ร่องรอยสยามในถิ่นต่างๆ
ดังปรากฎหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ได้พิสูจน์กันมามากแล้วว่า คนไทคือกลุ่มคน
ที่เคยอยู่ในดินแดนทางตอนใต้ของประเทศจีนมาก่อน ต่อมาจึงได้พากันอพยพลงมา
ทางใต้ โดยลงมาด้วยกันหลายสาย และเข้าอาศัยอยู่ในท้องถิ่นต่างๆในแถบเอเซียตอน
ใต้ กลุ่มคนไทที่สำคัญได้แก่ไทลื้อในสิบสองปันนาไทอาหมในรัฐอัสสัมของอินเดีย
ไทใหญ่ในรัฐฉานของพม่า รวมทั้งกลุ่มคนไทที่อยู่ทางบริเวณลุ่มแม่น้ำกกเรื่อยลงมา
จนถึงตอน บน และตอน ล่างของลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา รวมถึงคนลาวในประเทศลาว
ซึ่งเคยเป็นคนกลุ่มเดียวกันกับคนไทมาก่อน และไทดำในเวียตนาม เป็นต้น ที่กล่าว
มานั้นคือกลุ่มคนไทที่สำคัญๆ และต่อไปนี้ เราจะมาดูกันว่า ชื่อของคนไทที่
ไปอยู่ยัง
ที่ต่างๆนั้น มีความเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรและมีความเกี่ยวข้องอย่างไรกับคำว่า
"สยาม" โดยเราจะถือทฤษฎีหลักกันเอาไว้ก่อนว่า สยาม คือคำที่ชนกลุ่มอื่นใช้เรียกคนไท
หมายถึงคน ไม่ใช่เมือง ถ้าหมายถึงเมืองต้อง ใส่เมืองเข้าไปด้วยเช่น ชานปญี
ในภา
ษาพม่า, เดิงเซิม ในภาษา มอญ ส่วนคนไทเองคงเรียกตัวเองว่า ไทมาตั้งแต่โบราณ
จนมาถึงในสมัยรัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทน์นี้ เองที่ใช้คำ สยาม มีความหมาย
ว่าอาณาจักร ถ้าจะให้ หมายความว่า คน ต้องใช้คำว่า ชาวสยาม
อัสสัม อาหม
สมัยที่คนไทยังอยู่ในจีนนั้น จีนเรียกคนไทว่า เซียน หรือ เซียม ( เคยเรียกว่า
ฮวนนั้ง
และไป่อี๋ ซึ่งเป็นคำที่จีนใช้เรียก พวกด้อยกว่าทั้งหลาย คนไทก็รวมอยู่ในพวกนี้ด้วย)
เมื่อเข้าไปอยู่ในบริเวณรัฐอัสสัม ความเป็นเซียมก็ยังคงอยู่ และดังที่ได้อารัมบทไว้ก่อน
แล้วว่า ชนกลุ่มอื่นจะเรียกคนไทว่า สยาม คนพื้นเมืองในบริเวณดังกล่าว
ก็เรียกคนไท
ว่า สยาม เหมือนกัน แต่ก่อนที่คนไทจะเข้ามาอยู่ในอัสสัมนั้น ต้องผ่านดินแดนกะฉิ่น
ในพม่าก่อน และอยู่ที่นั่นเป็นระยะเวลาที่นานพอสมควร ความเป็นสยามจึงเพี้ยนไป
เป็น สาม หรือ ซาม บริเวณที่คนไทอยู่ในรัฐกะฉิ่นคือแถบลุ่มแม่น้ำตุรุงปานี
เรียกว่า
เมือง ม่านคำยัง คนไทกลุ่มนี้จึงเรียกตัวเองว่า ไตตุรุง หรือไตตุรง หรือไตรง
(ไต-รง)
ซึ่งเป็นพวกเดียวกับไทใหญ่ เมื่อเข้ามาในอัสสัมแล้ว คำ สยาม จึงเปลี่ยนไปเป็น
สาม
หรือ ซาม ไปด้วย และในดินแดนอัสสัมในอดีตนั้น เป็นนครรัฐหนึ่งชื่อว่า
กามรูป ซี่ง
คนที่นั่นไม่สามารถออกเสียง ส ได้ โดยจะออกเป็น ห แทน แต่ถ้าจะต้องออกเสียง
