ประเทศไทย
สภาพภูมิศาสตร์
พื้นที่ 513,115 ตร.กม.ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ทางการเกษตร มีพื้นที่ป่าไม้ 27% พื้นที่ลุ่มน้ำ
25 แห่งลุ่มน้ำที่สำคัญคือ ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ปริมาณฝนเฉลี่ย 1,710 มล. ภาคใต้มีปริมาณ
ฝนเฉลี่ยมากที่สุดคือ 1465 มล.ทางฝั่งตะวันออกและ 2,087 มล.ทางฝั่งตะวันตก โดยเฉพาะ
ที่จังหวัดระนองวัดได้ 3,363 มล. ภาคตะวันออก มีปริมาณ ฝนเฉลี่ย 1541 มล. ภาคเหนือ
1,142 มล. ภาคอิสาน 1,243 มล. ภาคกลาง 1,123 มล.ปริมาณฝนที่วัดได้มากที่สุดคือที่
อำเภอคลองใหญ่จังหวัดตราด 4,185 มล. (สถิติปี 2538)

จังหวัดที่มีพื้นที่มากที่สุด คือนครราชสีมา พื้นที่ 20,494 ตร.กม. ร้อยละ 3.99 ของทั้งประเทศ
รองลงมาคือเชียงใหม่ 20,107.1 ตร.กม. ร้อยละ 3.92 จังหวัดที่มีประชากรมากที่สุดรองจาก
กรุงเทพฯคือนครราชสีมา มีประชากร 2,467,831 คน รองลงมาคืออุบลราชธานี 1,696,795
คน อันดับที่ 3 คือจังหวัดขอนแก่น 1,652,030 คน อันดับที่ 4 คือเชียงใหม่ 1,552,766 คน

ความชื้นสัมพัทธ์มีค่าเฉลี่ย 71 - 80 % ภาคกลางและภาคใต้มีความเปลี่ยนแปลงค่าของความ
ชื้นสัมพัทธ์น้อยประมาณ 75 - 80 % เพราะได้รับอิทธิพลจากทะเลตลอดปี

การส่งออก
สินค้าส่งออกหลักเป็นสินค้าทางการเกษตรเช่น ข้าว มันสัมปะหลัง และน้ำตาล เป็นต้น แต่ปัจ
จุบันสินค้าอุตสาหกรรมมีแนวโน้มขยายตัวสูงขึ้น โดยเฉพาะอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ที่ทำเงิน
เข้าประเทศเป็นอันดับหนึ่งถึง 146,211 ล้านบาท (2537) นักท่องเที่ยวจะมีค่าใช้จ่ายประมาณ
3,375 บาทต่อคนต่อวัน รองลงไปเป็นสินค้าจำพวกสิ่งทอ คอมพิวเตอร์ แผงวงจรไฟ้ฟ้า เป็นต้น
โดยข้าวตกไปอยู่เป็นอันดับที่ 8

การศาสนา
ประเทศไทยมีศาสนาที่สำคัญคือ ศาสนาพุทธ อิสลาม คริสต์ และฮินดูตามลำดับ 95% ของประ ชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธแบบเถรวาท ลัทธิลังกาวงศ์ ปัจจุบันมีวัดในพุทธศาสนาประ
มาณ 30,000 วัดทั่วประเทศ และประมาณ 400 วัดในเขตกรุงเทพมหานคร มีพระสงฆ์นอก
พรรษาประมาณ 278,000 รูป

ศาสนาอิสลาม มีอิสลามิกชนประมาณ 2,300,000 คน มีมัสยิต 2,794 แห่ง
ศาสนาคริสต์ มีคริส ตศาสนิกชนประมาณ 322,000 คน มีโบสถ์ 1,185 แห่ง

