heading-thaitools.gif (32949 bytes)


ก่อนหน้านี้ homeicon.gif (1778 bytes) right-pai.gif (1924 bytes)

พิมพ์ทองม้วน

3D_Diamond.gif (591 bytes) ลักษณะของพิมพ์เป็นแผ่นเหล็กกลมหรือสี่เหลี่ยม ประกบติดกันเป็นคู่มีด้ามยาวสำหรับถือเวลาผิงไฟ ด้านใน ของพิมพ์จะมีลวดลายต่าง ๆ กัน

3D_Diamond.gif (591 bytes) วิธีการใช้ ควรปิ้ง หรือผิงพิมพ์ให้ร้อนเสียก่อน ทาด้วยน้ำมันพืชหรือน้ำมัน โดยใช้ลูกประคบซึ่งทำจากผ้า สะอาดห่อกากมะพร้าว ชุบ น้ำมันเช็ดทาพิมพ์ เมื่อพิมพ์ร้อนจัดตักแป้ง 1 ช้อน ใส่ลง ตรงกลางพิมพ์ แผ่นที่ประกบ ด้านล่าง กดพิมพ์ประกบ กันให้สนิท แป้งที่ใส่จะไหลเป็นแผ่นบางไปทั่วพิมพ์ ปิ้งไฟทันทีจนกระทั่งสุกเหลืองดี ใช้มีดปลายแหลมแซะออกม้วนหรือพับ ถ้าม้วนก็เรียกว่าทองม้วน ถ้าพับก็เรียกว่าทองพับ ส่วนเกล็ดกระโห้ก็เป็น ลักษณะเดียวกัน แต่วิธีการทำและการเลือกพิมพ์จะแตกต่างกัน เกล็ดกระโห้จะใช้พิมพ์ไม่มีลาย แผ่นจะเล็กกว่า เพื่อให้เหมือนลักษณะเกล็ดปลาจริง ๆ

พิมพ์ขนมไข่

3D_Diamond.gif (591 bytes) ลักษณะของพิมพ์ พิมพ์ขนมไข่ส่วนใหญ่จะทำด้วยทองเหลือง ประกอบไปด้วย ช่องสำหรับหยอดแป้งลงไป ประมาณ 12 ช่อต่อ 1 พิมพ์ แต่ละช่องอาจจะประกอบด้วย รูปดอกไม้ กลม รี หรือรูปเปลี่ยม พิมพ์ขนมไข่จะมีฝา ซึ่งทำด้วยทองเหลืองหนา สำหรับใส่ถ่านซึ่งจะให้ความร้อนด้านบนของขนม มีห่วงที่ฝา ซึ่งจะใช้เหล็กงอยกฝาขึ้น เวลาที่จะหยอดขนมหรือแซะขนมออกจากพิมพ์

3D_Diamond.gif (591 bytes) วิธีการใช้ ล้างพิมพ์ให้สะอาด เช็ดด้วยน้ำมันให้ทั่ว ผิงไฟ โดยใช้ถ่านซึ่งคุแดงใส่ในเตาเกลี่ยพอประมาณ และ ใส่ด้านบนฝาของพิมพ์ด้วย ใช้ลูกประคบชุบน้ำมันเช็ดให้ทั่วบริเวณที่หยอดขนม ตักแป้งลงหยอดให้เต็มปิดฝา ควรระวังเรื่องการใช้ไฟเพราะขนมจะไหม้ พอขนมสุกใช้เหล็กโค้งงอคล้องที่ห่วงข้างบนใช้ซ่อมหรือไม้แหลมจิ้ม ขนมออกจากพิมพ์ เมื่อเสร็จจากการประกอบอาหารแล้ว ล้างพิมพ์ให้สะอาด ควรเช็ดพิมพ์ด้วยน้ำมันพืชอีกครั้ง พิมพ์จะไม่เป็นสนิมและทำขนมครั้งต่อไปแป้งจะไม่ติดพิมพ์

พิมพ์ดอกจอก

3D_Diamond.gif (591 bytes)  ลักษณะของพิมพ์ เป็นทองเหลืองทำเป็นรูปดอกไม้โปร่ง มีเหล็กยาวสำหรับถือติดกับตัวพิมพ์

