flag-trirong.gif
การควบคุมวัณโรคด้วย

"Non-Family DOT"

จุดประสงค์หลักของ Homepage นี้ เพื่อสนับสนุนการควบคุมวัณโรคด้วย "non-family DOT" ในประเทศไทย (DOT เป็นหนึ่งองค์ประกอบสำคัญของกลยุทธ์ DOTS ที่องค์การอนามัยโลกแนะนำให้ใช้ควบคุมวัณโรค) โดยเน้นให้เจ้าหน้าที่ด้านสุขภาพเป็นพี่เลี้ยงให้บริการ DOT ที่มีคุณภาพแก่ผู้ป่วยวัณโรค

คำเตือน: ท่านโปรดพิจารณาอย่างรอบคอบโดยใช้ดุลยพินิจของท่านเองในการนำเนื้อหาหรือบทความใน Web นี้ไปปรับใช้หรืออ้างอิงทางวิชาการ โดยผู้เขียนไม่รับรองและไม่รับผิดชอบผลที่จะเกิดขึ้นตามมาจากการนำไปปรับใช้หรืออ้างอิงนั้น

หากท่านมีความประสงค์ในการเสนอความคิดเห็น หรือพบข้อความผิดพลาด/ไม่ถูกต้องใน Web นี้ หรือไม่สามารถ download/เปิด link ใดได้ กรุณาติดต่อที่ phanchai@yahoo.com จะเป็นพระคุณอย่างสูง

การไม่ทำ DOT โดยญาติผู้ป่วย คือ จุดเปลี่ยนสู่ความสำเร็จในการควบคุมวัณโรค หากเราไม่ใช้ญาติทำ DOT เราจะเริ่มนับหนึ่งในการควบคุมวัณโรค แต่ถ้ายังใช้ญาติ ส่วนใหญ่จะเป็น DOT ญาติ 100% เพราะเจ้าหน้าที่สบาย ผู้ป่วยก็สบาย ...ขอให้กลับไปดูข้อมูลตัวเลขระบาดวิทยาวัณโรคดีๆ ว่าจำนวนผู้ป่วยวัณโรคเพิ่มขึ้นทุกปีและคนวัยทำงานก็ยังป่วยด้วยวัณโรคอยู่ใช่หรือไม่...

หากเราไม่ได้ทำ DOT อย่างถูกต้อง เปรียบเสมือนกับเรามิได้ทำอะไรให้กับผู้ป่วยเลย

หนทางรอดในการควบคุมวัณโรคให้ประสบความสำเร็จ:
..."ความเข้าใจ" ของเจ้าหน้าที่ด้านสุขภาพว่าต้องทำ DOT จริงที่มีคุณภาพเท่านั้น (ไม่ทำ DOT โดยญาติผู้ป่วยด้วย)...สำคัญที่สุดเป็นอันดับหนึ่ง...
...เจ้าหน้าที่ด้านสุขภาพมี "เทคนิคในการต่อรอง" ให้ผู้ป่วยวัณโรค "เข้าใจ" และ "ยอมรับ" การมารับบริการ DOT จากเจ้าหน้าที่ด้านสุขภาพ...เป็นอันดับสอง...
...การให้การช่วยเหลือสังคมสงเคราะห์กับผู้ป่วยวัณโรคในการเดินทางมารับบริการ DOT สำหรับกรณีผู้ป่วยยากจนที่ต้องการรับความช่วยเหลือจริงๆ เท่านั้น...เป็นอันดับสาม...

โปรโมชั่นสุดฮ็อตฮิตวันนี้: 1 อำเภอ 1 DOT(จริงโดยเจ้าหน้าที่ด้านสุขภาพ) จังหวัดที่เริ่มโปรโมชั่นนี้แล้ว ได้แก่ นนทบุรี, เชียงใหม่, พะเยา, สระบุรี และ 7 จังหวัดในเขต 11 (นครศรีธรรมราช, สุราษฎร์ธานี, ชุมพร, ระนอง, กระบี่, พังงา และภูเก็ต)...ขณะที่หลายจังหวัดยังไม่ได้เริ่ม...
โปรโมชั่นสุดฮ็อตฮิตระยะต่อไป: 1 สอ. 1 DOT(จริงโดยเจ้าหน้าที่ด้านสุขภาพ) จังหวัดที่ (ใจกล้า...) ประกาศว่าจะใช้โปรโมชั่นนี้ คือ สมุทรปราการ
จังหวัดใดจะ "เพิ่ม", "เปลี่ยน" หรือ "ถอน" โปรโมชั่นไหน...กรุณาแจ้งไปที่ phanchai@yahoo.com ด่วน..ด่วน..ด่วน......

