หัวริดสีดวงทวารหนัก
คือ
อาการเส้นเลือดดำโป่งพองของเส้นเลือดดำบริเวณทวารหนัก
ซึ่งเกิดจากแรงดันภายในเส้นเลือดมากขึ้น
คล้ายคลึงกับอาการเส้นเลือดขอดที่บริเวณขา
ปัจจัยที่ทำให้เกิดริดสีดวงทวารหนัก
คือ
- การยืนหรือนั่งติดต่อกันนาน
- แรงเบ่งในช่วงการถ่ายอุจจาระซึ่งเกิดจากการท้องผูก
หรือท้องเสีย
- การตั้งครรภ์
- การกระทบกระเทือน
- ความอ้วน
- กรรมพันธุ์
- ความเสื่อมตามธรรมชาติของผนังเส้นเลือด
หัวริดสีดวงทวารหนักแบ่งเป็น
2 ประเภทใหญ่ คือ
- ภายใน
อาจจะยื่นยาวออกมาภายนอกด้วยก็ได้
ประเภทนี้ไม่เจ็บ
เนื่องจากไม่มีประสาทรับความรู้สึก
- ภายนอก
เกิดจากกลุ่มเส้นเลือดบริเวณปากทวารหนักนอกกล้ามเนื้อหูรูด
ประเภทนี้เจ็บปวดมาก
เนื่องจากมีประสาทรับความรู้สึกมาหล่อเลี้ยง
ผู้ป่วยมักพบมีเลือดติดอยู่ที่อุจจาระ
หรือที่กระดาษชำระ
หรือในโถส้วม และอาจมีอาการยื่นยาวของหัวริดสีดวงทวารหนักออกมาข้างนอก
ทำให้เกิดอาการระคายเคือง
เจ็บปวด บวม
อาการริดสีดวงทวารจะรุนแรงมากขึ้น
ถ้ามีการถูไถ
เช็ดด้วยกระดาษชำระ
อุจจาระแข็งมาก
ทานอาหารรสเผ็ดจัด
ความรุนแรงของอาการในแต่ละคนจะไม่เท่ากัน
พบว่าหลายๆคนไม่เคยมีอาการเลย
ถึงแม้จะเป็นริดสีดวงทวารก็ตาม
โดยทั่วไป
ริดสีดวงทวารหนักไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ
และอาจจะหายได้เองภายในไม่กี่วัน
ถ้าแก้ปัญหาการท้องผูกได้
โรคที่เกิดบริเวณทวารหนักที่มีอาการใกล้เคียงกันมาก
ได้แก่ การฉีกขาด,
ฝี, การระคายเคือง,
คัน บริเวณทวารหนัก
โรคนี้เป็นปัญหาที่พบบ่อยมากทั้งเพศชายและหญิง
ประมาณครึ่งหนึ่งของผู้ที่เป็นพบในผู้สูงอายุมากกว่า
50 ปี
พบบ่อยในหญิงตั้งครรภ์และหลังคลอดบุตร
เนื่องจากแรงกดดันภายในช่องท้องที่เกิดจากเด็กในครรภ์
รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน
ทำให้เส้นเลือดขยายตัว
แต่กรณีนี้จะเป็นเพียงชั่วคราวเท่านั้น
จุดประสงค์ของการรักษาคือการบรรเทาอาการ
ได้แก่
- นั่งแช่น้ำอุ่น
วันละหลายๆครั้ง
ครั้งละ 10 นาที
เพื่อบรรเทาความเจ็บปวด
- ประคบด้วยน้ำแข็ง
เพื่อลดการบวม
- ใช้ยาครีม
หรือขี้ผึ้ง
หรือยาเหน็บเพื่อลดอาการบวม
เจ็บ ปวด อักเสบ
และหล่อลื่น
โดยใช้ระยะสั้น
การรักษาจะให้ได้ผลดี
จำเป็นจะต้องดำเนินไปพร้อมกับการใช้มาตรการป้องกันที่ดี
ซึ่งถึงแม้จะไม่สามารถป้องกันได้
100 %
แต่ก็สามารถช่วยลดความรุนแรงลงได้
หัวใจหลักของมาตรการป้องกันก็คือการลดแรงกดดันต่อเส้นเลือดบริเวณทวารหนัก
และลดการระคายเคืองในผนังลำไส้และทวารหนักได้แก่
- การเพิ่มอาหารที่มีเส้นใยอาหาร
หรือ ไฟเบอร์
มากขึ้น พบในผัก
ผลไม้ ธัญพืชมาก
มีผลให้อุจจาระนิ่มลง
ทำให้การทำงาน
การบีบรูดตัวของลำไส้ใหญ่มีประสิทธิภาพมากขึ้น
การถ่ายอุจจาระง่ายขึ้น
ในกรณีที่มีอุปสรรคทำให้ทานอาหารประเภทที่มีไฟเบอร์มากไม่ได้
การใช้อาหารเสริมหรือยาประเภทไฟเบอร์เสริมเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง
- หลีกเลี่ยงการยืนหรือนั่งติดต่อกันนานเกินไป
ควรเปลี่ยนอิริยาบถบ่อยๆ
- หลีกเลี่ยงการทานอาหารรสจัด
ซึ่งทำให้เกิดการระคายเคืองในผนังลำไส้ใหญ่
- หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
เพราะสามารถเป็นสาเหตุของโรคตับ
ซึ่งทำให้เกิดแรงกดดันภายในช่องท้องมากขึ้น
- หลีกเลี่ยงการใช้กระดาษชำระเช็ดถูอย่างรุนแรง
ควรใช้น้ำล้างและใช้กระดาษชำระซับให้แห้ง
- แก้ไขปัญหาท้องผูกอย่างถาวร
ด้วยการทานอาหารที่มีไฟเบอร์
ออกกำลังกายเป็นประจำ
ฝึกการถ่ายอุจจาระให้เป็นเวลา
อย่านั่งถ่ายอุจจาระนานเกินไป
ดูเพิ่มเติมได้ที่เรื่องท้องผูก
การผ่าตัด
ในบางกรณีจำเป็นต้องใช้วิธีผ่าตัด
โดยเฉพาะที่เป็นหัวใหญ่มาก
ยื่นยาวออกมาและยัดไม่เข้า
กรรมวิธีการผ่าตัดมีหลายวิธี
ดังนี้
- ใช้ห่วงยางรัดบริเวณฐานของหัวริดสีดวงทวาร
ทำให้เลือดไม่ไปเลี้ยง
ก็จะฝ่อเหี่ยวแห้งไป
และหลุดออกไปในที่สุด
- ใช้การฉีดยาบางชนิดเข้าไปที่หัวริดสีดวงทวาร
ทำให้ฝ่อไป
- แสงเลเซอร์
หรือไฟฟ้า
หรือแสงอินฟราเรด
ส่องทำให้เกิดการไหม้
- การผ่าตัดออก
เป็นวิธีที่ดีที่สุดในการกำจัดหัวริดสีดวงทวารนั้นๆออกไปอย่างถาวร
|