ส ก็จะต้องหาพยัญชนะตัวอื่นมาเติมไว้ข้างหน้าตัว ส เพื่อให้คงเสียง ส ไว้เป็นเสียงตัวสะ
กด คำว่า สามหรือ ซาม เมื่อถอด เป็นภาษาอังกฤษก็จะได้รูปอักษรคือ SAM
พยัญชนะ
ที่นำมาประกอบหน้าตัว ส คือ อ ก็จะได้เสียงที่ออกว่า อ+ส = อส. หรือ อัส
เมื่อรวมกับ
สาม ก็จะได้เป็น อาสาม อัสสาม หรือ อัสสัม (ASAM) แต่ถึงแม้จะนำตัว อ
เข้ามาช่วย
แล้วก็ตาม ชาวกามรูปก็ยังไม่สามารถออกเสียงให้เป็นอาสามได้ คำอาสามของชนพื้น
เมืองจึงเป็น อาหาม และเพี้ยนมาเป็น อาหม ในเวลาต่อมา เมื่อคนไทถูกเรียกว่าอาหม
นานๆเข้า ก็ยอมรับว่าตัวเองเป็นอาหมไปโดยปริยาย
รัฐฉาน ไทใหญ่
คำว่า เซียน หรือเซียม ซึ่งคนจีนใช้เรียกคนไทยนั้น เมื่อถอดเสียงเป็นภาษาอังกฤษก็จะ
ได้คำว่า SIAM ซึ่งสามารถออกเสียงได้ทั้ง
เซียม หรือ สยาม ต่อมาเมื่อคนไทเข้ามาอยู่ใน
พม่า คำว่า สยาม ก็ติดมาด้วยแต่ในภาษาพม่าจะมีตัวอักษรที่ เทียบได้กับ
สย คือ รห.
ซึ่งเป็นอักษรเฉพาะที่ออกเสียงว่า ซ (เช่นในภาษาไทยที่มีอักษรประสมคือ
ทร แล้วอ่าน
ออกเสียงเป็น ซ) ดังนั้น คนพม่าจึงออกเสียง สย ว่า ซ หรือ ชโดยมีเสียงที่ก้ำกึ่งกัน
แต่
จะหนักไปทาง ช มากกว่า สย จึงกลายเป็น ชย โดยออกเสียง ย น้อยมาก ชย จึงออก
เสียงเป็น ช, ดังนั้น สยาม ในภาษาพม่าจึงกลายเป็น ชยาม หรือ ชาม แต่เพราะใน
ภา
ษาพม่าไม่มีตัวสะกดแม่กน คำว่า ชาม จึงต้องออกเสียงเป็น ชาน แต่ยังคงตัวสะกดไว้
อย่างเดิมคือ สยาม แต่ออกเสียงว่า ชาน และเรียกคนไทว่า ชาน เรียกเมืองที่คนไทอยู่ว่า
รัฐชานหรือรัฐฉานจนถึงทุกวันนี้ แต่คนไทในรัฐฉานก็เรียกตัวเองว่า ไตหลง
(ไตหลวง
แปลว่า ไทใหญ่)และเรียกเมืองของตัวเองว่า เมิงไต (เมืองไท) เมื่อฝรั่งได้ยินคำว่า
ชาน
ในภาษาพม่า ก็ถอดเสียงเป็นรูปอักษรว่า SHAN ดังนั้น คำว่า ชาน ฉาน และ
SHAN
จึงเป็นคำเดียวกับคำว่า "สยาม"
คนไตในรัฐกะฉิ่นเรียกตัวเองว่า ไตคำตี่หลง (คำตี่ คือ ที่ทองคำ, หลง คือ
หลวง) พม่า
ออกเสียงเป็น คันตีกยี, คันตี คือ คำตี่, กยี คือ ใหญ่ หรือ หลวง, คนไทในเมืองฉิ่งกะลิ่ง
คำตี่เรียกตัวเองว่า ลูกไต หรือไตคำตี่ ไม่มีหลง อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าคนไทยจะอยู่ในพื้น
ที่ใด ชนกลุ่มต่างๆในพม่าก็เรียก ชาน เหมือนกันหมด แต่อาจจะเพี้ยนบ้างตามความแตก
ต่างของสำเนียงและอักขระวิธีของแต่ละพื้นที่ ซึ่งจะเห็นความแตกต่างตามตารางดังนี้คือ
ภาษามอญ เรียก เซม หรือ ซีม ภาษาพม่า เรียก ชาน ภาษากะฉิ่น เรียก ซาม
(ไตเรียก
กะฉิ่นว่า ขาง หรือ ข่าขาง) ภาษาว้า (ละว้า) เรียก เชน ส่วนในประเทศจีน
ก็มีชนกลุ่ม