คำคมเรื่อง DOT กล่าวโดย พญ.อุทุมพร กำภู ณ อยุธยา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุราษฎร์ธานี (ปัจจุบันท่านดำรงตำแหน่งนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดชุมพร)ในการประชุม DOTS Meeting ของจังหวัดสุราษฎร์ธานี ณ ห้องประชุมสำนักงานสาธารณสุขสุราษฎร์ธานี เมื่อวันพุธที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2549:
1. "เจ้าหน้าที่มีความน่าเชื่อถือมากที่สุดในการทำ DOT หากเจ้าหน้าที่ไม่เชื่อถือตัวเอง แล้วจะเชื่อถือใคร..."
2. "ญาติเป็นพี่เลี้ยงในการทำ DOT ไม่ได้... ญาติเป็นได้เพียง "ผู้ช่วยพี่เลี้ยง" เท่านั้น..."

คำคมเรื่อง DOT กล่าวโดย นายมงคลรัตน์ บุญญานุรักษ์ สถานีอนามัยบ้านปากนคร อ.เมือง จ.นครศรีฯ ในการสัมมนา DOTS เขต 11 ณ ห้องประชุมโรงแรมทวินโลตัส จ.นครศรีฯ เมื่อวันพุธที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2550: "การทำ DOT อาศัยความเข้าใจมากกว่าความรู้"

คำย่อ:
สอ. = สถานีอนามัย
AFB = Acid-fast bacilli เชื้อแบคทีเรียชนิดแท่งย้อมสีทนกรด
DOT = Directly-Observed Treatment หรือ การกำกับดูแลการรับประทานยาต่อหน้าพี่เลี้ยง
DOTS = Directly-Observed Treatment, Short-course ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบที่กล่าวโดยย่อ คือ นโยบาย, การตรวจเสมหะ AFB, DOT (พี่เลี้ยงดูกินยาต่อหน้า), ยาวัณโรค, และ ระบบทะเบียนรายงาน
IPD = In-patient department แผนกหรือหอผู้ป่วยใน
OPD = Out-patient department แผนกผู้ป่วยนอก

ขอกราบขอบพระคุณทุกท่านที่แวะเข้ามาเยี่ยมชมครับ

นพ.พันธ์ชัย รัตนสุวรรณ
นายแพทย์ 9 วช ด้านเวชกรรมป้องกัน
ที่อยู่: อาคารศูนย์วัณโรคเขต 11 นครศรีธรรมราช ZTC1150.gif
ถนนเทวบุรี ตำบลโพธิ์เสด็จ อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช
จังหวัดนครศรีธรรมราช 80000
โทรศัพท์และโทรสาร 0-7535-6549
E-mail address: phanchai@yahoo.com

ประวัติส่วนตัว7 กันยายน 2550

เอกสารอิเล็คโทรนิค (E-documents) ประกอบการประชุมวิชาการวัณโรคและโรคระบบการหายใจระดับชาติ ครั้งที่ 7 เพื่อเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 ในวันที่ 2-3 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 ณ โรงแรมโซฟิเทล เซ็นทรัล พลาซ่า กรุงเทพฯ:
1. บทคัดย่อ เรื่อง DOT (Directly-Observed Treatment) ของ นพ.พันธ์ชัย รัตนสุวรรณ ประกอบการอภิปรายหัวข้อ How to improve compliance in TB patients? ในวันอังคารที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 เวลา 13.30 - 15.00 น.
2. Proceedings เรื่อง DOT (Directly-Observed Treatment) ของ นพ.พันธ์ชัย รัตนสุวรรณ ประกอบการอภิปรายหัวข้อ How to improve compliance in TB patients? ในวันอังคารที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 เวลา 13.30 - 15.00 น.

