อาณาจักรเขมร
เชื่อกันว่าคนเขมรคือคนเชื้อชาติเดียวกับมอญ มีถิ่นฐานดั้งเดิมอยู่ทางตอนใต้และทางตะวัน
ตกของจีน บางครั้งเรียกว่า มอญ - เขมร [Mon - Khmer] เริ่มอพยพเข้ามาในเอเชียตอนใต้
เมื่อราว 500 ปีก่อนคริสตศักราช โดยอยู่ในพื้นที่ต่างๆ ตั้งแต่ทางตอนกลางของพม่าเรื่อยไป
จนถึงประเทศเวียตนาม ตอนหลัง จึงได้พัฒนาตัวเองจนเป็นอาณาจักรและมีอำนาจอยู่ในลุ่ม
แม่น้ำเจ้าพระยาในเวลาต่อมา

ขอม เป็นคำเรียกของคนไทที่อยู่ทางเหนือเช่น ไทลื้อ ในสิบสองปันนา เขียนเป็นตัวอักษรว่า
กรอม ออก เสียงว่า กร๋อม หมายถึงเผ่าพันธุ์ทีมีสีผิวเป็นสีดำ และเนื่องจากพวกขอมเคยอยู่
แถบนั้นมาก่อนและมีสีผิวเป็นสีดำ ในสมัยต่อมาเมื่อขอมได้ย้ายลงมาอยู่ทางตอนใต้แล้วคน
ไททางเหนือก็เหมาเรียกพวกที่มาจากตอนใต้ที่มีผิวดำว่าขอม (กรอม) เหมือนกันหมด แม้
ในปัจจุบัน มีหลักฐานเอกสารปรากฏอยู่ในวรรณกรรมเรื่องท้าวฮุ่ง ซึ่งกล่าวถึงขอมไว้หลาย
ตอน เมืองที่คนขอมอยู่เรียกว่า สุวรรณโคมคำ ริมฝั่งแม่น้ำโขง มีอาณาเขตรวมไปถึงเมืองพะ
เยา เรื่องท้าวฮุ่งได้บรรยายไว้ว่า เห็นมีโคมคำแขวนอยู่ทั่วไป เขมรมีวิวัฒนาการอยู่ในช่วงเวลา
ก่อนที่สิงหนวัติจะย้ายถิ่นฐานลงมาจากยูนนาน เมืองสุวรรณโคมคำได้ล่มสลายลงเป็น เวลา
นาน ก่อนที่สิงหนวัติจะย้ายลงมา และสร้างเมืองชื่อ นาคพันธุ์สิงหนวัตินครตรงบริเวณที่เป็น
เมืองสุวรรณโคมคำมาก่อน

เมื่อเขมรหมดอำนาจจากสุวรรณโคมคำแล้ว ก็ได้ขยับลงมาทางใต้จนมาอยู่ในบริเวณตอนกลาง
ของลุ่มน้ำเจ้าพระยาเป็นจำนวนมาก และได้มีวิวัฒนาการเคลื่อนไหวไปมาอยู่ในบริเวณนี้เป็นวง
กว้าง ท่านธรรมทาสพานิช (พี่ชายของท่านพุทธทาสภิกขุ) ได้ให้ความเห็นไว้ว่า พวกขอมน่า
จะเป็นสาขาหนึ่งของคนไทที่เรียกว่า ไศเลนทร์ และเป็นคนละพวกกันกับ เขมร ต่อมาภายหลัง
จึงได้มีการผสมผสานทางเชื้อชาติจนแยกกันไม่ค่อยจะออก ประกอบกับการออกเสียงชื่อชนชาติ
ซึ่งใกล้เคียงกันมาก คนในยุคหลังจึงเหมาเอาว่าขอมคือเขมร โดยเฉพาะคนไทยที่มักจะเรียก
เขมรว่าขอมเสมอ (พนม ทวาราวดี ศรีวิชัยสามอาณาจักรของคนไทย ไศเลนทรวงศ์ โดย ธรรม
ทาสพานิช) น่าสังเกตุว่า ไม่มีชนชาติใดเลยที่เรียกเขมรว่าขอม มีแต่พวกเราคนไทยเท่านั้นที่
เรียกเขมรว่าขอม เพราะนึกว่าขอมเพี้ยนมาจากเขมร จริงๆแล้ว คำว่าเขมรนั้นมาจากชื่อ นาง
เมรา ภรรยาของพราหมชื่อ กัมภูสวายัมภูวาเป็นต้นชื่อของคำ กัมพูชา

เป็นที่น่าสังเกตุว่า ในบรรดาเมืองทั้ง 9 ที่ประกอบกันขึ้นเป็นอาณาจักรไตมาวทางแถบแม่น้ำ
ตุรุงคปานี แล้วพัฒนาจนเป็นอาณาจักรโกสามพีนั้น ทุกเมืองมีจะคำว่า กัมโพชวิสัย ประกอบ
อยู่เป็นชื่อเมืองทั้งสิ้น แสดงว่า กลุ่มชนที่มีสายเลือดกัมพูชาจะต้องมีการเคลื่อนไหวอยู่ในบริ
เวณนี้แน่นอน