น้อยที่ใกล้ชิดคนไตเหนอ(ไตเหนือ)ในเขตปกครองตนเองไต - จิงป่อ และไตลื้อ
ในเขต
ปกครองตนเองไต-สิบสองปันนามาก และมีสำเนียงเรียกคนไทที่ต่างกันคือ ภาษาจิงป่อ
เรียก ซาม ภาษาว้า (ละว้า) เรียก เซียม (เรียกไม่ เหมือนพวกว้าในพม่า)
ภาษาข่าหมุ
หรือ ขมุ เรียก ซยาม (จิงป่อ เป็นพวกเดียวกับกะฉิ่นในพม่า อยู่ในเขตปกครองตนเอง
ไต - จิงป่อ) คนไทในจิงป่อเรียกตัวเองว่า ไตเหนอ (เหนือ) ไทใหญ่เรียกคนไทในจิง
ป่อว่า ไตแข่ ( แข่แปลว่าจีน ) พม่าเรียก ชานตยก คำว่า ตยก นี้ ในภาษาพม่าหมายถึง
จีน แต่แปลว่าชาวเติร์ก เนื่องจากเมื่อกุบไลข่านยกทัพลงมาตีพุกามนั้น
ในกองทัพมีคน
เติร์ก มากกว่ามองโกล พม่าจึงเรียกผู้รุกรานที่มาจากทางเหนือในครั้งนั้นว่า
ตยก แม้ใน
สงครามสมัยราชวงศ์หมิง พม่าก็ยัง คง เรียกกองทัพจากทางเหนือว่า ตยก แล้วจีงเหมา
รวมเรียกคนจีนว่า ตยก ตั้งแต่นั้น ภาษามอญเพี้ยนเป็น เจอยจ และ เพี้ยนเป็น
เจ๊ก ใน
ภาษาไทย ปัจจุบันภาษามอญยังเรียกคนเชื้อชาติไตรวมทั้งคนไทยทั้งหมดว่า
เซม หรือ
ซีม เหมือนกันหมดโดยไม่แบ่งว่าจะเป็นคนไตในท้องที่ใด แต่สำหรับประเทศไทยปัจจุบัน
พม่าแบ่งเรียกคนไทยทางตอนใต้ลงมา (ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา) ว่า โยเดีย(คือ อยุธยา)
และเรียกคนไทยทางเหนือขึ้นไปว่า ชานยวน หรือ ยูน หรือโยน ( คือ โยนก )
รวมทั้ง
เรียกคนไตในจีนและที่อื่นๆว่า ชาน เหมือนกันทั้งหมด
โกสามพี
ในรัฐฉาน หรือเมิงไตนั้น ยังมีเมืองสำคัญและเก่าแก่อยู่เมืองหนึ่งคือ
เมืองแสนหวี ซึ่ง
ในอดีต เมืองนี้เคยเป็นอาณาจักร มาก่อนคือ อาณาจักรไตมาว หรือแสนหวี มีชื่อเต็ม
อย่างเป็นทางการว่า -เมิงสิรีวิลาศะมหากัมโปจาเสนกนี กอสัมปี หรือสิริวิลาศมหากัม
โพชาสังฆีโกสามพี เรียกง่ายๆว่า กอสัมปี หรือโกสามพี ซึ่งใช้เรียกรัฐฉานได้ทั้งหมด
เพราะโกสามพีมีประวัติที่ยาวไกลและสืบสาวได้ถึงประมาณค.ศ.1200 และพม่าเรียก
เมืองนี้ว่า โกชานปญี หมายถึงเมืองชาน (ไต) ทั้งเก้า(โก=เก้า, ปญี=เมือง,
ชาน=ไต,
ทั้งหมดจึงแปลความได้ว่า รัฐของเมืองไททั้งเก้า) เนื่องจากในสมัยอาณาจักรแสนหวีนั้น
มีการปกครองแบบสหพันธนครรัฐ มีเมืองที่อยู่ใน อาณาจักร 9 เมือง มีเจ้าฟ้าปกครอง
แต่ละเมืองก็จะมีเมืองขึ้นของตัวเอง มากบ้างน้อยบ้าง คำว่า โก จึงหมายถึง
9, สาม
หมายถึงสยาม, พี หมายถึงเมือง และคำว่า สามนั้น ในภายหลังจึงเพี้ยนเป็น
เสียน
และแสน ส่วนคำว่า พี นั้นก็เพี้ยนเป็น วี ตามหลักการแทนอักษรในภาษาบาลี
เมี่อตัด
โก ออกจึงเป็น สามพี และพัฒนาจนกลายเป็น แสนหวี ในที่สุด