3D_Diamond.gif (591 bytes) วิธีการใช้ ดอกจอกเป็นขนมที่ต้องทอดในน้ำมันมาก ๆ ก่อนใช้ แช่พิมพ์ในน้ำมันร้อนจัด เพื่อให้พิมพ์ร้อนเสีย ก่อน เมื่อพิมพ์ร้อนแล้วจุ่มพิมพ์ลงในแป้งที่ผสมไว้ เพื่อให้แป้งเกาะพิมพ์เป็นรูปทรงก่อน จึงนำลงทอดในน้ำมัน ร้อนปานกลาง พอสุกค่อย ๆ ใช้ปลายมีดแซะขนมออกจากพิมพ์ ขนมจะหลุดง่าย ตักขนมขึ้นจากน้ำมันวางบนก้น ถ้วยขนาดเล็กเท่ากับถ้วยข้าวต้มที่คว่ำไว้ กลีบขนมจะบานออกเป็นรูปดอกไม้ เมื่อเย็นจึงเก็บบรรจุถุงหรือขวด โหลไว้เพื่อให้กรอบนาน ส่วนพิมพ์ล้างให้สะอาดก่อนเก็บทาด้วยน้ำมันอีกครั้ง แล้วจึงแขวนไว้ในที่ลมโกรก

พิมพ์รูปเรือ

3D_Diamond.gif (591 bytes) ลักษณะของพิมพ์ หัวและท้ายจะเรียวแหลม คล้ายรูปเรือ ใช้ทำขนมไทย เช่น ขนมหน้านวล ขนมผิง วุ้นต่าง ๆ ส่วนเบเกอรี่ ใช้ทำพวกพาย เช่น พายสับปะรด

3D_Diamond.gif (591 bytes)  วิธีการใช้ ถ้าเป็นขนมหน้านวลหรือขนมผิง ทาด้วยน้ำมันพืชหรือน้ำมันหมูด้านในพิมพ์บาง ๆ ก่อนจะใส่ส่วน ผสมของแป้งและนำไปอบ ขนมจะไม่ติดพิมพ์ เวลาสุกขนมจะร่อนออกจากพิมพ์ได้ดี เมื่อใช้เสร็จแล้วล้างน้ำให้ สะอาด เช็ดให้แห้ง ซ้อนกันไว้ เก็บใส่กล่องเก็บไว้ในที่ไม่มีมด หนู หรือแมลงสาบ

พิมพ์ลอดช่อง

3D_Diamond.gif (591 bytes) ลักษณะของพิมพ์ จะประกอบด้วยส่วนกระป๋องมีหู 2 หู และมีที่กดแป้ง รูที่ก้นพิมพ์จะมีขนาดกว้างประมาณ 2-5 มิลลิเมตร ตัวกระป๋องอาจเป็นทองเหลือง อลูมิเนียมและสแตนเลส ก็ได้ ส่วนใหญ่นิยมทองเหลือง เพราะไม่ทำ ให้แป้งลอดช่องดำ เวลาทำสมัยก่อนนิยมใช้กะลามะพร้าวขัดเจาะรูที่ก้น และมีขายาวพาดที่ถัง เวลาใช้ตักแป้งใส่ และใช้ทัพพีกด

3D_Diamond.gif (591 bytes) วิธีการใช้   ใช้ไม้ยาวขนาดพอที่พาดขอบถังหรือหม้อได้ 2 อัน สอดเข้าที่หูของพิมพ์วางพาดบนหม้อที่ใส่ น้ำเย็นไว้จนเกือบเต็ม ตักแป้งที่กวนไว้ ใส่พิมพ์ประมาณค่อนพิมพ์ ใช้ที่กดกดแป้ง ตัวลอดช่องจะออกมาตามรูที่ ก้นของพิมพ์ การกดต้องเว้นจังหวะให้พอเหมาะ มิฉะนั้นตัวลอดช่องจะยาวหรือสั้นเกินไปทำให้ไม่น่าดู

พิมพ์ซ่าหริ่ม

3D_Diamond.gif (591 bytes) ลักษณะของพิมพ์เหมือนกับพิมพ์ลอดช่องทุกอย่าง แต่รูที่เจาไว้เล็กกว่า เพื่อให้เส้นซ่าหริ่มที่ออกมาสวยงาม

3D_Diamond.gif (591 bytes) วิธีการใช้    เหมือนกับพิมพ์ลอดช่อง แต่การกดซ่าหริ่มต้องกดยาวให้หมดทีเดียว ถ้ากดไม่สม่ำเสมอเส้นซ่าหริ่ม ที่ออกมาอาจเป็นก้อนแป้งหรือเส้นขาดฝอยเกินไป

