิดความหมาย แต่หากเป็นภาพวิดีโอ หรือภาพุถ่ายที่ไม่ได้ต้องการเน้นรายละเอียด ผู้ชมก็อาจไม่ใส่ใจต่อความผิดเพี้ยนจากการย่อหรือขยายก็ได้ และที่สำคัญอีกประการหนึ่ง การย่อภาพจะทำให้สูญเสียรายละเอียดไป แต่การขยายภาพนั้น ไม่ได้ทำให้สูญเสียรายละเอียด ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงที่จะใช้การย่อภาพที่เป็นรายละเอียดจะดีกว่า โดยสรุปแล้วคุณควรเลือกโปรเจ๊กเตอร์ที่มความละเอียดเท่ากันหรือมากกว่าความละเอียดของภาพ และมีความสามารถในการปรับความละเอียดได้ทั้งการย่อและขยายภาพ |
Copyright
© Burapha University Bangsaen Chonburi
Thailand. |