ลาวเฉียง
ปัจจุบันไม่ปรากฎว่ามีการใช้คำ ลาวเฉียง หลงเหลืออยู่ในภาษาไทยแต่อย่างใด
แต่ใน
สมัยโบราณ คำนี้ได้ใช้เรียกคนไทอยู่ จนถึงสมัยรัชกาลที่ 5 หมายถึงคนไทที่อยู่ทางตอน
เหนือขึ้นไปในเขตพายัพ ซึ่งคนไทยทางใต้เรียกพวกนี้ว่า ลาวเฉียง หมายรวมถึงคนไทย
ในภาคพายัพคือล้านนาทั้งหมด รวมถึงทางตะวันออกของพายัพคือบริเวณแพร่และน่าน
ด้วย มีชื่อเรียกเป็นทางการว่า มณฑลลาวเฉียง ภายหลังจึงเปลี่ยนชื่อเป็นมณฑลพายัพ
ส่วนลาวที่อยู่ทางตะวันออกไกลออกไป เรียกว่า ลาวกาว
ลาวเฉียงยังแบ่งออกเป็นลาวโยนอีก หมายถึงภาคตะวันตกของพายัพ ประกอบด้วยเชียง
ใหม่ ลำพูน ลำปาง แต่คำ ลาวเฉียง ก็ยังคงหมายถึงล้านนาโดยรวมอยู่นั่นเอง
และ คำ
เฉียง หมายถึงภาษาล้านนา ส่วนคำ ลาวโยน ซึ่งบางครั้ง เรียก ยวน หมายถึงโยนก
คือ
ล้านนาในปัจจุบัน ลิลิตยวนพ่ายที่แต่งในสมัยอยุธยาก็หมายถึงล้านนาพ่าย
ไม่ใช่ญวนพ่าย ต่อมาเมื่อเกิดความสับสนระหว่างยวนและญวน จึงไม่ใช้ยวนเพื่อเรียกแทนคนไทล้านนา
อีก แต่คนทางใต้ก็มักจะเรียกคน ทางล้านนาว่า ลาวล้านนา ซึ่งชาวล้านนาก็ไม่ชอบให้
ใครเรียกเช่นนั้น เพราะถือว่าเป็นการดูถูกเหยียบย่ำกันทางเชื้อชาติ และยังถือว่าตัวเอง
เป็นคนไทพวกหนึ่ง ไม่ใช่ลาว แม้แต่คนลาวเองก็ไม่นับเอาเป็นพวกเพราะถือว่าพวกนี้
ไม่ใช่ลาว คนไท ล้านนาจึงเรียกตัวเองว่า คนเมือง ซึ่งหมายถึงคนที่อยู่ในเมือง
คำว่า
เฉียง นี้ คนเมืองรับเอามาจากอิทธิพลพม่า สมัยที่ยังอยู่ในปกครองของพม่า
โดยรับเอา
คำว่า ชาน ของพม่ามา แต่ เขียนด้วยวิธีพม่าคือ สยำ แต่ใช้วิธีออกเสียงของชาวล้านนา
สยำ ออกเสียงว่า เสง หรือเสียง คำสะกดจึงเป็นแม่กง ไม่ใช่แม่ กมหรือแม่กนเหมือน
อย่างชาวบ้านเขา อักษร สย ก็ออกเสียงเหมือนพม่าคือเป็นเสียง ช, สยำ ในภาษาล้าน
นาจึงกลายเป็น เชียง เมื่อออกเสียงสูงตามสำเนียงล้านนาจึงกลายเป็น เฉียง
สยามในภาษาเขมรเนะ
สยำกุก ( นี่คือชาวสยามแห่งลุ่มแม่น้ำกก )
ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เขมร เรียกคนไทว่า สยำ ออกเสียงว่า เซียม, เซม,
ซีม ตามความ
แตกต่างของแต่ละพื้นที่ เรียกไทใหญ่ว่า เซียมธม (ธม แปลว่า ใหญ่) ที่ระเบียงนอกของ
วิหารนครวัต พบภาพสลักซึ่งบ่งบอกได้แน่นอนว่าหมายถึงคนสยาม ภาพดังกล่าวก็ได้มี
การสลักบอกไว้ด้วยว่า เนะ สยำกุก แปลว่า นี่คือชาวสยาม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกองทัพ
พระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ที่ยกไปรบกับอาณาจักรจาม แต่ผู้ที่ศึกษาโบราณคดีและประวัติ
