" ดอยสุเทพเป็นศรี
ประเพณีเป็นสง่า
บุปผชาติล้วนงามตา
นามล้ำค้านครพิงค์ " ทางลัดสู่หัวข้อที่ท่านสนใจ
ตราประจำจังหวัด
- เป็นรูปช้างเผือกในเรือนแก้ว
- ช้างเผือก
หมายถึง
ช้างที่เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่นำทูลเกล้าฯ
ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศล้านภาลัย
และได้ขึ้นระวางเป็นช้างเผือกในรัชสมัยของพระองค์
- เรือนแก้ว
หมายถึงดินแดนที่พระพุทธศาสนาได้มาตั้งมั่นเจริญรุ่งเรืองจนเคยเป็นสถานที่สำหรับทำสังคายนาพระไดรปิฎก
เมื่อ พ.ศ. 2020
ต้นไม้ประจำจังหวัด
การเดินทางจากกรุงเทพฯ
- รถยนต์
ใช้ทางหลวงหมายเลข 32
ผ่านอยุธยา อ่างทอง นครสวรรค์
ชัยนาท กำแพงเพชร ตาง ลำปาง ลำพูน
ถึงเชียงใหม่ ระยะทางประมาณ 700
กิโลเมตร
- รถประจำทาง
มีรถประจำทางทั้งรถธรรมดาและรถปรับอากาศบริการทุกวัน
ใช้เวลาเดินทางประมาณ 10 ชั่วโมง
- รถไฟ
มีขบวนรถออกจากสถานีกรุงเทพทุกวัน
สอบถามรายละเอียดที่
การรถไฟแห่งประเทศไทยโทรฯ (02)
223-7010 223-7020
- เครื่องบิน
สายการบินไทยจัดบริการเดินทางทุกวัน
ใช้เวลาเดินทางประมาณ 1 ชั่วโมง
สอบถามรายละเอียดที่โทรฯ (02)
628-2000
นอกจากนี้ยังมีบริการเดินทางของ
สายการบินบางกอกแอร์เวย์ส โทรฯ
(02) 229-3456-62
ก่อนจะเป็นเชียงใหม่
กล่างถึงจังหวัดเชียงใหม่
ยากที่ใครจะไม่รู้จักและไม่อยากเดินทางไปเยือน
เพราะความงดงามของภูมิประเทศ
ความอุดมสมบูรณ์
ของพรรณไม้และสรรพสัตว์
โดยเฉพาะนกชนิดต่างๆ
ความหนาวเย็นจับใจในช่วงฤดูหนาว
อาหารพื้นเมืองแสนอร่อย
และผู้คนที่เต็มไปด้วย
ไมตรีจิตล้วนเป็นมนต์เสน่ห์ดึงดูดให้ผู้คนต่างถิ่นใฝ่ฝันถึงเมืองงามในหุบเขานี้
แต่ก่อนจะมาเป็นเชียงใหม่วันนี้นั้นเคยเป็นถิ่นอาศัยของชนกล่มใดนั้นก็เคยมีกล่าวในตำนานล้านนาว่าชนเผ่าลัวะคือชนพื้นเมือง
ของพื้นที่นี้ลัวะตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณเชิงดอยสุเทพ
แต่ได้ถอยร่นขึ้นไปอยู่ตามเทือกเขาสูงหลังจากทำสงครามแพ้พระนางจามเทวี
ผู้เข้ามาสถาปนาแคว้นหริภุญไชยใน
พ.ศ. 1310 - 1311 จนถึง พ.ศ. 1835
พญามังรายเข้ามาครอบครองแคว้นหริภุญไชย
และต่อมา
ได้ผนวกแคว้นหริภุญไชยเข้ากับแคว้นโยนก
กลายเป็นอาณาจักรล้านนา
เมืองเชียงใหม่จึงถือกำเนิดขึ้นนับแต่นั้น
ในนาม
"
นครบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่ "
เพื่อเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรล้านนา
ทั้งทางการเมือง การปกครอง
เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม
พญามังรายทรงวางรากฐานความเจริญรุ่งเรืองไว้หลายประการ
คือ
ทรงขยายอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวาง
มีการตรากฎหมาย
เพื่อควบคุมกำลังพลและควบคุมกฎเกณฑ์ของสังคม
มีการรับพุทธศาสนาจากหริภุญไชย
โปรดฯ ให้สร้างวัดวาอารามมากมาย
ทรงสนับสนุนให้ภิกษุจากเมืองต่างๆ
มาศึกษาพระธรรมวินัยที่เชียงใหม่
เชียงใหม่จึงค่อยๆ
กลายเป็นศูนย์กลางทางศาสนาแทนหริภุญไชย
อาณาจักรล้านนาเจริญรุ่งเรืองสืบต่อมาจนถึงรัชสมัยของพญาแก้ว
ก็เริ่มเสื่อมลงเนื่องจากพ่ายแพ้สงครามพับเชียงตุงเสียกำลังคน
ไปมาก
และยังเกิดอุทกภัยขึ้นอีก
