ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง "สีผสมขนมไทย"


 

สีที่ใช้ผสมขนมไทย ที่มาของสีแบบไทย

3D_Diamond.gif (591 bytes) สีจะช่วยทำให้ชนมมีสีสันน่ารับประทาน แต่เดิมนั้น คนโบราณจะไม่มีสีสังเคราะห์   ขนมสมัยก่อนที่มีสีสัน จะเป็นสีที่ได้จากธรรมชาติทั้งสิ้น   ซึ่งบางอย่างนอกจาก จะให้สีสันแล้ว   ยังให้กลิ่นหอมอ่อน ๆ ด้วย เช่น สีเขียว จากใบเตย   สีน้ำเงินหรือสีม่วงจากดอกอัญชัน ฯลฯ แต่ ปัจจุบันนี้ เรามีสีที่ใช้ในการทำอาหารมีอยู่ 2 ชนิด  คือ สีที่ได้จากธรรมชาติและสีสังเคราะห์ ซึ่งหากจะเลือกใช้ สีสังเคราะห์ก็ต้องสังเกตเครื่องหมายองค์การอาหารและ ยา ซึ่งต้องระบุว่า "สีผสมอาหาร"   จึงจะปลอดภัย เพราะ เดี๋ยวนี้มีสีสังเคราะห์ใช้สำหรับงานอื่น ๆ ซึ่งหากน้ำมาใส่ อาหารก็จะเกิดอันตรายกับผู้บริโภคได้

 

3D_Diamond.gif (591 bytes) สีเขียวได้จากใบเตย
นำใบเตยล้างให้สะอาด หั่นให้ละเอียด โขลกให้ ละเอียด คั้นเอาเฉพาะนำ แล้วกรองน้ำมาใช้

3D_Diamond.gif (591 bytes) สีน้ำเงินได้จากดอกอัญชัน
เด็ดดอกอัญชัน นำมาล้างให้สะอาด ต้มน้ำให้ เดือด เด็ดกลีบดอกอัญชันใส่ลงไป ยกลง คนพอ ทั่ว น้ำจะเป็นสีน้ำเงิน กรองเอาแต่น้ำ

3D_Diamond.gif (591 bytes) สีม่วงได้จากดอกอัญชัน
นำน้ำสีน้ำเงินของดอกอัญชันบีบมะนาวใส่ลงไปเล็ก น้อย (กรดในมะนาวจะทำปฏิกิริยากับน้ำดอกอัญชัน กลายเป็นสีม่วง)

3D_Diamond.gif (591 bytes) สีเหลืองได้จากขมิ้นสดหรือหญ้าฝรั่น
นำขมิ้นมาปอกเปลือก โขลกให้ละเอียดใส่น้ำ คั้นน้ำ จะได้น้ำสีเหลือง ส่วนสีเหลืองที่ได้จากหญ้าฝรั่น ส่วนใหญ่จะนำมาทำข้าวหมกไก่   เนื่องจากหญ้าฝรั่น มีราคาสูงและหาซื้อค่อนข้างยาก

3D_Diamond.gif (591 bytes) สีแดงได้จากครั่ง
โดยนำครั่งมาต้มกับน้ำ   ใส่ใบเหมือด 3-4 ใบ  จึงนำ ไปตากแดดจัด ๆ 1-2 แดด ก็จะได้สีแดงสด ถ้าไม่นำ ไปตากแดดจะได้ สีแดงเลือดหมู

3D_Diamond.gif (591 bytes) สีดำได้จากกาบมะพร้าวเผา
นำกาบมะพร้าวไปเผาให้ดำ   แล้วนำมาโขลกผสม กับน้ำ   จึงนำไปกรองด้วยผ้าขาวบางหลาย ๆ ชั้น

unchan.jpg (18589 bytes)

ดอกอัญชันที่จะได้สีน้ำเงิน หรือสีม่วง


กลับไปที่หน้าหลัก

 

1