ศิลปเขมร
ลักษณะการประกอบกรอบประตูสามารถที่จะบอกยุคสมัยได้อย่างคร่าวๆคือ
- พุทธศตวรรษที่ 12 - 15 จะเข้ากรอบประตูแบบเครื่องไม้ ทำมุม 45 องศา
- พุทธศตวรรษที่ 16 - 17 จะเข้ากรอบประตูแบบเครื่องหิน คือทำมุมหยักรองรับทับหลัง
- พุทธศตวรรษที่ 18 ( บายน ) วางทับหลังบนแท่งหินตั้ง 2 ต้นซึ่งเป็นเสากรอบประตู
ปราสาทหินพิมาย
หน้าบันและทับหลังที่ปรากฎอยู่ในทิศต่างๆ
มุขทิศใต้ สลักเป็นภาพ ศิวนาฏราช แต่ทับหลังยังคงหาไม่พบ
มุขชั้นยอดทิศตะวันตก สลักเป็นภาพพระกฤษณะกำลังยกเขาโควรรธนะ ส่วนหน้าบันบน
ชั้นที่ลดลงมาสลักเป็นภาพพระยาครุฑกำลัง เหาะลงมาช่วยพระลักษณ์ซึ่งกำลังถูกศรนาค
บาศก์รัดอยู่
มุขทิศเหนือ เป็นภาพการรบในเรื่องรามเกียรติ์ ทับหลังเป็นภาพพระนารายณ์
4 กร
มุขทิศตะวันออก เป็นภาพท้าวมาลีวราชกำลังว่าความระหว่างพระรามและทศกัณฐ์
ทับ
หลังเป็นเรื่องรามเกียรติ์ตอนพระลักษณ์ กำลังตัดหูนางสำมนักขา
ในปรางค์ประธานมีพระพุทธรูปปางนาคปรก ศิลปบายน สร้างในสมัยพระเจ้าชัยวรมัน
ที่ 7 ทับหลังสำคัญ 4 ชิ้นที่พบอยู่ที่เหนือประตู ชั้นในของปรางค์ประธานนั้นเป็นสิ่งที่
แสดงว่าปราสาทหินพิมายแห่งนี้สร้างขึ้นเพื่อเป็นพุทธสถานในลัทธิมหายาน
ทับหลัง
ดัง กล่าว นั้นคือ
1. ทิศใต้ สลักพระพุทธรูปปางนาคปรก ท่ามกลางพระพุทธรูปทรงเครื่องปางสมาธิ
6 องค์
2. ทิศตะวันตก สลักเป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องประทับยืนอยู่ระหว่างต้นไม้
มีกษัตริย์นั่งเฝ้า
อยู่ด้านข้างพร้อมด้วยบริวาร และมีขบวนราชคานหามพร้อมเครื่องสูงอยู่ริมซ้ายขวา
3. ทิศเหนือ เป็นภาพเทวดา 3 พักตร์ 6 กร 5 องค์ องค์ใหญ่สุดอยู่ตรงกลาง
4. ทิศตะวันออก เชื่อกันว่าเป็นรูป ไตรโลกยวิชัย ซึ่งเป็นพระโพธิสัตว์ในลัทธิมหายาน