บทสวดมนต์
ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก
ต้นฉบับเดิม
เปิดกรุได้ที่เมืองสวรรคโลก มีคำกล่าวในหนังสือนำว่า ผู้ใดมีไว้ประจำบ้านเรือนมีอนิสงส์ยิ่งกว่าได้สร้างพระเจดีย์ทองคำสูงเทียมเทวโลกและป้องกันภยันตรายต่างๆ ทำมาหากินเจริญ
ผู้ใดสร้างพระกัณฑ์ไตรปิฎกนี้เป็นธรรมทาน และไว้สวดมนต์สักการะบูชาผลานิสงส์สุดที่จะพรรณนาให้ทั่วถึงได้เป็นมหากุศลอันยิ่งใหญ่ จะมีความสุขสิริสวัสดิ์เจริญต่อไปทั้งปัจจุบันกาลและอนาคตภายภาคหน้าตลอดบุตรหลานสืบไปด้วยอำนาจของความเคารพในพระคาถานี้
ประวัติกล่าวไว้ในต้นฉบับเดิมว่า
หนังสือยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎกนี้ มีคำกล่าวไว้ในหนังสือนำว่าเป็นพุทธมนต์อันศักดิ์สิทธิ์ ถ้าผู้ใดได้สวดมนต์ภาวนาทุกเช้าคำแล้ว เป็นการบูชาระลึกถึงพระพุทธเจ้า ผู้นั้นจะไม่ไปตกอบายภูมิ แม้ได้บูชาไว้กับบ้านเรือน ก็ป้องกันอันตรายต่างๆ จะภาวนาพระคาถาอื่นๆ สัก 100 ปี อานิสงส์ก็ไม่เท่าภาวนาพระคาถานี้ครั้งหนึ่ง ถึงแม้ว่า อินทร์ พรหม ยมยักษ์ ที่มีอิทธิฤทธิ์ จะเนรมิตแผ่นอิฐเป็นทองคำก่อเป็นพระเจดีย์ ตั้งแต่มนุษย์โลกสูงขึ้นไปจนถึงพรหมโลก อานิสงส์ก็ยังไม่เท่าภาวนายอดพระกัณฑ์ไตรปิฎกนี้ และมีคำอธิบายคุณความดีไว้ในต้นฉบับเดิมนั้นอีกนานัปการฯ
ต้นฉบับเปิดกรุได้ที่เมืองสวรรคโลก จารเป็นอักษรขอมจารึกไวในใบลาน โบราณจารย์จึงได้แปลเป็นอักษรไทย หลวงธรรมาธิกรณ์(พระภิกษุแสง) ได้มาแต่พระแท่นศิลาอาสน์ มณฑลพิษณุโลก
ยอดพระกัณต์ไตรปิฏกนี้ ถ้าผู้ใดบริจาคทรัพย์สร้างถวาย พระภิกษุสงฆ์ สามเณร ญาติ-มิตร สหาย หรือสวดจนครบ 7 วัน ครบอายุปัจจุบันของตน จะบังเกิดโชคลาภทำมาค้าขายเจริญรุ่งเรือง จะพ้นเคราะห์ปราศจากทุกข์โศกโรคภัยและภัยพิบัติทั้งปวงฯ
ผู้ตั้งจิตเจริญภาวนายอดพระกัณฑ์ไตรปิฎกวันละสามจบ จะไม่มีบาปกรรม ทำสิ่งใดจะได้สมความปรารถนา สวดวันละเจ็ดจบกระดูกลอยน้ำได้
พิธีไหว้พระและสวดยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก
ก่อนเข้าห้องบูชาพระควรอาบน้ำชำระร่างกายให้สะอาดและนุ่งห่มไห้เรียบร้อย เข้านั่งที่ด้วยความสำรวมกายใจ ตั้งจิตให้แน่วแน่เพ่งตรง ยังพระพุทธรูประลึกถึงพระรัตนตรัย ค่อยกราบ 3 หน แล้วสงบจิตระลึกถึงคุณบิดามารดา ซึ่งเป็นพระอรหันต์ของบุตร จากนั้นจึงจุดเทียนบูชา ให้จุดเล่มด้านขวาของพระพุทธรูปก่อน แล้วจุดเล่มด้านซ้ายต่อไปจุดธูป 3 ดอก เมื่อจุดเทียนธูปที่เครื่องสักการบูชาเสร็จแล้ว เอาจิต (นึกถึง) พระพุทธองค์มาเป็นประธาน พึงนั่งคุกเข่าประนมมือตั้งใจบูชาพระรัตนตรัย นมัสการพระรัตนตรัย นมัสการพระพุทธเจ้า ไตรสรณคมน์และมนัสการพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ แล้วจึงเจริญภาวนาพระกัณฑ์ไตรปิฎก จะเพิ่มความขลังและศักดิ์สิทธิ์ยิ่งขึ้น จะเกิดพลังจิตและความมั่นคงในชีวิต พึงทราบด้วยว่า การเจริญภาวนาทุกครั้งต้อง อยู่ในสถานที่อันสมควร ขอให้ทำจิตตั้งมั่นในบทสวดมนต์ จะมีเทวดาอารักษ์ทั้งหลายร่วมอนุโมทนาสาธุการ ขออย่าทำเล่น จะเกิดโทษแก่ตนเอง
คำบูชาพระรัตนตรัย
