prevent.gif (70116 bytes)rta_ani.gif (43768 bytes)

 

ประโยชน์ของการเลิกสูบบุหรี่ต่อสุขภาพ

๑. การหยุดสูบบุหรี่ เป็นผลดีต่อสุขภาพเป็นอย่างมาก และเป็นผลดีที่เกิดขึ้นทันทีที่เลิกสูบบุหรี่ ทั้งในเพศชายและหญิง   ในทุกกลุ่มอายุ ไม่ว่าจะป่วยด้วยโรคจากการสูบบุหรี่หรือไม่ก็ตาม
๒. ผู้ที่เริ่มสูบบุหรี่ จะมีอายุยืนกว่าผู้ที่ยังคงสูบบุหรี่ต่อไป โดยผู้ที่เลิกสูบบุหรี่ก่อน อายุ ๕๐ ปี จะมีโอกาสเสียชีวิตเพียงครึ่งหนึ่งของผู้ที่ยังคงสูบบุหรี่ต่อไป เมื่อทั้งสองกลุ่มมีอายุ ๖๕ ปี
๓. การเลิกสูบบุหรี่ ลดโอกาสเสี่ยงของการเกิดมะเร็งปอด มะเร็งระบบอื่นๆ หัวใจวายกระทันหัน เส้นเลือดในสมองตีบหรือตันกระทันหัน โรคถุงลมโป่งพอง และโรคปอดเรื้อรังอื่นๆ
๔. หญิงที่หยุดสูบบุหรี่ก่อนการตั้งครรภ์ หรือระหว่าง ๓ ถึง ๔ เดือน แรกของการตั้งครรภ์ จะลดความเสี่ยงที่ลูกจะมีน้ำหนักแรกคลอดน้อยกว่าปกติ
๕. ผลดีที่เกิดขึ้นต่อสุขภาพจากการหยุดสูบบุหรี่ มีมากกว่าผลเสียที่เกิดขึ้นจากการที่มีน้ำหนักเพิ่มขึ้น ซึ่งจะเพิ่มโดยเฉลี่ย ๒.๓ กิโลกรัม
๖. ในผู้ที่หยุดสูบบุหรี่ เมื่อเทียบกับผู้ที่ยังคงสูบบุหรี่ต่อไป ความเสี่ยงของการที่เสียชีวิตจะลดลงอย่างรวดเร็วหลังเลิกสูบ และหลังจากเลิกสูบ ๑๐ - ๑๕ ปี อัตราเสี่ยงของการเกิดมะเร็งของทุกระบบจะลดลง จนเกือบเท่ากับผู้ไม่เคยสูบบุหรี่

กำไรของการเลิกสูบบุหรี่
๑. กำไรชีวิต : ถ้าไม่เลิกจะมีอายุ ๖๕ ปี    : ถ้าเลิก ( เมื่ออายุ ๓๕ - ๔๙ ปี )
                                                ผู้ชายกำไร ๕ ปี - ๗๐ ปี
                                                ผู้หญิงกำไร ๓ ปี - ๖๘ ปี
๒. การกำจัดพิษ : ถ้าเลิกสูบในขณะที่ยังไม่เกิดโรคพิษของบุหรี่ จะถูกกำจัดจนหมดสิ้นภายใน
                                                ๑๐ - ๑๕ ปี
๓. กำไรปีที่ ๑            : โอกาสเกิดโรคเส้นเลือดหัวใจตีบจะลดลง ครึ่งหนึ่ง
๔. เมื่อเลิกถึงปีที่ ๕  : โอกาสเกิดเส้นเลือดในสมองจะเท่ากับคนที่ไม่เคยสูบ
๕. เมื่อเลิกถึงปีที่ ๑๐ : โอกาสเกิดโรคมะเร็งจะลดลงครึ่งหนึ่ง และจะลดลงเรื่อยๆ ตามจำนวนปีที่สูบ
๖. อื่นๆ                 : ลดค่าใช้จ่าย      
                           : โอกาสตั้งท้องง่ายขึ้น
                           : โอกาสแท้งน้อยลง
                           : น้ำหนักจะเพิ่มขึ้น 
                           : ตายไม่ทรมานจากโรคถุงลมโป่งพอง
วิธีการเลิกสูบบุหรี่ด้วยตนเอง ที่ผู้เลิกสูบบุหรี่เลิกได้สำเร็จแนะนำ คือ