เมืองที่สิงหนวัติจากมานั้น มีชื่อว่า กรุงราชครึ หรือ นครไทเทศ ซึ่งในบริเวณเดียวกันนั้นก็ยัง
มีเมืองชื่อเขมรัฐ หมายถึงรัฐ ของเขมร หมายความว่า คนเขมรก็เคยอยู่ในยูนนานมาก่อน และ
มีความเกี่ยวพันกับคนไทในยูนนานไม่มากก็น้อย และคน เขมรอาจจะเคลื่อนย้ายลงมาทางใต้
ก่อนคนไทก็อาจเป็นได้ และจากการที่พบว่าภาษามอญมีความคล้ายกับภาษาเขมร ทำให้สัน
นิษฐานกันว่า มอญและเขมรเป็นพวกเดียวกัน เรียกว่า มอญ - เขมร (Mon-Khmer)(Khmer
คือ เขมรไม่ใช่ขอม) ความเป็นไปได้คือพวกจากเขมรัฐ ได้พากันอพยพลงมาทางใต้ แล้วแยก
สาขาออกไปพวกหนึ่งไปทางตะวันตกเข้าไปในเขตพม่าแล้วพัฒนาขึ้นเป็นอาณาจักรมอญ อีก
พวกหนึ่งไปทางตะวันออกแล้วพัฒนาเป็นอาณาจักรเขมรโดยมีอาณาจักรทวาราวดี ของคนไท
คั่นอยู่ตรงกลาง ส่วนคำขอมที่ปรากฎอยู่ในจารึกเก่าของพม่านั้นพบได้จากบรรทึกหลายแห่ง
กล่าวว่า ได้ทำศึกกับพวกขอมที่มาจากลุ่มน้ำเจ้าพระยา และจับตัวเชลยชาวขอมไว้ได้ หลังจาก
ที่สอบสวนแล้วจึงทราบว่าเป็นผู้ที่มีตำแหน่งเป็นออกญา แต่ภาษาเขมรไม่มีตำแหน่งออกญา
ดังนั้น ออกญาดังกล่าวจึงต้องเป็นคนไท เพราะออกญาเป็นตำแหน่งทางการเมืองของคนไท
เป็นไปได้หรือไม่ว่า ขอมก็คือสาขาหนึ่งคนไทย เรื่องนี้ จิตร ภูมิศักดิ์อธิบายไว้ว่า ในความรู้สึก
ของคนทั่วไปนั้น ดินแดนในลุ่มน้ำเจ้าพระยาเป็นของพวกขอม ดังนั้น ใครก็ตามที่มาจากดิน
แดนดังกล่าวจึงถูกเหมาว่า เป็นขอมทั้งหมดโดยไม่รับรู้ว่า พวกขอมได้พากันอพยพออกไปหมด
แล้วแสดงว่า จิตร ภูมิศักดิ์เชื่อว่าขอมไม่ใช่ไทย แต่ถ้าคนพวกนั้น เป็นขอมจริงๆ และมีตำแหน่ง
ออกญาจริงๆก็คงหมายความได้ว่า ขอมดังกล่าวก็เป็นคนไทย

เริ่มปรากฏร่องรอยของเมืองเขมรราวศตวรรตที่ 2 โดยเป็นประเทศราชของอาณาจักรพนม(สา
ขาหนึ่งของไศเลนทรวงส์)(จีนออกเสียงเป็น ฟูนัน) สืบทอดอารยธรรมต่อมาจากอาณาจักร
พนม ซึ่งรับมาจาก อินเดีย คนจีนจดชื่ออาณาจักรพนม ว่า ฟูนัน และอาณาจักรจันทราว่า
เจิ้นลา หรือเจนละจนถึงศตวรรตที่ 6 เขมรก็แยกตัวออกมาจากอาณาจักรพนม สร้างอาณา
จักรขึ้นใหม่ บันทึกของจีนเรียกอาณาจักรที่เกิด ขึ้นใหม่นี้ว่า อาณาจักรจันทรา หรือเจนละ
[Chenla] (จันทรวงศ์) โดยที่ทั้งอาณาจักรจันทราและอาณาจักรพนมต่างก็มีการสืบเชื้อสาย
ข้ามวงศ์กันไปมา บันทึกเขมรในศตวรรษที่ 10 กล่าวว่า ราชวงศ์เขมรสืบเชื้อสายมาจาก
พราห์มชื่อ กัมพูสวายัมภูวา กับนางอับสรชื่อนางเมรา ซึ่งถือว่าเป็นวงศ์แห่งพระ อาทิตย์
[Solar] ส่วนราชวงศ์พนมสืบเชื้อสายมาจากพราหห์มชื่อ โกณฑิณยะ และนางโสมา เป็นวงศ์
แห่งพระจันทร์ [Lunar] ทำให้กษัตริย์เขมรในสมัยต่อมามักจะอ้างเสมอว่าตนเองสืบเชื้อสายมา
จากราชวงศ์แห่งพระ อาทิตย์และพระจันทร์

บันทึกของจีนได้กล่าวถึงกษัตริย์เจนละว่า นับถือศาสนาฮินดูลัทธิไศวนิกาย มีพิธีบูชายันต์
โดยใช้มนุษย์เป์นประจำทุกปี ศูนย์กลางของอาณาจักรเจนละอยู่ที่บริเเวณเขตเมืองจำปาศักดิ์
ของลาวในปัจจุบัน กินเนื้อที่ครอบคลุมตอนใต้ของลาวลงไปถึง เมืองสตึงเตรง ทางตอน
เหนือของเขมร