ผู้คนจึงลดน้อยลงอย่างมาก
ผนวกกับกษัตริย์ลำดับต่อๆ
มาอ่อนแอ
มีการรบราแย่งชิงสมบัติกันมาก
เมืองในปกครองต่างแยกตัวเป็นอิสระ
เมื่อพม่ายกทัพมาตีเชียงใหม่ในสมัยท้าวแม่กุ
พ.ศ. 2101
อาณาจักรล้านนาจึงตกเป็นเมืองขึ้นของพม่า
อย่างง่ายดายและเป็นเมืองขึ้นอยู่นานถึง
216 ปี
ต่อมาใน พ.ศ. 2317
พระยาจ่าบ้านขุนนางเมืองเชียงใหม่และพระยากาวิละ
เจ้านครลำปาง
ได้เข้าสวามิภักดิ์ต่อสมเด็จพระเจ้าตากสิน
และร่วมกับทัพพระเจ้าตากขับไล่พม่าออกจากเชียงใหม่ได้สำเร็จ
แต่ต้องใช้เวลาอีกถึง 30 ปี
จึงขับไล่พม่าออกจากเชียงแสนได้หมด
จนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์
เชียงใหม่อยู่ในฐานะเมืองประเทศราช
โดยส่งบรรณาการและยอมรับอำนาจของรัฐบาลกลางมาด้วยดี
กระทั่งถึงสมัยรัชการที่ 5
เมื่อลัทธิจักรวรรดินิยมแผ่เข้ามา
รัฐบาลกลางที่กรุงเทพฯ
ได้ทำการปฏิรูปการปกครอโดยผนวกดินแดนล้านนา
เข้าเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรสยาม
แต่ยังคงฐานะเป็นเมืองประเทศราช
จนในช่วง พ.ศ. 2442 - 2476
มีการยกเลิกฐานะเมืองประเทศราช
เชียงใหม่จึงกลายเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรสยามอย่างแท้จริง
และเจริญก้าวหน้าจนเป็นจังหวัดใหญ่จังหวัดหนึ่งของประเทศในปัจจุบัน
ดินแดนแห่งขุนเขา
- สถานที่ตั้ง
เชียงใหม่ตั้งอยู่ที่เส้นรุ้งที่
16 องศาเหนือ และเส้นแวงที่ 99
องศาตะวันออก
สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ
1,027 ฟุต ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 700
กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 20,107
ตารางกิโลเมตรลักษณะภูมิประเทศ
แบ่งเป็น 2 ลักษณะคือ
พื้นที่ภูเขา
มีระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง
500 เมตรขึ้นไป
ส่วนใหญ่อยุ่ทางทิศเหนือและทิศตะวันตกของจังหวัด
คิดเป็นพื้นที่ประมาณ 80
เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ทั้งหมด
ภูเขาเหล่านี้คือแหล่งต้นน้ำลำธาร
มีภูเขาที่สูงที่สุดในประเทศไทยคือ
ดอยอินทนนท์ สูง 2,565 เมตร
จากระดับน้ำทะเลปานกลางและพื้นที่ราบลุ่มน้ำและที่ราบเชิงเขา
กระจายอยู่ทั่วไประหว่างหุบเขา
ได้แก่ ที่ราบลุ่มแม่น้ำปิง
ที่ราบลุ่มน้ำฝาง
และที่ราบลุ่มน้ำแม่งัด
- อาณาเขต
ทิศเหนือติดสหภาพพม่า
ทิศตะวันออกติดเชียงราย ลำปาง
ลำพูน ทิศตะวันตกติดแม่ฮ่องสอน
ทิศใต้ติดลำพูน ตาก
ประกอบด้วยเทือกเขาสลับซับซ้อน
มีที่ราบกระจายอยู่ระหว่างหุบเขาและมีแม่น้ำไหลผ่าน
- ทิวเขา
จังหวัดเชียงใหม่มีเทือกเขาโอบอยู่เกือบทุกด้านทิศเหนือคือทิวเขาแดนลาวทิศตะวันออกคือทิวเขาผีปันน้ำตะวันตกทิศตะวันตก
และทิศใต้คือทิวเขาถนนธงชัยกลาง
ยกเว้นเขตติดต่อกับจังหวัดลำพูน
อยู่ในแอ่งที่ราบลุ่มเชียงใหม่ -
ลำพูน หรือที่ราบลุ่มแม่น้ำปิง
เป็นที่ราบขนาดใหญ่ต่อเนื่องเป็นผืนเดียวกัน
และเป็นที่ตั้งของเมืองโบราณ 2
เมือง คือ เมืองหริภุญไชย
ริมแม่น้ำกวง และเมืองเชียงใหม่
ริมแม่น้ำปิง
- แม่น้ำ
แม่น้ำปิงเป็นแม่น้ำสำคัญของเมืองเพราะเป็นทั้งเส้นทางคมนาคมค้าขายเป็นแหล่งอุปโภคบริโภคและนำพาวัฒนธรรมจากต่างถิ่น