โยโส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ
อิเมหิ สักกาเรหิ ตัง ภะคะวันตัง อะภิปูชะยามิ
โยโส สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม
อิเมหิ สักกาเรหิ ตัง ธัมมัง อะภิปูชะยามิ
โยโส สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
อิเมหิ สักกาเรหิ ตัง สังฆัง อะภิปูชะยามิ
คำมนัสการพระรัตนตรัย
อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา พุทธังภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ (กราบ 1 หน)
สาวกขาโต ภะคะวะตา ธัมโม ธัมมัง นะมัสสามิ (กราบ 1 หน)
สุปะฎิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สังฆังนะมามิ (กราบ 1หน)
คำมนัสการพระพุทธเจ้า
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
คำมนัสการไตรสรณคมน์
พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
คำมนัสการพระพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ
อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะ สัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ ฯ (๕๖)
สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหีติ ฯ (๓๘)
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ญายะปะฎิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ยะทิตัง จัตตาริ ปุริสะยูคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเณยโย อัญชะลี กะระณีโย อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ ฯ (๑๔)
ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก
ต้นฉบับเดิม
1. อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง วัจจะโส ภะคะวา
อิติปิโส ภะคะวา สัมมาสัมพุทโธ วัจจะโส ภะคะวา
อิติปิ โส ภะคะวา วิชชาจะระณะ สัมปันโนวัจจะโส ภะคะวา
อิติปิ โส ภะคะวา สุคะโต วัจจะโส ภะคะวา
อิติปิ โส ภะคะวาโลกะวิทู วัจจะโส ภะคะวา
อะระหันตัง สะระณัง คัจฉามิ
อะระหันตัง สิระสา นะมามิ
สัมมาสัมพุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
สัมมาสัมพุทธัง สิระสา นะมามิ
วิชชาจะระณะสัมปันนัง สะระณัง คัจฉามิ
วิชชาจะระณะสัมปันนัง สิระสา นะมามิ
สุคะตัง สะระนัง คัจฉามิ
สุคะตัง สิระสา นะมามิ
โลกะวิทัง สะระณัง คัจฉามิ
โลกะวิทัง สิระสา นะมามิ
2. อิติปิโส ภะคะวา อะนุตตะโร วัจจะโส ภะคะวา
อิติปิโส ภะคะวา ปุริสะทัมมะสาระถิ วัจจะโส ภะคะวา
อิติปิโส ภะคะวา สัตถา เทวะมะนุสสานัง วัจจะโส ภะคะวา
อิติปิโส ภะคะวา พุทโธ วัจจะโส ภะคะวา
อะนุตตะรัง สะระณัง คัจฉามิ
อะนุตตะรัง สิระสา นะมามิ
ปุริสะทัมมะสาระถิ สะระณัง คัจฉามิ
ปุริสะทัมมะสาระถิ สิระสา นะมามิ
สัตถา เทวะมะนุสสานัง สะระณัง คัจฉามิ
สัตถา เทวะมะนุสสานัง สิระสา นะมามิ
พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
พุทธัง สิระสา นะมามิ อิติปิ โส ภะคะวา ฯ
3. อิติปิโส ภะคะวา รูปะขันโธ อะนิจจะ ลักขะณะปาระมิ จะ สัมปันโน อิติปิโส ภะคะวา
อิติปิโส ภะคะวา เวทะนาขันโธ อะนิจจะ ลักขะณะปาระมิ จะ สัมปันโน อิติปิโส ภะคะวา