เอกสารอิเล็คโทรนิค (E-documents) ประกอบการอภิปรายหัวข้อ "แนวทางการดำเนินงานสู่ความสำเร็จการควบคุมวัณโรคปี 2552" ในการประชุมการประสานงานการดำเนินงานวัณโรคระหว่างสำนักวัณโรคและสำนักงานป้องกันควบคุมโรค วันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 เวลา 08.30 – 10.30 น. ณ โรงแรมดวงตะวัน จังหวัดเชียงใหม่:
การสร้างเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในงานวัณโรค

ผลการทบทวนแผนงานควบคุมวัณโรคแห่งชาติ ครั้งที่ 4 วันที่ 16-27 กรกฎาคม 2550:
ข้อสรุปและข้อเสนอแนะที่สำคัญ

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดที่มีผลการดำเนินงาน DOTS ดีเด่นด้านต่างๆ ในเขต 11 ปีงบประมาณ 2544 - 2549:
เชิญเปิดดูหรือ Download ครับ

ตารางแผนกิจกรรมวัณโรค สคร.ที่ 11 จ.นครศรีธรรมราช ปีงบประมาณ 2550: วันที่ ...
การประชุม/อบรม ประจำเดือน... 2550:
วันที่ ..: เป็นวิทยากร DOTS ... (งบประมาณ ...)
วันที่ ..: ประชุม ... (งบประมาณกองทุนโลกเขตเมือง)
การนิเทศงานเฉพาะกิจวัณโรค ประจำเดือน... 2550:
วันที่ .. นิเทศงาน รพ. ... (งบประมาณกองทุนโลก TB/HIV)

ต้นแบบ slide สำหรับ รพ. ใช้นำเสนอใน DOTS meeting ระดับจังหวัดDOTS/DOT

ชุด Slide ประกอบการบรรยาย DOTS/DOT

บทความตีพิมพ์:
1. วารสารวัณโรคและโรคทรวงอก:
1.1 บทความพิเศษ เรื่อง ทำไมต้องรักษาผู้ป่วยวัณโรคด้วย DOT?
1.2 บทความวิจัยเรื่อง การศึกษาการส่งต่อผู้ป่วยวัณโรครายใหม่เสมหะบวกโดยวิธี REFER จากศูนย์วัณโรคเขต 11 นครศรีธรรมราช ไปโรงพยาบาลชุมชนในจังหวัดนครศรีธรรมราช
2. สงขลานคริทร์เวชสาร: การดำเนินงาน DOT โดยมอบหมายการเป็นพี่เลี้ยงให้บุคคลอื่นที่ไม่ใช่ญาติผู้ป่วย: รูปแบบของศูนย์วัณโรคเขต 11 นครศรีธรรมราช ปีงบประมาณ 2542-2543 หมายเหตุ: แก้ไขคำผิด (Erratum)

