ความหมาย
คนไทยเรียกชื่อเมืองว่า กรุงเทพฯ แต่เมื่อพูดเป็นภาษาอังกฤษจะเป็น Bangkok
มีทฤษฏี
มากมายที่ตั้งขึ้นมาเพื่อสนับ bangkok ว่า เป็นทำเลที่มีต้นมะกอกอยู่มากมาย
แต่จากการ
ศึกษาค้นคว้า ก็ยังไม่พบว่า จะมีพื้นที่ใดในเขตกรุงเทพฯที่จะมีต้นมะกอกมากมายจนสา
มารถเอาไปตั้งเป็นชื่อเมืองได้ โดยความเป็นจริงแล้ว บางกอก หม่ายถึงบางที่เป็นเกาะ
จากการขุดคลองลัดในสมัยพระชัยราชาธิราช คือ ขุดจากบริเวณสะพานปิ่นเกล้าลงไปจน
ถึงหน้าวัดอรุณฯ ทำให้พื้นที่ทางฝั่งธนฯในปัจจุบันกลายสภาพเป็นเกาะ ต่อมาจึงเรียกว่า
บางเกาะ ซึ่งมีหลักฐานเป็นเอกสารสมัยอยุธยา ซึ่งเรียกพื้นที่ดังกล่าวว่าบางเกาะ
จนถึง
สมัยสมเด็จพระนารายณ์ จากนั้น คำว่าบางเกาะก็หายไป ไม่ปรากฎอีก แต่มีคำบางกอก
เกิดขึ้นมาแทน แต่ไม่ใช่ว่า บางกอกจะเกิดขึ้นมาจากน้ำคำของคนไทย แต่เกิดขึ้นจากการ
ที่ฝรั่งจะออกเสียงสระเสียงสั้นไม่ชัด โดยเฉพาะคำที่อยู่ท้ายมักจะออกเป็นเสียงยาวเสมอ
และเพื่อคงเสียงให้สั้นไว้ จึงต้องเอา K มากำกับไว้ bangkor จึงกลายเป็น
bangkok ในที่
สุด ดังนั้นบางกอกดั้งเดิมนั้น คือพื้นที่บริเวณบางกอกน้อย วัดอรุณตลิ่งชัน
ในปัจจุบัน
ต่อมา เม่อพื้นที่ดังกล่าวถูกสถาปนาให้เป็นกรุงธนบุรี คำว่าบางกอกก็ยังคงเป็นชื่อสามัญ
ที่ใช้เรียกกันทั่วไป ต่อเมื่อย้ายเมืองหลวงข้ามฝากมาอยู่อีกฝั่งของแม่น้ำแล้วนั้น
คำว่า บาง
กอกก็ติดมาด้วย โดยฝรั่งยังคงเรียกบางกอก แต่คนไทยก็ยังไม่นิยมเรียกบางกอก
จนถึง
สมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งคนไทยได้มีโอกาสติดต่อกับฝรั่งมากขึ้น คำว่าบางกอกจึงเริ่มติดปาก
และใช้กันแพร่หลายสืบมาจนถึงทุกวันนี้
ความที่กล่าวมานั้น เป็นเพียงทฤษฎีหนึ่ง ซึ่งมีความเป็นได้สูงมาก เพราะมีหลักฐานทาง
ประวัติศาสตร์พร้อมมูล มีข้อเปรียบเทียบมากมาย ซึ่งไม่สามารถที่จะเอามาแสดงได้ทั้ง
หมด แต่เท่าที่เอามาลงไว้ ก็น่าที่จะบ่งชี้ได้แล้วว่า บางกอก หมายถึงอะไร
และอยู่ที่ไหน
และทำไมจึงเป็น Bangkok
การตั้งเมือง
หลังจากที่รัชกาลที่ 1 ได้เสด็จขึ้นครองราชย์ที่ธนบุรีแล้ว พระองค์ก็ได้ทรงย้ายเมืองมา
อยู่ที่อีกฝั่งหนึ่งของแม่น้ำ ทั้งนี้คงจะมีการวางแผนกันมาบ้างแล้วกับพระเจ้ากรุงธนบุรี
พระองค์จึงทรงย้ายเมืองในทันทีได้โดยสะดวกเหตุ ผลสำคัญในการย้ายเมืองคือ พื้น
ที่ทางฝั่งธนบุรีเป็นพื้นที่เว้าของแม่น้ำ ถึงแม้จะเป็นที่ดอน แต่ก็อาจจะถูก
น้ำกัดเซาะ
ได้ในภายหลัง และธนบุรีเองก็ไม่ใช่เป็นชัยภูมิที่ดีในการป้องกันข้าศึก
แต่ทางฝั่งตะวัน
ออกนี้ถึงแม้จะเป็นที่ลุ่มกว่า แต่เป็นที่โค้งออกตามลำน้ำ ทำให้เป็นชัยภูมิที่สามารถป้อง
กันข้าศึกได้ดีกว่า พระองค์จึงทรง ย้ายเมืองข้ามฝั่งแม่น้ำมาฝั่งตะวันออกหลังจากการ
เปลี่ยนแผ่นกินไม่นาน แล้วจึงเริ่มทำการสร้างพระนคร โดยในชั้นแรกนั้น
ได้ทรงสร้าง
ปราสาทราชวังเป็นเครื่องไม้ก่อน เพราะต้องสร้างไปพร้อมๆกับที่ ต้องระวังข้าศึกไปด้วย
ทำให้ไม่มีเวลามากในการทำอิฐ พระองค์จึงจำต้องนำอิฐมาจากซากเมืองเก่าที่อยุธยามา
สร้างเป็นพระนครใหม่ หลังจากนั้นจึงได้อัญเชิญพระแก้วมรกตข้ามฝั่งจากธนบุรีมาไว้ยัง
ฝั่งพระนครเมื่อวันที่ 22 มีนาคมพศ. 2327 และประดิษฐานอยู่ที่วัดพระศรีรัตนศาสดา
รามถึงปัจจุบัน
ในการสร้างเมืองใหม่นั้น พระองค์ทรงทอดแบบผังเมืองมาจากอยุธยาแทบทุกอย่างเช่น
