การตรวจระบบทางเดินปัสสาวะ

การตรวจที่นิยมใช้บ่อย ๆ มีดังนี้ คือ

1.IVP (Intravenous Pyelography)

เป็นการฉีดสารทึบรังสีเข้าทางหลอดเลือดดำเพื่อให้มีการขับออกทางไต ผ่านท่อหลอดไตลงสู่กระเพาะปัสสาวะ ซึ่งจะช่วยในการศึกษารูปร่างและการทำงานของอวัยวะในระบบทางเดินปัสสาวะได้ตามต้องการ โดยการถ่ายภาพเก็บไว้เป็นระยะ ๅ

การเตรียมผู้ป่วย

  1. ให้งดน้ำ เพื่อช่วยเพิ่มความคมชัดของสารที่ขับออกจากไต
  2. การเตรียมลำไส้ โดยใช้ยาระบาย และ/หรือการสวนล้างลำไส้

ข้อควรระวังในการตรวจ

  1. ผู้ป่วยแพ้สารไอโอดีน เช่น แพ้อาหารทะเล มีประวัติหอบ หืด หรือภูมิแพ้อื่น ๆ
  2. พิจารณาพิเศษ ในรายที่การทำงานของไตบกพร่อง (Serum Creationine > 4 mg%)

2.RP(Retrograde Pyelography)

เป็นการตรวจหาพยาธิสภาพภายในช่องทางเดินปัสสาวะส่วนบน โดยการใช้กล้องส่องเข้าไปในท่อหลอดไต แล้วฉีดสารทึบรังสีเข้าตามสายสวนแล้วถ่ายภาพไว้

ข้อจำกัด

ข้อดี

  1. ใช้ในผู้ป่วยที่แพ้สารทึบรังสี
  2. ใช้ในผู้ป่วยที่มีการทำงานของไตบกพร่อง

3. VCUG(Voiding Cysto-Urethrography)

เป็นวิธีการตรวจทางเดินปัสสาวะส่วนล่าง ซึ่งบอกทั้งรูปร่าง และการทำงานของกระเพาะปัสสาวะเและท่อปัสสาวะด้วย ซึ่งมีประโยชน์ช่วยหาสาเหตุในผู้ป่วยเด็กที่มีการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะบ่อย ๆ หรือผู้ใหญ่ที่มีปัญหาเรื่องปัสสาวะเล็ด

ทำการตรวจโดยการฉีดสารทึบแสงผ่านสายสวนปัสสาวะ เข้าไปในกระเพาะปัสสาวะจนเต็มแล้วให้ผู้ป่วยพยายามปัสสาวะพร้อมทั้งถ่ายภาพเก็บไว้

ข้อแนะนำ

  1. ในผู้ป่วยแพ้สารทึบรังสี มีประวัติโรคหอบหืด หรือภูมิแพ้อื่น ๆ ควรแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบก่อน
  2. ในผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง ควรแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบก่อน
  3. ในผู้ป่วยที่ตั้งครรถ์ หรือสงสัยว่าตั้งครรถ์ ควรแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบก่อน
  4. การเตรียมตัวก่อนตรวจตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่เพื่อประโยชน์แก่ผู้ป่วยเอง รวมทั้งให้ได้ภาพของการตรวจชัดเจน และป้องกันภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้
  5. ปริมาณรังสีที่ผู้ป่วยได้รับจากการตรวจไม่ถึงระดับที่เป็นอันตรายต่อผู้ป่วยในภาวะปกติทั่วไป

การตรวจระบบทางเดินอาหาร

การตรวจที่นิยมใช้บ่อย ๆ มีดังนี้ คือ

  1. การกลืนแป้ง
    1. Barium Swallowing (BS), Esophagography เป็นการกลืนแป้งเพื่อตรวจเยื่อบุผิวตั้งแต่คอหอย หลอดอาหาร จนถึงกระเพาะอาหาร ส่วนต้น
    2. Upper GI Study (UGIS) เป็นการกลืนแป้ง เน้นการตรวจเยื่อบุของกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น
    3. GI follow through, Long GI study เป็นการตรวจโดยการกลืนแป้ง เน้นดูเยื่อบุของลำไส้เล็กทั้งหมด

การเตรียมตัว

ผู้ป่วยงดน้ำ งดอาหาร ตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่เพื่อให้ภาพที่ได้จากการตรวจมีความชัดเจนแปรผลได้ดี

ข้อดี

  1. เป็นการตรวจผิวเยื่อบุของทางเดินอาหารส่วนต้น ทั้งกรณีที่พยาธิสภาพจากภายนอกเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น กดเบียดทางเดินอาหาร มีรูรั่วหรือมีการตีบตัน
  2. ไม่เคยปรากฏว่ามีการแพ้สารทึบรังสีชนิดนี้

ข้อจำกัด

ในผู้ป่วยไม่รู้สติ หรือมีปัญหาการกลืนอาจทำให้เกิดการสำลัก แต่ถ้าจำเป็นต้องตรวจก็จะใช้สายส่งอาหารช่วย

2. การตรวจโดยการสวนแป้ง (Barium Enema , BE) เป็นการตรวจผิวเยื่อบุของลำไส้ใหญ่ โดยใส่แป้งผ่านสายสวนทางทวารหนักเข้าไป จนถึงลำไส้เล็กส่วนปลาย

ข้อดี คล้ายในการตรวจกลืนแป้ง

ข้อจำกัด




แผนกรังสีกรรม รพ.ค่ายสุรนารี โทร 273370-5 ต่อ 23335-6

 

1