ประวัติศาสตร์เขมรเริ่มต้นขึ้นในปี คศ.550 เมื่อพระเจ้าภววรมัน กษัตริย์เขมรเชื้อสาย ฟูนัน
(พนม)ซึ่งได้ อภิเษกกับเจ้าหญิงเจนละ ก็ได้ประกาศตัวเป็นอิสระไม่ขึ้นกับอาณาจักรพนมอีก
ต่อไป และได้เข้ายึดเมือง หลวงของอาณาจักรพนมคือ เมืองวยาธปุระได้สำเร็จ อาณาจักรพนม
จึงกลับต้องมาตกอยู่ในอำนาจของอาณาจักรเจนละ ซึ่งเคยเป็นเมืองประเทศราชของตัวเองมา
ก่อน แต่พนมก็ยังมีฐานะเป็นรัฐอิสระอยู่จนถึงปีคศ. 627 ดินแดนของอาณาจักรพนม จึงได้
ถูกผนวกเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรเจนละ ดังจะเห็นได้จากบันทึกของจีนว่า อาณาจักรพนม
ยังคงส่งฑูตไปเมืองจีนโดยเอกเทศจนถึงต้นศตวรรษที่ 7 หลังจาก นั้นอาณาจักรพนมที่มีความ
เจริญรุ่งเรืองมากว่า 500 ปี นับตั้งแต่ศตวรรษที่ 2 ก็ต้องสิ้นสุดลง และประวัติศาสตร์เขมร
สมัยก่อนพระนครก็ได้เริ่มขึ้นณ บัดนั้น

พระเจ้าอีสานวรมัน (611 - 635)
ได้ขยายอาณาจักรลงมาทางใต้จนถึงลุ่มแม่น้ำสตุงเสน และสร้างเมืองบนฝั่งแม่น้ำคืออีสานวร
มัน (12 ไมล์ทางเหนือของกำปงธม) และได้รวมเอาดินแดนของอาณาจักรพนมเข้าไว้เป็น
ส่วนหนึ่งของอาณาจักรเจนละโดยสมบูรณ์ในปี คศ. 627

พระเจ้าชัยวรมันที่ 1 (635 - 690)
เขมรก็ได้ขยายอาณาจักรออกไปอีกมากมาย โดยทางเหนือจรดอาณาจักรน่านเจ้าทางตะวันตก
ตีได้ดินแดนของอาณาจักร ทวาราวดี แต่กษัตริย์เขมรที่ขึ้นครองราชย์ต่อๆมาไม่มีความสามารถ
เพียงพอที่จะรักษาอำนาจและดินแดนเอาไว้ได้ ทำให้เขมรในสมัยต่อมาเกิดความแตกแยกและ
อาณาจักรแตกออกเป็น 2 ส่วนคือ เจนละเหนือ (บก) และเจนละใต้ (น้ำ)

เจนละบก หรือที่พงศาวดารจีนเรียกว่า เวนตัน [Wenton] มีการรวมตัวกันได้ดีกว่าเจนละน้ำ
ซึ่งในบางครั้งถึงกับบุกขึ้น ไปตีถึงตังเกี๋ยของจีน แต่ไม่สำเร็จจึงต้องหันกลับมาเป็นพันธมิตร
กับจีนอีกโดยได้ส่งกองทัพไปช่วยจีนรบกับอาณาจักร น่านจ้าวของคนไทย แต่ก็ต้องพ่ายแพ้
กลับไป อาจเป็นไปได้ว่า เวนตัน เป็นคำที่จีนจดมาจากคำว่า เวียนเทียน หรือเวียงจันทน์

เจนละน้ำ ไม่ปรากฎหลักฐานว่ามีการติดต่อกับจีน และแแบ่งออกไปอีกเป็น 3 พวกคือ
1. ฝ่ายเจ้านายเชื้อสาย Lunar
2. ฝ่ายเจ้านายเชื้อสาย Solar
3. ฝ่ายเจ้านายเชื้อสายพระเจ้าชัยวรมันที่ 1 โดยตรง

ในตอนต้นของศตวรรตที่ 8 มีเจ้านายเชื้อสาย Lunar ซึ่งอภิเษกกับเจ้าหญิงของ Solar ได้ขึ้น
ครองราชย์ ทำให้ได้ครองดินแดนส่วนมากของเจนละน้ำ ช่วงปลายของศตวรรษที่ 8 ต่อเนื่อง
ถึงศตวรรษที่ 9 เจนละน้ำก็ตกเป็นเมืองขึ้นของชวา และส่งพระเจ้าชัยวรมันที่ 2 ซึ่งเคยไปอยู่
ที่ชวามาก่อนมาปกครองเจนละน้ำ

พระเจ้าชัยวรมันที่ 2 (802 - 850)
เชื้อสาย Solar ในปีคศ. 819 ประกาศตนเป็นอิสระไม่ขึ้นกับชวา วางรากฐานการปกครองใน
ระบบเทวราชาตามแบบอารยธรรมอินเดียและพัฒนาระบบชลประทานให้ดีขี้น แต่ก็ต้องย้าย
เมืองหลวงถึง 4 ครั้งคือ
1. อินทราปุระ
2. หริหราลัย ( 12 ไมล์ทางเหนือของเมืองเสียมราฐ )
3. อัมรินทราปุระ
4. มเหทราปารวัตตา