เข้ามา มีต้นน้ำอยู่ที่ดอยถ้วย
อำเภอเชียงดาว
รวมระยะทางที่ไหลผ่านเชียงใหม่ยาวประมาณ
335 กิโลเมตร แล้วผ่านเข้าลำพูน
ไปรวมกับแม่น้ำวังที่ตาก
และรวมกับแม่น้ำน่านที่ปากน้ำโพ
นครสวรรค์
กลายเป็นแม่น้ำเจ้าพระยาไหลลงสู่ภาคกลางต่อไป
ผู้คน...ผู้เป็นสีสันของเชียงใหม่
- คนเมือง
เป็นชนกลุ่มใหญ่ของเชียงใหม่
สืบเชื้อสายมาจากกลุ่มตระกูลไทซึ่งมีอยู่หลายกลุ่ม
ทั้งไทลื้อ ไทยวน ไทใหญ่ ไทเขิน
จัดอยู่ในกลุ่มคนล้านนา
เรียกตัวเองว่า " คนเมือง "
ชนกลุ่มนี้ตั้งถิ่นฐานอยู่ในที่ราบระหว่างหุบเขาใช้ภาษาถิ่นที่เรียกว่า
" คำเมือง "
แต่ปัจจุบันคนรุ่นใหม่หันมาใช้ภาษากลางกันเกือบหมดแล้ว
- ลัวะ
ในตำนานหลายตำนานกล่าวว่าลัวะคือกล่มชนพื้นเมืองซึ่งเคยอาศัยอยู่ในบริเวณเชิงดอยสุเทพมาก่อนมีหลักฐานทางประเพณี
ปฏิบัติหลายอย่างที่ยืนยันคำกล่าวนี้
เช่น การทำพิธีต่างๆ
มักให้ชาวลัวะเป็นผู้เริ่มพิธี
ปัจจุบันชาวลัวะยังคงกระจายอยู่ทั่วเมือง
ทั้งชาวลัวะที่ผสมผสานกลายเป็นคนเมืองไปแล้ว
และชาวลัวะที่ยังดำรงชีวิตแบบดั้งเดิมบนดอยสูงซึ่งถูกจัดอยู่ในกลุ่มชาวเขา
- ชาวเขาเผ่าต่างๆ
เป็นชนกลุ่มน้อยผู้เป็นสีสันสดใดที่สุดของเชียงใหม่
มีหลายเผ่า ได้แก่ กะเหรี่ยง ม้ง
ลีซอ ลัวะ มูเซอ ปะหล่อง
แต่ละเผ่าต่างมีประเพณีวัฒนธรรมที่น่าสนใจ
และนั่นก็ทำให้แหล่งอาศัยของพวกเขากลายเป็นจุดท่องเที่ยวไปด้วย
แอ่วเวียงเจียงใหม่
ด้วยความเป็นเมืองเก่าและความที่มีสภาพภูมิประเทศงดงาม
เชียงใหม่จึงมีแหล่งท่องเที่ยวประเภทต่างๆ
มากมาย ทั้งวัดวาอาราม โบราณสถาน
ภูเขา น้ำตก ถ้ำ
และแหล่งหัตถกรรมสถานที่ที่นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่นิยมเดินทางไปเยือน
แบ่งเป็นประเภทได้ดังนี้
วัดวาอาราม
โบราณสถาน
- วัดแสนฝาง
ตั้งอยู่บนถนนท่าแพอำเภอเมืองฯเป็นวัดที่มีศิลปกรรมพม่าผสมอยู่โดยเฉพาะเจดีย์ที่มีการตกแต่งลวดลายปูนปั้นวิจิตรงดงาม
นอกจากนี้ยังมีกุฎิเจ้าอาวาสซึ้งสร้างมานานกว่า
100 ปี เป็นจุดที่น่าสนใจอีกด้วย
- วัดบุพพาราม
ตั้งอยุ่บนถนนท่าแพอำเภอเมืองฯสิ่งที่น่าชมคือเจดีย์ทรงพม่าวิหารหลังใหญ่ซึ่งหน้าบันมีลวดลายไม้แกะสลักแบบพม่า
และวิหารหลังเล็กซึ่งเป็นทรงพื้นเมืองสร้างด้วยไม้ทั้งหลัง
- วัดพระสิงห์วรวิหาร
ตั้งอยู่ที่ถนนสามล้าน
อำเภอเมืองฯ
ภายในวิหารลายคำเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธสิหิงค์
พระพุทธรูปสำคัญอีกองค์หนึ่งของเชียงใหม่
สถาปัตยกรรมงดงามของวัดนี้คือ
วิหารลายคำที่มีจิตรกรรมฝาผนังและหอไตรไม้เก่าแก่
- วัดพันเตา
ตั้งอยู่บนถนนพระปกเกล้า
ติดกับวัดเจดีย์หลวง
เดิมเป็นหอคำ
หรือท้องพระโรงหน้าของพระเจ้ามโหตรประเทศ
ซุ้มประตูทำเป็น
รูปนกยูงอันเป็นสัญลักษณ์ของกษัตริย์
- วัดสวนดอก
ตั้งอยู่ที่ถนนสุเทพ
อำเภอเมืองฯ
พระเจ้ากือนาสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.
1914
เพื่อใช้เป็นวัดที่จำพรรษาของพระมหาเถระสุมน
ผู้ประดิษฐานพระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ในล้านนา
- วัดเชียงมั่น
ตั้งอยู่ที่ถนนราชภาคินัย
อำเภอเมืองฯ
เป็นวัดเก่าแก่ที่สุดในตัวเมืองเชียงใหม่
สร้างเมื่อ พ.ศ.