สร้างวัดพระศรีรัตนศาสดารามให้เป็นวัดในพระราชวังเหมือนกับวัดพระศรีสรรเพชร
สร้างสนามหลวงเหมือนลานสนามหลวงที่หน้าพระที่นั่งพุทไธสวรรค์ ตั้งชื่อสถานที่
ต่างๆให้เหมือนสถานที่ในอยุธยาเช่น ขุดคลองมหานาคเพื่อเป็นคูเมืองซึ่งก็เหมือนกับ
คลองมหานาคในอยุธยาที่ถูกขุดขึ้นมาเพื่อเป็นคูเมืองเช่นเดียวกัน
ในสมัยต้นรัชกาลที่ 1 เขมรยังเป็นเมืองขึ้นของไทยอยู่ มีคนงมพระขรรค์ได้เล่มหนึ่ง
จากทะเลสาปเขมร เป็นของทำมาแต่สมัยนครวัติ มีสภาพที่ดีมาก ไม่มีรอยสนิมและ
การผุกร่อน แม้จะจมอยู่ในน้ำมาเป็นเวลาหลายร้อยปี ผู้แทนพระองค์ที่อยู่ในเขมรจึง
นำพระขรรค์นั้นมาถวาย พระองค์จึงโปรดให้ทำด้ามและฝักขึ้นมาใหม่ แล้วทรงนำมา
ประกอบเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องราชกกุธภัณฑ์ [Rigalia] และพระราชทานชื่อว่าพระ
แสงขรรค์ชัยศรี
ในวันที่นำพระแสงเข้ามาในวังนั้น ได้เกิดมีฟ้าผ่าทั่วเมืองถึง 7 ครั้ง
พระองค์ก็ทรงมี
พระราชดำริว่า คงไม่ใช่นิมิตที่ธรรมดา จึงทรงตั้งชื่อประตูที่ใช้เป็นทางผ่านของพระ
ขรรค์ชัยศรีในวันที่นำเข้ามาถวายให้มีสร้อยลงท้ายว่า ชัยศรี ประตูดังกล่าวคือ
ประตู
วิเศษชัยศรีและพิมานชัยศรี
ในสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวท่านได้สร้างกรุงเทพฯให้มีความ
ทันสมัย เนื่องจากพระองค์ทรงมีพระโอรสและพระธิดารวมกันถึง 76 พระองค์(รัชกาล
ที่ 4 มีพระโอรสและพระธิดารวมกัน 87 พระองค์)และโปรดให้พระโอรสแทบทุกพระ
องค์เดินทางไปศึกษาวิชาการสมัยใหม่ต่างๆยังประเทศในยุโรป โดยเฉพาะประเทศอัง
กฤษ แล้วจึงนำวิชาการต่างๆ เหล่านั้นกลับมาสร้างกรุงเทพฯ ให้เจริญทัดเทียมกับ
นานาอารายประเทศ ขณะเดียวกัน เป็นช่วงเวลาที่ประเทศมหาอำนาจชาวตะวันตก
โดยเฉพาะ ฝรั่งเศสที่กำลังแผ่อิทธิพลอยู่ในประเทศ ต่างๆ รอบเมืองไทย พระองค์จึง
ต้องเสด็จไปยังประเทศต่างๆเพื่อหามิตรประเทศที่มีกำลังพอที่จะมาคานอำนาจของ
ฝรั่งเศสได้เช่น เเยอรมัน สเปญ รัสเซีย อังกฤษ และประเทศต่างๆในยุโรป
ถึง 2 ครั้ง โดยเฉพาะอังกฤษซึ่งพระโอรสของพระองค์ส่วนมากกำลังศึกษาอยู่ที่นั่น
และทรงเจริญ
พระราชไมตรีกับประเทศอังกฤษ จนอังกฤษเปลี่ยนท่าทีมาเป็นมิตร จากที่เคยมีท่าที
ที่จะเอาไทยเป็นเมืองขึ้น ทำให้ไทยรอดพ้นจากการตกเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศสไป
ได้ ทั้งนี้ พระองค์เองก็ทรงได้ตัวอย่างจากการที่พม่าต้องเสียเมืองให้อังกฤษในช่วงเว
ลาก่อนหน้านั้น ไม่นาน รัชกาลที่ 5 จึงทรงมีพระราชดำริว่าหากพระองค์ยังคงดื้อดึง
ถือตัวอย่างเช่นพม่า ก็คงจะต้องเสียเมืองให้แก่ฝรั่งเศสเหมือนอย่างที่พม่าเสียเมืองให้
แก่อังกฤษเป็นแน่ พระองค์จึงทรงใช้กุศโลบายดังกล่าวในการนำประเทศชาติให้รอด
พ้นวิกฤติมาได้ โดยเฉพาะวิกฤติการณ์ในปีพศ.2436 (1893)ที่เรียกกันว่า
วิกฤติ
การณ์ รศ. 112 หลังจากที่พระโอรสของพระองค์กลับมาเมืองไทยทุกพระองค์ต่าง
ก็ได้ช่วยกันทำให้ประเทศไทยมีความเจริญขึ้นใน ทุกๆ ด้าน ทั้งการคมนาคมติดต่อ
สื่อสารการศึกษาการเงินการธนาคาร การเศรษฐกิจ การทหารและการสาธารณูป
โภคต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พระองค์ได้ประกาศเลิกทาส โดยพระองค์ทรงใช้วิธีที่
ค่อยเป็นค่อยไป และทรงใช้เวลาถึง30 ปีในการเลิกทาส
1.