พิมพ์ไม้

3D_Diamond.gif (591 bytes) ลักษณะของพิมพ์ เป็นแท่งไม้ กว้างยาวประมาณ 2x6 นิ้ว หนา 1 ฝ นิ้ว ขุดลงไปในเนื้อไม้ เป็นรูปลายต่าง ๆ เช่น นก ดอกไม้ ผลไม้ พิมพ์ชนิดนี้ เหมาะสำหรับใช้ทำขนมทองเอก สำปันนี ถ้าพิมพ์ลายละเอียดเกิน ขนมออก มาจะไม่สวย เพราะจะเห็นลายไม่ชัดเจน ถ้าลายหยาบแต่ลึก ขนมที่ออกมาจะมีลายคมชัดสวยงามกว่า และทำความ สะอาดง่ายด้วย

3D_Diamond.gif (591 bytes) วิธีการใช้   ใส่เนื้อขนมลงในช่องที่เป็นลวดลาย กดให้แน่นแกะออก ถ้าติดพิมพ์หรือขนมค่อนข้างแฉะ ใช้แป้ง มันโรยที่พิมพ์ การโรยแป้งไม่ต้องโรยมาก ถ้าโรยแป้งหนาไป ขนมออกมาจะไม่สวย เมื่อโรยแป้งเคาะแป้งออก ให้เหลือแค่ติดพิมพ์ จากนั้นกดเนื้อขนมลงไปและเคาะออก ขนมจะเป็นลวดลายตามต้องการ

พิมพ์อลูมิเนียมรูปต่าง ๆ

3D_Diamond.gif (591 bytes) ลักษณะของพิมพ์ จะเป็นอลูมิเนียมรูปร่างต่าง ๆ เช่น ถ้วยกลมจีบ ถ้วยสามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม รูปกระต่าย รูปปลา พิมพ์ชนิดนี้ถ้าจีบถี่ ๆ จะทำความสะอาดยาก เวลาใช้เสร็จควรแช่น้ำให้สิ่งสกปรกที่ติดหลุดออกจึงล้าง เหมาะที่จะ ใช้เป็นพิมพ์วุ้นต่าง ๆ ขนมชั้น ปุยฝ้าย เพราะทนความร้อนได้ดี

3D_Diamond.gif (591 bytes) วิธีการใช้   ถ้าใช้ทำวุ้นเรียงพิมพ์ลงในถาดหยอดวุ้นลงไป แล้วหล่อน้ำในถาด ถ้าทำขนมชั้นนึ่งพิมพ์ให้ร้อน ก่อนจึงหยอดแป้ง ถ้าทำปุยฝ้ายวางถ้วยลงในลังถึง กะระยะห่างพอให้ไอน้ำขึ้นได้ ใส่กระทงกระดาษลงในถ้วยจีบ หยอดแป้ง แล้วนำไปนึ่งในน้ำเดือดปุด ๆ หรี่ไฟลง

พิมพ์ขนมเรไร

3D_Diamond.gif (591 bytes) ลักษณะของพิมพ์ ประกอบด้วยไม้ 2 ชิ้น ประกบติดกัน มีบานพับติดสำหรับยกขึ้นใส่แป้ง ข้างหนึ่งจะเจาะเป็น ช่องกลม มีสังกะสีเจาะรูบุอีกที อีกข้างหนึ่งจะมีไม้กลมยื่นออกมาขนาดเล็กกว่าช่องกลมอีกข้างหนึ่งนิดหน่อย

3D_Diamond.gif (591 bytes) วิธีการใช้  หงายพิมพ์ด้านที่มีสังกะสีเจาะรูขึ้น ใส่แป้งที่ปั้นเป็นก้อนกลมเส้นผ่าศูนย์กลาง 2 นิ้ว ลงบนด้านที่มี ไม้ยื่นออกมา กดทับพิมพ์ลงเหมือนบีบกล้วยปิ้ง แป้งขนมก็เป็นเส้นหยิกออกมาทางรูสังกะสี ใช้สปาตูล่าแซะไป ใส่ในลังถึงนึ่งอีกที

พิมพ์ขนมปลากริม

3D_Diamond.gif (591 bytes) ลักษณะของพิมพ์ เป็นแผ่นทองเหลืองหรือแผ่นสังกะสี เจาะรูตรึงทั้ง 4 ด้านกับไม้

3D_Diamond.gif (591 bytes) วิธีการใช้   พาดตะแกรงบนหม้อน้ำเดือด ใช้แป้งดิบกดลงบนตะแกรง แป้งจะเป็นเส้นตกลงไปในหม้อพอสุก แป้งจะลอยตักขึ้นแช่น้ำเย็น วิธีนี้อาจใช้กับการทำลอดช่องสิงคโปร์ก็ได้