1839เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป
สำคัญคือ พระเสตังคมณี
หรือ พระแก้วขาง
- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเชียงใหม่
ตั้งอยู่บนนถนนซูเปอร์ไฮเวย์
(เชียงใหม่ - ลำปาง)
เป็นอาคารแบบล้านนาประยุกต์ภายในพิพิธภัณฑ์ฯ
มีสิ่งที่น่าสนใจมากมาย เช่น
พระพุทธรูปสกุลช่างล้านนาสมัยต่างๆ
และพระพุทธรูปสมัยเชียงแสน
เครื่องไม้แกะสลัก
เตรื่องถ้วยภาคเหนือ
เครื่องใช้ในชีวิตประจำวันของชาวล้านนาและชาวเขาเผ่าต่างๆ
พิพิธภัณฑ์ฯ ปิดวันจันทร์ อังคาร
และวันหยุดนักขัตฤกษ์
- ศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่
ตั้งอยู่บนถนนสายเชียงใหม่
- หางดง
เป็นที่ราบรวมศิลปวัฒนธรรมของล้านนาไทย
มีหมู่บ้านชาวเขาให้เที่ยวชม
ตอนกลางคืนจะมีการจัด " ขันโตก
" หรือการกินอาหารแบบล้านนา
โดยมีการแสดงให้ชมระหว่างการกิน
ติดต่อขอรายละเอียดเพิ่มเติมที่
โทรฯ (053) 274540 275097
- พิพิธภัณฑ์ชาวเขา
ตั้งอยู่ในสวนล้านนา ร.9
ริมถนนสายเชียงใหม่ - แม่ริม
เป็นที่รวบรวมเรื่องราวต่างๆ
เกี่ยวกับชาวเขาที่อยู่ในประเทศไทย
โดยทำการวิจัยศึกษาด้านมานุษยวิทยาและความเป็นอยู่ของชาวเขาเพื่อหาทางขจัดปัญหาการทำลายป่าโดยแนะแนวอาชีพ
ใหม่ให้ชาวเขา
- วัดต้นแกว๋น
ตั้งอยู่ที่ตำบลหนองคาย
อำเภอหางดง
เป็นวัดเก่าแก่ที่มีลักษณะงดงามมากสิ่งที่น่าสนใจคือศาสนาจัตุรมุขซึ่งพบเพียงหลังเดียว
ในภาคเหนือนอกจากนี้
ศิลปกรรมแบบล้านนาดั้งเดิมภายในวัดนี้ยังจัดว่าเป็นต้นแบบที่สมบูรณ์และมีคุณค่ามาก
- เวียงกุมกาม
เป็นเมืองโบราณที่พ่อขุนมังรายโปรดฯ
ให้สร้าเมื่อ พ.ศ. 1829 มีคูเวียงอยู่
4 ด้าน โบราณสถานที่อยู่ในเวียง
ได้แก่ วัดเจดีย์เหลี่ม
วัดช้างคำ วัดกุมกาม วัดน้อย
วัดปู่เตี้ย วัดกู่ขาว ฯลฯ
ปัจจุบันเวียงกุมกามอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเมืองเชียงใหม่
ประมาณ
กม. 3-4 ถนนซูเปอร์ไฮเวย์
(เชียงใหม่ - ลำพูน)
ในเขตตำบลท่าวังตาล
อำเภอสารพีจังหวัดเชียงใหม่และใกล้ฝั่งด้านทิศตะวันออก
ของแม่น้ำปิง
- อนุสาวรีย์ครูบาศรีวิชัย
ตั้งอยู่เชิงดอยสุเทพ
ครูบาศรีวิชัยเป็นนักบุญที่สำคัญของเชียงใหม่
เป็นผู้ริเริ่มสร้างถนนเชิงดอยขึ้นสู่วัดพระบรมธาตุดอยสุเทพ
เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2477
แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2478 รวมระยะทาง 10
กิโลเมตร
- วัดพระบรมธาตุดอยสุเทพ
ตั้งอยู่บนยอดดอยสุเทพ
อำเภอเมืองฯ
เป็นปูชนียสถานคู่เมืองเชียงใหม่
ตั้งอยู่สูลจากระดับน้ำทะเลประมาณ
3,051 ฟุต
ทุกปีในวันวิสาขบูชาจะมีงานประเพณีสรงน้ำพระบรมธาตุ
- พระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์
อยู่เลยจากวัดพระบรมธาตุดอยสุเทพขึ้นไปประมาณ
4
กิโลเมตรเป็นพระตำหนักแปรพระราชฐานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
และสมเด็จพระนางเจ้าฯ
พระบรมราชินีนาถ
สร้างเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2505
ปกติจะเปิดให้ประชาชนเข้าชม
เฉพาะวัน ศุกร์ เสาร์
อาทิตย์
และวันหยุดราชการ
ทั้งนี้จะต้องเป็นช่วงเวลาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไม่ได้เสด็จแปรพระราชฐานไปประทับ
- พระมหาธาตุนภเมทนีดลและพระมหาธาตุนภพลภูมิศิริ
ภายในพระมหาธาตุนภเมทนีดลบรรจุพระบรมสารีริกธาตุและพระพุทธรูปส่วนประมหาธาตุนภพลภูมิศิริ
มีรูปทรงคล้ายคลึงกับองค์พระมหาธาตุนภเมทนีดล
ยอดปลีขององค์เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ
- เวียงท่ากาน
เป็นเวียงเก่าแก่เวียงหนึ่งในสมัยหริภุญไชย
สันนิษฐานว่าสร้างประมาณพุทธศตวรรษที่
13 ปัจจุบันอยู่ในเขตท่ากาน
ตำบลบ้านกลาง อำเภอสันป่าตอง
ห่างจากเชียงใหม่ไปตามเส้นทางหลวงหมายเลข
108 ประมาณ 34
กิโลเมตรผ่านอำเภอสันป่าตอง
แล้วเลี้ยวซ้ายที่บ้านทุ่งเสี้ยว
