มีความเจริญรุ่งเรืองมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 6 มีศูนย์กลางอยู่ที่นครปฐม จากหลักฐาน
ทางโบราณคดีที่ค้นพบบ่งบอกว่า อาณาจักรทวาราวดีมีการติดต่อค้าขายทางทะเล
อย่างกว้างขวาง เพราะทวาราวดีมีทางออกสู่ทะเลมากมาย เนื่องจากมีอาณาเขต
ติดต่อกับอาณาจักรศรีวิชัยทางทิศใต้และติดต่อไปจนถึงลำพูนทางทิศเหนือ ทาง
ทิศตะวันตกติดต่อกับทางตอนกลางของพม่า ทิศตะวันออกติดต่อกับอาณาจักรเขมร
ซึ่งได้เริ่มสร้างอาณาจักรขึ้นมาในเวลาไล่เลี่ยกัน แต่จากหลักฐานทางโบราณคดีที่พบ
เกี่ยวกับทวาราวดีเท่าที่มีอยู่ในปัจจุบัน ก็ยังไม่สามารถบ่งบอกเรื่องราวของทวาราวดี
ได้มากนัก เพราะส่วนมากจะเป็นบันทึกที่กล่าวถึงแต่เรื่องทางศาสนา ไม่ค่อยจะได้
กล่าวถึงเหตุการณ์ต่างๆมากนัก ถึงจะมีอยู่บ้างแต่ก็ น้อยเต็มทีและเป็นเรื่องที่ไม่ปะ
ติดปะต่อกัน ทำให้เรื่องราวที่เกี่ยวกับทวาราวดียังไม่มีความชัดเจนพอที่จะหาข้อสรุป
ได้ บอกแต่เพียงว่า อาณาจักรทวาราวดีมีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่ส่วนใดบ้าง
ประ
ชาชนนับถือศาสนาอะไร พูดภาษาอะไร ซึ่งสรุปได้อย่างกว้างๆเท่านั้น
บันทึกของพระถังซำจั๋งในศควรรษที่ 12 ได้กล่าวถึงอาณาจักรทวาราวดีว่าชื่อ
โถโล
โปลี มีความเจริญรุ่งเรืองมากทางด้าน การค้า และศาสนาพุทธนิกายเถรวาท
ทิศตะ
วันตกติดต่อกับอาณาจักรศรีเกษตร (คือพม่าปัจจุบัน) ตะวันออกติดต่อกับอาณาจักร
อิสานปุระ (อาณาจักรเขมร)
เมื่อเขมรสร้างอาณาจักรจนเป็นปึกแผ่น และมีความเข้มแข็งมากขึ้นแล้ว ซึ่งเป็นเวลา
เดียวกับที่ทวาราวดีเกิดความอ่อนแอ ทำให้เขมรเข้ามาครอบครองทวาราวดีในหลาย
ยุคหลายสมัย แต่บางครั้งที่เขมรอ่อนแอ มอญก็เข้ามาครอบครองทวาราวดีแทนเช่น
ในสมัยของพระเจ้าอนุรุธ แห่งเมืองพุกาม