กรวยหยอดฝอยทอง

3D_Diamond.gif (591 bytes) ลักษณะของพิมพ์ เป็นรูปกรวยมีด้ามถือที่ปลายกรวย เจาะรูเดียวหรือ 2 รู วัสดุที่ใช้ทำจะเป็นทองเหลืองหรือ สแตนเลสก็ได้

3D_Diamond.gif (591 bytes) วิธีการใช้ ใส่ไข่แดงที่ตีให้เข้ากันลงในกรวย ถือกรวยให้อยู่เหนือกระทะน้ำเชื่อมพอประมาณ โรยฝอยทองให้ เป็นวงกลมโดยนับรอบให้เท่ากัน เพื่อให้ฝอยทองมีขนาดแพที่เท่ากัน

กรวยหยอดไข่แมงดาเทียม

3D_Diamond.gif (591 bytes) ลักษณะของพิมพ์ คล้ายกับกรวยหยอดฝอยทอง เป็นรูปกรวยมีรูปลายกรวย 1 หรือ 2 รู แต่รุจะใหญ่กว่ากรวย หยอดฝอยทอง วัสดุที่ใช้ทำอาจเป็น ทองเหลือง หรือสแตนเลสก็ได้ ถ้าไม่มีทั้งสองอย่างใช้ใบตอง ม้วนเป็นกรวย ก็ใช้ได้เช่นเดียวกัน

3D_Diamond.gif (591 bytes) วิธีการใช้ ใช้ไข่แดงใส่กรวย ถือกรวยอยู่เหนือกระทะน้ำเชื่อม ใช้วิธีการหยอด ไม่ใช้วิธีการโรยเหมือน ทองหยอด ลักษณะของขนมที่ออกมาจะเป็นเม็ดกลม ๆ สีเหลืองใสเหมือนไข่แมงดา

พิมพ์กดวุ้น

3D_Diamond.gif (591 bytes) ลักษณะของพิมพ์ จะเป็นอลูมิเนียม เหล็ก หรือทองเหลือง เป็นเส้นคมขดหรือดัดเป็นรูปต่าง ๆ เช่น ดอกไม้ ใบไม้ นก สัตว์ต่าง ๆ ใช้สำหรับกดลงไปบนขนมหรือของที่ไม่แข็งมาก เป็นการตกแต่งให้สวยงามที่ใช้กันมาได้แก่ กดลงไปบนวุ้นกะทิหรือวุ้นหวานต่าง ๆ ถ้ากดลงบนผักหรือผลไม้ แล้วนำไปประกอบอาหารก็เช่นกัน

ถ้วยตวง

3D_Diamond.gif (591 bytes)     มี 2 ชนิด คือ ถ้วยตวงของเหลว และถ้วยตวงของแห้ง ถ้วยตวงของเหลว ลักษณะ เป็นแก้วทนไฟ หรือพลาสติกใส มีขีดบอกระดับของเหลวที่จะตวง 1 ถ้วยตวง = 240 ซีซี การเลือกใช้ควรซื้อชนิดที่เป็นแก้วทนไฟ เพราะจะทนทานมีอายุการใช้งานนานกว่า ถ้าตวงของที่เป็นของร้อน เช่น น้ำร้อน น้ำมัน ถ้าใช้พลาสติกใสธรรมดา หรือแก้วธรรมดาจะแตกถ้าถูกความร้อนมาก ๆ

ผ้าขาวบาง

3D_Diamond.gif (591 bytes) ลักษณะ บางโปร่งเหมือนผ้ามุ้ง มีสีขาวดูสะอาดมากกว่าสีอื่น ๆ ซักสิ่งสกปรกออกได้ง่าย แห้งเร็ว

3D_Diamond.gif (591 bytes) วิธีการใช้ ใช้กรองสิ่งสกปรกออกจากอาหาร ทบผ้าขาวบางสัก 2 ชั้น วางบนกระชอนเทน้ำเชื่อมลงเศษผงต่าง ๆ ก็จะติดอยู่บนผ้าขาวบาง วิธีนี้ใช้กรองกะทิที่มีเศษมะพร้าวดำ ๆ ได้ด้วย การนึ่งอาหาร ใช้ผ้าขาวบาง ชุบน้ำปูบน ลังถึงใช้แทนใบตองก็ได้ ผ้าขาวบางชุบน้ำบิดหมาด ๆ คลุมผักไว้ทำให้ผักสดเก็บไว้ได้โดยไม่เหี่ยว