เข้าไปอีกประมาณ 2 กิโลเมตร
- วัดพระบรมธาตุศรีจอมทองวรวิหาร
เป็นวัดสำคัญคู่เมืองจอมทอง
จากตัวเมืองเชียงใหม่ไปตามถนนสายเชียงใหม่
- ฮอด ผ่านอำเภอหางดง สันป่าตอง
จนถึงจอมทอง ระยะทาง 58 กิโลเมตร
- วัดพุทธเอ้น
ตั้งอยู่ที่ตำบลช่างเคิ่ง
อำเภอแม่แจ่ม
เป็นวัดที่มีโบสถ์กลางน้ำหลงเหลืออยู่แห่งเดียวในประเทศไทยด้านหลังโบสถ์มีวิหารเก่าแก่
ซึ่งภายในมีจิตรกรรมฝาผนังที่เลือนราง
งานประเพณี
เวลา 700
กว่าปีนับแต่เชียงใหมถือกำเนิดขึ้น
คนเมืองได้สั่งสมวัฒนธรรมประเพณีสืบทอดจากบรรพบุรุษมายาวนานต่อเนื่อง
โดยผูกพันอยู่กับพุทธศาสนาและความเชื่อดั้งเดิม
ประเพณีสำคัญคือ
- ปีใหม่เมือง
หรือสงกรานต์
จัดขึ้นในวันที่ 13 - 15
เมษายนของทุกปี
เป็นประเพณีสำคัญและยิ่งใหญ่ของชาวเชียงใหม่
มีขบวนแห่พระพุทธสิหิงค์
ขบวนแห่นางสงกรานต์
พิธีสรงน้ำพระ การก่อเจดีย์ทราย
และการเล่นสาดน้ำสงกรานต์
- งานประเพณียี่เป็ง
จัดขึ้นในช่วงวันลอยกระทงของทุกปี
เป็นงานประเพณีที่น่าสนใจยิ่งของจังหวัดตอนกลางคืนมีการปล่อยโคมเพื่อเป็นการบูชา
พระธาตุจุฬามณีบนสวรรค์
มีการประกวดกระทงและนางนพมาศ
- ประเพณีเข้าอินทขีล
ช่วงเดือนพฤษภาคมถึงมิถุนายน
ชาวเชียงใหม่จะร่วมกันประกอบพิธีบูชาอินทขีลซึ่งเป็นเสาหลักเมืองโดยจะนำดอกไม้ธูปเทียน
มาใส่ขันดอกกราบไหว้บูชาอินทขีล
- ประเพณีตานหลัวประเจ้า
เป็นประเพณีการนำฟืนมาเผาเพื่อให้พระพุทธเจ้าได้ผิงไฟ
จัดในเดือน 4 เหนือ
(ประมาณเดือนมกราคม)จัดที่วัดยางหลวง
หรือวัดป่าแดด
อำเภอแม่แจ่มเท่านั้น
- งานร่มบ่อสร้าง
จัดขึ้นประมาณเดือนมกราคมของทุกปีที่บริเวณศูนย์หัตถกรรมร่มบ่อสร้าง
อำเภอสันกำแพง
มีการแสดงและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ต่างๆ
ที่ทำจากกระดาษสาโดยเฉพาะร่มบ่อสร้าง
- งานมหกรรมไม้ดอกไม้ประดับ
จัดขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์
มีการประกวดพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับและมีขบวนรถบุปผชาติและนางงามบุปผชาติ
เดินป่า ปีนดอย ดูพรรณไม้
- อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์
อยู่ในพื้นที่อำเภอสันป่าตอง
จอมทอง และแม่แจ่ม
ห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่ประมาณ
106
กิโลเมตรประกอบด้วยเทือกเขาสูง
สลับซับซ้อนมียอดดอยอินทนนท์เป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในประเทศจุดเด่นของที่นี่นอกจากยอดเขาสูงที่สุดในประเทศแล้ว
ยังอยู่ที่อากาศหนาวเย็นตลอดปีและสภาพป่าดึกดำบรรพ์ที่เต็มไปด้วยพรรณไม้และนกนานาพันธุ์สำหรับผู้ที่สนใจศึกษาธรรมชาติ
มีเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติอ่างกาและเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติกิ่วแม่ปานอยู่ก่อนถึงยอดดอย
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดอยเชียงดาว
อยู่ในพื้นที่อำเภอเชียงดาว
เป็นภูเขาหินปูนที่สูงเป็นอันดับ
3รองจากด้วยผ้าห่มปกและดอยอินทนนท์บนดอยเชียงดาว
มีอากาศหนาวเย็นสมบูรณ์ด้วยดอกไม้ป่าภูเขาที่หาชมได้ยากมากมาย
รวมทั้งนกและผีเสื้อด้วย
- ดอยสามหมื่นและอุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง
อยู่ในเขตอำเภอแม่แตง
จังหวัดเชียงใหม่ และอำเภอปาย
จังหวัดแม่ฮ่องสอน
เป็นแนวเทือกเขาสลับซับซ้อนเหนือหุบเขาแม่แตง
เป็นจุดชมวิวที่มองเห็นเทือกดอยเชียงดาวและทะเลหมอกงดงามมากนอกจากนี้ยังมีดอยต่อเนื่องเข้าไปถึงดอยช้างและดอยสามหมื่น
อีกด้วย
ดอยสามหมื่นจัดเป็นอีกจุดหนึ่งที่สามารถชมวิวทะเลหมอกได้อย่างงดงาม
- ป่าสนวัดจันทร์
ตั้งอยู่บนเส้นทางสายแม่มาลัย
- ปาย เลยทางเข้าห้วยน้ำดังไป
และแยกซ้ายเข้าที่ทำการ ออป.
วัดจันทร์อีก 46 กิโลเมตร
เป็นป่าสนผืนใหญ่ที่อุดมสมบูรณ์
มีทิวทัศน์งดงามบริเวณป่าสนเป็นที่ตั้งของชุมชนกะเหรี่ยง
ติดต่อที่พักได้ที่ ออป.