ศาสตร์ในยุคแรกนั้น ยังเป็นฝรั่งเสียเป็นส่วนใหญ่ ที่สำคัญคือ นายยอร์ช
เซเดย์ แต่ส่วน มากก็ไม่ได้ศึกษาให้ลึกลงไปในรายละเอียด ทำให้มีการสรุปกันตามประสาฝรั่งที่ไม่รู้ถึง
วัฒนธรรมเก่าแก่ของเอเซียมากนัก ต่อมาจึงทำให้นักศึกษาประวัติศาสตร์ชาวไทยต่าง
พากันเชื่อฝรั่งกันไปหมด โดยสรุปกันออกมาว่า ชาวไทยในภาพนั้นคือนักรบรับจ้าง
และ
ยังมีปัญหาที่ยังคิดกันไม่ออกคือ คำว่ากุก หมายถึงอะไร บางท่านว่า สยามมกุฏ
น่าจะ
มาจากคำนี้
เมื่อพิจารณาถึงการออกเสียงตามอักขระวิธีของเขมรแล้ว จะพบว่า สระอุ ในภาษาเขมร
ออกเสียง โอะ ดังนั้น กุก จึงออก เสียงว่า โกก เมื่อเป็นสระลดรูปในภาษาไทยจึงกลาย
เป็น กก ดังนั้น คำที่เขียนว่า สยำกุกในภาษาเขมรจึงออกเสียงว่า เซียมกก
แน่นอนว่า
เซียมคือสยาม แล้วกกหมายถึงอะไร
เมื่อพิจารณาถึงเครื่องแต่งกายที่ปรากฎอยู่ในภาพนั้น แล้วเทียบกับวรรณคดีเรื่องท้าวฮุ่ง
ก็จะพบว่า เป็นเครื่องแต่งกาย ของคนที่อยู่ทางลุ่มแม่น้ำกก ซึ่งบรรยายลักษณะเครื่อง
แต่งกายของคนไทในสมัยนั้นเอาไว้ ซึ่งมีความคล้ายคลึงกันมาก รวมทั้งการใช้เครื่อง
ประดับเพื่อแสดงฐานะทางสังคม ที่สำคัญคือ ร่ม ซึ่งเป็นเครื่องบ่งบอกฐานะของคนใน
ยุคโบราณ โดยเฉพาะกลุ่มคนที่อยู่ทางตอนเหนือรวมถึงในสมัยท้าวฮุ่งด้วย
การเรียกคน
ไตในสมัยโบราณก็อาจจะแบ่งเรียกตามพื้นที่ที่อาศัยอยู่เช่น ไตรง คือ คนไตที่อยู่ทางแม่
น้ำตุรุงปานี ไตอาหมในอัสสัม จึงไม่แปลกอะไรถ้า สยำกุก(เซียมกก) จะหมายถึงคนไต
ที่อยู่ทางลุ่มแม่น้ำกก กองทหารดังกล่าวก็คือทหารจากลุ่มแม่น้ำกก ลงมาช่วยเขมรรบ
กับจาม ซี่งคนไทก็ได้ประโยชน์ด้วย เพราะในเวลานั้นคนไททางเหนือก็กำลังมีสงคราม
ติดพันอยู่กับจามเหมือนกัน กองทหารดังกล่าวจึงไม่น่าเป็นกองทหารรับจ้างรบ
เพราะ เขมรคงจะมีความภูมิใจในกองทหารกองนี้มิใช่ น้อย ถึงกับต้องสลักภาพเอาไว้อย่าง
วิจิตรบรรจง ประนีตสวยงาม และบอกเอาไว้ด้วยความยกย่องว่า เนะ สยำกุก
สยามในภาษาจีน
คนจีนเคยเรียกคนไทว่า ส้าน และเรียกรัฐฉานว่า ส้านปู้ มีอยู่ในพงศาวดารฮั่นเมื่อ
ประมาณพ.ศ.568 ซึ่งได้รวบรวมเรื่อง ของส้านไว้ในหมวดคนป่า คนเถื่อนที่อยู่ทาง
ตะวันตกเฉียงใต้แถบมณฑลยูนนาน และความดังกล่าวได้ปรากฎเป็นบท แทรก อยู่
ในเรื่องของประเทศอายหลาว หรือ อ้ายลาว อาณาเขตของส้าน (ประมาณพ.ศ. 650)
ครอบคลุมตอนบนของประ เทศพม่าในรัฐกะฉิ่น และติดต่อกับมณฑลยูนนานของจีน
ซึ่งอยู่ในเขตปกครองตนเอง ไต - จิงป่อ (ปัจจุบันเป็นถิ่นฐาน ของชาวไต
ตามชื่อที่ใช้
เรียกนั้น) อาณาเขตของส้านในเขตพม่าดังกล่าวหมายถึงไตมาวโหลง ซึ่งกำลังเริ่มก่อ