วัดพระศรีรัตนศาสดาราม รัชกาลที่ 1 ทรงสร้างเพื่อให้เป็นวัดในพระบรมมหาราช
วังซึ่งมีแต่เขต พุทธาวาส และประดิษฐาน พระแก้วมรกต ภายในวัดประกอบไปด้วยสิ่งสำ
คัญดังนี้คือ
พระอุโบสถ สร้างพร้อมกับการสร้างพระราชวัง เป็นที่ประดิษฐานพระแก้วมรกต
มีพระ
พุทธรูปยืน ขนาบ 2 ข้างฐานชุกชีคือ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก และพระพุทธเลิศหล้า
นภาลัย ซึ่งรัชกาลที่ 3 ทรง สร้างเพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติแด่บูรพกษัตริย์ทั้ง
2 พระ
องค์ บานประตูทางเข้าพระอุโบสถเป็น งานประดับมุก ฝีมือช่างในสมัยรัชกาลที่
1 มีสิงห์
คู่ประดับอยู่ที่เชิงบันไดหน้าประตูโบสถ์ทั้ง 3 ประตู คู่กลางเป็นของที่นำมาจากเมืองเขมร
ส่วนอีก 2 คู่ข้างๆ เป็นของที่ทำเลียนแบบในสมัยต่อมา มีรูป ครุฑยุดนาคประดับอยู่
รอบ
พระอุโบสถ หน้าบันมีรูปพระนารายณ์ทรงครุฑ เป็นเครื่องหมายว่า ที่ แห่งนี้สร้างโดยพระ
มหากษัตริย์
พระมณฑป สร้างในสมัยรัชกาลที่ 1 เพื่อเป็นที่ประดิษฐานพระไตรปิฎกที่ทรงสร้างขึ้น
มาใหม่เป็น พระไตรปิฎกที่สร้างด้วยทองคำแท้ ประดิษฐานอยู่ในตู้พระธรรมฝังมุกฝีมือ
ช่างในรัชกาลที่ 1 พระ มณฑปนี้ เดิมเคยเป็นพระมณฑปที่สร้างอยู่ในน้ำตามแบบโบราณ
ที่มักสร้างมณฑปหรือหอไตรไว้ใน สระเพื่อป้องกันปลวก ในสมัยรัชกาลที่ 4
พระองค์โปรด
ให้ถมสระ แล้วสร้างพระเจดีย์หนึ่งองค์ทาง ทิศตะวันตกของพระมณฑป เดิมชื่อว่าพระศรี
รัตนเจดีย์ เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุส่วนหน้าผาก เป็นเจดีย์ทรงลังกา
แต่สมัยนั้นยัง
ไม่ได้มีการปิดโมเสกบนองค์เจดีย์ จนถึงสมัยรัชกาลที่ 5 จึงได้มีการ ปิดโมเสกสีทองที่
องค์พระเจดีย์ รัชกาลที่ 4 ยังได้สร้างปราสาทพระเทพบิดรทางทิศตะวันออกเพื่อเป็นที่
ประดิษฐานพระบรมรูปของบูรพกษัตริย์ในราชวงศ์จักรี ปราสาทพระเทพบิดรนี้ เปิดให้
ประชา ชนทั่วไปได้เข้านมัสการพระบรมรูปของอดีตพระมหากษัตริย์ในวันที่
6 เมษายน
ซึ่งเป็นวันจักรีของ ทุกปี
นครวัติจำลอง อยู่ทางด้านหลังของพระมณฑปบนฐานทักษินเดียวกัน สร้างเมื่อครั้งที่
สมเด็จกรมพระ ยาดำรงราชานุภาพเสด็จไปทรงศึกษาศิลปะเขมรในประเทศกัมพูชา
และ
ทรงทราบจากบันทึกต่างๆว่า ที่ปราสาทนครวัติแห่งนี้เคยเป็นสถานที่ประดิษฐานพระแก้ว
มรกตมาก่อน เสด็จในกรมฯ.จึงทรงสั่งให้ช่างทำแบบจำลองนครวัติไว้ในวัดพระแก้วซึ่งเป็น
ที่ประดิษฐานพระแก้วมรกตในปัจจุบัน เจดีย์ทรงย่อ เหลี่ยมไม้สิบสองที่อยู่ด้านหน้าปรา
สาทพระเทพบิดรนั้น เคยตั้งอยู่ที่พระศรีรัตนเจดีย์มาก่อนต่อมาได้ ทำการย้ายมาอยู่ที่นคร
วัติจำลอง และย้ายมาอยู่ที่หน้าปราสาทพระเทพบิดรในที่สุดมีหลักฐานว่าเป็น
พระเจดีย์ที่
บรรจุอัฐของ พระชนกและพระชนนีของรัชกาลที่ 1
หอมณเฑียรธรรม อยู่บนพื้นหน้าปราสาทพระเทพบิดรทางทิศเหนือ รัชกาลที่
1 โปรด
