ศิลปะแห่งการฟัง

การพูดเป็นศิลปอันหนึ่ง เรียกว่า ว า ท ศิ ล ป ซึ่งเรารู้จักกันมานานมากแล้ว แต่ดูเหมือนเราจะยังไม่ทราบกันทั่วไปว่า
ก า ร ฟั ง เ ป็ น ศิ ล ป อั น ห นึ่ ง

ซึ่งถึงแม้จะไม่มีชื่อพิเศษอะไรที่จะเรียกกันให้ไพเราะอย่างวาทศิลป์ก็ดี ศิลปของการฟังก็สำคัญเท่าๆ กับศิลปแห่งการพูด

และมีตัวอย่างหลายเรื่อง ที่แสดงให้เห็นว่า ศิลปแห่งการฟังนั้น ถ้าเราใช้ให้ดีก็จะได้ผลดีไม่น้อยกว่าศิลปแห่งการพูด

ก า ร พู ด ดี

อาจเป็นเครื่องจูงใจให้คนนิยมและบันดาลผลสำเร็จให้มาก แต่ถ้าพูดมากเกินไป
พู ด เ สี ย ค น เ ดี ย ว
พู ด ถึ ง เ รื่ อ ง ข อ ง ตั ว เ อ ง
จะเป็นเหตุแห่งความเบื่อหน่าย

ส่วนศิลปแห่งการฟังนั้น ไม่มีทางที่จะให้เกิดผลร้ายแต่อย่างใด แต่ "ศิลปแห่งการฟัง" นั้น ไม่ได้หมายถึงการนั่งนิ่งปล่อยให้คนอื่นพูดอยู่ฝ่ายเดียว แล้วก็ฟังเหมือนฟังเทศน์ การทำเช่นนั้น ง่ายเกินกว่าที่จะนับว่าเป็นศิลปะ

ศิ ล ป แ ห่ ง ก า ร ฟั ง

ห ม า ย ถึ ง ความสามารถที่จะชักจูงผู้พูด ให้หันเข้าไปหาเรื่องที่เขาถนัดที่สุด

แล้วก็แสดงให้เขาเห็นว่า ตนฟังคำพูดของเขาด้วยความตั้งใจ อยากรู้อยากฟังจริงๆ

รู้ จั ก สอดคำถามในโอกาสที่เหมาะ
รู้ จั ก ปล่อยให้ผู้พูดพูดจนสิ้นกระแสความ
รู้ จั ก ช่วยผู้พูดที่กำลังจะหมดเรื่องพูดให้กลับมีเรื่องขึ้นมาใหม่ เพื่อให้เขาพูดได้ต่อไป แล้วก็ฟังด้วยความตั้งใจ

หรือแสดงให้เขาเห็นว่าตั้งใจ นี่แหละคือศิลปะแห่งการฟัง

XX ศิลปผิดกับวิทยา XX

วิทยา มักมีกฏเกณฑ์หลักวิชาและมีหนทางให้เดิน

แต่ ศิลป ต้องอาศัยไหวพริบ และความคิดประดิษฐ์ จะวางกฏตายตัวอะไรไม่ได้ถนัด

ฉะนั้น เราก็ไม่สามารถจะวางกฏเกณฑ์อันแน่ชัดว่า วิธีใช้ศิลปแห่งการฟัง ควรทำอย่างไร?

ทางที่ดีที่สุดควรจะลองหาตัวอย่างต่างๆ มาค่อยๆ พิจารณากันดูเป็นเรื่องๆ ไป

N e x t
== ป ร ะ ธ า น า ธิ บ ดี คู ลิ ด ช์ == 1