ลังถึง

3D_Diamond.gif (591 bytes) ลักษณะ เป็นหม้อนึ่งด้านล่างก้นเรียบ ใส่น้ำเพื่อให้เกิดไอ ด้านบนก้นเจาะรูปขนาดใหญ่เพื่อให้ ไอน้ำขึ้นไป ทำให้อาหารสุก มี 2 ชั้น ฝา ทรงสูง ส่วนใหญ่ทำด้วยอลูมิเนียม เพราะน้ำหนักเบา ทำความสะอาดได้ง่ายทนทาน มีบ้างที่ทำด้วยสังกะสี แต่อายุการใช้งานจะสั้นกว่า
เพราะไอน้ำจะพุ่งใส่หน้าทำให้เกิดอันตรายและระวังน้ำจะหยดใส่หน้าขนมทำให้ขนมหน้าบุ๋มไม่สวย ถ้านึ่งครั้งต่อไปต่อจากครั้งแรก ให้เช็ดหยดน้ำบนฝาลังถึงให้แห้งสนิทจึงปิดฝา

3D_Diamond.gif (591 bytes) ใส่น้ำที่ก้นลังถึงประมาณ ฝ - พ ของลังถึงวางอาหารหรือขนมที่จะนึ่ง วางเรียงกันกะระยะให้ห่างกันพอสมควร เพื่อให้มีช่องให้ไอน้ำขึ้นมาทำให้อาหารสุก เช็ดฝาให้สะอาดปิดฝา เมื่ออาหารสุกเวลาเปิดฝา ให้เปิดฝาลังถึงออก นอกตัว

ช้อนไม้ พายไม้

3D_Diamond.gif (591 bytes) พายไม่ลักษณะ ปลายแบนยาวมีด้ามสำหรับถือ ใช้กวนหรือผสมส่วนผสม สำหรับช้อนไม้ ลักษณะคล้ายพาย แต่รูปร่างเป็นช้อนขนาดใหญ่ ทำด้วยไม้ ทั้งพายไม้และช้อนไม้ ส่วนใหญ่ใช้คู่กับกระทะทอง หม้อตุ๋น สำหรับกวน ขนม เช่น เปียกปูน ตะโก้ วุ้น หรือ ตุ๋นสังขยาทาขนมปัง

ถ้วยตะไล

3D_Diamond.gif (591 bytes) ลักษณะเป็นถ้วยเคลือบดินเผา สีขาวขนาดเล็กเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1.5 นิ้ว ก่อนใช้ต้องล้างให้สะอาด ใช้ทำขนมถ้วยฟู ขนมน้ำดอกไม้ ต้องนึ่งถ้วยให้ร้อนเสียก่อน ขนมจะหลุดออกจากพิมพ์ได้ง่าย ถ้าทำขนมปุยฝ้าย ใส่กระทงกระดาษ ลงในถ้วยอีกทีจึงหยอดแป้งลงไป เมื่อใช้เสร็จแล้วล้างน้ำให้สะอาด ใส่ตะแกรงผึ่งให้แห้งซ้อน กันไว้เก็บใส่กล่อง

ถาดขนมสี่เหลี่ยม

3D_Diamond.gif (591 bytes) ลักษณะ เป็นถาดอลูมิเนียมส่วนใหญ่เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสมีหู 2 ข้าง สำหรับจับ ใช้ได้ทั้งอบ ผิง หรือนึ่ง ส่วน ใหญ่ใช้ทำ ขนมชั้น ขนมหม้อแกง ขนมสาลี่ ใช้เสร็จแล้วล้างให้สะอาด ระวังเรื่องเศษอาหารที่ติดตามซอกมุมด้วย ถ้าหมักหมมนาน ๆ อาจเกิดเป็นพิษต่อร่างกายได้

ที่ตีไข่

3D_Diamond.gif (591 bytes) มีทั้งชนิดที่ตีด้วยมือ และใช้ไฟฟ้า ที่ตีไข่ของไทยก็เหมือนกับของฝรั่งหรือของต่างชาติ เพราะได้รับอิทธิพล การทำขนมมาจากต่างชาติ ส่วนใหญ่จะเป็นขนมที่มีส่วนผสมไข่เป็นหลัก เช่น ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง ได้รับ อิทธิพลมาจากโปร์ตุเกส ขนมไข่ สาลี่ ก็ดัดแปลงมาจากพวกขนมเค้ก