อิติปิโส ภะคะวา สัญญาขันโธ อะนิจจะ ลักขะณะปาระมิ จะ สัมปันโน อิติปิโส ภะคะวา
อิติปิโส ภะคะวา สังขาระขันโธ อะนิจจะ ลักขะณะปาระมิ จะ สัมปันโน อิติปิโส ภะคะวา
อิติปิโส ภะคะวา วิญญาณะขันโธ อะนิจจะ ลักขะณะปาระมิ จะ สัมปันโน อิติปิโส ภะคะวา
4. อิติปิ โส ภะคะวา ปะฐะวีจักกะวาฬะ จาตุมะหาราชิกา ตาวะติงสา ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา เตโชจักกะวาฬะ จาตุมะหาราชิกา ตาวะติงสา ธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา วาโยจักกะวาฬะ จาตุมะหาราชิกา ตาวะติงสา ธาตุ สัมมาทิยานะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา อาโปจักกะวาฬะ จาตุมะหาราชิกา ตาวะติงสา ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา อากาสะจักกะวาฬะ จาตุมะหาราชิกาตาวะติงสา ธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน
5. อิติปิโส ภะคะวา ยามา ธาตุ สัมมาทิยานะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา ตุสิตา ธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา นิมมานะระตี ธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา กามาวะจะระ ธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา รูปาวะจะระ ธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน
6. อิติปิโส ภะคะวา ปะฐะมะฌานะ ธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา ทุติยะฌานะธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา ตะติยะฌานะธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา จะตุตถะฌานะธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา ปัญจะมะฌานะธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน
7. อิติปิโส ภะคะวา อากาสานัญจายะตะนะ เนวะสัญญานาสัญญายะตะนะ อะรูปาวะจะระ ธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา วิญญานัญจายะตะนะ เนวะสัญญานาสัญญายะตะนะ อะรูปาวะจะระ ธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา อากิญจัญญายะตะนะ เนวะสัญญานาสัญญายะตะนะ อะรูปาวะจะระ ธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน
8. อิติปิโส ภะคะวา โสตาปะฏิมัคคะ ธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา สะกิทาคาปะฏิมัคคะ ธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา อะนาคาปะฏิมัคคะ ธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา อะระหันตะปะฏิมัคคะ ธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา โสตาอะระหัตตะปะฏิผะละ ธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา สะกิทาคาอะระหัตตะปะฏิผะละ ธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา อะนาคามิอะระหัตตะปะฏิผะละ ธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน
9. กุสะลา ธัมมา อิติปิโส ภะคะวา อะอายาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ชัมภูทีปัญจะ อิสสะโร กุสลา ธัมมา นะโม พุทธายะ นะโมธัมมายะ นะโม