ตัวขึ้นเป็นอาณาจักรแสนหวีในระยะต้นนั่นเอง ทางตะวันตกเฉียงใต้มีทางคมนาคม
ที่สามารถติดต่อได้ถึงทะเลเมดิเตอเรเนียน หลังพ.ศ.650 เป็นต้นมา คำว่าส้านก็หาย
ไปจากบันทึกของจีนเป็นเวลานานมาก เพราะจีน เปลี่ยนมาเรียกคนไทว่า ฮวนนั้ง
และไป่อี๋ซึ่งมีความหมายว่าคนป่า ไม่มีวัฒนธรรม ตามธรรมเนียมของผู้ที่มีอิทธิพล
หรือความเจริญที่เหนือกว่า ซึ่งมักจะเรียกผู้ที่ด้อยกว่าในแนวความหมายดังกล่าว
คำ
ว่าส้าน มีปรากฎในบันทึกของจีนอีกครั้งในราวพ.ศ. 1400 แต่เปลี่ยนเป็น
ถาน แต่
ก็ยังเป็นเรื่องของชนชาวป่าอยู่นั่นเอง ประมาณพ.ศ. 1800 คำว่าส้าน หรือ
ถาน จึง
หมายถึงสถานที่หรือเมืองของพวกไป่อี๋ ซึ่งคนจีนใช้เรียกคนไททางตอนบนของพม่า
ต่อเขตยูนนานจนถึงยุคสาธารณรัฐ จึงเปลี่ยนมาเรียก ไต ตามอย่างคนไทที่เรียก
ตัวเองว่า ไต คำว่าส้านหรือ ส่าน ในภาษาจีนแปลว่าเมือง ในภาษาหนานเจ้าแปลว่า
ลุ่มน้ำ คนจีนได้เอาความหมายทั้งสอง รวมเข้ามาไว้ในคำเดียวกันแปลว่า เมืองที่ตั้ง
อยู่บริเวณลุ่ม น้ำ เนื่องจากคนไทตั้งแต่สมัยโบราณก็มักจะตั้งบ้านเรือนอยู่ใกล้กับ
แหล่งน้ำอยู่แล้ว คำว่าส่าน ในที่นี้คงหมายความเฉพาะคนไทที่อยู่รอบๆประเทศ
ไทยในปัจจุบันเท่านั้น เมี่อจีนได้คบค้ากับสุโขทัย ซึ่งก่อตั้งเป็นอาณาจักรขึ้นมาแล้ว
จีนก็เรียกว่า เซียน ตามอย่างเขมร จามปาและมอญ ที่เรียกคนไทฃว่าเซียม
แต่ใน
ขณะเดียวกันจีนก็ยังคงเรียกไทใหญ่ - ไทเมาว่าส้านอยู่เหมือนเดิม ประเทศเซียน
ที่คนจีนใช้เรียกนั้นหมายถึงอาณาจักรสุโขทัย แต่เมืองที่อยู่ต่ำลงมาจากปากแม่น้ำ
ปิงนั้น จีนเรียกว่า หลอหู(ละโว้) ในสมัยต่อมา เมื่อมีการรวมดินแดนลุ่มน้ำปิงและ
ลุ่มน้ำเจ้าพระยาเข้าไว้ด้วยกันแล้ว จีนจึงเรียกใหม่ว่าเซียนหลอหู ซึ่งใช้เรียกประเทศ
ไทยจนถึงปัจจุบัน คำว่าเซียนนี้ มีที่มาต่างจากคำว่าส้าน เซียนเป็นคำที่มีความหมาย
ในทางที่ดีคือ พระ อาทิตย์ขึ้น ซึ่งพ้องกันพอดีกีบความหมายของ สุโขทัย
ซึ่งก็แปลว่า
พระอาทิตย์ขึ้น (อย่างมีความสุข) เหมือนกัน ดังนั้น คำว่าเซียนและส้าน
จึงเป็นคำ
คนละคำกันอย่างเด็ดขาด มีที่มาและความหมายคนละอย่าง แต่อย่างไรก็ตาม ทั้ง
สองคำก็คือพัฒ นาการของคำว่า สยาม ซึ่งหมายถึงคนไทอยู่นั่นเอง
ตามล่าหาที่มา
การออกเสียงเซียนของคนจีนนั้น ก็คงจะเหมือนกับพม่าคือ ในบางพื้นที่ภาษาจีน
จะไม่มีตัวสะกดแม่กม จึงต้องออกเสียงว่า เซียน แต่เมื่อเอาตัวอักษรตัวเดียวกันนี้
ไปให้คนจีนทางใต้ซึ่งมีตัวสะกดแม่กมอ่านก็จะได้เสียงว่า เสี่ยม-สิ่ม-เซียม
ทั้งนี้