หนังสือที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นรูปเล่มแล้ว...ท่านสามารถ Download ในรูปแบบ E-book ครับ:
1. หลักการควบคุมวัณโรค: ประสบการณ์ 10 ปีปกหนังสือ
2. แนวทางการดำเนินงานรักษาผู้ป่วยวัณโรค สำหรับเจ้าหน้าที่ศูนย์สุขภาพชุมชน/สถานีอนามัย มีเนื้อหาน่าสนใจ ได้แก่ สารพัดข้ออ้างที่เจ้าหน้าที่ด้านสุขภาพจะไม่ทำ DOT, เทคนิคการต่อรองกับผู้ป่วยเพื่อทำ DOT, ... and ใหม่วันที่ 5 เม.ย. 2552 --- ขออภัย ยังไม่ได้ Upload ปกหนังสือสี่สีครับ
3. ระบาดวิทยาและวัณโรค (2551):
3.1 บทที่ 1 บทนำทางระบาดวิทยา (Introduction of Epidemiology)
3.2 บทที่ 2 ปัจจัยสามทางระบาดวิทยา (Epidemiologic Triad)
3.3 บทที่ 3 การป้องกัน (Prevention)
3.4 บทที่ 4 ระบาดวิทยาเชิงพรรณนา (Descriptive Epidemiology)
3.5 บทที่ 5 ปรากฏการณ์ภูเขาน้ำแข็งทางระบาดวิทยา (Iceberg Phenomenon)
3.6 บทที่ 6 การทดสอบเพื่อตรวจคัดกรองโรค (Screening Test) -- ได้แก้ไขหน้า 6-6 โดยเพิ่มเติม "ภาพที่ 4 ตัวอย่างสถานการณ์ A" ครับ
3.7 บทที่ 7 ความผิดพลาดที่พบบ่อยทางระบาดวิทยา (Errors in Epidemiology)
3.8 ส่วนประกอบอื่นๆ ในฉบับ: [ปกใน]; [หลังปกใน] -- หลังปกใน ได้แก้ไขหัวข้อจำนวน จาก "200" เล่มเป็น "500" เล่ม และเพิ่มเติมในหัวข้อ "พิมพ์ที่" ครับ; [ผู้เขียน]; [คำนำ]; [สารบัญ] -- สารบัญ ได้แก้ไขชื่อบทที่ 3 จาก "หลักการป้องกัน" เป็น "การป้องกัน" และชื่อบทที่ 6 จาก "การตรวจเพื่อการคัดกรองโรค" เป็น "การทดสอบเพื่อตรวจคัดกรองโรค" ครับ
หมายเหตุ: หนังสือ "ระบาดวิทยาและวัณโรค" ... ขออภัยที่ยังไม่ได้ Upload ปกหน้าและปกหลังสี่สี ผมจะ Update ให้ภายหลัง โปรดกรุณาเข้ามาเยี่ยมชมอีกครั้ง...ขอขอบพระคุณครับ

เอกสารอิเล็คโทรนิค (E-documents):
1. บทความ เรื่อง แพทย์กับการควบคุมวัณโรค
2. คำแนะนำสำหรับผู้มารับบริการที่คลินิกวัณโรค สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 11 จังหวัดนครศรีธรรมราชเป็นแนวทางสำหรับโรงพยาบาลขนาดใหญ่ เพื่อป้องกันความผิดพลาด ที่อาจมีผู้ป่วยวัณโรคมาตรวจโดยไม่ให้ประวัติว่ากำลังรักษาวัณโรคอยู่ที่โรงพยาบาลใกล้บ้าน
3. แบบทดสอบก่อน/หลังอบรม เรื่อง การควบคุมวัณโรคเป็นแบบทดสอบประเภท "ตัวเลือก" update 14 มี.ค. 49 ปรับปรุงตัวเลือกในคำถามข้อ 7 และข้อ 18 ครับ
4. แบบทดสอบ "ก่อน" อบรม เรื่อง การควบคุมวัณโรค ชุดที่ 1ชุดที่ 2(เป็นแบบสอบถามประเภท "อธิบายเหตุผล" เพื่อกระตุ้นแนวคิดของผู้เข้าอบรมและแนะนำให้ใช้เฉพาะก่อนอบรมเท่านั้น)
5. บทความ เรื่อง แนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยวัณโรคแบบ Intensive Tuberculosis Case Management
6. Flow chart ช่องทางด่วนสำหรับการตรวจวินิจฉัยผู้ป่วยที่มีอาการน่าสงสัยวัณโรคที่ OPDFlow chart ช่องทางด่วนสำหรับการตรวจวินิจฉัยผู้ป่วยที่มีอาการน่าสงสัยวัณโรคที่ IPD
7. บทความ เรื่อง การทำ DOT และเทคนิคการต่อรอง
8. บทความ เรื่อง สารพัดข้ออ้างของเจ้าหน้าที่เพื่อไม่ทำ DOT
9. บทความ เรื่อง แนวทางการผสมผสานการดำเนินงานวัณโรคและโรคเอดส์ระดับอำเภอในเขต 1129 มี.ค. 49
10. ปฏิทินการรายงานประเมินผลการดำเนินงานวัณโรค ปีงบประมาณ 2549 - 2551