3D_Diamond.gif (591 bytes) วิธีการใช้   ที่ตีไข่แบบใช้มือตี ต้องเลือกภาชนะที่ใช้ตี ปากไม่กว้างจนเกินไป เพราะไข่จะขึ้นฟูได้น้อย ภาชนะ ตลอดจนที่ตีไข่ต้องแห้งสนิท ไม่เปื้อนน้ำมันหรือไม่มีส่วนผสมที่เป็นน้ำหยดลงไปในไข่ การตีไข่ต้องตีให้อากาศ แทรกตัวเข้าไปในไข่ให้มากไข่จึงจะขึ้นดี โดยวิธีเข้าหาตัว ไม่ใช้วิธีตีกดลงไปตรง ๆ จะทำให้ไข่ขึ้นช้า ถ้าเป็นที่ตี ไข่แบบใช้ไฟฟ้าก็จะง่ายขึ้น เพราะจะมีสปิดบอกไว้แล้วที่ตัวเครื่อง เมื่อใช้แล้วทำความสะอาดตามซอกมุมให้ทั่ว ถ้าเป็นแบบใช้ไฟฟ้า อย่าให้น้ำถูกมอเตอร์เพราะจะทำให้ไฟฟ้าช็อตได้ ถ้าสกปรกมากก็ใช้ผ้าชุบน้ำบิดหมาด ๆ เช็ดให้สะอาด

ตะแกรงร่อนแป้ง

3D_Diamond.gif (591 bytes) ลักษณะเป็นตะแกรงกลมทำด้วยสแตนเลส ทองเหลือง หรือไม้ ไม่มีด้ามถือ ใช้ร่อนแป้ง น้ำตาล ในส่วนผสม ของขนมที่ต้องการความละเอียด ฟูเบา ขนมบางชนิดต้องฝนแป้งดิบ เช่น ขนมขี้หนูหรือขนมทราย ใช้ตะแกรง ร่อนแป้งร่อน จะได้เม็ดขนมที่ละเอียด ดีกว่าฝนด้วยกระชอนกรองกะทิเมื่อใช้เสร็จล้างน้ำใช้แปรงขัดสิ่งสกปรกที่ ตะแกรงออกให้หมด ผึ่งแดดให้แห้งสนิทก่อนนำมาใช้ครั้งต่อไป ถ้านำมาใช้ขณะที่ตะแกรงยังไม่แห้ง แป้งจะเกาะติดทำให้อุดตันร่อนแป้งไม่ออก

กระชอนกรองกะทิ

3D_Diamond.gif (591 bytes) ลักษณะ คล้ายตะแกรงร่อนแป้ง แต่จะเป็นตะแกรงล้วน หรือทำด้วยอลูมิเนียมเจาะรู มีด้ามถือ มีหู สำหรับ พาดเกาะหม้อหรืออ่างเวลาคั้นกะทิ    เมื่อใช้เสร็จล้างให้หมดกากมะพร้าวแขวนไว้ ผึ่งให้แห้ง

กระต่ายจีน

3D_Diamond.gif (591 bytes)  ลักษณะ เป็นไม้กระดานแผ่นยาวมีเหล็กแหลม หรือตะปู ขนาดเล็กตัดปลายโผล่ขึ้นมาประมาณ ฝ เซนติเมตร ใช้สำหรับขูดมะพร้าว มันต่าง ๆ ที่ต้องการให้เป็นฝอย

3D_Diamond.gif (591 bytes) วิธีการใช้    มะพร้าวปอกเปลือก กะเทาะกะลาออกถ้าต้องการมะพร้าวขูดขาวก็ขูดผิวสีดำออก ขูดมะพร้าวที่ เป็นชิ้นกับกระต่ายจีน ลักษณะที่ได้จะคล้ายกับมะพร้าวที่ขูดด้วยเครื่องขูดไฟฟ้า ถ้าต้องการขูดมันสำปะหลัง หรือ มันอื่น ๆ ก็ทำลักษณะเดียวกัน

มือแมว (หรือคันชัก)

3D_Diamond.gif (591 bytes) ลักษณะ มือแมวขูดมะพร้าวจะคล้ายกับมือของแมวจริง ๆ มะพร้าวที่ขูดออกมาจะเป็นฝอย แต่ถ้าขูดมะพร้าว อ่อนที่ใช้ทำข้าวเหนียวเปียก ต้องให้ติดกันเป็นชิ้นใหญ่ ส่วนคันชัก ใช้ขูดมะพร้าวทึนทึกให้เป็นเส้น มะพร้าวที่ขูด ด้วยคันชัก เส้นมะพร้าวจะใหญ่กว่าที่ขูดด้วยมือแมว

3D_Diamond.gif (591 bytes) วิธีการใช้ ใช้ขูดมะพร้าวทั้งกะลา โดยขูดเอาเนื้อขาว ๆ โดยขูดวงรอบนอกเข้าหาข้างในสุดจะขูดง่ายกว่าขูด สะเปะสะปะ

