|
จากการกระทบกระแทก
บิด หมุน ของข้อเท้า เช่น
เดินตกหลุม หกล้ม
อุบัติเหตุขณะเล่นกีฬา
|
|
แบ่งได้เป็น 3
ระดับ คือ
- Contusion
ฟกช้ำดำเขียว
ทำให้เกิดอาการปวด
บวมเล็กน้อย
มีเลือดตกคั่งในบริเวณที่บาดเจ็บ
ยังคงสามารถเดิน
ทำงานได้ตามปกติ
- Sprain
เส้นเอ็นฉีกขาด
มีได้ตั้งแต่เล็กน้อย
จนถึงรุนแรง
ตอนแรกๆมักจะไม่ปวด
ไม่บวมมาก
แต่เมื่อฝืนเดินต่อไป
อาการจะรุนแรงมากขึ้น
- Fracture
กระดูกหัก
มักเกิดกับการบิดของข้อเท้าอย่างรุนแรง
เช่น
อุบัติเหตุทางรถยนต์
เล่นกีฬาบางชนิด
ทำให้เกิดอาการปวด บวม
อย่างรุนแรง
ข้อบิดเบี้ยวออกจากที่เดิม
รับน้ำหนักไม่ได้
ปวดแม้ว่าจะอยู่เฉยๆ
ความเสียหายส่วนใหญ่ที่เกิดกับข้อเท้าในชีวิตประจำวัน
คือ Sprain ในระดับต้น
ซึ่งต้องใช้เวลาประมาณ
4-6 สัปดาห์
จึงจะรับน้ำหนักได้ดีเท่าเดิม
|
|
เมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้น
จะเกิดการปลดปล่อยของสารเคมีมากมายออกจากเซลล์ที่เสียหายนั้น
(ได้แก่ Histamine, Serotonin, Slow-Releasing
Substance, Prostaglandin ,
อื่นๆอีกมากมาย)
รวมทั้งการส่งกระแสประสาทที่บ่งบอกให้รู้ถึงความเจ็บปวด
ซึ่งต้องถือว่าขบวนการต่างๆนี้มีประโยชน์
เพราะทำให้ร่างกายรู้ว่ามีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้นกับร่างกาย
จะได้มีปฏิกิริยาตอบสนองได้ทันท่วงที
สารเคมีที่ปล่อยออกมาเหล่านั้น
จะทำให้
- ผนังเส้นเลือดบริเวณนั้นมีอาการรั่วขึ้น
น้ำเลือด เม็ดเลือดขาว
จะไหลผ่านออกมาได้ง่ายขึ้น
เกิดการบวม แดง
- เม็ดเลือดขาว
แอนตี้บอดี้
จะมารุมกันบริเวณนั้น
ก่อให้เกิดขบวนการอักเสบ
( Inflammation ) เกิดอาการร้อน
สรุปคือ
จะเกิดอาการปวด บวม แดง
ร้อน บริเวณนั้น
เกิดการทำลายของเนื้อเยื่อแล้วจึงซ่อมแซมขึ้นภายหลัง
และจะเห็นว่าไม่ได้เกี่ยวข้องกับการติดเชื้อเลย
แต่อาการแสดงออกเหมือนกับจะเป็นฝี
ดังนั้น
การทานยาปฏิชีวนะจึงไม่ได้ประโยชน์ในแง่นี้เลย
ที่ถูกจะต้องใช้ยาบรรเทาการอักเสบ
แนะนำดูเพิ่มเติมที่
.....ระบบภูมิคุ้มกัน
|
|
|
หลักการมี 4 ข้อ
ซึ่งขอสรุปเป็นตัวย่อว่า
R I C E ( ไม่ได้แปลว่า
ข้าวนะครับ !)
ซึ่งวัตถุประสงค์คือ
ต้องการลดปริมาณเลือดที่จะมาเลี้ยงบริเวณที่บาดเจ็บ
R = Rest |
พักเฉยๆ
หยุดการเคลื่อนไหว
เพื่อป้องกันการบาดเจ็บซ้ำอีก
แล้วยังลดการไหลเวียนของเลือดบริเวณที่บาดเจ็บด้วย |
I = Ice |
ใช้ถุงน้ำแข็ง
หรือน้ำเย็นประคบ
เพื่อลดการไหลเวียนของเลือดมายังบริเวณที่บาดเจ็บ
เพราะความเย็นทำให้เส้นเลือดหดตัว
ทำให้ลดการบวม
การห้อเลือด การฟกช้ำ |
C = Compression |
ใช้ผ้ายืดพันเคล็ด
หรือจะใช้ผ้ายืดสำเร็จรูปก็ได้
เพื่อเป็นกาสรพยุงให้ข้อเท้าอยู่เฉยๆ
หรือ
ถืงแม้จะเคลื่อนไหว
ก็ช่วยผ่อนแรงได้ |
E = Elevation |
การยกส่วนที่บาดเจ็บให้สูงไว้
เพื่อลดการไหลเวียนของเลือด
เพิ่มการไหลของเลือดออกจากบริเวณที่บาดเจ็บได้เร็วยิ่งขึ้น |
หลังจากผ่านไป 2-3 วัน
แล้วจึงจะเปลี่ยนการดูแลใหม่
โดยใช้น้ำอุ่นประคบ
เดินช้าๆ
แต่ยังคงพันด้วยผ้ายืดเพื่อเป็นการพยุงข้อ
ให้ทำงานน้อยลง
ในขณะเดียวกัน
การเดินช้าๆ
ประคบน้ำอุ่นจะเป็นการฟื้นฟู
ให้เลือดไหลเวียนมาซ่อมแซม
และเป็นการยึดข้อ
ป้องกันการยึดติดของข้อ
|
|
ในกรณีที่ท่านปฐมพยาบาลผิดขึ้นตอน
เช่น การบีบนวด หรือ
การประคบด้วยน้ำอุ่นตั้งแต่แรก
จะเป็นการซ้ำเติมความเสียหาย
บาดเจ็บให้รุนแรงขึ้น
การที่ไม่พันผ้ายืดเวลาเคลื่อนไหว
ทำให้ข้อที่บาดเจ็บอยู่ต้องทำงานหนัก
การสมานของเส้นเอ็นไม่ดี
เกิดอาการที่เรียกว่า
ข้อหลวม
เป็นสาเหตุให้เกิดอาการข้อพลิก
แพลงได้ง่ายๆต่อไป
และเกิดอาการอักเสบเรื้อรังต่อไป
|