เอกสารอิเล็คโทรนิคใหม่ (E-documents):
1. บทความ เรื่อง เราจะเริ่มทำ DOT ที่มีคุณภาพในอำเภอได้อย่างไร
2. บทความ เรื่อง กลไกสำคัญที่ทำให้ DOT ในอำเภอมีคุณภาพและมีความยั่งยืน
3. รายงานการสอบสวนผู้ป่วยวัณโรคประเภท "การรักษาล้มเหลว"
4. บทสรุปสำหรับผู้บริหารเรื่อง "ปัญหาวัณโรคในประเทศไทย"
5. แนวทางปฏิบัติแบบ Best Practice สำหรับการดูแลรักษาผู้ป่วยวัณโรค
6. การวิเคราะห์รายงานงวดผลการรักษาผู้ป่วยวัณโรครายใหม่เสมหะพบเชื้อ (สำหรับ สคร. - ทีมนิเทศกระทรวง, และสำหรับ สสจ. ด้วยครับ)

ชุดเอกสารอิเล็คโทรนิค การประกันคุณภาพการควบคุมวัณโรค สำหรับโรงพยาบาลและเครือข่ายบริการสุขภาพ และตัวชี้วัดวัณโรค:
1. Gap Analysis ด้านวัณโรค สำหรับการประเมินภายในเพื่อพัฒนาการประกันคุณภาพด้านวัณโรค สำหรับโรงพยาบาลและเครือข่ายบริการสุขภาพ โดย กลุ่มวัณโรค (กองวัณโรค เดิม)
2. แนวทางการประกันคุณภาพการควบคุมวัณโรค สำหรับโรงพยาบาลและเครือข่ายบริการสุขภาพ ฉบับ นพ.พันธ์ชัย รัตนสุวรรณ
3. บทความ เรื่อง ตัวชี้วัดวัณโรค (TB Indicators) โดย นพ.พันธ์ชัย รัตนสุวรรณ
4. แบบนิเทศงานเฉพาะกิจวัณโรค "การประเมินภายนอกด้านคุณภาพการดำเนินงานวัณโรคระดับอำเภอ" โดย สคร.1111 ธ.ค. 49 เรื่องการประกันคุณภาพการตรวจเสมหะ AFB ครับ...
5. แนวทางการประกันคุณภาพโรงพยาบาลด้านการควบคุมวัณโรคในเขต 11
6. การประเมินการประกันมาตรฐานคุณภาพ DOTS ขั้นพื้นฐานระดับศูนย์สุขภาพชุมชน/สถานีอนามัย

ชุดเอกสารอิเล็คโทรนิค คู่มือแนวทางการจัดการดูแลรักษาผู้ป่วยวัณโรคประเภทล้มเหลว (FAILURE) สำหรับโรงพยาบาลเครือข่ายระดับอำเภอในพื้นที่เขต 11: 29 มี.ค. 2550 - ของดเผยแพร่เอกสารชุด ข. และ ชุด ง. ครับ - เหตุการณ์เปลี๊ยนไป๋...
1. หน้าปก+คำนำ
2. ชุด ก. คำแนะนำสำหรับแพทย์ เมื่อมีผู้ป่วยวัณโรคประเภทล้มเหลว (Failure) ในโรงพยาบาลพื้นที่เขต 11
3. ชุด ข. แนวทางการเบิกใช้ยาวัณโรคสำรอง (Reverse Drugs) และการดูแลรักษาผู้ป่วยวัณโรคประเภทล้มเหลว (Failure) ในเขต 11 - งดเผยแพร่เอกสารชุดนี้แล้ว เนื่องจากปัจจุบันยาวัณโรคสำรองอยู่ในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า -
4. ชุด ค. แนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยวัณโรคประเภทล้มเหลว (Failure) เขต 11
5. ชุด ง. แนวทางการสนับสนุนยาวัณโรคแนวที่สอง (Second Line Drug) สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 11 จังหวัดนครศรีธรรมราช ปีงบประมาณ 2549 - งดเผยแพร่เอกสารชุดนี้แล้ว เนื่องจากปัจจุบันยาวัณโรคสำรองอยู่ในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า -
6. ชุด จ. การส่งตัวอย่างเสมหะทางไปรษณีย์เพื่อการเพาะเชื้อวัณโรค
7. ชุด ฉ. ตัวอย่างบัตรการรักษาและทะเบียนวัณโรคดื้อยา กลุ่มวัณโรค (กองวัณโรค เดิม) สำนักโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค

คำถามพื้นฐาน 3 ข้อ สำหรับคนทำงานวัณโรคที่ท่านต้องอธิบายตัวเองให้ได้:
1. วัณโรคเป็นปัญหาของประเทศไทยจริงหรือ...? [Why TB?]
2. ทำไมต้องทำ DOT? (เหนื่อยนะจะบอกให้...) [Why DOT?]
3. ทำไมไม่ยอมรับให้ญาติเป็นพี่เลี้ยงทำ DOT? [Why not FM?] (FM = family member)

คำถามที่พบบ่อย:
1. ผู้ป่วยวัณโรคน่ากลัวหรือไม่?
2. วัคซีน BCG ช่วยควบคุมวัณโรคได้หรือไม่?
3. ผลเสมหะ AFB เป็น scanty หมายถึงอะไร และจะทำอย่างไร?

ภาพการอบรม/ประชุมวัณโรคในเขต 11:
1. การอบรม PTC/เจ้าหน้าที่คลินิกวัณโรคในเขต 11 ปีงบประมาณ 2547

อนึ่ง ผมได้ทำหน้าที่นำเสนอเพื่อให้ DOT ที่มีคุณภาพเป็น "นโยบาย" แล้ว Certificate2005.gif แต่จะอย่างไรต่อไปนั้น...

นานาทัศนะเกี่ยวกับกรมควบคุมโรค:
1. บทความเรื่อง กรมควบคุมโรคจะพัฒนาบุคลากรของกรมอย่างไร โดย นพ.พันธ์ชัย รัตนสุวรรณ
2. บทความเรื่อง การจัดการความรู้กับการควบคุมวัณโรค โดย นพ.พันธ์ชัย รัตนสุวรรณ
3. บทความเรื่อง บทบาทภารกิจหลักที่แท้จริงของกรมควบคุมโรคคืออะไร โดย นพ.พันธ์ชัย รัตนสุวรรณ

เอกสารอิเล็คโทรนิค สำหรับนักศึกษา กศ.บป. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช วิชา วิทยาการระบาด (รหัสวิชา 4073103):
1. โปรแกรมการเรียนการสอนวิชาวิทยาการระบาด ปีการศึกษา 1/2549
2. แบบฟอร์มประวัตินักศึกษา
3. แบบฝึกหัดระบาดวิทยา 10 เรื่อง
4. แบบฟอร์มรายงาน "ระบาดวิทยาทางสังคม"
5. เอกสารประกอบการบรรยายเรื่อง "ความผิดพลาดที่พบบ่อยทางระบาดวิทยา"

ผลการเรียนอย่างไม่เป็นทางการของนักศึกษา กศ.บป. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช วิชา วิทยาการระบาด (รหัสวิชา 4073103) ภาคเรียน 1/2549:(ประกาศผลอย่างไม่เป็นทางการเมื่อ 10 ต.ค. 2549)
1. ศูนย์ ม.ราชภัฏฯ หมู่เรียน 01
2. ศูนย์ ทุ่งสง หมู่เรียน 01
3. ศูนย์ ทุ่งสง หมู่เรียน 02
ผลการเรียนอย่างไม่เป็นทางการ ภาคเรียน 1/2550:(ประกาศผลอย่างไม่เป็นทางการเมื่อ 15 ต.ค. 2550)
1. ศูนย์ ม.ราชภัฏฯ หมู่เรียน 01

Links ที่น่าสนใจครับ


This page hosted by  Get your own Free Home Page
 

Updated ล่าสุด วันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2552


 
Number of visitors:

Hockey tickets theatre tickets

 
Today is 

 
[ Yahoo! ] options
1