ให้สร้าง เพื่อเป็นที่สำหรับทรงฟังธรรม และเป็นสถานที่สำหรับแปลเอกสารภาษาต่าง
ประเทศ วิหารหลังนี้ถูกสร้างเพื่อให้เป็นแบบอย่างศิลปะในสมัยอยุธยาที่สมบูรณ์
กล่าว
คือ ด้านบนของเสารับชายคาด้านนอก จะสอบเข้าหากัน ตัววิหารมีลักษณะแอ่นคล้าย
เรือเรียกว่า ท้องสำเภาที่กำแพงรอบวัด มีจิตรกรรมฝาผนังเล่าเรื่องรามเกียรติ์
หอระฆัง สร้างเป็นหอสูงตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1 ประดับกระเบื้องเคลือบเป็นรูปดอกไม้
ระฆังที่อยู่บน หอนี้ เป็นระฆังที่ขุดได้จาก วัดระฆังโฆษิตาราม รัชกาลที่
1ทรงขอจาก
เจ้าอาวาสเพื่อนำมาไว้บนหอนี้เพื่อเป็นระฆังสำหรับวัด กล่าวกันว่าเป็นระฆังที่มีเสียง
ดังกังวาลและไพเราะมากที่สุด
หอราชพงศานุสรณ์ และหอราชกรมนุสรณ์ เป็นอาคารหลังเล็ก 2
หลัง สร้างอยู่บน
กำแพงด้านหลัง พระอุโบสถ ประดิษฐานพระพุทธรูป 37 องค์ที่รัชกาลที่ 3 ทรงสร้าง
ไว้เมื่อคราวที่ทรงโปรดให้มีการสำ รวจพระพุทธปางต่างๆที่มีทั้งหมด และทรงพบว่ามี
อยู่ทั้งสิ้น 37 ปาง ต่อมารัชกาลที่ 4 จึงทรงถวายพระพุทธรูปเหล่านั้นให้เป็นพระพุทธ
รูปประจำพระชนมวารของพระมหากษัตริย์ไทยทุกพระองค์ตั้งแต่สมัย อยุธยา
ธนบุรี
และกรุงเทพฯ ซึ่งรวมกันแล้วได้ 37 พระองค์พอดี(ไม่นับพระองค์เอง และขุนวรวงศา)
2. เขตพระราชฐาน สถานที่สำคัญในเขตพระราชฐานคือ
พระที่นั่งบรมพิมาน
สร้าง
ในสมัยรัชกาลที่ 5 ในรูปแบบสถาปัตยกรรมตะวันตก ปัจจุบันใช้เป็นสถาน ที่รับรองพระ
ราชอาคัน ตุกะจากต่างเมืองเช่น นายโรนัล เรแกน ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา
หมู่มหามณเฑียร ใช้เป็นที่ประทับและออกขุนนางประกอบด้วย
1. พระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน ใช้เป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์
2. พระที่นั่งไพศาลทักษิน เป็นพระที่นั่งองค์กลางในหมู่มหามณเฑียร ปัจจุบันประดิษ
ฐานพระที่นั่งอัฏฐ ทิศของในหลวงรัชกาลปัจจุบัน
3. พระที่นั่งอัมรินทรวินิจฉัย ใช้เป็นสถานที่ออกขุนนางประดิษฐานบุษบกที่ใช้สำหรับ
ประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของพระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ในราช วงศ์จักรี
พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท อยู่ตรงกลางเขตพระราชฐาน รัชกาลที่ 5
โปรดให้สร้าง
ขึ้นเพื่อฉลองกรุง เทพฯ.ที่มีอายุครบ 100 ปี สถาปัตยกรรมเป็นแบบยุโรป
แต่มีหลัง
คาเป็นรูปแบบทรงปราสาทของไทย ปัจจุบันมักใช้เป็นที่เลี้ยงพระกระยาหารค่ำสำหรับ
ราชอาคันตุกะ
พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท เดิมคือพระที่นั่งอัมรินทราภิเษกซึ่งรัชกาลที่
1 โปรดให้
สร้างขึ้นเป็นพระ ที่นั่งองค์แรกในพระบรม มหาราชวังเพื่อประกอบพระราชพิธีอินทรา
ภิเษกก่อนที่จะมีพระราชพิธีบรม ราชาภิเษก เป็นพระที่นั่งเครื่องไม้ทั้งองค์