สังฆายะ ปัญจะ พุทธา นะมามิหัง อาปามะจุปะ ทีมะสังอังขุ สังวิธาปุกะยะปะ อุปะสะชะสะเห ปาสายะโส ฯ
โสโส สะ สะ อะ อะ อะ อะ นิ เต ชะ สุ เน มะภูจะนะวิเว อะสังวิสุโลปุสะพุภะ อิสวาสุ สุสาวะอิ กุลสะลา ธัมมา จิตติวิอัตถิ
อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง อะอา ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ สาโพธิปัญจะ อิสสะโร ธัมมา
กุสะลา ธัมมา นันทะวิวังโก อิติ สัมมาสัมพุทโธ สุคะลาโน ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
10. จาตุมะหาราชิกา อิสสะโร กุสลา ธัมมา อิติ วิชชา จะระณะสัมปันโน อุอุยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ตาวะติงสา อิสสะโร กุสลา ธัมมา นันทะปัญจะ สุคะโต โลกะวิทู มะหาเอโอ ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ยามา อิสสะโร กุสลา ธัมมา พรหมาสัททะ ปัญจะสัตตะ สัตตา ปาระมี อะนุตตะโร ยะมะกะขะ ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ตุสิตา อิสสะโร กุสะลา ธัมมา ปุยะปะกะ ปุริสะทัมมะสาระถิ ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
นิมมานะระตี อิสสะโร กุสลา ธัมมา เหตุโปวะ สัตถา เทวะมะนุสสานัง ตะถา ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ปะระนิมมิตะวะสะวัตตี อิสสะโร กุสลา ธัมมา สังขาระขันโธ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา รูปะขันโธ พุทธะปะผะ ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
พรหมา อิสสะโร กุสะลา ธัมมา นัตถิปัจจะยา วินะปัญจะ ภะคะวะตา ยาวะ นิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ
11. นะโม พุทธัสสะ นะโม ธัมมัสสะ นะโม สังฆัสสะ พุทธิลาโภกะลา กะระกะนา เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหนตุ หุลู หุลู หุลู สะวาหายะ
นะโม พุทธัสสะ นะโม ธัมมัสสะ นะโมสังฆัสสะ วิตติ วิตติ วิตติ มิตติ มิตติ มิตติ จิตติ จิตติ วัตติ วัตติ มะยะสุ สุวัตถิ โหนตุ หุลู หุลู หุลู สะวาหายะ
อินทะสาวัง มะหาอินทะสาวัง พรหมะสาวัง มะหาพรหมะสาวัง จักกะวัตติสาวัง มะหาจักกะวัตติสาวัง เทวาสาวัง มะหาเทวาสาวัง อิสิสาวัง มะหาอิสิสาวัง มุนีสาวัง มะหามุนีสาวัง สัปปุริสะสาวัง มหาสัปปุริสะสาวัง พุทธะสาวัง ปัจเจกะพุทธะสาวัง อะระหัตตะสาวัง สัพพะสิทธิวิชชาธะรานังสาวัง สัพพะโลกาอิริยานังสาวัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหนตุ
สาวัง คุณัง วะชะ พะลัง เตชัง วิริยัง สิทธิกัมมัง ธัมมัง สัจจัง นิพพานัง โมกขัง คุยหะกัง ทานัง สีลัง ปัญญา นิกขัง ปุญญัง ภาคะยัง ยะสัง ตัปปัง สุขัง สิริ รูปัง จะตุวีสะติเทสะนัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหนตุ หุลู หุลู หุลู สะวาหายะฯ
12. นะโม พุทธัสสะ นะโม ธัมมัสสะ นะโม สังฆัสสะ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา รูปะขันโธ เวทะนาขันโธ สัญญาขันโธ สังขาระขันโธ วิญญาณะขันโธ นะโม อิติปิโส ภะคะวา