เพราะเป็นภาษาจีนที่มีตัวสะกดแม่กมนั่นเอง ถึงตรงนี้เราจึงพอสรุปได้แล้วว่า
คำ
ว่าสยาม ที่ออกเสียงแตกต่างกัน ต่างๆนาๆในหลายพื้นที่นั้น คำดั้งเดิมน่าจะเป็น
คำที่มีพยัญชนะต้นเป็น ซ หรือ ส หรือ สย และมีตัวสะกดเป็นแม่กม มี รูปสระคือ
เอ-อี-เอีย เมื่อประกอบเป็นคำก็จะเป็น เซียม-เสียม-เสยียม-สยาม-ซาม-เซม-ซีม
เป็นต้น เคยมีคนตั้งข้อสังเกตุว่า คำส้าน ภาษาหนานเจ้าที่แปลว่าลุ่มน้ำ
และในภา
ษาจีนที่แปลว่าเมือง ซึ่งจีนนำเอาความหมายทั้ง สองมาไว้ในคำๆเดียว ซึ่งมีความ
หมายว่าเมืองที่ตั้งอยู่บริเวณลุ่มน้ำนั้น น่าจะเป็นการถ่ายเสียงมาจากคำว่าเชียง
เชง
หรือเจง ซึ่งแปลว่าเมืองเหมือนกัน แต่เราได้ข้อสรุปแล้วว่า เซียม-เซียน
เป็นคำที่มี
ตัวสะกดเป็นแม่กมมาแต่เดิม ดังนั้น การถ่ายเสียงจากแม่กงหรือแม่กนจึงไม่น่าเป็น
ไปได้
ก่อนที่เราจะตามล่าหาที่มาของคำว่าสยามกันต่อไปนั้น อยากจะขอสรุปเอาไว้ชั้นหนึ่ง
ก่อนว่า ชนชาติต่างๆในเอเซียที่มีคน ไท - ไต อพยพเข้าไปอยู่นั้น เรียกคนไท
- ไต
ว่าอย่างไรกันบ้าง ตามตารางดังนี้
ตารางคำเรียกชนชาติไตของกลุ่มชนในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้
ชนชาติ | คำเรียกชนชาติไท | คำเรียกคนไทยในประเทศ |
กะฉิ่น(ในพม่า) | ซาม | - |
กะฉิ่น ( ในยูนนาน) | ซาม | - |
อะฉ่าง ในพม่า | ซาม | - |
ปะหล่อง ในพม่า | ซิ อาม | - |
ข่าหมุ ในยูนนาน | ซ-ยาม | - |
ละว้า ในยูนนาน | เซียม | - |
ละว้า ในพม่า | เซน | - |
มอญ | เซม, ซีม | - |
พม่า | ชาน | - |
จีนกลาง | ส้าน | เซียน |
จีนกวางตุ้ง | สิ่ม | สิ่ม |
จีนแต้จิ๋ว | เซี้ยง (ไทใหญ่) | เสี่ยม |
เขมร | - | เซียม, เซม, ซีม |
จีนแคะ | - | เสี่ยม |
เวียดนาม | - | เซียม, ซีม |
จาม | - | เซียม, ซยีม |
มลายู | - | เซียม,ซีแญ |
เคยมีนักปราชญ์บางท่านตั้งข้อสันนิจฐานไว้ว่า สยาม น่าจะมาจากคำว่า ศยม
ในภาษา
สันสกฤษ ซึ่งแปลว่า ดี เลิศ ประเสริฐศรี อะไรเทือกนั้น แต่เราก็ได้ข้อสรุปมาแล้วว่า
คำ
สยาม นั้น มีที่มาจากทางตอนใต้ของจีน ไม่ใช่ทางอินเดีย และสะกดด้วย ส
ไม่ใช่ ศ ทฤษ
ฏีดังกล่าวจึงต้องตกไปมีคำอยู่คำหนึ่ง เรียกว่า ซำ ปัจจุบันจะพบคำนี้เฉพาะที่เป็นชื่อเมือง
ในประเทศลาวเท่านั้น คือ ซำเหนือและซำใต้ โดยยังไม่พบว่ามีการใช้คำนี้ในที่ใดๆในปัจ
จุบัน แต่ความหมายของคำๆนี้ก็ยังคงอยู่ นั่นคือ หมายถึงที่ๆมีน้ำซึมออก
มาจากดิน บาง
ที่ก็กินพื้นที่เป็นบริเวณกว้าง และเก็บน้ำได้เพียงพอแก่การดำรงชีพ ตามหลักฐานของ
จีนโบราณก็บ่งบอกว่า คนสยามชอบตั้งหลักแหล่งอยู่ตามซำ ซึ่งมีอยู่มากมายหลายแห่ง