แต่หลังจาก
ที่สร้างพระที่นั่งองค์นี้เสร็จแล้ว 3 ปีก็เกิดอุบัติ เหตุฟ้าผ่าไฟไหม้
ซึ่งรัชกาลที่ 1 เสด็จ
มาทรงบัญชาการดับไฟด้วยพระองค์เองและโชคดีที่สามารถย้าย บุสบกออกมาจากไฟ
ได้ทัน แล้วโปรดให้สร้างพระที่นั่งขึ้นใหม่ คือพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทในปัจจุบัน
แล้ว
จึงอัญเชิญบุษบกกลับมาประดิษฐานไว้ในพระที่นั่งองค์นี้ตามเดิม บุษบกองค์นี้เป็นงาน
ฝีมือ ประดับมุกสมัยรัชกาลที่ 1 ที่ละเอียดและปรานีตมาก ซึ่งถือได้ว่าเป็นงานประดับ
มุกชิ้นเอกของเมืองไทย
เนื่องจากพระที่นั่งองค์นี้ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของพระบรมมหาราชวัง จึงมักใช้เป็น
สถานที่ประกอบ พระราชพิธีพระบรมศพของพระบรมวงศานุวงศ์ แล้วจึงอัญเชิญพระ
บรมโกศออกไปยังท้องสนามหลวง เพื่อพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ
สนามหลวง
วัดโพ
( วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร )
ที่ระเบียงคตรอบพระอุโบสถมีวิหารทิศประจำทิศทั้ง 4 บนหน้าบันของวิหารทิศทางทิศ
เหนือและใต้ ทำเป็นรูปนารายณ์ทรงครุฑ ทางทิศตะวันออกและตะวันตกทำเป็นรูปพระ
รามประทับยืนอยู่บนไหล่ หนุมานที่วิหารทิศด้านทิศตะวันออกเป็นที่ประดิษฐานพระ
พุทธรูปยืนปางห้ามญาติ ศิลปอยุธยาตอน ต้นสูง 10 เมตรอายุประมาณ 500 ปี
ในสมัยรัชกาลที่ 3 มีการบูรณะวัดโพธิครั้งใหญ่ มีการสร้างวิหารพระนอนเพิ่มขึ้นมา
พระ
นอนมีขนาด ความยาว 46 ม. สูง 15 ม. ที่ฝ่าพระบาทเป็นฝีมือประดับมุกแสดงภาพมง
คล 108 ประการ ภาพจิตรกรรมฝาผนังเล่าเรื่องพุทธประวัติและลายพฤกษชาติ
รวมทั้ง ชีวิตความเป็นอยู่ของกรุงเทพฯในสมัยนั้น รัชกาลที่ 3 ยังได้ทรงสร้างพระเจดีย์ขึ้นอีก
2
องค์ ขนาบข้างเจดีย์องค์เก่าที่รัชกาลที่ 1 ทรงสร้างไว้ เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติแด่
รัชกาลที่ 2 และได้รื้อพระอุโบสถหลังเก่าลงมาทั้งหมด แล้วสร้างใหม่ให้
ใหญ่กว่าเดิม รวมทั้งสร้างหินแกะสลักเป็นเรื่องรามเกียรติ์ประดิษฐานไว้ที่ด้านนอกของระเบียงโบสถ์
เป็นเรื่องราวที่ไม่ต่อเนื่องกัน ที่บานประตูทางเข้าโบสถ์ เป็นงานฝีมือประดับมุกชิ้นเอก
อีกชิ้นหนึ่งของ เมืองไทย
รัชกาลที่ 3 ยังได้ทรงจัดแสดงทางวิชาการเพื่อเผยแพร่ความรู้แขนงต่างๆ ให้แก่ประชา
ชนทั่วไปเช่น นวดแผนโบราณ โดยทำเป็นรูปฤๅษีดัดตนแสดงไว้ที่ทางเข้าระเบียงคต
ด้านทิศใต้และสลักเป็นตำรา ลงบนหินชนวนติดไว้ที่ศาลาทางเข้าวิหารพระนอน
รวม
ทั้งตำรายา ตำราโหราศาสตร์ เป็นต้น
ในสมัยรัชกาลที่ 4 ได้ทรงสร้างพระเจดีย์เพิ่มอีกหนึ่งองค์คือ พระเจดีย์องค์ที่ประดับ
ด้วยกระเบื้องสีน้ำ เงิน และมีซุ้มจรนำยื่นออกมา ทั้ง 4 ทิศ โดยพระองค์ได้ตรัสสั่งไว้
สำหรับพระมหากษัตริย์องค์ต่อๆมา ว่า ขอให้มีเจดีย์แบบนี้องค์นี้เป็นองค์สุดท้าย
