อยุธยา

พื้นที่ 2,547 ตร.กม. เป็นที่ราบลุ่มและทุ่งนา ไม่มีภูเขาและป่าไม้ มีแม่น้ำไหลผ่าน 4 สายคือ
แม่น้ำเจ้าพระยา ป่าสัก ลพบุรี และ แม่น้ำน้อย มีคลองตัดผ่านเกือบทุกพื้นที่ ทำให้อยุธยามีพื้น
ที่เป็นเกาะ แม้ในเขตตัวเมืองก็มีแม่น้ำล้อมอยู่ถึง 3 สายคือ แม่น้ำเจ้า พระยา ป่าสักและลพบุรี
จึงเรียกอยุธยาว่า เกาะอยุธยา สภาพภูมิอากาศค่อนข้างร้อน มีฝนตกชุกประมาณ 5 เดือน คือ
ระหว่าง เดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม

แม่น้ำป่าสักเดิมไหลรวมกับแม่น้ำลพบุรีแล้วไหลผ่านเมืองทางด้านเหนือ ส่วนที่เห็นว่าไหลผ่าน
ทางด้านตะวันออกของเกาะเมืองในปัจจุบันนี้นั้น เดิมพื้นที่ตรงนี้เป็นแผ่นดินผืนติดกัน ต่อมา
มีการขุดคลองระบายน้ำและคูเมืองผ่านด้านนี้ แล้วลงไปบรรจบแม่น้ำเจ้าพระยาที่หน้าวัดพนัญ
เชิง ต่อมามีการขยายคลองดังกล่าวให้ใหญ่ขึ้น แล้วกลายเป็นแม่น้ำป่าสักในปัจจุบัน

มีประชากร 706,500 คน ส่วนใหญ่มีอาชีพปลูกข้าวเป็นหลัก มีพื้นที่ปลูกข้าวประมาณ 1 ล้าน
ไร่ ส่วนมากเป็นข้าวจ้าว รวมทั้งพืชชนิดอื่นๆเช่น ถั่ว มันเทศ ข้าวโพด และทำสวนผลไม้ต่างๆ
มีโรงงานอุตสาหกรรม 561 โรง และมีการทำอุตสาหกรรมในครัวเรือนเช่น จักสาน อิฐมอญ
เป็นต้น มีโรงพยาบาล 13 แห่ง แพทย์ 71 คน โรงเรียน 493 โรง ครู 6,837 คน และนักเรียน
120,999 คน

ความเป็นมา
พศ.1893 (1350) ซึ่งอยู่ในราวต้นรัชสมัยของพระยาลิไทยแห่งกรุงสุโขทัยมีชุมชนชาวไทย
กลุ่มหนึ่ง อยู่ถัดลงมาทางใต้ของสุโขทัย มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองละโว้หรือลพบุรีในปัจจุบัน เป็น
อาณาจักรอยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาเรียกว่า ละโว้ - อโยธยา และมีกลุ่มคนไทย
อีก กลุ่มหนึ่งซึ่งอยู่ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาเรียกว่า อาณาจักรสุวรรณภูมิ อาณาจักร ทั้งสองมีการแบ่งแยกอำนาจกันอย่างชัดเจน โดยมีแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นเครื่องกั้นดินแดน ซึ่งทั้ง สองอาณาจักรมีการติดต่อซึ่งกันและกันตลอดมา และเป็นเวลาที่เขมรเพิ่งหมดอำนาจจากดิน
แดนแถบนั้น อาณาจักรทั้งสองจึงมีโอกาศสร้างความเจริญโดย ไม่มีเขมรเข้ามาแทรกแซง

ในสมัยก่อนที่จะสถาปนาอยุธยาเป็นราชธานีนั้น ดินแดนตรงนี้เคยเป็นศูนย์กลางทางการค้า
มาก่อน เนื่องจากมีแม่น้ำไหลมา รวมกันถึง 3 สาย ทำให้มีความสะดวกในการคมนาคมและ
การติดต่อค้าขาย และเป็นชัยภูมิที่ดีในการป้องกันข้าศึกสามารถควบคุมการติดต่อทางทะเล
กับพื้นที่ภายในทวีปได้อีกด้วย เพราะมีทางออกทะเลได้ใกล้ที่สุด ประกอบกับอยุธยาเป็นที่ดิน
ดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ จึงมีสภาพดินเหมาะในการทำการเกษตรเป็นอย่างดี

เมื่อพระเจ้าอู่ทองได้ขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์ละโว้แล้ว ต่อมาก็ได้อภิเษกกับราชธิดาจาก
สุวรรณภูมิ ทำให้พระองค์เป็นบุคคล แรกที่สามารถรวมเอาอาณาจักรทั้งสองเข้ามารวมไว้
ด้วยกันได้สำเร็จ หลังจากนั้น พระองค์ก็ได้ย้ายศูนย์อำนาจจากละโว้ ลงมาอยู่ที่อยุธยา เพราะพระองค์ทรงเล็งเห็นความสำคัญของพื้นที่ดังกล่าว ประกอบกับพระองค์เป็นผู้นำที่
มาจากเมืองละโว้ ซึ่งเคยเป็นศูนย์อำนาจใหญ่มาก่อน ทำให้ผู้คนที่อยู่ในพื้นที่อยุธยามาก่อน นั้นต่างก็ให้การยอมรับพระเจ้าอู่ทองในการสถาปนาอยุธยาให้เป็นศูนย์อำนาจแห่งใหม่ และ
เป็นกษัตริย์องค์แรก แต่ในบางตำรากล่าวว่าพระองค์ได้อพยพผู้คนลงมาที่นี่เพื่อหนีโรคอหิ
วาห์ที่ระบาดขึ้นในถิ่นที่อยู่เดิม