๑. เตรียมตัว ตั้งใจ ตัดสินใจแน่วแน่ว่า “ ต้องการเลิกสูบบุหรี่ด้วยตนเอง “
๒. กำหนดวัน “ ปลอดบุหรี่ “ ของตนเองอาจเป็นวันสำคัญทางศาสนา วันเกิดตนเอง หรือ บุตร -
    ภรรยา ไม่ควรเลือกช่วงเวลาที่งานเครียด ควรหา “ ใคร “ บางคนให้รับรู้ และคอยช่วยเหลือ
๓. ทิ้งบุหรี่และอุปกรณ์ทั้งหมด เพื่อมิให้สิ่งเหล่านี้ มากระตุ้นความอยากบุหรี่อีก
๔. แจ้งแก่คนในครอบครัวที่ทำงาน นายจ้าง เพื่อนสนิท เพื่อนร่วมงาน เพื่อให้เป็นกำลังใจเป็นแรงสนับสนุน
   ให้เลิก ได้สำเร็จ
๕. เมื่อถึงวันสำคัญ ที่กำหนดแล้วว่าเป็น “ วันปลอดบุหรี่ “ ให้หยุดเลย
๖. ให้งดสุรา กาแฟ อาหารรสจัด ละเว้นการรับประทานอาหารให้อิ่มจนเกินไป ไม่ควรนั่งโต๊ะ
    อาหารนาน เพราะหลังอาหารทุกมื้อจะเกิดความอยากบุหรี่อีก ควรดื่มน้ำผลไม้ เช่น น้ำส้ม
    น้ำมะนาว เพราะความเป็นกรด จะชะล้างนิโคตินออกไป
๗. ในช่วงแรกที่อดบุหรี่ จะรู้สึกหงุดหงิดให้สูดหายใจเข้า - ออก ลึกๆ   ดื่มน้ำมากๆเพื่อลดความอยาก
    หรืออาจอาบน้ำถ้าเป็นไปได้     
๘. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ หางานอดิเรกทำเพื่อคลายเครียด เพราะส่วนใหญ่หลังเลิกบุหรี่ น้ำหนักตัว
   จะเพิ่มขึ้น    การออกกำลังกาย ควบคุมอาหารลดอาหารหวานลดอาหารไขมัน จะเป็นการควบคุมน้ำ
   หนักได้ทางหนึ่ง
๙. ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ทำประจำ ตอนสูบบุหรี่ เลี่ยงสถานการณ์ สถานที่ที่เคยสูบบุหรี่อยู่เป็นประจำ
๑๐. ฝึกปฏิเสธ ซ้อมพูดกับตัวเอง - เพื่อนฝูง “ ไม่ครับ “ “ ผมไม่สูบบุหรี่แล้วครับ “

อาการที่เกิดขึ้นจากการอดบุหรี่ และวิธีแก้ไข
๑. หงุดหงิด งุ่นง่าน อยากสูบบุหรี่อีกจนแทบไม่อาจควบคุมได้ เพราะร่างกายคุณติดนิโคติน   และนี่เองเป็นสาเหตุให้คุณอยากสูบบุหรี่
- ดื่มน้ำให้มากที่สุด ดื่มบ่อยๆ เพื่อชำระนิโคตินออกจากร่างกายให้หมดไปเร็วที่สุด
- ออกกำลังกาย เช่น เดินเร็ว ปั่นจักรยาน เพื่อช่วยผ่อนคลาย เหงื่อจะช่วยขับถ่ายนิโคตินออกไป
- อาบน้ำอุ่น และถูตัวด้วยผ้าขนหนูให้ทั่วตัว จะทำให้ผ่อนคลายได้ดี
- พูดคุยกับคนข้างเคียงที่คุ้นเคย เพื่อระบายความหงุดหงิดออกไปบ้าง
- งดเว้นอาหารเนื้อสัตว์ อาหารติดมัน และอาหารรสจัดต่างๆ
- ฝึกหายใจ เข้า - ออกลึกๆ คล้ายกับถอนหายใจบ่อยๆ
๒. ง่วง กระสับกระส่าย ไม่มีสมาธิในการใช้ความคิด

- อดทนกับอารมณ์ของตัวเอง บอกคนข้างเคียงให้ทราบ และขอร้องให้อดทน เข้าใจคุณ
- แสดงออกในทางสร้างสรรค์ เช่น เต้นรำ เล่นกีฬา ออกกำลังกาย
- ถ้าทนไม่ไหวให้ทุบหรือชกหมอน หรือเข้าห้องน้ำ แล้วตะโกนก็ช่วยได้
- เขียนระบายความรู้สึกในสมุดบันทึก
- คุยปัญหากับเพื่อน

๓. หมดแรง ปวดศีรษะ ไอมีเสมหะ เจ็บคอ หายใจผิดปกติ บุหรี่เป็นตัวกระตุ้น เมื่อไม่ได้สูบทำให้
    หมดแรงเป็นธรรมดา

- หากิจกรรมที่กระตุ้นความรู้สึกมีชีวิตชีวาขึ้น เช่น ออกกำลังกาย
- พักผ่อนด้วยวิธีการนอน หรือออกไปสูดอากาศในธรรมชาติ
- ดื่มน้ำอุ่น หรือน้ำผลไม้จะช่วยให้ชุ่มคอ
- รับประทานยาแก้ปวด

        อาการทางกายเหล่านี้ เป็นการเปลี่ยนแปลงทางเคมี เพื่อปรับตัวเข้าสู่ภาวะปกติเท่านั้น อย่าตกใจ อาการจะเป็นเพียงชั่วคราว ประมาณ ๗๒ ชั่วโมงเท่านั้น


กรมแพทย์ทหารบกemail1.gif (1209 bytes)armymed@amed.rta.mi.th
Webmaster พอ.พร้อมพงษ์    พีระบูล email pbool@inet.co.th
 


 

1