อย่า ได้สร้างเพิ่มขึ้นอีกเลยเพราะพระองค์มีพระประสงค์ ที่จะให้เจดีย์ทั้ง
4 องค์นี้เป็นที่
หมายของกษัตริย์ 4 พระองค์ที่ทรงมีพระชนม์ร่วมสมัยกัน มาก่อนกล่าว คือ
รัชกาลที่
1 สวรรคตเมื่อรัชกาลที่ 4 มีพระขนม์ได้ 5 พรรษา และพระองค์ยังได้ทรงปลูกต้นโพ
ไว้ ที่ข้างวิหารพระนอน เป็นต้นที่สืบสายพันธุ์มาจากต้นเดิมซึ่งพระพุทธเจ้าเคยประ
ทับนั่งทรงได้มาจาก ประเทศศรีลังกา
วัดเบญจมบพิตร ดุสิตวนาราม
พระองค์ทรงใช้หินอ่อนที่สั่งมาพร้อมกับการสร้างพระที่นั่งอนันตสมาคมเป็นวัสดุใน
การก่อสร้างกระจก ที่ประดับอยู่เหนือขอบหน้าต่าง ทรงสั่งทำจากฝรั่งเศส
เหมือน
กระจกหน้าบันที่วัดนิเวศธรรมประวัติพระ อุโบสถเป็นอาคารรูปแบบสมัยใหม่ที่ยังไม่
ค่อยมีใครสร้างกันในสมัยนั้น คือเป็นรูปจตุรมุขยื่นออกมาเท่า กันทั้ง
4 ด้าน และ มีระเบียงคตต่อปีกออกไปทางด้านข้างล้อมมุขหลังเอาไว้ในระเบียงคตประดิษฐาน
พระพุทธรูปจำลองปางต่างๆหล่อด้วยสัมฤทธิ์ ใบเสมาของวัดนี้อยู่ที่พื้นภายในลาน
ของระเบียงคตที่มุข หลังประดิษฐานพระพุทธรูปศิลปะเขมรสมัยบายน อายุประมาณ
700 ปี ภายในพระอุโบสถประดิษฐาน พระพุทธชินราชจำลอง ซึ่งพระองค์มีพระประ
สงค์ที่จะอัญเชิญพระพุทธรูปองค์จริงจากเมืองพิษณุโลก มาประดิษฐานไว้ แต่ชาว
เมืองได้ทูลทัดทานไว้ เพราะเป็น พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของพิษณุโลกพระ
องค์จึง
ทรงหล่อพระพุทธรูปขึ้นใหม่
บนผนังภายในพระอุโบสถ มีลายจิตรกรรมฝาผนังรูปลายเทพพนมและรูปพระเจดีย์
ที่สำคัญต่างๆที่มี อยู่ในประเทศไทยเช่น พระเจดีย์ ที่นครปฐม พระธาตุพนม
เป็น
ต้น แต่จิตรกรรมฝาผนังและเครื่องบน ทั้งหมดในพระอุโบสถนี้ เป็นของที่ทำขึ้นมา
ใหม่ทั้งสิ้น เพราะได้เกิดอุบัติเหตุไฟไหม้พระอุโบสถในปีพศ. 2527 (1984
)กรม
ศิลปากรจึงได้บูรณะขึ้นมาใหม่ สิ้นงบประมาณ 20 ล้านบาท
พระที่นั่งทรงผนวช เป็นพระที่นั่งที่รัชกาลที่ 5 เคยประทับเมื่อคราวที่ทรงผนวชที่วัด
บวรฯ. แล้วจึงรื้อมา สร้างขึ้นใหม่ในวัดเบญจฯ.ใน ภายหลัง
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
วัดมหาธาตุ
วัดไตรมิตร : พระทอง
เมื่อรัชกาลที่ 1 โปรดให้พระยาโชฎึกราชเศรษฐีขึ้นไปรวบรวมบรรดาพระพุทธรูปต่างๆ
ที่ได้รับความ เสียหายจากการสงคราม แล้วนำมาไว้ที่กรุงเทพฯเพื่อทำการบูรณะ
พระ
ยาโชฎึกฯ.ก็นำพระพุทธรูป ต่างๆ ลงมายังกรุงเทพฯ. รวมทั้งพระพุทธรูปสำคัญองค์นี้
ด้วยแต่พระยาโชฎึกฯ ก็หาได้รู้ไม่ว่า พระ พุทธรูปองค์นี้เป็นพระพุทธรูปทองคำ
พราะ
องค์พระได้ถูกปกปิดไว้ด้วยการหุ้มปูนเอาไว้ทั้งองค์และ ประดิษฐานเป็นพระประธาน
ในวัดพระยาไกรที่ตนเองเป็นผู้สร้างไว้ ต่อมาที่ดินบริเวณวิหารได้ถูกเปลี่ยนเจ้าของ
และเจ้าของใหม่ก็ต้องการที่บริเวณนั้นเพื่อสร้างเป็นโกดังเก็บสินค้า ประกอบกับเป็น