ในขณะที่กำลังสร้างเมืองอยู่นั้น มีผู้พบหอยสังข์เวียนทักษินาวัตรฝังอยู่ที่ใต้ต้นหมัน ซึ่งเป็น
นิมิตหมายว่า บ้านเมืองจะเจริญรุ่งเรืองต่อไปในวันข้างหน้า เมื่อสร้างเมืองแล้ว พระองค์
จึงทรงขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์พระองค์แรกทรงพระนามว่า สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1
ต้นราชวงศ์อู่ทอง พระราชทานชื่อเมืองว่า อยุธยา ใช้ระบบการปกครองแบบเทวราชาซึ่ง เป็นที่นิยมอยู่ในอาณาจักรต่างๆในดินแดนแถบนั้น อยุธยาก็กลายเป็นศูนย์กลางแห่ง
อำนาจ และเป็นราชธานีแห่งอาณาจักรของคนไทยโดยแท้จริง สุโขทัยก็หมดอำนาจลง
อย่างสิ้นเชิงในปี พศ. 1981 (1438) ในสมัยเจ้าสามพระยา

อยุธยามีความเจริญรุ่งเรืองตลอดประวัติศาสตร์ของการเป็นราชธานี ทั้งทางด้านการเมือง
เศรษฐกิจการค้า และการศาสนา ตลอด จนศิลปะวัฒธรรมและประเพณีที่สืบทอดกันมา
จนถึงทุกวันนี้ โดยเป็นราชธานีของชนชาติไทยตั้งแต่ปีพศ. 1893 ถึง 2310 (1350 -
1767) มีกษัตริย์ปกครอง 33 พระองค์ 5 ราชวงศ์

ตลอดประวัติศาสตร์ อยุธยาต้องทำศึกกับพม่าถึง 22 ครั้ง โดย 21ตรั้ง เป็นการบุกเข้า
มาตีของพม่า มีเพียงครั้งเดียวที่ไทยได้บุกเข้าไปถึงเมืองหงสาวดีโดยสมเด็จพระนเรศวร
มหาราช แต่ในขณะที่พระองค์กำลังนำกองทัพไปตีพม่าในครั้งที่ 2 นั้น พระองค์ก็ได้สิ้น
พระชนม์ที่เมืองหางในระหว่างทางนั่นเอง และในจำนวนสงคราม ทั้ง 22 ครั้งนั้น ไทย
ต้องเสียเมืองให้แก่พม่าถึง 2 ครั้ง คือครั้งแรกในปีพศ.2112 (1569) ในสมัยพระมหิน
ทราธิราช พระนเรศวรก็กู้อิสรภาพคืนมาได้ในปีพศ. 2127 (1584) และครั้งที่ 2 ในปี
พศ. 2310 (1767) โดยพระยาตากกู้อิสรภาพได้ในปีเดียวกัน เมื่อพระยาตากกู้อิสรภาพ
ได้แล้วได้ทรงมองเห็นว่า อยุธยาได้ถูกพม่าทำลายจนย่อยยับ คงเป็นการยากที่จะกู้เมือง
ให้มีสภาพดีดังเดิมได้ ประกอบกับผู้คนก็ยังมีความหวาดกลัวพม่าอยู่เป็นอันมาก ถ้าจะ
ยังคงอยู่ที่อยุธยาต่อไป ก็คงจะมีแต่ความหดหู่กับสภาพบ้านเมืองที่แตกสลาย พระองค์
จึงทรงดำริที่จะย้ายเมืองหลวงออกไปอยู่ที่อื่น แต่พระองค์ก็ทรงตระหนักดีว่า คงไม่ใช่
เรื่องง่ายที่จะย้ายผู้คนออกไปจากที่ๆเคยอยู่มาถึง 417 ปี พระองค์จึงทรงใช้อุบายโดย
เล่าความฝันของพระองค์ให้ประชาชนฟังว่า มีบูรพกษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา มาเข้าฝัน
บอกให้พระองค์ไปสร้างเมืองอยู่เสียที่อื่น

เมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงสร้างกรุงเทพฯ นั้น เหตุการณ์
บ้านเมืองยังไม่สงบดีนักยังคงมีกลิ่นอายของสงครามอยู่ตลอดเวลา ประกอบกับยังมี
ก๊กเหล่าต่างๆที่คอยจะตั้งตัวเป็นใหญ่ในแผ่นดินและเพื่อป้องกันไม่ให้ก๊กใดๆมาใช้
กำแพงเมืองเก่าเป็นที่ซ่องสุมกำลัง รวมทั้งพระองค์ไม่มีเวลามากพอที่จะทำอิฐเพื่อ
สร้างกรุงเทพฯ พระองค์จึงโปรดให้รื้อกำแพงเมืองและอาคารปราสาทในพระราชวัง
เก่า แล้วเอามาสร้างเป็นอาคารต่างๆ ในพระบรมมหาราชวังกรุงเทพฯ ด้วยเหตุดัง
กล่าว ทำให้ในปัจจุบันนี้ไม่มีซากกำแพงเมืองและอาคารในพระราชวังเก่าเหลืออยู่เลย


1