นะโม พุทธัสสะ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา รูปะขันโธ เวทะนาขันโธ สัญญาขันโธ สังขาระขันโธ วิญญาณะขันโธ นะโม สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม
นะโม ธัมมัสสะ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา รูปะขันโธ เวทะนาขันโธ สัญญาขันโธ สังขาระขันโธ วิญญาณะขันโธ นะโม สาวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม
นะโม ธัมมัสสะ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา รูปะขันโธ เวทะนาขันโธ สัญญาขันโธ สังขาระขันโธ วิญญาณะขันโธ นะโม สุปะฏิปันโนภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
นะโม สังฆัสสะ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา รูปะขันโธ เวทะนาขันโธ สัญญาขันโธ สังขาระขันโธ วิญญาณะขันโธ นะโม สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ วาหะปะริตตัง
นะโมพุทธายะ มะอะอุ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา ยาวะตัสสะ หาโยโมนะ อุอะมะ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา อุอะมะอะ วันทา นะโม พุทธายะ นะอะกะติ นิสะระณะ อาระปะขุทธัง มะอะอุ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา ฯ
วิปัสสิต
สัพพะทุกขา สัพพะภะยา สัพพะโรคา วินาสสันตุ
คำกรวดน้ำ
ของยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก
อิมินา ปุญญะกัมเมนะ ด้วยเดชะผลบุญแห่งข้าพเจ้าได้สร้างและสวดยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎกนี้ ขอให้ค้ำชู อุดหนุนคุณบิดามารดา พระมหากษัตริย์ ผู้มีพระคุณ ญาติกา ครูอุปัชฌาย์ อาจารย์ เจ้ากรรมนายเวร และมิตร รักสนิทเพื่อนสรรพสัตว์น้อยใหญ่ พระภูมิเจ้าที่ เจ้ากรุงพาลี แม่พระธรณี แม่พระคงคา แม่พระโพสพ พญายมราช นายนิริยบาล ท้าวจตุโลกบาลทั้งสี่ ศิริคุตอำมาตย์ ชั้นจาตุมมะหาราชิกาเบื้องบนสูงสุดจนถึงภวัคคะพรหม และเบื้องล่างต่ำสุด ตั้งแต่โลกันตมหานรก และอเวจีขึ้นมา จนถึงโลกมนุษย์ สุดรอบขอบจักรวาล คุณพระศรีรัตนตรัย และเทพยดาทั้งหลาย ตลอดทั้งอินทร์ พรหม ยม ยักษ์ คนธรรพ์ นาคา พระเพลิง พระพาย พระพิรุณ ท่านทั้งหลายที่ต้องทุกข์ขอให้พ้นทุกข์ ท่านทั้งหลายที่ได้สุขขอให้ได้สุขยิ่ง ขึ้นๆ ไป ด้วยเดชะผลบุญแห่งข้าพเจ้าอุทิศให้ไปนี้ จงเป็นอุปนิสัยปัจจัยให้ถึงพระนิพพานในปัจจุบัน และอนาคตกาลเบื้องหน้าโน้นเทอญ ฯ
พุทธัง อะนันตัง ธัมมังจักกะวาลัง
สังฆัง นิพพานะปัจจะโย โหนตุ
อานิสงส์การสวดและภาวนา
ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก
ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎกเป็นพุทธมนต์อันศักดิ์สิทธิ์ ไว้สำหรับสวดและภาวนาทุกเช้าค่ำ เพื่อความสวัสดีเป็นสิริมงคลแก่ผู้สาธยาย อันเป็นบ่อเกิด มหาเตชัง มีเดชมาก มหานุภานัง มีอานุภาพมาก และมีลาภยศ สุขสรรเสริญ ปราศจากโรคภัย อุปัทวันตราย และความพินาศทั้งปวง ตลอดทั้งหมู่มารร้าย และศัตรูคู่อาฆาตไม่อาจแผ้วพานได้
อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง เป็นต้น ถ้าสาธยายหรือภาวนาแล้วจะนำมาซึ่งลาภยศ สุขสรรเสริญและปราศจากอันตรายทั้งปวง ตลอดทั้งเป็นการระลึกถึงคุณพระพุทธเจ้าเป็นการเจริญพระพุทธานุสติวิปัสสนากัมมัฏฐาน เป็นแดนเกิดของสมาธิอีกด้วย
อะระหันตัง สะระณัง คัจฉามิ เป็นต้น เมื่อสาธยาย หรือภาวนาแล้ว เป็นการมอบกายถวายชีวิตไว้กับองค์พระพุทธเจ้า หรือเอาองค์พระพุทธเจ้าเป็นตาข่ายเพชรคอยปกป้องคุมครองรักษาชีวิตให้ปราศจากเวรภัย
อิติปิโส ภะคะวา รูปะขันโธ เป็นต้น เมื่อสาธยาย หรือภาวนาแล้วขออาราธนาบารมีธรรมของพระพุทธองค์สิงสถิตในเบญจขันธ์ของเรา เพื่อให้เกิดพระไตรลักษณญาน อันเป็นทางของพระนิพพานสืบต่อไป
อิติปิโส ภะคะวา ปะฐะวีธาตุสะมาธิญาณะสัมปันโน เป็นต้น เมื่อสาธยายหรือภาวนา ขออำนาจสมาธิญาณของพระพุทธองค์เป็นไปในธาตุ ในจักรวาล ในเทวโลก หรือในกามาวจรภูมิ อรูปาวจรภูมิ และในโลกุตรถูมิ ขอจงมาบังเกิดในขันธสันดานของข้าพเจ้า หรือเรียกว่าเป็นการเจริญสมาธิภาวนา อันเป็นบ่อเกิดแห่งรูปฌาน อรูปฌาน อภิญญา เป็นการเจริญวิปัสสนา อันเป็นบ่อเกิดแห่งมรรคผลนิพพาน เป็นการหลุดพ้นจากกิเลสทั้งปวงฯ
กุสลา ธัมมา อิติปิโส ภะคะวา เป็นต้น เป็นการสาธยายหัวใจพระวินัยปิฎก หัวใจพระสุตตันตปิฎก หัวใจพระอภิธรรมปิฎก และเป็นหัวใจพระเจ้า 500 ชาติ พระเจ้า 10 ชาติ และหัวใจอิติปิโสตลอดทั้งหัวใจอื่นๆ อีกเป็นจำนวนมาก เมื่อภาวนาแล้วจะนำลาภ ยศ ฐาน์บรรดาศักดิ์ ทั้งอายุ วรรณะ สุขะ พละ และจะป้องกันสรรพภัย ต่างๆ เพื่อให้เกิดความเป็นสิริมงคลแก่ตนและบุตรหลานสืบไป
อินทะสาวัง มหาอินทะสาวัง เป็นต้น เมื่อสาธยายหรือภาวนาแล้วมีทั้งอำนาจ ตบะ เดชะ ความสุข ความเจริญรุ่งเรืองทุกประการ
พระอริยสงฆ์ต่างก็กล่าวเน้นว่า พระพุทธศาสนาเป็นของจริงของแท้ที่เรายึดมั่นเป็นหลักชัยแห่งชีวิตได้ ยิ่งมีการปฏิบัติธรรม ทั้งทาน ศีล ภาวนา สม่ำเสมอความสุขความเจริญเกิดขึ้นแก่ตนแน่อย่าสงสัย การรวยทรัพย์สินเงินทองไม่ก่ออานิสงส์ ไม่เท่ากับรวยบุญรวยกุศล ซึ่งจะบังเกิดความสุขความเจริญในปัจจุบัน และตามติดวิญญานไปทุกภพ ทุกชาติด้วย
ฉะนั้นชาวพุทธทั้งหลาย จงเจริญภาวนา ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฏกทุกเช้าค่ำเถิด จะบังเกิดความสวัสดิมงคล แก่ตนและครอบครัว ให้มีความสุขร่มเย็นโดยถ้วนหน้า
พระคาถาชินบัญชร
สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)
วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
เพื่อให้เกิดอนุภาพยิ่งขึ้น ก่อนเจริญภาวนาชินบัญชรให้ตั้งนะโม 3 จบ แล้วระลึกถึงและบูชาเจ้าประคุณสมเด็จด้วยคำว่า
ปุตตะกาโม ละเภ ปุตตัง ธะนะกาโม ละเภ ธะนัง
อัตถิ กาเย กายะญายะ เทวานัง ปิยะตัง สุตตะวา
อิติปิโส ภะคะวา ยะมะราชาโน เท้าเวสสุวัณโณ
มะระณัง สุขัง อะระหัง สุคะโต นะโม พุทธายะ
1. ชะยาสะนาคะตา พุทธา เชตะวามารัง สะวาหะนัง
จะตุสัจจาสะภัง ระสัง เย ปิวิงสุ นะราสะภา
2. ตัณหังกะราทะโย พุทธา อัฏฐะวีสะติ นายะกา
สัพเพ ปะติฏฐิตา มัยหัง มัตถะเก เต มุนิสสะรา
3. สีเส ปะติฏฐิโต มัยหัง พุทโธ ธัมโม ทะวิโลจะเน
สังโฆ ปะติฏฐิโต มัยหัง อุเร สัพพะคุณากะโร
