การกินอาหารหลังการแข่งขันไม่มีข้อจำกัดอย่างใด หลักใหญ่คือ พยายามกินชดเชยพลังงานที่ใช้ไป ตลอดจนน้ำและเกลือแร่ที่สูญเสียไประหว่างการแข่งขัน ตัวอย่างเช่น ถ้าเป็นการแข่งขันที่ต้องใช้เวลานาน เช่นการวิ่งมาราธอน ก็ต้องกินอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตสูง และมีปริมาณเกลือแร่เพียงพอ โดยเฉพาะโพแพแทสเซียม ซึ่งมีมากในผลไม้ประเภทส้ม กล้วย และในถั่วเมล็ดแห้ง ในการแข่งขันที่ต้องสูญเสียพลังงานไปมาก การกินชดเชยอาจทำไม่ได้ในมื้อเดียว แต่จะต้องใช้เวลา 2-3 วัน กว่าจะมีการสร้างและสะสมไกลโคเจน ในกล้ามเนื้อกลับคืนสู่สภาพเดิม
เนื่องจากอาหารต่างชนิดกันมีองค์ประกอบไม่เหมือนกัน อาหารเพียงชนิดเดียว จึงไม่สามารถเป็นแหล่งของสารอาหารทุกชนิดในปริมาณที่ร่างกายต้องการได้ เราจึงต้องบริโภคอาหารทั้ง 5 หมู่ ทุกมื้อ ทุกวัน สำหรับหมู่ผักและผลไม้ สามารถรับประทานทดแทนกันได้
ร่างกายจะมีสุขภาพอนามัยที่แข็งแรงและสมบูรณ์ได้นั้น ปัจจัยหนึ่งที่จะช่วยได้ก็คือรับประทานอาหารให้ถูกต้อง และเหมาะสมตามหลักโภชนาการ อาหารที่ดีมิได้หมายความถึงอาหารที่มาจากภัตตาคารชั้นสูง ราคาแพง ๆ แต่หมายความถึงอาหารที่มีสารอาหารครบตามที่ร่างกายต้องการ และเมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้วร่างกายสามารถนำไปใช้ประโยชน์ สร้างความเจริญเติบโต และซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกายได้
( ข้อมูลจาก การกีฬาแห่งประเทศไทย)
สำหรับกีฬาบางประเภท โดยเฉพาะฟุตบอล เทนนิส แบดมินตัน มวยสากล การแข่งขันไม่ได้สิ้นสุดเพียงครั้งเดียว บางครั้งอาจ จำเป็นต้องลงแข่งแทบทุกวัน หรือแม้กระทั่งการวิ่ง บางครั้งมีสนามวิ่งซึ่งขัดไม่ได้จำเป็นต้องเข้าร่วมทั้ง เสาร์และอาทิตย์
ดังนั้นภายหลังการแข่งขันแต่ละครั้ง โดยเฉพาะช่วงหลังของการแข่งขัน นักกีฬาส่วนใหญ่จะไม่อยู่ในสภาพพร้อมที่จะแข่งขัน วันต่อไป ดังนั้นอาหารภายหลังการแข่งขันแต่ละครั้งจะมีความสำคัญอย่างมาก เพื่อให้นักกีฬาสามารถฟื้นตัวได้เร็ว โดยเฉพาะถ้าเป็น การแข่งขันที่ใช้เวลานาน ปริมาณไกลโ
คเจนที่สะสมในร่างกายอาจจะหมดไปได้ และการที่ร่างกายจะสะสมไกลโคเจนให้กลับมา ในปริมาณเท่าเดิมได้ต้องใช้เวลาอย่างน้อย 20 ชั่วโมง โดยมีอัตราสะสมประมาณร้อยละ 5 ต่อชั่วโมง แต่ในช่วง 2 ชั่วโมงแรกภายหลัง การแข่งขัน ไกลโคเจนจะสามารถเก็บสะสมด้วยอัตรามากกว่าปกติ โดยเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 7 ดังนั้นการได้รับอาหารภายใน 2 ชั่วโมง หลังการแข่งขัน จึงมีความสำคัญอย่างมาก
ข้อมูลจาก กองโภชนาการ กรมอนามัย