พระนางจามเทวีจากเมืองละโว้ (ทวาราวดี) ขึ้นมาครองเมืองลำพูนเป็นคนแรกเมื่อประ
มาณปีพศ.1311 - 1318 (768- 775) ตามคำเชิญของฤษีวาสุเทพและฤษีสุกันตะ
ขณะที่เสด็จขึ้นมานั้น พระนางทรงพระครรภ์ได้ 3 เดือน และได้สร้างเมืองต่างๆ
ตาม
รายทางไว้มากมาย เมื่อคลอดโอรสออกมาแล้ว ปรากฎว่าเป็นโอรสแฝด องค์พี่ชื่อ
เจ้า
มหันตยศ องค์น้องชื่อ เจ้าอนันตยศ ซึ่งพระนางก็ได้มอบเมืองลำพูนให้องค์พี่
และสร้าง
เมืองลำปางให้องค์น้อง
ลำพูนมีสงครามกับลพบุรี (ในสมัยอยู่ใต้อิทธิพลของเขมร)ในครั้งแรกประมาณปีพศ.
1550-1560(1007 - 1017) เป็นช่วงเวลาที่เขมรเข้ามามีอิทธิพลเหนือลพบุรี
จึง
สันนิษฐานว่า กษัตริย์ลพบุรีที่กล่าวถึงในตำนานนั้น น่าจะเป็นกษัตริย์หรือแม่ทัพเขมร
มากกว่า การที่ชาวลำพูนต้องรบกับลพบุรีนั้นก็คงจะเป็นการเข้าไปช่วยละโว้
(ลพบุรี) ซึ่งเป็นคนเชื้อชาติเดียวกันรบกับเขมรนั่นเอง และเมื่อทัพจากลพบุรี
(ซึ่งมีนายทัพเป็น
เขมร) ยกขึ้นมาตีลำพูนก็ไม่เคยตีได้ อาจเป็นเพราะว่า ทหารเมืองลำพูนและทหารเมือง
ลพบุรีเป็นคนเชื้อชาติเดียวกัน แต่ผู้ที่คุมทัพลพบุรีคือเขมร ดังนั้นคงจะเกิดการบังคับให้
พวกลพบุรีขึ้นมารบกับลำพูนโดยไม่เต็มใจ เขมรจึงไม่เคยรบชนะหริภุญไชยได้เลยตลอด
ประวัติศาสตร์ ในตำนานเมืองเหนือยังกล่าวไว้ด้วยว่า ในการยกทัพมาตีเมืองลำพูน
2
ครั้งหลัง ทหารเมืองลพบุรีเกิดหลงทางหาทางเข้าเมืองลำพูนไม่ถูกทั้ง 2
ครั้ง ทัพลพ
บุรีจึงต้องยกกลับ อาจเป็นได้ว่า ทหารลพบุรีคงจะ แกล้งนำทางให้หลง ทำให้ไม่สามารถ
เข้าตีลำพูนได้
ปีพศ. 1590 (1047) เกิดอหิวาห์ระบาดขึ้นในเมืองลำพูน ทำให้ประชาชนต้องหนีเข้า
ไปในพม่า และอาศัยอยู่ที่เมืองหงสาวดีถึง 6 ปี ซึ่งขณะนั้นหงสาวดียังเป็นเมืองของพวก
มอญอยู่(มอญและทวาราวดีมีความใกล้ชิดกันทางเชื้อชาติ) ชาวลำพูนจึงได้รับการต้อน
รับอย่างอบอุ่นจากชาวเมืองหงสาวดี เพราะชาวเมืองลำพูนและหงสาวดีต่างก็เป็นคนที่
เกือบจะมีเชื้อชาติเดียวกัน และพูดภาษาเดียวกัน จนเมื่อสถานการณ์โรคระบาดดีขึ้นแล้ว
ชาวลำพูนจึงได้กลับมายังบ้านเมืองของตน เมื่อกลับมาแล้ว คงจะเกิดความคิดถึงชาวเมือง
หงสาวดีที่ได้เคยไปอาศัยพักพิง จึงพากันนำอาหารใส่ภาชนะแล้วลอยไปในแม่น้ำ
ซึ่งเชื่อ
กันว่าเป็นสายน้ำที่ไหลไปถึง เมืองหงสาวดี และสันนิษฐานว่าการลอยภาชนะใส่อาหาร
ลงในแม่น้ำนั้น คงเป็นต้นกำเนิดของประเพณีลอยกระทงที่มีสืบทอดกัน มาจนถึงทุกวันนี้
ราวปีพศ.1700-1835(1157-1292) เป็นช่วงเวลาก่อนที่พระยาเม็งรายจะสถาปนาอา
ณาจักรล้านนาและเป็นยุคทองของ หริภุญไชย ในสมัยพระเจ้าอาทิตยราชได้สร้างพระ
ธาตุหริภุญไชยขึ้นเป็นครั้งแรกสูง 6 ม. สามารถมองเห็นพระธาตุที่บรรจุอยู่ภายในได้
สมัยพระยาสวาธิสิทธิได้สร้างเสริมขึ้นไปจนสูง 12 เมตร พร้อมทั้งสร้างวัดมหาวันและ
บูรณะวัดมหาพล มีบันทึกว่า มีพระสงฆ์จากลังกาเดินทางมาหริภุญไชยในสมัยนี้
ปีพศ.
1835 พระยาเม็งรายยกกองทัพเข้ามาโจมตีหริภุญไชยและยึดเมืองได้ในอีก 4
ปีต่อมา อาณาจักรหริภุญไชยที่ถือกำเนิดมาตั้งแต่ราวปีพศ. 1311 (768) ก็ต้องสูญเสียอำนาจ
ให้กับพระยาเม็งราย รวมเวลา เป็นอาณาจักร 528 ปี