ขนมเบื้อง |
ขนมเบื้องความจริงไม่ได้เป็นของไทย ต้นตำรับเดิมเป็นของอินเดีย โดยพวกพราหมณ์ได้นำเข้ามาตั้งแต่ สมัยกรุงสุโขทัย ดังปรากฏเป็นหลักฐานจากหนังสือ "ธรรมบทเผด็จ" ว่า เศรษฐีโกศิยะ ซึ่งเป็นคนขี้เหนียวที่สุด ในพุทธกาล อยากกินขนมเบื้อง จึงให้ภรรยาขนเครื่องขึ้นไปทำบนชั้นเพื่อไม่ให้ใครเห็น เมื่อพระพุทธเจ้าได้ ทราบถึงพฤติกรรมของเศรษฐี จึงส่งพระโมคคัลลาน์ ให้ไปขอรับบิณฑบาตขนมเบื้อง เศรษฐีโกศิยะพยายามให้ ภรรยาทำขนมเบื้องชิ้นเล็ก ๆ ถวาย แต่ทุกครั้งที่ละเลงแป้ง แป้งจะฟูขึ้นเต็มกระทะอย่างน่าอัศจรรย์ยิ่ง เศรษฐีเกิด | |
ความเสียดาย พยายามให้ทำใหม่อีก แป้งก็ฟู ติดแน่นตามขึ้นมามาก มายทุกครั้งไป ในที่สุด เศรษฐีก็หมดความอยาก จึงให้ภรรยาถวาย ขนมเบื้องไป พระโมคคัลลาน์จึงได้แสดง พระธรรมเทศนาเรื่อง คุณและโทษของความ ตระหนี่ ต่อมาทั้งเศรษฐีและภรรยาก็เปลี่ยน เป็นคนใจบุญสุนทาน และบรรลุพระโสดาทั้ง คู่ สาเหตุก็มาจาก ความอยากกินขนมเบื้องของท่านเศรษฐีโดยแท้ ขนมเบื้องในสมัย หน้าตาของไม่เหมือนในปัจจุบันนี้เป็นแน่แท้ | |
ขนมเบื้องได้มีมาประมาณ 2 พันกว่าปีแล้ว นับว่าเป็นขนมโบราณที่สุด ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นได้ มีหลักฐานกล่าวไว้ใน "พระราชพิธีเดือนสิบ" ตอนเดือนอ้ายว่า "กำหนดเลี้ยงขนมเบื้องนี้ ว่าเมื่อพระอาทิตย์สุดทาง ใต้จากนิจ เป็นที่หยุด จะกลับขึ้นเหนืออยู่ในองศา 8 องศา ในราศีธนู เป็นถึงกำหนดเลี้ยงขนมเบื้องนี้ ไม่ได้มี สวดมนต์ก่อนอย่างเช่นพระราชพิธีอันใด กำหนดพระสงฆ์ตั้งแต่เจ้าพระราชาคณะ 80 รูป ฉันในพระที่นั่ง อมรินทรวินิจฉัย ขนมเบื้องนั้นเกณฑ์พระบรมวงศานุวงศ์ฝ่ายใน ท้าวนาง เจ้าจอมมารดา เถ้าแก่ พนักงาน คาด ปะรำตั้งเตาละเลงข้างท้องพระโรง การซึ่งกำหนดเลี้ยงขนมเบื้องนี้ นับเป็นตรุษคราวหนึ่ง และเฉพาะฤดูมีกุ้งมี มันมาก สาวไทยโบราณ ถ้าละเลงขนมเบื้องเก่ง เรียกว่า "แม่ร้อยชั่ง"....." | |
ส่วนผสม | วิธีการทำ |
|
|
กลเม็ดเคล็ดลับ | |
ถ้าไม่ม |