เหนือเวทนา : อยู่เพื่ออะไร
.พระพุทธองค์จึง่ให้หาที่พึง คือ หาใจของเรา ใจของเราเป็นสิ่งที่สำคัญ โดยมากคนเราไม่ค่อยมองดูในสิ่งที่สำคัญ ไปมองดูที่อื่นที่ไม่สำคัญ เป็นต้นว่า กวาดบ้าน ล้างจาน ก็มุ่งความสะอาด ล้างถ้วยล้างจานให้มันสะอาด ทุกสิ่งทุกอย่างมุ่งความสะอาด แต่ใจเจ้าของไม่เคยมุ่งเลย ใจของเรามันเน่า บางทีก็โกรธ หน้าบูด หน้าเบี้ยว เท่านั้นแหล่ะ ก็ไปมุ่งแต่จานให้จานมันสะอาด ใจของเราไม่สะอาด เท่าไรก็ไม่มองดู
เหนือเวทนา : เหนือเวทนา
พระพุทธองค์ท่านทรงรู้ว่า สุขทุกข์นี้มันเป็นทุกข์ สุขทุกข์จึงมีราคาเท่ากัน ดังนั้นเมื่อสุขทุกข์เกิดขึ้น ท่านจึงปล่อยวางไป สิ่งทั้งหลายเหล่านี้ มันมีราคาเสมอเท่ากัน เพราะฉะนั้นจิตใจของท่านจึงเป็นสัมมาปฏิปทา เห็นสิ่งทั้งสองนี้มีทุกข์โทษเสมอกัน มีคุณประโยชน์เสมอกัน ทั้งนั้นและสิ่งทั้งสองนี้ก็เป็นของที่ไม่แน่นอน ตกอยู่ในลักษณะของธรรมะว่า ไม่เที่ยงและเป็นทุกข์ เกิดแล้วดับไป ทั้งหมดเป็นอย่างนี้ เมื่อท่านเห็นเช่นนี้ สัมมาทิฐิก็เกิดขึ้นมาเป็นสัมมามรรค จะยืน จะเดิน จะนั่ง จะนอนก็ตาม หรือความรู้สึกนึกคิดทางจิตนั้นจะเกิดขึ้นมาก็ตามท่านจะรู้ว่าอันนี้เป็นสุข อันนี้เป็นทุกข์เสมอเลยทีเดียว ท่านไม่ได้ยึด