ทั้ง 4 เมืองนั้นจะวนเวียนอยู่บริเวณรอบทะเลสาปเขมรทั้งสิ้น แต่ในตอนปลายสมัย พระองค์
ก็ย้ายเมืองหลวงกลับไปอยู่ที่เมืองหริหราลัยจนสิ้นสมัย และถือได้ว่าประวัติศาสตร์เขมรยุคพระ
นครได้เริ่มต้นในสมัยนี้ ซึ่งเป็นยุคที่เขมรรุ่งเรืองที่สุด จนถึงสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 (1181
- 1219)รวมเวลาจากปีที่พระเจ้าชัยวรมันที่ 2 ขึ้นครองราชย์ในปีคศ. 802 จน ถึงปีที่พระเจ้า
ชัยวนมันที่ 7 สวรรคตในปีคศ. 1219 เป็นเวลา 417 ปี เรียกว่า เขมรสมัยพระนคร

กษัตริย์เขมรที่สำคัญ

สมัยก่อนพระนคร [Pre - Angkhor]
พระเจ้าภววรมัน ( 550 - 600 ) ศิลปะ พนมดา
เป็นผู้แยกเขมรออกมาจากอาณาจักรฟูนัน เมืองหลวงอยู่ที่เมืองสตึงเตรงหรือวัดภู
พระเจ้าจิตรเสน ( 600 - 611 ) ศิลปะ ถาลาบริวัตร
เป็นน้องพระเจ้าชัยวรมันที่ 1ขยายอาณาเขตไปทางตะวันตกจนถึงลุ่มแม่น้ำมูล

พระเจ้าอีสานวรมันที่ 1 ( 611 - 635 ) ศิลปะ สมโบร์ไพรกุก
ได้ผนวกเอาอาณาจักรฟูนันเข้าไว้เป็นส่วนหนึ่งของ อาณาจักรเขมรในปีคศ. 627 และขยาย
อาณาเขตลงมาทางใต้จนถึงแม่น้ำสตุงเสน สร้างเมืองหลวงขึ้นในบริเวณนั้นคือเมืองอีสาน
ปุระ(12ไมล์ทางเหนือของกำปงธม) ขยายอาณาเขตเข้าไปครอบคลุม บริเวณอ่าวไทยไปจน
จรดอาณาจักรทวาราวดี

พระเจ้าชัยวรมันที่ 1 ( 635 - 690 ) ศิลปะ ไพรกเม็ง
ขยายอาณาจักรขึ้นไปทางเหนือจรดอาณาจักรน่านเจ้า ทำให้อาณาจักรเขมรมีอาณาเขตกว้าง
ใหญ่มาก แต่ในที่สุด ก็เกิดความ แตกแยกขึ้นหลังจากสมัยของพระองค์

อาณาจักรเจนละแตกเป็นฝ่ายเหนือและฝ่ายใต้ ( 690 - 800 ) ศิลป กำพงพระ

สมัยพระนคร [Angkhor]
พระเจ้าชัยวรมันที่ 2 ( 802 - 850 ) ศิลปะ กุเลน
ประกาศอิสรภาพจากชวาและรวมอาณาจักรเจนละที่เคยแตกแยกกันให้กลับมารวมกันใหม่ได้
สำเร็จในปีคศ. 819 วางรากฐาน ระบบกษัตริย์แบบเทวราชา พัฒนาระบบชลประทาน และย้าย
เมืองหลวงถึง 4 ครั้ง

พระเจ้าอินทราวรมันที่ 1 ( 877 - 889 ) ศิลปะ พระโค
สร้างอ่างเก็บน้ำ [Baray] ขนาดใหญ่ทางตอนเหนือของเมืองหริหรายา สร้างวิหารบากอง
[Bakong] เป็นปราสาทแห่งแรกของเขมรที่สร้างด้วยหิน (สมัยก่อนล้วนสร้างด้วยอิฐทั้งสิ้น)สัน
นิษฐานว่าพระองค์สร้างวิหารบากอง เพื่อแข่งบารมีกับวิหาร บุโรพุทโธ [Borodobur] ของชวา
และสร้างวิหารพระโค [Preah Ko]

พระเจ้ายโสวรมันที่ 1 ( 889 - 900 ) ศิลปะ พระโค
ทรงสร้าง Eastern Baray กว้างยาวด้านละ 7 กม เพื่อเก็บน้ำที่ทดมาจากแม่น้ำเสียมราฐ และ
สร้างเมืองหลวงแห่งใหม่ ซึ่งถือว่า เป็นเมืองหลวงแห่งแรกในกลุ่มมนครหลวงคือยโสธราปุระ
โอบล้อมเนินเขาที่ชื่อพนมบาเค็ง [Phnom Bakheng] มีเนื้อที่ประมาณ 16 ตร.ไมล์ คูเมืองกว้าง
200 ม. มีบ่อน้ำที่ขุดด้วยมือมนุษย์กว่า 800 บ่อ มีการสร้างวิหารบนยอดเขาต่างๆ มากมายรวม
ทั้งเขาพระวิหาร