ประชากร
มีประชากร 60 ล้านคนทั่วประเทศ และ 6 ล้านคนในเขตกรุงเทพมหานครตามทะเบียนราษฎร แต่จากการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติพบว่า มีผู้อยู่อาศัยจริงในกรุงเทพฯ 10 ล้านคน
รายได้เฉลี่ยประชากร 61,335 บาทต่อปีหรือ 5,111 บาทต่อเดือน เฉพาะประชากรในกรุงเทพฯ
มีรายได้เฉลี่ยคนละ 186,167 บาทต่อปี หรือ15,514 บาทต่อเดือน (2537) อัตราการเกิด
17.6 (ต่อพัน) อัตราการตาย 6.2 ( ต่อพัน ) อายุเฉลี่ยชาย 66.6 ปี หญิง 71.7 ปี จำนวนบุตร
โดยเฉลี่ยต่อหญิงหนึ่งคน 1.96 อัตราคุมกำเนิดร้อยละ 74 และคาดว่าในปีพ.ศ. 2555 ประเทศ
ไทยจะมีประชากร71,860,000 คน (สถิติปี 2538) พศ. 2531 แรงงานที่ออกไปทำงานยังต่าง
ประเทศมีจำนวนประมาณ 268,000 คน ตลาดแรงงานไทยที่ใหญ่ที่สุดคือที่ ตะวันออกกลาง
คือมีแรงงานไทยถึง 4 ใน 5 พอถึงปีพศ. 2537 จำนวนแรงงานไทยก็เพิ่มเป็น 470,000 คน
และย้ายมาอยู่ในเอเซียเป็นส่วนใหญ่ถึง 88% คือที่ญี่ปุ่นและไต้หวัน

การปกครอง
ตั้งแต่สุโขทัยจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนกลาง ไทยมีระบบการปกครองแบบ สมบูรณาญาสิทธิ
ราชย์ [Absolute Monachy] ซึ่งอำนาจสิทธิขาดอยู่ที่องค์พระมหากษัตริย์ และได้เปลี่ยนการ
ปกครองมาเป็นแบบประชาธิปไตยโดยมีพระมหากษัตริย์ เป็นองค์พระประมุข [Constitutional
Monachy] และดำรงพระองค์อยู่ภายใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญ โดยคณะราษฏร์ได้ทำการยึดอำ
นาจจากพระเจ้าแผ่นดินโดยไม่เสียเลือดเนื้อเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 ในสมัยรัชกาลที่ 7 ซึ่งพระองค์กำลังแปรพระราชฐานอยู่ที่พระราชวังไกลกังวล หลังจากนั้นอีก 3 วันคือวันที่ 27
มิถุนายน 2475 ประเทศไทยก็มีธรรมนูญการปกครองชั่วคราวเพื่อใช้ปกครองประเทศและ
รัชกาลที่ 7 ได้พระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับแรกของไทยเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2475 ประ
เทศไทยจึงมีลักษณะการปกครองในระบบรัฐสภา [Congress] มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
แบ่งอำนาจออกเป็น 3 ส่วนคือ

1. อำนาจตุลาการ โดยคณะกรรมการตุลาการ มีประธานศาลฎีกาเป็นผู้มีอำนาจสูงสุด

2.อำนาจนิติบัญญัติ โดยสมาชิกรัฐสภา[Congress] แบ่งเป็นสภาผู้แทนราษฎร [Paliament
หรือ Lower house]ผ่านการเลือกตั้งจากประชาชน มีวาระสมัยละ 4 ปี และวุฒิสภา [Senate
หรือ Upper House] ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากนายกรัฐมนตรี

3. อำนาจบริหาร โดยนายกรัฐมนตรี ได้อำนาจโดยการมอบหมายจากสมาชิกสภาผู้แทนราษ
ฎรให้เป็นหัวหน้ารัฐบาลและ เลือกสรรผู้ที่จะมาดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีเพื่อทำการบริหารประ
เทศ และนายกรัฐมนตรีจะเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการในวาระสำคัญต่างๆเช่น พระบรม
ราชโองการแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีและพระบรมราชโองการเปิดหรือปิดประชุมสภาเป็นต้น


H="100%"> 1