เชียงใหม่
โทรฯ (053) 245356
- อุทยานแห่งชาติออบหลวง
อยู่ห่างจากเชียงใหม่ตามถนนสายเชียงใหม่
- ฮอด ระยะทาง 89 กิโลเมตร
ออบหลวงเป็นช่องเขาขาดที่มีแม่น้ำแม่แจ่มไหลผ่าน
ช่องเขานี้มีลักษณะเป็นหน้าผาสูงชันและแคบมาก
บีบให้สายน้ำแคบลงทำให้น้ำเชียวมากเมื่อตกกระทบหน้าผาจึงเกิดเสียงดังสนั่น
ไปทั่ว
ด้านบนหน้าผามีสะพานแขวนให้นักท่องเที่ยวเดินข้ามและถ่ายภาพ
เป็นจุดชมวิวริวถนนสายฮอด -
แม่สะเรียง
- อุทยานแห่งชาติศรีลานนา
อยู่ในเขตพื้นที่อำเภอพร้าว
บริเวณ กม.79 ของทางสายเชียงใหม่ -
พร้าวจะมีทางแยกเข้าอ่างเก็บน้ำชลประทานแม่แตง
เพื่อเข้าสู่ที่ทำการอุทยานฯ
เป็นอุทยานฯ
ที่อุดมสมบูรณ์ด้วยผืนป่าต้นน้ำ
สถานที่ท่องเที่ยวสำคัญคือ
น้ำตกม่อนหินไหล
น้ำพุเย็นและน้ำตกเย็น
- สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
เป็นสวนพฤกษศาสตร์ที่สมบูร์แบบที่สุดในประเทศไทย
เป็ฯแหล่งรวบรวมพรรณไม้ชนิดต่างๆโดยเฉพาะไม้ประจำถิ่นและ
ไม้ที่กำลังจะสูญพันธุ์
เพื่อจัดปลูก ขยายพันธุ์
และศึกษาวิจัยตั้งอยู่ริมทางหลวงหมายเลข
1096 ซึ่งแยกจากเส้นทางหลวงหมายเลข
107 สายเชียงใหม่ - แม่ริม
- ดอยอ่างขาง
อยู่ในเขตพื้นที่อำเภอฝางเป็นแอ่งกว่างในหุบเขา
อากาศหนาวเย็นตลอดปีเป็นที่ตั้งของสถานีเกษตรหลวงอ่างขาง
มูลนิธิโครงการหลวง
มีแปลงปลูกไม้ดอก ไม้ประดับ
และไม้ผลเมืองหนาว
เพื่อทดแทนการปลูกฝิ่น
ก่อนถึงสถานนีฯ
จะผ่านบ้านมูเซอขอบด้งและเลยสถานีฯ
ไปคือบ้านปะหล่องนอแล
สามารถแวะเข้าไปชมวิถีชีวีตของชนเผ่าทั้งสองได้
- น้ำตกสิริภูมิ
อยู่ถัดจากน้ำตกวชิรธารขึ้นไป
โดยอยู่ที่ กม.31 ของทางสายจอมทอง -
อินทนนท์เป็นน้ำตกที่ไหลเป็นทางยาวสามารถ
มองเห็นได้จากถนนขึ้นดอยอินทนนท์
- ท่าตอน
อยู่ในเขตอำเภอแม่อายเป็นจุดที่แม่น้ำกกไหลผ่านลงไปถึงอำเภอเมืองเชียงราย
นิยมล่องแพกันในลำน้ำช่วงนี้โดยระหว่างทาง
มีจุดให้หยุดชม เช่น
กะเหี่ยงรวมมิตร
- แม่ตื่น
เป็นชื่อของหมู่บ้านและสายน้ำในเขตอำเภออมก๋อย
สามารถล่องแก่งตามสายน้ำนี้เพื่อไปชมน้ำตกผาดำที่งดงามไม่แพ้น้ำตกอื่นๆ
ช่วงเวลาที่เหมาะสำหรับล่องแก่ง
คือตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงมกราคม
สายน้ำจากเทือกดอย
- น้ำตกแม่สา
อยู่ในอำเภอแม่ริม
เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ มีความสูง 10
ชั้น
ชั้นที่สวยที่สุดคือชั้นที่ 5 - 7
ความสูงชั้นละประมาณ 6 - 8 เมตร
- ทะเลสาบดอยเต่า
อยู่เหนือเขื่อนภูมิพล
ในเขตอำเภอดอยเต่า
ห่างจากตัวเมืองประมาณ 133
กิโลเมตรเป็นอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่มีบริการแพพักและ
เรือนำเที่ยว
นำชมแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ เช่น
น้ำตกอุ่มแป๋ ผาวิ่งชู้
พระธาตุดอยเกิ้ง ฯลฯ
ซึ่งการเดินทางต้องไปโดยเรือเท่านั้น
- น้ำตกแม่ยะ
อยู่ในอำเภอจอมทองเป็นน้ำตกขนาดใหญ่
ไหลลดหลั่นกันลงมาเป็นชั้นๆ
จากหน้าผาสูง 260 เมตร
มีน้ำไหลแรงเกือบตลอดปี
บริเวณโดยรอบเป็นป่าเบญจพรรณขนาดใหญ่
- น้ำตกแม่กลาง
อยู่ในอำเภอจอมทองระหว่างทางสายจอมทอง
- อินทนนท์ กม.10
เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ชั้นเดียว
สูงประมาณ 100 เมตร
ต้นน้ำอยู่บนดอยอินทนนท์
- น้ำตกวชิรธารหรือน้ำตกตาดฆ้องโยง
อยู่ที่ กม.22
ของทางสายจอมทอง - ดอยอินทนนท์
ตัวน้ำตกอยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลปานกลาง
750 เมตรตรงข้ามตัวน้ำตก
มีหน้าผาสูงชันชื่อว่า
ผากรแก้ว
ถ้ำ โลกลึกลับในความมืด
- ถ้ำเชียงดาว
อยู่ในอำเภอเชียงดาว
เป็นถ้ำขนาดใหญ่
มีหินงอกหินย้อยสวยงาม
แบ่งออกเป็นหลายถ้ำ
ตั้งชื่อถ้ำตามลักษณะหินงอกหินย้อย
- ถ้ำบริจินดา
เป็นถ้ำใหญ่อยู่ในเทือกเขาดอยอ่างกา
หรือดอยอินทนนท์
ใกล้กับน้ำตกแม่กลาง
อำเภอจอมทอง ตั้งอยู่บริเวณ กม.8.5
เป็นถ้ำทะลุสามารถมองเห็นภายในได้ถนัด
เพราะมีอุโมงค์ซึ่งแสงสว่างลอดเข้ามา
ภายในมีหินงอกหินย้อยสวยงาม
ปางช้าง
ปางช้างในเชียงใหม่มีอยู่หลายแห่งด้วยกัน
จัดแสดงการทำงานของช้างและบริการขี่ช้างท่องเที่ยว
ติดต่อเข้าชมได้ที่
- ปางช้างแดงดาว
อยู่ริมถนนสายเชียงใหม่
- ฝาง ประมาณ กม.56 มีการแสดงวันละ 2
รอบ คือ 09.00 และ 10.00 นาฬิกา
ค่าเข้าชมคนละ 60 บาท โทรฯ (053) 298553
- ปางช้างแม่สา
อยู่ริมถนนสายแม่ริม -
สะเมิง ประมาณ กม.10
- ปางช้างแม่แตง
ไปตามเส้นทางสายเชียงใหม่
- เชียงดาว (ทางหลวงหมายเลข 107)
แล้วแยกเข้าถนน รพช.
