ความเข้มของคลื่นทีวีและคลื่นเอฟเอ็ม
คลื่นทีวีและคลื่นเอฟเอ็มก็คือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเพราะฉะนั้นการกำหนดความเข้มของคลื่นทีวีและ
คลื่นเอฟเอ็มก็เช่นเดียวกับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
คือเป็นความเข้มของสนามไฟฟ้า (field strength) ของคลื่นนั้น หน่วยของความเข้มของสนามไฟฟ้านั้นเป็นV/mในทางปฏิบัติเราสามารถวัดความเข้มของสนามไฟฟ้า
โดยใช้สายอากาศไดโพลมาตรฐาน (ไดโพลครึ่งความยาวคลื่น)
กับ เครื่องวัดความเข้มของสนามไฟฟ้า (field strength meter) หลักในการวัดก็คือ
วัดโวลเตจที่ขั้วของไดโพลมาตรฐาน แล้วหารด้วยความยาวประสิทธิผล (effective
length) ของสายอากาศไดโพลมาตรฐาน ซึ่งมีค่าเท่ากับ l/p ในขณะที่
l เป็นความยาวคลื่น
คุณสมบัติของคลื่นทีวี
คลื่นทีวีเมื่อออกจากสายอากาศส่งของสถานีส่งก็จะเคลื่อนที่เป็นเส้นตรง
(บางครั้งอาจจะอ้อมโค้ง) ไปยังบริเวณที่อยู่รอบ ๆ แต่เนื่องจากคลื่นทีวีที่ใช้เป็นคลื่นความถี่สูง
คืออยู่ในช่วง VHF และ UHF (สำหรับบางประเทศ) ขณะที่คลื่นทีวีเคลื่อนที่ไปในบรรยากาศบนพื้นโลก
จึง
มีปรากฎการณ์ที่น่าสนใจเกิดขึ้นดังต่อไปนี้
1. การสะท้อนที่ผิวโลก
คลื่นทีวีที่มีความถี่สูงเมื่อเคลื่อนที่กระทบกับพื้นโลกจะสะท้อนกลับออกมาโดยที่ความเข้มของคลื่นไม่เปลี่ยน
แต่เฟสจะเปลี่ยนเป็นตรงกันข้าม และมุมสะท้อนจะเท่ากับตกกระทบ
ดังที่แสดงไว้ในรูปที่ 1.2 คลื่นสะท้อน (E2) นี้จะเคลื่อนที่ไปเข้าสายอากาศรับพร้อมกับคลื่นที่เคลื่อนที่มาโดยตรง
(E1) เพราะฉะนั้นสายอากาศรับจะรับผลบวกของคลื่นทั้งสองนี้เข้าไป
ในกรณีที่สายอากาศรับอยู่ห่างจากสถานีส่งมากพอสมควร (เป็นกิโลเมตรขึ้นไป)
ขนาดของคลื่น E1 และ E2 ที่เข้ามายังสายอากาศรับอาจถือได้ว่ามีขนาดเท่ากัน
2 Height Pattern
ดังที่ได้กล่าวไว้ในหัวข้อก่อนคลื่นที่เข้าสู่สายอากาศรับจะมีส่วนของคลื่นที่มาโดยตรงและคลื่นที่สะท้อน
ผิวโลกมาเพราะฉะนั้นถึงแม้จะเป็นการรับที่ตำแหน่งเดียวกันบนพื้นโลกถ้าสายอากาศรับอยู่สูงจากพื้นโลก
ไม่เท่ากันก็อาจจะรับพลังงานได้ไม่เท่ากันนั่นคือความเข้มของสนามไฟฟ้าที่ความสูงต่าง
ๆ จะมีค่าไม่เท่ากัน ซึ่งเราเรียกลักษณะการเปลี่ยนนี้ว่า height pattern
3 การแบ่งความถี่
ความถี่ของคลื่นที่ใช้ในกิจการทีวีและเอฟเอ็ม
จะใช้อยู่ในช่วง VHF เป็นส่วนใหญ่และสำหรับบางประเทศ
มีการใช้คลื่นในช่วง UHF ในการส่งทีวีด้วย
การแบ่งช่องความถี่นั้นแบ่งตามระบบต่าง ๆ ที่ใช้กันอยู่ซึ่งมี
หลายระบบด้วยกัน และในแต่ละระบบจะแบ่งให้แบนด์(Band)โดยที่แต่ละแบนด์จะมีช่วงความถี่ที่ไม่ตรงกัน
สำหรับประเทศไทยนั้น ปัจจุบันใช้ระบบ CCIR เพราะฉะนั้นการแบ่งช่วงความถี่จึงเป็นไปตามระบบ
CCIR
อนึ่ง ระบบส่งสัญญาณที่ใช้ในปัจจุบันเป็นระบบ
PAL 625 เส้น เพราะฉะนั้นเครื่องรับทีวีจึงจำเป็นต้อง
เป็นเครื่องรับในระบบนี้ด้วย
สำหรับวิทยุเอฟเอ็มนั้น
ความถี่ที่ใช้ในประเทศไทยปัจจุบันคือ ช่วงระหว่าง 88-107.5 MHz