พระเจ้าราเชนทราวรมันที่ 2 (944 - 968) ศิลปะ แปรรูป เป็นกษัตริย์ที่สืบเชื้อสายมาจาก
ราชวงศ์เจนละบก เป็นผู้ที่สามารถรวบรวมเจนละเหนือและเจนละใต้ให้ กลับมา รวมกันได้ใหม่
เป็นพระองค์แรก พระองค์นับถือศาสนาฮินดู ลัทธิไศวนิกาย แต่ก็ยังคงให้ความสนับสนุนศาส
นาพุทธ-มหายาน เป็นอย่างมาก

พระเจ้าชัยวรมันที่ 5 ( 968 - 1001 ) ศิลปะ บันทายศรี
มีความเจริญรุ่งเรืองมากทางด้านวิชาการ ทั้งทางด้านรัฐศาสตร์ และโหราศาสตร์ ซึ่งปรากฎ
หลักฐานว่า มีเจ้านายสตรีเข้ารับราช การในตำแหน่งสำตัญต่างๆ หลายคน วิหารบันทายศรี
[Banteay Srei]ซึ่งสร้างในสมัยนี้ก็ถูกเรียกว่าเป็น เมืองป้อมของสตรี

พระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 ( 1002 - 1050 ) ศิลปะ เคลียง
เป็นโอรสของพระเจ้ากรุงนครศรีธรรมราช แต่พระมารดาเป็นเจ้าหญิงเขมรซึ่งมาอภิเษกกับเจ้า
เมืองนครศรีธรรมราช พระองค์จึงเป็นกษัตริย์เขมรที่สืบเชื้อสายมาจากชาวใต้ ซึ่งนับถือศาสนา
พุทธ แต่พระองค์เองนับถือศาสนาฮินดู-ไศวนิกาย พระองค์ได้ขยายอาณาเขตออกมาเป็นอัน
มากคือ ทางตะวันตกครอบคลุมอาณาจักรทวาราวดี ทางเหนือตีได้เมืองหลวงพระบาง ทางใต้
ตีได้ตอนบนของแหลมมลายู มีสิ่งก่อสร้างที่สำคัญต่างๆตือ พิมานอากาศ [Phimanakas] และ
ปราสาทตาแก้ว [Takeo] เป็นวิหารแห่งแรก ของเขมรที่สร้างด้วยหินทราย

พระเจ้ายุธยาทิตยวรมันที่ 2 ( 1050 - 1066 ) ศิลปะปาปวน
พระองค์นับถือศาสนาฮินดูลัทธิไศวนิกาย แต่ไม่ส่งเสริม ศาสนาพุทธ-มหายานทำให้บรรดา
ขุนนางที่นับถือศาสนาพุทธไม่พอใจ จึงได้ก่อกบฎขึ้นถึง 3 ครั้งถึงแม้จะปราบกบฎลงได้ แต่
ก็ทำให้เขมรต้องอ่อนแอลงมาก จึงต้องเสียดินแดนบางส่วนไปเช่น อาณาจักรทวาราวดี ซึ่ง
พระเจ้าอนิรุธกษัตริย์แห่งพุกาม(พม่า) ได้แผ่อิทธพลเข้ามาครอบครอง อาณาจักรทวาราวดี
แทนที่เขมร

พระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ( 1113 - 1150 ) ศิลปะ ปาปวนถึง นครวัต
ทรงสร้าง นครวัต เพื่อประดิษฐานรูปปั้นของพระวิษณุ ซึ่งเปรียบเสมือนเป็นรูปตัวแทนของพระ
องค์ด้วย เพราะพระองค์ถือว่าตัวเอง เป็นภาคหนึ่งของพระวิษณุ ทรงตีได้อาณาจักร ทวาราวดี
คืนมาอีกครั้ง และเปิดสัมพันธ์ทางการฑูตกับจีนขึ้นใหม่ หลังจากที่ไม่มีการติดต่อกับจีนตั้งแต่
เจนละแตกเป็นฝ่ายเหนือ และฝ่ายใต้ และยังปรากฎว่า มีทหารชาวไทอยู่ในกองทัพของพระ
องค์ด้วย ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่คนไทกำลังอพอพลงมาอยู่ในบริเวณ ตอนบนของลุ่มแม่น้ำเจ้าพระ
ยากันมากขึ้น

พระเจ้าทเรนวรมันที่ 2 ( 1150 - 1160 ) ศิลปะ นครวัติ
กษัตริย์องค์แรกที่นับถือศาสนาพุทธ - หินยาน แต่ประชาชนและขุนนางยังคงนับถือศาสนา
ฮินดู

พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ( 1181 - 1219 ) ศิลปะ บายน
ขึ้นครองราชย์ด้วยการปราบจลาจล และเป็น กษัตริย์องต์แรกที่ยึดอาณาจักรจัมปาเข้ามาไว้ในปก
ครองได้ หลังจากที่มีการพยายามมาแล้วโดยกษัตริย์ เขมรหลายๆ พระองค์ ซึ่งเมื่อรวมกับอาณา
เขตที่มีอยู่ก่อนหน้านี้ ทำให้เขมรสมัยนี้มีอาณาเขตกว้างกว่า ในยุคสมัยที่ผ่านมาทั้งหมด พระองค์
นับถือศาสนาพุทธ- มหายาน ส่วนขุนนางนับถือศาสนาฮินดู ใน ขณะที่ ประชาชนนับถือศาสนา
พุทธ -หินยาน ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากทวาราวดี สิ่งก่อสร้างที่สำคัญคือ นครธมและปราสาทบา
ยน เป็นพุทธสถานนิกายมหายาน สร้างที่พักริมทางและโรงพยาบาลอีกถึง 121 แห่ง ตามทางที่
จะมายังเมืองนครธมจากทิศทางต่างๆ และเมื่อรวมกับสิ่งก่อสร้างต่างๆ ที่มีอยู่มากมาย ก่อนหน้า
นี้ ทำให้เขมรมีจำนวนเทวสถานและปราสาทหินมากมายถึง 20,000 แห่ง โดยต้องใช้คนดูแล ถึง
300,000 คน และใช้ข้าวเพื่อเลี้ยงดูคนเหล่านั้นถึงปีละกว่า 38,000 ตัน ด้วยต้นทุนที่สูงขนาด
นั้น ภาระทั้งหมดกลับไปตกอยู่กับประชาชน เมื่อสิ้นสมัยพระเจ้าชัยวรมัที่ 7 เขมรก็อ่อนแอและ
เสื่อมอำนาจลง จนไม่สามารถรักษาดินแดนต่างๆ เอาไว้ได้ และถือเป็นการสิ้นสุดยุคพระนคร
ของเขมร

สมัยหลังพระนคร : ยุคเสื่อม

พระเจ้าชัยวรมันที่ 8 ( 1243 - 1295 )
หลังสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เขมรก็เริ่มเสื่อมอำนาจลงเป็นลำดับจนถึงสมัยพระเจ้า ชัยวรมันที่
8 ก็ต้องเสียดินแดนด้านตะวันตก บริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาให้กับกลุ่มคนไทที่มีผู้นำคือพ่อขุนผา
เมือง ซึ่งเป็นราชบุตรเขยของพระองค์เองด้วย โดยที่เขมรเองก็ไม่มีอำนาจพอที่จะยึดเอาดินแดน
คืนมาได้ ประกอบกับจีนก็ให้ความสนับสนุนคนไทยอยู่ เพราะโกรธที่เขมรได้จับราชฑูตของจีนเอา
ไปขังไว้ จีนเองก็กำลังจะบุกเข้ามาตีเขมร แต่เพราะจีนกำลังมีสงครามติดพันอยู่กับจัมปา จึงไม่สา
มารถยกลงมาตีเขมรได้

พระเจ้าชัยวร มันที่ 8 นับถือศาสนาฮินดูลัทธิไศวนิกาย โดยไม่ให้การสนับสนุนศาสนาพุทธ -
มหายาน จึงได้สั่งให้ทำลายรูปบูชาของศาสนาพุทธลงไปเป็นจำนวนมากเช่น ที่วิหารบายน เมื่อ
เสียดินแดนไปเป็นอันมาก ทำให้เขมรขาดทรัพยากรที่เคยได้จากบรรดาเมืองขึ้นต่างๆ เขมรจึง
ขาดยุทธปัจจัยที่จำเป็นต้องใช้ในการสงครามหรือสร้างสิ่งก่อสร้างใหญ่โตต่างๆ แต่ก็เป็นการดี
สำหรับคนเขมรเอง ที่ไม่ต้องเสียเวลาเสียพรัพยากรเท่าที่มีอยู่ในการทำสงครามและสิ่งก่อสร้าง
และทำให้มีเวลาในการเพิ่มพูนความสามารถใน ด้านวิชาการมากขึ้น จึงปรากฎว่ามีผู้คนจากดิน
แดนต่างๆเดินทางเข้ามาหาวิชาความรู้ใน เขมรกันมาก

กลางศตวรรษที่ 13 ประชาชนทั่วไปเริ่มนับถือศาสนาพุทธ-หินยานกันมากขึ้น ดังนั้นกษัตริย์ใน
สายตาของประชาชน จึงมิใช่เทพเจ้าอีกต่อไป ทำให้ไม่สามารถบังคับประชาชนให้มาถวายบริการ
เป็นกรรมกรหรือเป็นนักรบได้ง่ายๆดังเช่นแต่ก่อนอีกต่อไป

พระเจ้าอินทราวรมันที่ 3 ( 1295 - 1327 )
ทรงหยุดอำนาจของสุโขไทยไม่ให้เข้ามาในเขมรไว้ได้ ทรงสนับสนุนศาสนาพุทธ-หินยานอย่าง
สูงสุด แต่ศาสนาฮินดูก็ยังคงมี ความสำคัญในราชสำนัก และเปิดความสัมพันธ์ทางการฑูตกับ
จีนอีกครั้ง