บ้านบางกว้าง -
บ้านแม่ตะมาน โทรฯ (053) 272855
ฟาร์มผีเสื้อ
สวนกล้วยไม้แหล่งรวมสีสันอันงดงาม
ฟาร์มผีเสื้อและสวนกล้วยไม้ส่วนใหญ่ตั้งอยู่บนถนนสายแม่ริม
- สะเมิง
เป็นที่รวบรวมพันธุ์กล้วยไม้และผีเสื้อที่งดงาม
ได้แก่
- ฟาร์มกล้วยไม้และฟาร์มผีเสื้อสายน้ำผึ้ง
เป็นสวนกล้วยไม้ที่ใหญ่ที่สุดในเชียงใหม่
อยู่ห่างจากตัวเมืองประมาณ 22
กิโลเมตร ตามถนนสายแม่ริม -
สะเมิง
และแยกซ้ายเข้าไปอีกประมาณ 1
กิโลเมตร เปิดให้เช้าชมทุกวัน
เวลา 08.00 - 17.00 นาฬิกา
ติดต่อสอบถามได้ที่ โทรฯ (053) 297152
- สวนกล้วยไม้เมาท์เท่น
ออคิด
อยู่ตรงข้ามฟาร์มกล้วยไม้และฟาร์มผีเสือสายน้ำผึ้ง
โทรฯ (053) 297343
- สวนกล้วยไม้แม่แรม
ตั้งอยู่ประมาณ กม.5.5
ของถนนสายแม่ริม - สะเมิง
ติดต่อสอบถามได้ที่ โทรฯ (053) 297982
นอกจากฟาร์มผีเสื้อและสวนกล้วยไม้แล้ว
เชียงใหม่ยังมีสถานที่พักผ่อนของเอกชนซึ่งจัดเป็นสวนไม้ดอกไม้ประดับที่สวยงามและมีที่พักให้บริการ
เช่น
- เอราวัณรีสอร์ท
ตั้งอยู่บนเส้นทางสายแม่ริม
- สะเมิง เลี้ยวขวาที่ กม.15
เข้าไปประมาณ 1 กิโลเมตร
ติดต่อสอบถามได้ที่ โทรฯ (053) 297078
- กฤษดาดอย
ตั้งอยู่ริมทางสายหางดง
- สะเมิง กม.25 ติดต่อสอบถามได้ที่
โทรฯ (053) 248419
- อุทยานล้านนา
ตั้งอยู่ริมทางสายหางดง
- สะเมิง กม.27 ติดต่อสอบถามได้ที่
โทรฯ (053) 248434
บ่อน้ำร้อน น้ำพุร้อน
มหัศจรรย์จากใต้พิภพ
- น้ำพุร้อนสันกำแพง
อยู่ห่างจากตัวเมืองประมาณ
34 กิโลเมตร ไปได้ 2 ทางคือ
ทางสายเชียงใหม่ - สันกำแพง -
สถานีเพาะพันธุ์กล้าไม้สัก -
น้ำพุร้อน และทางสายเชียงใหม่ -
สันกำแพง - หมู่บ้านออนหลวย -
นำพุร้อน
เป็นส่วนดอกไม้ร่มรื่นมีบ่อน้ำแร่
ห้องอาบน้ำ และบ้านพัก
ได้รับการปรับปรุงโดยความร่วมมือระหว่าง
ททท. และ
โครงการหมู่บ้านสหกรณ์สันกำแพง
- บ่อน้ำร้อนฝาง
อยู่บนเส้นทางสายเชียงใหม่
- ฝาง ในเขตตำบลบ้านปิน
มีบ่อน้ำร้อนมากกว่า 50 บ่อ
บางบ่อก็เดือดจัดจนน้ำพุ่งขึ้นสูงถึง
2 - 3 เมตร
อุณหภูมิของน้ำโดยเฉลี่ยอยู่ที่
90- 100 องศาเซลเซียส
บริเวณโดยรอบอบอวนด้วยกลิ่นกำมะถันจากไอน้ำร้อน
- โป่งเดือดป่าแป๋
อยู่ในพื้นที่อำเภอแม่แตง
ห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่ 40
กิโลเมตร
เป็นน้ำร้อนที่พุ่งขึ้นมาจากพื้นดินสูงเกือบ
4 เมตร
นับเป็นน้ำพุร้อนที่ใหญ่และสูงที่สุดในประเทศไทย
การเดินทางใช้เส้นทางสายแม่มาลัย
- ปาย
- รุ่งอรุณน้ำพุร้อน
เป็นสวนดอกไม้มีบ่อน้ำแร่อุณหภูมิสูงถึง
105 องศาเซลเซียส
มีห้องอาบน้ำแร่และบ้านพัก
การเดินทางใช้เส้นทางเดียวกับน้ำพุร้อนสันกำแพง
ติดต่อสอบถามได้ที่ โทรฯ (053) 248475
แหล่งหัตถกรรม...งานมือของคนเมือง
เชียงใหม่ไม่เพียงเป็นจังหวัดที่มีภูมิประเทศงดงาม
ที่นี่ยังมีงานมืออันเกิดจากภูมิปัญญาชาวบ้านให้ผู้มาเยือนจับจ่าย