แหนบจีบขนมจีบ

3D_Diamond.gif (591 bytes) ลักษณะ คล้ายแหนบที่ใช้ถอนขน แต่มีลักษณะแบนเรียบ หรือมีลวดลายเพื่อความสวยงามทำด้วยทองเหลือง หรือเหล็กใช้ทำขนมจีบ ขนมช่อม่วง ปั้นสิบ

3D_Diamond.gif (591 bytes) วิธีการใช้   เมื่อปั้นแป้งเป็นโครงร่างตามต้องการ ใช้แหนบบีบริมให้เกิดรอยหยัก ในกรณีขนมปั้นสิบ ถ้าเป็น ขนมช่อม่วง ปั้นเป็นก้อนกลมและจีบตั้งแต่ส่วนกึ่งกลางของลูกกลม ให้เป็นกลีบดอกด้านใน และจีบไล่ออกมา เป็นกลีบดอกด้านนอก

สปาตูล่า

3D_Diamond.gif (591 bytes) ลักษณะคล้ายพายไม้ไผ่บาง ยาว ทำด้วยสแตนเลสเป็นส่วนใหญ่ สปาตูล่านี้ ไม่ใช่เป็นอุปกรณ์ของขนมไทย ส่วนใหญ่ ใช้ในงานเบเกอรี่ แต่ขนมไทยบางชนิดต้องใช้พายไม้ไผ่บาง ๆ สำหรับแซะขนม เช่น ข้าวเกรียบปาก หม้อ ข้าวเกรียบอ่อน ขนมเรไร การหาไม้ไผ่มาทำเป็นพายให้พอดีที่จะปาดขนมได้ เรียบสะอาดเป็นเรื่องยาก จึงต้องใช้สปาตูล่าแทน เพราะถ้าใช้ไม้ไผ่ต้องเปลี่ยนบ่อย ๆ และคุณภาพไม่สม่ำเสมอ

เขียง

3D_Diamond.gif (591 bytes) เขียงที่ใช้ทำขนมหรือเรียกว่า เขียงหวาน ลักษณะจะกลมหรือเป็นรูปสี่เหลี่ยมแต่จะบางกว่าเขียงคาว เขียงคาว ส่วนใหญ่จะเป็นรูปกลมหนา ทำด้วยไม้มะขาม เพื่อความทนทาน งานหนักในการหั่นสับอาหารต่าง ๆ ส่วนเขียง หวานรูปร่างจะสวยและบอบบางกว่า เพราะงานที่ทำจะเป็นงานหั่นซอยเสียเป็นส่วนใหญ่ เช่น หั่นใบเตย ซอยใบ มะกรูด หั่นผลไม้

มีด

3D_Diamond.gif (591 bytes) มีดมีอยู่หลายชนิด ประกอบด้วย มีดสับ มีดปอกผลไม้ มีดคว้าน มีดสับ จะมีลักษณะใหญ่หนามีน้ำหนักมาก เพื่อให้มีแรงกดลงไป ช่วยย่นระยะเวลาในการสับให้สั้นขึ้น   มีดหั่น จะคมบางเรียว ถ้ามีดหนาไปจะหั่นลำบาก ของ ที่หั่นออกมาจะไม่สวย มีดปอกผลไม้ ใช้มีดขนาด 1.5 ซ.ม. ยาวประมาณ 5 นิ้ว มีทั้งชนิดปลายแหลมและปลาย มน ควรลับมีดให้คมอยู่เสมอ เพราะผักและผลไม้ที่ปอกจะได้ไม่ช้ำ   มีดคว้าน ปลายแหลมเล็กโค้ง ใช้สำหรับ คว้าน เมล็ด ผลไม้ แกะสลัก ผัก ผลไม้ หรือของอื่นที่ต้องการให้สวยงาม มีดต้องคมปลายต้องแหลมจะได้ลวดลาย ที่สวย

อ่างเคลือบ

3D_Diamond.gif (591 bytes) อ่างเคลือบที่ใช้มีหลายขนาด ตั้งแต่เล็กจนถึงเป็นกะละมัง ขนาดใหญ่สำหรับใช้ล้างของ สาเหตุที่ต้องใช้อ่าง เคลือบเพราะขนมไทยบางชนิด มีส่วนประกอบของ น้ำปูนใส เกลือ ไข่ ถ้าใช้โลหะพวกเหล็ก หรืออลูมิเนียม สารประกอบของโลหะที่ทำภาชนะ อาจปนเข้าไปกับอาหาร อาจก่อให้เกิดอันตรายได้ ถ้าไม่ชอบอ่างเคลือบ อาจเลือกอ่างสแตนเลสก็ได้ แต่จะมีราคาแพงกว่า