ทางตอนใต้ของมณฑลยูนนาน คนทั่วไปจึง เรียกคนที่อยู่ตามซำว่า คนซำ ตามแหล่งที่
อยู่ในสมัยต่อมา พวกซำกลายเป็นพวกแรก (ที่ไม่ใช่จีน) ที่สามารถพัฒนาตนเองจนพ้น
สภาพการดำรงชีพแบบ PRIMITIVE เริ่มมีการพัฒนาทางด้านการเกษตร โดยใช้เทคโน
โลยี่ใหม่ๆเข้ามาช่วย เริ่มมีการจับจองที่ดิน และหวงแหนที่ดินสร้างระบบปกครองแบบ
สังคมเมือง และการอยู่รวมกัน แทนการอยู่แบบต่างคนต่างอยู่ในแต่ละครอบครัวอย่าง
แต่ก่อน ทำให้คนสยามเริ่มมีความสำคัญมากขึ้น และได้แตกหน่อออกไปเป็นคำต่างๆ
ดังได้กล่าวมาแล้วในตอนต้นถึงตรงนี้ ข้าพเจ้าก็ยังไม่อาจปักใจเชื่อได้ว่า
สยามคือคำ
ที่มีที่มาจากคำว่าซำ ดังกล่าว แต่ในขณะที่ยังไม่มีทฤษฏีใดที่ดีกว่านี้
ข้าพเจ้าก็อยาก
จะขออนุมานเอาทฤษฏีนี้ตั้งไว้เป็นบรรทัดฐานก่อน จนกว่าจะมีทฤษฏีที่ดีกว่ามาหัก
ล้าง เราก็อาจจะมา ทำการศึกษากันใหม่อีกครั้ง ขอให้ท่านผู้อ่านโปรดใช้วิจารณญาน
ของท่านในการอ่าน และในการที่จะเชื่อหรือไม่เชื่อใน ทฤษฏีดังกล่าว
ความหมายของคำว่า ไท
ในสมัยที่คนไทยังอยู่ในจีนนั้น คนจีนเรียกคนไทด้วยความดูถูกเหยียดหยามว่า
ฮวนนั้ง
บ้าง ไป่อี๋บ้าง ซึ่งเป็นคำที่หมาย ถึงคนป่า คนไม่มีวัฒนธรรม หรือบางครั้งก็ถูกกดลงไป
ต่ำจนเหมือนไม่ใช่คน ซึ่งล้วนเป็นคำที่มีความหมายที่ไม่ดีทั้งสิ้น เมื่อคนไทถูกเรียกแบบ
นั้นหนักเข้า ก็เกิดความกดดัน และต้องการประกาศตัวว่าเป็นคนไม่ใช่สัตว์
เป็นไทไม่ใช่
ไป่อี๋, ไท ในสมัยนั้นจึงมีความหมายว่า คน (PEOPLE) คือคนที่อยู่กันอย่างมีสังคม
ไม่
ใช่สิ่งมีชีวิตพันธุ์หนึ่งที่อยู่กันแบบ PRIMITIVE
บันทึกต่างๆในสมัยโบราณ ทั้งในวรรณคดีเรื่องท้าวฮุ่ง ตำนานสิงหนวัต ต่างก็เคยใช้
คำว่า ไท ในความหมายที่หมายถึง คน ซึ่งน่าที่จะเป็นหลักฐานได้ว่า ไท เคยมีความ
หมายว่า คน มาก่อน สมัยราชวงศ์ถัง คนจีนมีความอ่อนแอ จีงถูกคนไทที่อยู่ทางตอน
ใต้ยึดอำนาจ ถึงแม้จะยึดได้เพียงยูนนาน แต่ก็ถือว่าเป็นชัยชนะอันยิ่งใหญ่
เพราะไม่
เคยมีใครทำได้มาก่อน แม้แต่ราชสำนักที่อยู่เมืองหลวงยังต้องยอมเรียกคนไทว่า
ไต
ในภาษาจีนออกเสียงว่า ต้า และเรียกเมืองที่คนไตอยู่ว่าต้าหมิง หรือ ต้าเหมิง
สรุปได้
ว่า ไต น่าจะเป็นคำที่เกิดมาจากคนไตเอง เพราะถ้าเป็นคำที่เกิดจากคนจีนแล้ว
คน
จีนจะไม่ ยอมตั้งชื่อใคร ให้มีความหมายที่ดีแบบนั้นแน่นอน และคำว่าไตในสมัยแรกๆ
นั้น มีความหมายเพียงเพื่อแสดงฐานะความเป็นคน (PEOPLE) เท่านั้นต่อมา
เมื่อคน
ไทมีนิสัยรักความอิสระเสรี ไทจึงมีความหมายว่า อิสระ ในสมัยต่อมา