ไปเป็นของที่ระลึกถึงเมืองงามแห่งนี้
- หมู่บ้านทำเครื่องเงินวัวลาย
อยู่บริเวณถนนวัวลาย
ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่ทำจากเครื่องเงิน
ลวดลายประณีตบรรจง
นอกจากนี้ยังมีโรงงานอยู่บริเวณเส้นทางเชียงใหม่
- สันกำแพงและถนนช้างคลาน
- หมู่บ้านทำร่มบ่อสร้าง
ตั้งอยู่ในเขตอำเภอสันกำแพง
ห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่ตามถนนสายเชียงใหม่
- สันกำแพง 9 กิโลเมตร
เป็นหมู่บ้านที่มีชื่อเสียงในการทำร่ม
มีทั้งที่ทำจากผ้าแพร ผ้าฝ้าย
และกระดาษสา
- หมู่บ้านเครื่องปั้นดินเผาเหมืองกุง
เป็นหมู่บ้านที่ทำเครื่องปั้นดินเผาชนิดต่างๆ
โดยเฉพาะน้ำต้นซึ่งเป็นที่นิยมทั่วไปปัจจุบันมีการพัฒนากรรมวิธีการผลิตและ
รูปแบบเครื่องปั้นดินเผา
บ้านเหมืองกุงอยู่ห่างจากตัวจังหวัดไปตามถนนสายเชียงใหม่
- ฮอดประมาณ 10 กิโลเมตรและ
ห่างจากถนนสายวงแหวนประมาณ
6 กิโลเมตร
- หมู่บ้านถวาย
อยู่ถัดจากเหมืองกุงไปตามเส้นทางสายเชียงใหม่
- ฮอด ประมาณ กม.15
และมีทางแยกซ้ายเข้าหมู่บ้าน
มีโรงงานผลิตไม้แกะสลักเพื่อจำหน่ายทั้งปลีกและส่ง
- บ้านไร่ไผ่งาม
เป็นหมู่บ้านผลิตผ้าฝ้ายทอมือแบบโบราณที่มีคุณภาพและมีชื่อเสียงตั้งอยู่
กม.69 - 70 ตามเส้นทางสายเชียงใหม่ -
ฮอด
และเลี้ยวซ้ายเข้าไปหมู่บ้านอีก
1 กิโลเมตร
ปัจจุบันกลุ่มแม่บ้านได้รับการถ่ายทอดฝีมือทอผ้าจากป้าแสงดา
บันสิทธิ์
ศิลปินแห่งชาติผู้ล่วงลับไปแล้ว
- หมู่บ้านทอผ้าซิ่นตีนจกแม่แจ่ม
ตั้งอยู่ในเขตอำเภอแม่แจ่ม
เดินทางโดยใช้เส้นทางสายจอมทอง -
อินทนนท์ ประมาณ กม.38
มีทางแยกซ้ายเข้าอำเภอแม่แจ่ม
ตำบลที่มีชาวบ้านทอผ้ามากที่สุดคือตำบลท่าผา
ห่างจากตัวอำเภอ 3 กิโลเมตร
ผ้าซิ่นตีนจกแม่แจ่มมีลวดลายเฉพาะตัวที่งดงามมาก
- โรงงานเครื่องเขิน
เครื่องเขินเป็นสินค้าพื้นเมืองขึ้นชื่อของเชียงใหม่
มีลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์
มีโรงงานเครื่องเขินตั้งอยู่ที่
กม.7 ของถนนสายเชียงใหม่ - หางดง
แถวถนนนันทาราม ถนนเชียงใหม่ -
สันกำแพง และถนนช้างคลาน
กิจกรรมท่องเที่ยว
ด้วยความหลากหลายของสภาพพื้นที่ท่องเที่ยวในเชียงใหม่
กิจกรรมการท่องเที่ยวจึงมีมากตามไปด้วย
ไม่ว่าจะเป็นการดูนกบนดอยอินทนนท์
การขี่จักรยานทั้งรอบคูเมืองและนอกเมือง
เช่น ทางสายแม่มาลัย - ปาย แม่แตง
แม่ริม ห้วยน้ำดัง ฯลฯ
การล่องแพจากเชียงดาวมาแม่แตง
ล่องแพท่าตอน
เดินป่าศึกษาพรรณไม้ในเส้นทางกิ่วแม่ปาน
อ่างกา
การเที่ยวชมวิถีชีวิตของชาวเขาเผ่าต่างๆ
การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในอำเภอแม่แจ่ม
การศึกษาประวัติศาสตร์ ศิลปะ
สถาปัตยกรรม
ภายในวัดวาอารามและโบราณสถานต่างๆ
ตัวอย่างกิจกรรมเหล่านี้คือรูปแบบของการท่องเที่ยวที่ได้ความรู้และไม่ทำลายสภาพแวดล้อม
ร้านขายของที่ระลึก