4. หะทะเย เม อะนุรุทโธ สารีปุตโต จะ ทักขิเณ
โกณฑัญโญ ปิฏฐิภาคัสมิง โมคคัลลาโน จะ วามะเก
5. ทักขิเณ สะวะเน มัยหัง อาสุง อานันทะราหุโล
กัสสะโป จะ มะหานาโม อุภาสุง วามะโสตะเก
6. เกสันโต ปิฏฐิภาคัสมิง สุริโยวะ ปะภังกะโร
นิสินโน สิริสัมปันโน โสภิโต มุนิปุงคะโว
7. กุมาระกัสสโป เถโร มะเหสี จิตตะวาทะโก
โส มัยหัง วะทะเน นิจจัง ปะติฏฐาสิ คุณากะโร
8. ปุโณ อังคุลิมาโล จะ อุปาลี นันทะสีวะลี
เถรา ปัญจะ อิเม ชาตา นะลาเต ติละกา มะมะ
9. เสสาสีติ มะหาเถรา วิชิตา ชินะสาวะกา
เอเตสีติ มะหาเถรา ชิตะวันโต ชิโนระสา
ชะลันตา สีละเตเชนะ อังคะมังเคสุ สัณฐิตา
10. ระตะนัง ปุระโต อาสิ ทักขิเณ เมตตะสุตตะกัง
ธะชัคคัง ปัจฉะโต อาสิ วาเม อังคุลิมาละกัง
11. ขันธะโมระปะริตตัญจะ อาฏานาฏิยะสุตตะกัง
อากาเส ฉะทะนัง อาสิ เสสา ปาการะสัณฐิตา
12. ชินะ นานาวะระสังยุตตา สัตตปาการะลังกะตา
วาตะปิตตาทิสัญชาตา พาหิรัชฌัตตุปัททะวา
13. อะเสสา วินะยัง ยันตุ อะนันตะชินะเตชะสา
วะสะโต เม สะกิจเจนะ สะทา สัมพุทธะปัญชะเร
14. ชินะปัญชะระมัชฌัมหิ วิหะรันตัง มะหี ตะเล
สะทา ปาเลนตุ มัง สัพเพ เต มะหาปุริสาสะภา
15. อิจเจวะมันโต สุคุตโต สุรักโข
ชินานุภาเวนะ ชิตุปัททะโว
ธัมมานุภาเวนะ ชิตาริสังโค
สังฆานุภาเวนะ ชิตันตะราโย
สัทธัมมานุภาวะปาลิโต จะรามิ ชินะปัญชะเรติ
คำแปล
พระคาถาชินบัญชร
อานิสงส์พระคาถาชินบัญชร
พระคาถาชินบัญชรนี้เป็นคาถาที่ศักดิ์สิทธิ์ยิ่งนัก ตกทอดมาจากลังกา เจ้าประคุณสมเด็จฯ ค้นพบในคัมภีร์โบราณได้ดัดแปลงแก้ไขแต่งเติมให้ดีขึ้นเป็นเอกลักษณ์พิเศษได้เนื้อถ้อยกระทงความสมบูรณ์แปลออกมามากแล้วมีแต่สิ่งสิริมงคลแก่ผู้สวดภาวนาทุกประการ
พระคาถานี้เป็นการอัญเชิญพระพุทธานุภาพแห่งพระบรมพระศาสดาสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระพุทธเจ้าที่ได้เคยตรัสรู้ก่อนหน้านั้น จากนั้นเป็นการอัญเชิญพระอรหันต์ขีณาสพ อันสำเร็จคุณธรรมวิเศษแต่ละองค์ไม่เหมือนกัน นอกนั้นยังอัญเชิญพระสูตรต่างๆ อันโบราณเจ้าถือว่า เป็นพระพุทธมนต์อันวิเศษแต่ละสูตรมารวมกันสอดคล้องเป็นกำแพงแก้วคุ้มกันตั้งแต่กระหม่อนจอมขวัญของผู้ภาวนาพระคาถาลงมาจนล้อมรอบตัว จนกระทั่งหาช่องโหว่ให้อันตรายสอดแทรกเข้ามิได้
อานุภาพแห่งพระคาถาชินบัญชร
ผู้ใดได้ภาวนาพระคาถาชินบัญชรนี้ เป็นประจำอยู่สม่ำเสมอ จะทำให้เกิดความสิริมงคลสมบูรณ์พูนสุข ศัตรูหมู่พาลไม่กล้ำกราย ไปทางใดย่อมเกิดเมตตามหานิยม เกิดลาภผลพูนทวี ขจัดภัยจากภูตผีปีศาจ ตลอดจนคุณไสยต่างๆ ทำน้ำมนต์รดแก้วิกลจริตแก้สรรพโรคภัยหายสิ้น เป็นสิริมงคลแก่ชีวิต มีคุณาภาพตามแต่จะปรารถนา ดังคำโบราณว่า ฝอยท่วมหลังช้าง จะเดินไปที่ใดๆ สวด 10 จบ แล้วอธิฐานจะสำเร็จสมดังใจ
การเริ่มต้นและวิธีสวด
การเริ่มต้นสวดภาวนาให้หาวันดี วันพฤหัสบดีเป็นวันเริ่มต้น โดยน้อมนำดอกไม้ ธูปเทียนถวายบูชาคุณพระรัตนตรัยและดวงวิญญาณอันศักดิ์สิทธิ์ของเจ้าประคุณสมเด็จฯ ถ้าไปที่วัดระฆังก็ใช้ได้ ถ้าไม่ไปก็ให้ระลึกถึงท่านละให้หันหน้าไปทางวัดระฆังก็ใช้ได้ เมื่อบูชาพระรัตนตรัยดวงวิญญาณของเจ้าประคุณสมเด็จแล้ว จึงเริ่มต้นสวดโดยอ่านตามบทให้ได้ 1 จบก็เป็นอันเสร็จพิธีเริ่มต้น