เว ลาเดียวกับที่ได้มีการสร้างวัดไตรมิตร ซึ่งยังไม่มีพระประธานสำหรับประดิษฐานใน
พระอุโบสถ ทาง คณะกรรมการวัดจึงได้ทำเรื่องขอพระพุทธรูปนั้นเพื่อนำมาประดิษฐาน
ไว้ยังวัดใหม่แห่งนี้ แต่การก่อ สร้างยังไม่แล้วเสร็จ เมื่ออัญเชิญพระพุทธรูปมาไว้ยังวัดนี้
แล้ว จึงต้องทิ้งไว้บนลานวัดเพื่อรอการก่อ สร้างถึง 20 ปี เมื่อการก่อสร้างเสร็จสิ้นลง
แล้ว จึงได้ ย้ายพระพุทธรูปเพื่อนำขึ้นประดิษฐานบนวิหาร แต่การเคลื่อนย้ายก็ไม่ประ
สพความสำเร็จ เนื่องจากองค์พระไม่มีการขยับเขยื่อนแม้แต่น้อย จึงต้องหยุด
เอาไว้ชั่ว
คราว ตกตอนกลางคืน ก็มีพระรูปหนึ่งลงมาสำรวจดูว่า ทำไมจึงเคลื่อนย้ายพระไม่ได้
และพบ ว่าที่บริเวณพระอุระขององค์พระมีรอยร้าว และได้เห็นเป็นสีทองสุกอร่ามในเนื้อ
ปูนนั้น จึงได้เรียกให้คน มาช่วยกันกระเทาะเอาปูนออก จึงได้พบว่าพระพุทธรูปองค์นี้
เป็นพระพุทธรูปทองคำทั้งองค์ และยังพบ ด้วยว่ามีทองเก็บสำรองเอาไว้ ที่ใต้ฐาน
และ
พบกุญแจสำหรับถอดองค์พระออกได้ 9 ชิ้น แล้วจึงช่วยกัน นำชิ้นส่วนต่างๆขององค์พระ
ขึ้นไปประกอบเป็นองค์พระบนวิหาร และพบว่าเป็นพระพุทธรูปที่สร้าง มาตั้งแต่สมัยสุโข
ทัย จึงได้ตั้งชื่อว่า พระพุทธสุโขทัยไตรมิตร
วัดสระเกศ
วัดอรุณราชวนาราม วรมหาวิหาร
เมื่อครั้งที่รัชกาลที่ 2 ยังทรงดำรงพระยศเป็นพระอุปราชอยู่นั้น พระองค์ได้เสด็จมาประ
ทับที่พระราช วังเก่าของพระเจ้ากรุงธนบุรี เนื่องจากพระอุปราชองค์ก่อนคือกรมพระราช
วังบวรมหาสุรสิงหนาท ไม่ อนุญาตให้ผู้ใดเข้ามาประทับที่วังของท่าน พระองค์จึงเสด็จ
ไปประทับที่พระราชวังเดิมดังกล่าว เมื่อ เสด็จขึ้นครองราชย์แล้ว พระองค์จึงได้ทำการ
บูรณะวัดอรุณฯ.เป็นการใหญ่ ที่สำคัญคือ ทรงสร้างพระ ปรางค์ขึ้นมาใหม่ให้ใหญ่กว่า
เดิม และให้ครอบพระปรางค์องค์เดิมไว้ งานก่อสร้างเริ่มในสมัยรัชกาลที่
2 แต่พระองค์
ได้ เสด็จสวรรคตลงเสียก่อน รัชกาลที่ 3 จึงโปรดให้สร้างต่อจนเสร็จ มีความสูง
80 เมตร
เหลืออยู่แต่การยกช่อพระนพปฎล พระองค์ก็ได้เสด็จสวรรคตลงเสียก่อน รัชกาลที่
4 จึง
โปรดให้ทำการ ยกช่อนพปฎลจนเสร็จ รวมเวลาก่อสร้างประมาณ40 ปี
วิหารหน้าพระปรางค์ ประดิษฐานพระบรมรูปสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชและพระ
แท่นบรรทมของรัชกาลที่ 2 ส่วนพระ ราชวังเดิมนั้น รัชกาลที่ 5 โปรดให้ใช้เป็นโรงเรียน
นายเรือ ต่อมาภายหลังจึงได้ตั้งเป็นกองบัญชาการ กองทัพเรือ และโรงเรียนนายเรือจึง
ได้ย้าย ไปอยู่ที่จังหวัดสมุทรปราการจนถึงปัจจุบัน
ถนนราชดำเนิน
ในส่วนของถนนราชดำเนินนอกนั้น รัชกาลที่ 5 ได้จำลองแบบมาจากถนนเดอะมอล
ซึ่ง
เป็นถนนที่มุ่ง เข้าสู่พระราชวังบักกิ้งแฮม ในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ
พระองค์จึง
ได้สร้างพระที่นั่งอนันตสมาคม เพื่อรับปลายถนนด้านหนึ่งเช่นเดียวกับพระราชวังบักกิ้ง