กระจ่าละเลงขนมเบื้อง

3D_Diamond.gif (591 bytes)     ลักษณะ ประกอบด้วยส่วนตัวกระจ่า ซึ่งทำจากกะลา ขัดเงา ตัดออกมา เป็นวงกลม เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 นิ้ว และด้ามเป็นไม้ดัดให้โค้งงอเล็กน้อย เพื่อความสะดวกในการละเลง แต่สมัยโบราณอาจมีการแกะสลักด้าม เพื่อความสวยงามก็มี

3D_Diamond.gif (591 bytes) วิธีการใช้    ใช้ละเลงขนมเบื้อง ซึ่งต้องอาศัยศิลปะและความชำนาญ ในการละเลง ต้องใช้เวลาในการฝึกฝน มาก ตั้งกระทะขนมเบื้องให้ร้อนเช็ดด้วยน้ำมันพอให้ลื่นไม่ติดกระทะ ใช้กระจ่าจุ่มแป้งแล้วมาละเลงให้เป็นวงกลม ต้องเร็วเพราะแป้งจะแห้งเสียก่อน

ครก

3D_Diamond.gif (591 bytes) ครกที่ใช้เป็นครกหินหรือครกไม้ ครกดินก็ได้ตามแต่ละบ้านจะมี ส่วนใหญ่ไว้ใช้โขลกถั่วลิสงคั่ว งาคั่ว เผือกบด กล้วยบด

หวี

3D_Diamond.gif (591 bytes) ลักษณะ คล้ายหวีที่ใช้หวีผม แต่ไม่มีฟัน ด้านคมจะหยักวัสดุที่ใช้ทำเป็นสแตนเลส เหล็กหรือทองเหลืองก็ได้ ถ้าเป็นเหล็ก เวลาหั่นผักบางชนิดจะดำ และจะเป็นสนิมได้ง่าย

3D_Diamond.gif (591 bytes) วิธีการใช้   ใช้หั่นผักหรือผลไม้ จะทำให้เกิดลวดลายหยักเหมือนแกะสลักไว้เป็นร่อง การใช้ ใช้หั่นเหมือนมีด เช่น หั่นฟักทองนำไปแกงบวด กล้วย มัน สำหรับฉาบ เมื่อใช้เสร็จล้างให้สะอาดตรวจดูตรงด้าม หรือซอกมุมจะเกิด สิ่งสกปรกอุดได้ง่าย

มีดตัดวุ้น

3D_Diamond.gif (591 bytes) ลักษณะ รูปร่างเป็นมีดมีด้ามถือ แต่ฟันจะหยัก และจะหนากว่ามีดฟันเลื่อยสำหรับตัดผักผลไม้ ส่วนใหญ่จะทำ ด้วยทองเหลือง

3D_Diamond.gif (591 bytes) วิธีการใช้   ตัดวุ้นเพื่อให้เกิดลวดลาย โดยตัดกดลงไป ไม่ตัดแล้วกดปาดเหมือนมีดทั่วไป เพราะจะทำให้ขนม เละและไม่มีลาย ใช้ตัดวุ้นหวาน วุ้นกะทิ หรือวุ้นที่ใช้ทำวุ้นกรอบ

ไม้คลึงแป้ง

3D_Diamond.gif (591 bytes) ลักษณะ เป็นไม้ท่อนกลม คอดปลาย มีไม้เล็ก 2 ข้างพอเหมาะมือสำหรับจับคลึงไม้คลึงแป้งที่ดีต้องมีน้ำหนัก คลึงแล้วเรียบสม่ำเสมอ ถ้าไม่มีไม้คลึงแป้งใช้ขวดเปล่าคลึงแทนก็ได้

พายยาง

3D_Diamond.gif (591 bytes) ลักษณะ คล้ายพายไม้ แต่ทำด้วยพลาสติก ใช้สำหรับผสมส่วนผสมให้เข้ากัน หรือปาดส่วนผสมที่เลอะอยู่ปาก อ่างให้รวมอยู่ด้วยกัน แต่ไม่ควรกวนผสมของร้อน หรือนำไปผัดแทนตะหลิว เพราะความร้อนจะทำให้พลาสติก ละลายปนกับอาหาร ทำให้เกิดอันตรายได้

 

left-pai.gif (1913 bytes) homeicon.gif (1778 bytes) right-pai.gif (1924 bytes)

 

1