กองระบาดวิทยา ได้รับรายงานจากสถานบริการทั้งภาครัฐและเอกชน ตั้งแต่ ปี พ.ศ.
2527 ถึงวันที่ 31 ตุลาคม 2543 พบว่า มีผู้ป่วยเอดส์จำนวน 156,309 ราย
และมีผู้เสียชีวิต 43,069 ราย และในปี พ.ศ.2542 ได้รับรายงานผู้ป่วยเอดส์
22,267 ราย มีผู้เสียชีวิต 6,051 ราย ( ตามปีที่เริ่มป่วย)
เมื่อนำมาทำการแจกแจงตามบุคคล สถานที่ สรุปได้ดังนี้
เพศ ตั้งแต่ปี พ.ศ.
2527 ถึงวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2543 มีผู้ป่วยเพศชาย 120,467 ราย เพศหญิง
35,842 ราย อัตราส่วนเพศชายต่อเพศหญิงเท่ากับ 3.4 : 1
กลุ่มอายุ ตั้งแต่ปี
พ.ศ. 2527 ถึงวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2543 ที่พบมาก เป็นกลุ่มวัยทำงานที่มีอายุระหว่าง
20 - 39 ปี ( กลุ่มอายุ 25 - 29 ปีมีผู้ป่วยสูงที่สุดคิดเป็นร้อยละ 28.1 , รองลงมาอายุ
30 - 34 ปี ร้อยละ 24.4 , อายุ 35 - 39 ปี ร้อยละ 14.6 , อายุ 20 - 24 ปี ร้อยละ
11.4 ) ส่วนกลุ่มอายุ 0 - 4 ปี มีผู้ป่วยร้อยละ 4.1
อาชีพ ตั้งแต่ปี
พ.ศ. 2527 ถึงวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2543 พบว่า ผู้ป่วยส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้างมากที่สุด
รองลงมา คือ เกษตรกรรม , ค้าขาย , งานบ้านและข้าราชการพลเรือน (ร้อยละ 44.2, 21.0,
4.2, 3.2 และ 2.6 ตามลำดับ)
ปัจจัยเสี่ยง ตั้งแต่ปี
พ.ศ. 2527 ถึงวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2543 มีผู้ป่วยจากการมีเพศสัมพันธ์สูงที่สุด
รองลงมายาเสพติดชนิดฉีดเข้าเส้น , ติดเชื้อจากมารดา และ รับเลือด ( ร้อยละ 83.1,
5.0 ,4.7 และ 0.03 ตามลำดับ )สำหรับเพศสัมพันธ์ที่มีพฤติกรรมแบบชายรักร่วมเพศ พบว่ามีการรายงาน
ร้อยละ 0.7
จำนวนผู้ป่วยเอดส์
จำแนกตามรายเขตและรายจังหวัด ระหว่าง เดือนกันยายน ่ปี พ.ศ. 2527 ถึงวันที่ 31
ตุลาคม พ.ศ. 2543 (ดังตารางที่ 4)
ที่อยู่ปัจจุบัน ตั้งแต่เดือนมกราคม
ถึง วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2542 จังหวัดที่มีอัตราป่วยสูงที่สุด 10 อันดับแรก
คือ พะเยา รองลงมา ระนอง, เชียงราย, ระยอง, ภูเก็ต, ตราด, ลำปาง, ลำพูน, เชียงใหม่,
จันทบุรี ( อัตราป่วยต่อแสนประชากร เท่ากับ 169.4, 127.0, 121.6, 116.9, 103.4,
101.0, 96.3, 88.2, 87.0 และ 83.0 ตามลำดับ )
ภาคที่มีอัตราป่วยสูงที่สุด ตั้งแต่เดือนมกราคม ถึง วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ.
2542 คือ ภาคเหนือ รองลงมาภาคกลาง ภาคใต้ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อัตราป่วยต่อแสนประชากรเท่ากับ
56.9, 47.0, 25.8 และ 18.3 ตามลำดับ ) ังหวัดที่มีอัตราป่วยสูงที่สุดในแต่ละภาคตั้งแต่เดือนมกราคม
ถึง วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2542
มีดังนี้ ภาคเหนือ จังหวัดพะเยา ( อัตราป่วย 169.4 ต่อแสนประชากร ) , ภาคกลาง
จังหวัดระยอง ( อัตราป่วย 116.9 ต่อแสนประชากร ) ภาคใต้ จังหวัดระนอง( อัตราป่วย
126.9 ต่อแสนประชากร ) และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดเลย ( อัตราป่วย 32.1 ต่อแสนประชากร)
การเสียชีวิต ตั้งแต่ปี
พ.ศ. 2527 ถึงวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2543 จำนวนผู้ป่วยเอดส์เสียชีวิตที่ได้รับรายงานจำแนกตามปีที่เสียชีวิต
มีจำนวน 43,069 ราย คิดเป็นร้อยละ 27.5 ของผู้ป่วยเอดส์ที่ได้รับรายงานทั้งหมด
จำแนกตามปัจจัยเสี่ยงพบว่าเพศสัมพันธ์ 35,576 ราย สูงที่สุดคิดเป็นร้อยละ 82.6
รองลงมายาเสพติดชนิดฉีดเข้าเส้น 2,519 ราย ( ร้อยละ 5.9 ) ติดเชื้อจากมารดา 2,108
ราย ( ร้อยละ 4.9 ) และรับเลือด 15 ราย ( ร้อยละ 0.03 )
โรคติดเชื้อฉวยโอกาส
ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2527 ถึงวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2543
ที่ได้รับรายงานมากที่สุด 5 อันดับแรกคือ Mycobacterium tuberculosis
,Pulmonary or extrapulmonary 42,855 ราย( ร้อยละ 27.4 ) รองลงมาโรคปอดบวมจากเชื้อ
Pneumocystis carinii 30,5922 ราย ( ร้อยละ 19.6 ), Cryptococcosis 26,178 ราย (
ร้อยละ 16.7 ), Candidiasis ของหลอดอาหาร หลอดลม หรือปอด 8,236 ราย ( ร้อยละ 5.3 )
และ Pneumonia recurrent (Bacteria) มากกว่า 1 ครั้งใน 1 ปี จำนวน 5,714 ราย (
ร้อยละ 3.7 )
ผู้ติดเชื้อที่มีอาการ กองระบาดวิทยาได้รับรายงานตั้งแต่ปี
พ.ศ. 2527 ถึงวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2543 จำนวน 59,688 ราย และมีผู้เสียชีวิต
6,137 ราย สำหรับปี พ.ศ. 2542 ได้รับรายงานผู้ติดเชื้อที่มีอาการ จำนวน 8,037 ราย
และมีผู้เสียชีวิต 748 ราย (ตามปีที่เริ่มป่วย)