แฮม แต่สร้างแบบอาคารรัฐสภาของอเมริกา ทั้งถนนเดอะมอลและถนนราชดำเนินนอก
เป็นถนนแบบ Boulevard คือที่แนว กลางถนนที่รถสวนกัน นั้นจะไม่มีเครื่องแบ่งถนนเป็น
2 ส่วน ปีกทั้ง 2 ข้างทำเป็นเกาะและปลูกต้นไม้ไว้ตลอดแนวถนน ยังมี ถนนในกรุงเทพฯ
บางสายที่มีลักษณะเป็น Boulevard เช่น ถนนวิทยุช่วงระหว่างแยกสาธรขึ้นไปทาง
เหนือ
จนถึงแยกเพลินจิตร และถนนพญาไท เป็นต้น ถนนราชดำเนินกลางมีอนุเสาวรีย์ประชา
ธิปไตย ตั้งอยู่ช่วงกึ่งกลาง
เมื่อประมาณ 70 - 80 ปีที่ผ่านมา เริ่มมีการสร้างอาคารรูปทรงสมัยใหม่ตลอด
2 ข้าง
ทางของถนน ตั้งแต่สะพานผ่านพิภพลีลาจน ถึงสะพานผ่านฟ้าลีลาศ และกลายเป็น
แหล่งบันเทิงแห่งเดียวของกรุง เทพฯ.ในสมัยเมื่อ 60 - 80 ปีก่อนกล่าวคือ
มีโรงภาพ
ยนต์ โรงแรม สถานที่เต้นรำ ร้านอาหาร และ ต่างๆ อีกมากมายมารวมกันอยู่ที่นี่
อาจ
จะเรียกได้ว่าเป็น ชอง อลิเซ่ ของกรุงเทพฯ ต่อมาเมื่อกรุงเทพฯ มีความเจริญขึ้น
ย่าน ความบันเทิงของกรุงเทพฯ.จึงมีอยู่ทั่วในทุกพื้นที่ ทำให้แหล่งบันเทิงบนถนนสายนี้หมด
ความสำคัญไปโดยปริยาย ต่อมาภายหลัง ทางราชการมีความเห็นว่า โรงภาพยนต์ศาลา
เฉลิม ไทย ซึ่งเปิดทำการมากว่า 30 ปี ตั้งอยู่ในที่ที่ไม่เหมาะสมเพราะไปบดบังทัศนีย
ภาพของปราสาทโลหะ และวัดราชนัดดาที่รัชกาลที่ 3 เป็นผู้สร้างไว้ ทำให้สถานที่ดัง
กล่าวหมดความสำคัญลงไป จึงได้รื้อโรง ภาพยนต์ดังกล่าวทิ้ง และได้จัดสร้างเป็นพลับ
พลาถาวร เพื่อใช้เป็นสถานที่จัดพิธีต้อนรับแขกเมืองใน การเข้าชมเกาะรัตนโกสินทน์
และผู้ว่าฯกรุงเทพมหานครจะเป็นผู้มอบกุญแจเมืองในพิธีนั้น (ศาลาเฉลิมไทยถูกรื้อลง
เมื่อปีพ.ศ. 2532)
ในช่วงเวลา 20 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยได้เกิดเหตุการณ์จลาจลทางการเมืองถึง
3 ครั้ง
ในครั้งแรก วันที่ 14 ตุลาคม 2516 ครั้งที่ 2 วันที่ 6-9 ตุลาคม 2519
ครั้งที่ 3 วันที่
17 - 19 พฤกษภาคม 2535 ถนนราชดำเนินกลางก็ได้มีบทบาทสำคัญในเหตุการณ์
ทุกครั้ง เนื่องจากถนนราชดำเนินกลาง เป็นที่ตั้งของอนุเสาวรีย์ประชาธิปไตย
ซึ่งเป็น เครื่องหมายของวัตถุประสงค์ของการเรียกร้อง ประกอบ กับความกว้างของถนน
ทำให้ สามารถรองรับประชาชนที่มารวมตัวกันเป็นแสนๆคนได้เป็นอย่างดี และ ที่หัวมุมถนน
ด้านทิศเหนือเชิงสะพานปิ่นเกล้า เดิมเคยเป็นสำนักงานกรมประชาสัมพันธ์
เมื่อเกิดเหตุ
การณ์ในถนนราชดำเนินทุกครั้ง กรมประชาสัมพันธ์ก็ถูกเผาทุกครั้ง ครั้งหลังสุด
สมเด็จ
พระสังฆราช ทรงประทานความเห็นว่า ควรสร้างเป็นอนุสรณ์ไว้สำหรับ อนุชนรุ่นหลัง
และเพื่อให้เกิดความรู้สึกที่ดี สำหรับถนนนี้ จึงเห็นควรที่จะไม่สร้างกรมประชาสัมพันธ์
ในที่เก่าอีก และย้ายไปอยู่ที่ถนนวิภาวดีรังสิต บริเวณที่เคยเป็นกรมประชาสัมพันธ์เก่า
ก็มีโครงการจะสร้างเป็นสวนสาธารณะชื่อว่า สวนสันติพร
พระที่นั่งวิมานเมฆ