คาถาเสริมสร้างทางสวรรค์-นิพพาน
ของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรสี)
หมั่นทานศีลภาวนา และภาวนา
พุทธะ พุทธา พุทเธ พุทโธ พุทธัง อะระหัง พุทโธ
อิติปิโส ภะคะวา นะโม พุทธายะ
จะทำให้ท่านมีความสุข-อายุยืน-นิพพาน
พระคาถาสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)
นะโม 3 จบ
เก โร นะ ทะ ตะ มัง นะ อะ อะ วะ หะ ยะ
กิ ปิ มะ อะ อะ อุ กะ ปิ เส ปุ โร เส เม
อะ วะ เข สิง สะ มุ อะ
สวดบูชาสมเด็จฯ ประจำเช้า 3 จบ เย็น 3 จบ ปลอดภัยทั้งปวง และสำเร็จในสิ่งปรารถนา
พระคาถาอิติโส 8 ทิศ
สมเด็จลุน แห่งนครจำปาศักดิ์
ตั้งนะโม 3 จบ
อิ ระ ชา คะ ตะ ระ สา
บทนี้ชื่อราตรี 7 แบก ประจำอยู่ทิศบูรพา (ทิศตะวันออก)
ติ หัง จะ โต โร ถิ นัง
บทนี้ชื่อว่าฝนแสนห่า ประจำอยู่ทิศอาคเณย์ (ทิศตะวันออกเฉียงใต้)
ปิ สัม ระ โล ปุ สัต พุท
บทนี้ชื่อนารายณ์เกลื่อน สมุทรอยู่ประจำทิศทักษิณ (ทิศใต้)
โส มา ณะ กะ ริ ถา โธ
บทนี้ชื่อนารายณ์ถอดจักร์ประจำอยู่ทิศหรดี (ทิศตะวันตกเฉียงใต้)
ภะ สัม สัม วิ สะ เท ภะ
บทนี้ชื่อนารายณ์ขว้างจักร์ตรึงไตรภพ ประจำอยู่ทิศประจิม (ทิศตะวันตก)
คะ พุท ปัน ทู ทัม วะ คะ
บทนี้ชื่อนารายณ์พลิกแผ่นดินประจำอยู่ทิศพายัพ (ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ)
วา โธ โน อะ มะ มะ วา
บทนี้ชื่อตวาดฟ้าป่าหิมพานต์ประจำอยู่ทิศอุดร (ทิศเหนือ)
อะ วิช สุ นุต สา นุส ติ
บทนี้ชื่อนารายณ์แปลงรูปประจำอยู่ทิศอิสาน (ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ)
สิทธิการิยะ อุปเท่ห์พระอิติปิโส 8 ทิศนี้มีอนุภาพมากมายป้องกันได้สารพัดตามใจปรารถนา พระอาจารย์เจ้ากล่าวไว้ว่า ฝอยท่วมหลังช้าง มีอุปเท่ห์มากมายเหลือจะพรรณนา จะกล่าวไว้ย่อๆ พอเป็นบรรทัดฐานดังนี้
แม้จะยาตราไปทางสารทิศใด ให้ภาวนาพระคาถาประจำตามทิศที่จะไปนั้น หรือทำน้ำมนต์ลูบหน้าประพรมพาหนะที่จะไปนั้น จะปราศจากอุปสรรคอันตรายทั้งปวงไม่มีมารบกวนเลย ป้องกันได้สารพัดแม้ว่าทิศที่ไปนั้นจะต้องผีหลวงหรือหลาวเหล็ก (ทิศที่ร้ายตามตำราโหราศาสตร์) ก็ดี คุ้มกันได้ทั้งสิ้นไป สงครามก็มีชัยชนะ ไปทำมาค้าขายก็กำไรมีความเจริญรุ่งเรืองบังเกิดลาภผลบุญทวี จะลงเป็นประเจียดป้องกันศาตราอาวุธก็ได้เป็นเสน่ห์แก่ฝูงชนทั้งปวง เขียนบูชาไว้กับบ้านเรือน ป้องกันภัยอันตรายได้ทุกอย่าง ถ้าจะไปนอนกลางป่าให้เสกก้อนดินไปวางไว้ตามทิศ เมื่อจะวางทิศไหนให้เสกด้วยคาถาประจำทิศนั้นอีกทิศละ 8 จบ กัน สารพัดสัตว์ร้าย เปรียบประดุจมีกำแพงแก้วคุ้มกันตนได้ถึง 7 ชั้น ถึงแม้จะถูกข้าศึกโจรผู้ร้ายล้อมไว้ก็ดีจะหักออกทางทิศไหน ให้ภาวนาคาถาประจำทิศนั้นเถิด แล้วให้หักออกมาจะแคล้วคลาดจากอันตรายทั้งสิ้น พระคาถาบทนี้มีอิทธิฤทธิ์มากมายสุดที่จะกล่าวได้
สุขแท้
เกิดจากความสงบเท่านั้น
ส่วนที่เกิดมาจากความวุ่นวายนั้น
เป็นเพียงความสนุก
หาใช่ความสุขไม่
.....พุทธทาสภิกขุ