พระเจ้าชัยวรมันพาราเมศวร ( 1327 - 1340 )
เป็นกษัตริย์เขมรองค์สุดท้ายที่มีปรากฎพระนามบนแผ่นหินจารึก พราะหลังจากปีคศ.1340
เขมรก็ได้ยกเลิกประเพณีการสรร เสริญพระมหากษัตริย์โดยการจารึกลงบนแผ่นหินเป็นภาษา
สันสกฤษและเริ่มมีการบันทึกพงศาวดารลงในสมุดเป็นภาษาบาลี ซึ่งเป็นภาษาทางการของ
ศาสนาพุทธ-หินยานแทน เนื่องจากเขมรได้เปลี่ยน มานับถือศาสนาพุทธ-หินยานโดยสมบูรณ์
ภายหลังจากสมัยของพระองค์ และยังได้แพร่หลายเข้าไปยังลาวอีกด้วย ภายหลังจากปีคศ.1340
เขมรก็เริ่มมีปัญหาภายในอย่างรุนแรง บางครั้งก็ต้องรบกันเอง ทำให้ไม่มีกำลังพอที่จะต่อต้าน
ศัตรูได้ เมื่ออยุธยาในสมัยพระเจ้าปราสาททองมีกำลังเข้มแข็งขึ้น จึงยึดเขมรเอาไว้ได้

คำว่า เสียมเรียบ แปลว่า สยามแพ้ เกิดจากเมื่อครั้งที่พระเจ้าทรงธรรมยกกองทัพไปรบกับเขมร
แต่ทัพไทยต้องพ่ายแพ้กลับมา เขมรจึงเรียกสถานที่ที่เป็นสมรภูมิแห่งนั้นว่า "เสียมเรียบ" ฝ่าย
คนไทยคงจะกระดากที่จะเอ่ยคำว่า เสียมเรียบ จึงได้เรียกให้เพี้ยนไปเป็น เสียมราฐ แปลว่า รัฐ
ของสยาม

ลัทธิ ความเชื่อ และศาสนา
ชาวเขมรนับถือเทวดาและผีบรรพบุรุษแต่สำหรับกษัตริย์และขุนนางในราชสำนักต่างก็นับถือ
ศาสนาฮินดูลัทธิไศวนิกายเป็นหลัก ในบางยุคอาจจะเปลี่ยนเป็นลัทธิไวศณพนิกาย หรือลัทธิ
หริหระบ้าง(หริหรา คือลัทธิที่รวมเอาไศวนิกายและไวศณพนิกายเข้าไว้ด้วยกัน)

ศาสนาฮินดูซึ่งแพร่หลายอยู่ในราชสำนักเขมรนั้น ได้รับอิทธิพลอารธรรมมาจากอินเดีย โดย
ผ่านอาณาจักรพนมตั้งแต่เมื่อครั้งยังเป็นประเทศราช ซึ่งประเพณีการสร้างวิหารบนยอดหรือ
เนินเขาก็เพื่อแสดงความเป็นผู้ที่นับถือลัทธิไศวนิกาย และเป็นที่ทำพิธีบูชาพระอิศวร โดยการ
ประดิษฐานศิวลึงค์ไว้ บรรดาพราห์มที่รับราชการอยู่ในราชสำนักเขมรนั้น คือผู้ทำหน้าที่ประ
กอบพิธีทางศาสนา และราชพิธีที่สำคัญต่างๆ เช่น พิธีบวงสรวงต่างๆ เป็นต้น แม้ในบางยุค
กษัตริย์เขมรอาจจะนับถือพุทธ แต่ก็ยังคงพิธีตามแบบ อย่างพราหมณ์ในราชสำนักไว้ แม้ว่า
กษัตริย์และขุนนางในราชสำนักจะนับถือศาสนาพุทธหรือฮินดูก็ตาม แต่ก็เป็นเพียงการนับถือ
กันเพียงเฉพาะในราชสำนักเท่านั้น โดยกษัตริย์จะเป็นตัวแทนของเทพเจ้าสูงสุดเพื่อดูแลประ
ชาชน หรือการบังคับบัญชาทางทหารและการเกณฑ์แรงงาน แต่สำหรับประชาชนโดยทั่วไป ก็ยังคงนับถือผีสางเทวดาและผีบรรพบุรุษอยู่เช่นเดิม ถึงแม้ในบางยุค จะรับเอาศาสนาพุทธ
-หินยาน จากทวาราวดีเข้ามาบ้าง แต่ก็ยังไม่เป็นที่แพร่หลายนัก จนถึงสมัยต้นศตวรรษที่
14 ศาสนาพุทธ-หินยาน จึงได้แพร่หลายเข้าไปในหมู่ประชาชนทั่วไป จนเกิดการเปลี่ยน
แปลงครั้ง ใหญ่ทางด้านศาสนาในเขมร กษัตริย์ก็หมดความหมายของคำว่า เทวราชา เกือบ
สิ้นเชิง ถึงกับมีการเปลี่ยนรูปแบบการบันทึก เหตุการณ์จากการจารึกลงบนแผ่นหินเพื่อสรร
เสริญพระมหากษัตริย์ด้วยภาษาสันสกฤษ มาเป็นบันทึกลงในสมุดด้วยภาษาบาลีแทน

