ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง "กลิ่น" ที่ใช้ในขนมไทย


baitai.gif (18868 bytes)

กลิ่นขนมไทย

3D_Diamond.gif (591 bytes) ขนมไทยเป็นของหวานที่มีลักษณะเฉพาะตรงที่มีรสหวาน   กลิ่นหอม ชวนรับประทานยิ่งนัก   กลิ่นหอมที่ ทำใช้ในขนมไทยมี 2 ลักษณะ คือ กลิ่นที่ได้จากธรรมชาติและกลิ่นสังเคราะห์   กลิ่นหอมที่ได้จากธรรมชาติมี หลายชนิด ซึ่งมีวิธีทำดังนี้

 

กลิ่นน้ำลอยดอกมะลิ กลิ่นน้ำลอยดอกกุหลาบ

3D_Diamond.gif (591 bytes) เด็ดดอกมะลิแต่เช้าตรู่   นำมาล้างน้ำแล้วห่อด้วย ใบตอง   เก็บไว้ในที่เย็น ๆ พอถึงตอนเย็น ประมาณ 6 โมงเย็น ตวงน้ำต้มสุกที่เย็นแล้วใส่ภาชนะที่มีฝาปิด จึง เด็ดกลีบเลี้ยงออก ค่อย ๆ ใส่ดอกมะลิให้ก้านจุ่มอยู่ใน น้ำ   ดอกจะบานส่งกลิ่นหอมได้เต็มที่   อย่าใส่ดอกมะลิ แน่นเกินไป ปิดฝาให้สนิท   พอเช้าของอีกวันเราก็ค่อย ๆ ช้อน เอาดอกมะลิออก แล้วกรองน้ำลอยดอกมะลิ ก่อนนำไปทำขนม

3D_Diamond.gif (591 bytes) ให้เด็ดกลีบกุหลาบมอญใส่ลงในน้ำ แต่สำหรับ ดอกกุหลาบมอญและดอกมะลิต้องปลูกเอง จึงจะ ปลอดภัยจากยาฆ่าแมลง (ใช้วิธีเดียวกับดอกมะลิ)

 

กลิ่นดอกกระดังงา กลิ่นเทียนอบ

3D_Diamond.gif (591 bytes) เป็นกลิ่นที่นิยมใช้อบขนมแห้งชนิดต่าง ๆ ถ้าเป็น น้ำก็นิยมอบน้ำข้าวแช่มากกว่าอาหารชนิดอื่น มีวิธีดังนี้ เด็ดกลีบดอกกระดังงา   นำมาลนเทียนอบให้หอม ใส่ ขวดโหล  ปิดฝาให้สนิท

3D_Diamond.gif (591 bytes) การอบเทียนมีวิธีการดังนี้ ให้จุดไฟที่ปลาย ของเทียนอบทั้งสองข้าง   ให้ไฟลุก  สักครู่ไฟดับ วางในถ้วยตะไลใส่ลงในขวดโหลปิดฝาให้สนิท การ ใช้เทียนอบในครั้งต่อไปต้องตัดไส้เทียนที่ดำ ๆ ออก เสียก่อน จึงจุดไฟใหม่ มิฉะนั้นจะมีแต่กลิ่นควัน

 

กลิ่นใบเตย

3D_Diamond.gif (591 bytes) ใบเตยจะให้สีและกลิ่นที่หอม โดยนำมาโขลกคั้น น้ำ กรองก็จะให้สีและกลิ่นที่หอม   แต่ถ้าจะใช้เฉพาะ กลิ่นก็นำใบเตยมาล้างให้สะอาด   หั่นเป็นท่อนยาวแล้ว จึงใส่ลงในอาหารนั้นได้เลย กลิ่นหอมของใบเตยก็จะ ออกมา


กลับไปที่หน้าหลัก

 

1