ระบบชลประทาน : มูลเหตุแห่งความรุ่งเรือง
ผลจากการศึกษาค้นคว้า ทำให้ทราบได้ว่าเขมรมีการพัฒนาระบบชลประทานที่ดีมาก มีการ
ขุดบ่อน้ำขนาดเล็กมากมายนับได้เป็นพันบ่อ และสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่อีกมากมาย
หลายแห่ง สามารถกักเก็บน้ำได้มากถึง 30 ล้านลบ.เมตร และส่งน้ำไปเลี้ยงพื้นที่ได้ถึง 13
ล้านเอเคอร์ มีการขุดคลองชลประทานอีกหลายสายเพื่อประโยชน์ทางด้านการเกษตรและ
การคมนาคมให้มีการติดต่อถึงกันได้โดยสะดวกและมีน้ำใช้ตลอดปี ทำให้เขมรมีความอุดม
สมบูรณ์ สามารถผลิตข้าวได้จำนวนมากเพียงพอที่จะสนับสนุนงานทั้งทาง ด้านการก่อ
สร้างและการทหารได้เป็นอย่างดี ประกอบกับการที่ได้ทรัพยากรต่างๆ จากเมืองขึ้นที่มีอยู่
มากมาย ทำให้เขมรมีความเข้มแข็งมากขึ้น

เกินตัว : มูลเหตุแห่งความเสื่อม
จากการที่เขมรใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างสิ้นเปลือง และขยายอาณาเขตออกไปอย่างไม่มีสิ้นสุด
ทำให้เขมรเกิดอาการอ่อนล้า ภาย หลังสมัยของพระเจ้าชุยวรมันที่ 7 เป็นต้นมา เขมรก็เริ่ม
อ่อนแอลงเป็นลำดับ เขมรในสมัยหลัง จึงฟื้นตัวไม่ทันเมื่อเสียอำนาจให้แก่สุโขไทยไปแล้วก็
ไม่อาจจะยึดเอาดินแดนคืนมาได้ ทำได้แต่เพียงป้องกันไม่ให้สุโขไทยเข้ามาตีจนถึงพระนคร
เท่านั้น ในสมัยอยุธยา ซึ่งมีระบบการปกครองแบบเทวราชาเช่นเดียวกับเขมร แต่อยุธยาได้
เปรียบกว่าตรงที่มีแหล่งน้ำตามธรรมชาติมากกว่า และประชาชนก็ไม่อ่อนล้า มีบันทึกว่า
อยุธยาได้เข้าตีเขมรหลายครั้ง และในบางครั้งก็ได้เข้าตีจนถึงพระนครหลวง จนกษัตริย์
เขมรต้องอพยพลง ไปตั้งหลักที่พนนเปญอยุธยาก็ได้ทำลายระบบชลประทานในเขมรจน
เสียหายใช้การไม่ได้ เขมรจึงไม่อาจกลับมามีอำนาจได้อีก และตกเป็นเมืองขึ้นของอยุธยา
ในที่สุด
 


ลำดับกษัตริย์ที่สำคัญของเขมร

สมัยก่อนนครหลวง [Pre - Angkhor]
พระนาม
ปีพศ.
ปีคศ.
ศิลปะ
ภววรมัน
1093 - 1143
550 - 600
พนมดา(เฉพาะประติมากรรม )
จิครเสน
1143 - 1154
600 - 611
พนมดา (เฉพาะทับหลัง)
อิสานวรมัน
1154 - 1178
611 - 635
สมโบร์ไพรกุก
ชัยวรมันที่ 1
1178 - 1233
635 - 690
ไพรกเม็ง
เจนละแตก
1233 - 1345
690 - 802
กำพงพระ

สมัยนครหลวง [Angkhor]

ชัยวรมันที่ 2
1345 - 1393
802 - 850
กุเลน
ชัยวรมันที่ 3
1393 - 1420
850 - 877
กุเลน
อินทราวรมันที่ 1
1420 - 1432
877 - 889
พระโค
ยโสวรมันที่ 1
1432 - 1443
889 - 900
พระโค
จลาจล-ภาวะว่างกษัตริย์
1443 - 1471
900 - 928
บาแคง
ชัยวรมันที่ 4
1471 - 1485
928 - 942
เกาะแกร์
ราเชนทราวรมันที่ 2
1487 - 1511
944 - 968
แปรรูป
ชัยวรมันที่ 5
1511 - 1544
968 - 1001
บันทายศรี
สุริยวรมันที่ 1
1545 - 1593
1002 -1050
ประตูพระราชวัง
(เคลียง, คลัง เดิม)
ยุธยาทิตยวรมันที่ 2
1593 - 1609
1050 - 1066
ปาปวน
ฮาราชวรมันที่ 3
1609 - 1623
1066 - 1080
ปาปวน
สงครามกลางเมือง
1623 - 1656
1080 - 1113
ปาปวน
สุริยวรมันที่ 2
1656 - 1693
1113 - 1150
ปาปวน
ทเรนอินทราวรมัน
1693 - 1703
1150 - 1160
นครวัต
ยโสวรมันที่ 2
1703 - 1709
1160 - 1166
นครวัต
ตรีภวนาถทิตยวรมัน
1709 - 1720
1166 - 1177
นครวัต
ชัยวรมันที่ 7
1720 - 1762
1181 - 1219
บายน

สมัยหลังนครหลวง [After - Angkhor]

ชัยวรมันที่ 8
1786 - 1838
1243 - 1295
-
อินทราวรมันที่ 3
1838 - 1870
1295 - 1327
-
1