ในสมัยพระเจ้าทรงธรรมครองย์ราชย์อยู่นั้น (พศ.2163 - 2171 ดศ.1620 - 1628)
พระยาศรีสรรักษ์ก็ได้เป็นที่ทรงโปรดและมีความสนิทสนมเป็นอย่างดีกับพระเจ้าทรง
ธรรมและได้เลื่อนตำแหน่งเป็น เจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์ ในขณะเดียวกันพระเจ้าทรง
ธรรม ครองราขย์ก็ได้ทรงตั้งให้น้องอีกคนหนึ่งคือ พระศรศิลป์ (ซึ่งไม่ถูกกันกับเจ้า
พระ
ยากลาโหม) เป็นพระอุปราช เมื่อพระเจ้าทรงธรรมใกล้จะสิ้นพระขนม์ เจ้าพระยากลาโหม
จึงทำอุบายให้พระเจ้าทรงธรรมมอบอำนาจให้พระโอรสองค์โตขึ้นครองราชย์เป็นผลสำเร็จ
ทรงพระนามว่า พระเชษฐาธิราช ส่วนพระศรศิลป์ต้องหนีไปตั้งหลักอยู่ที่เมืองเพชรบุรี
แล้ว
จึงย้อนมาชิงเอาแผ่นดินคืน แต่ทำการไม่สำเร็จ จึงถูกเจ้าพระยากลาโหมสำเร็จโทษ
หลัง
จากนั้นเจ้าพระยากลาโหมก็หาทางกำจัดพระเชษฐาธิราช และยกพระโอรสที่มีพระชนม์
เพียง 9 พรรษาให้ขึ้นครองราชย์ชั่วคราวพอเป็นพิธี แล้วจึงขึ้นตรองราชย์เสียเอง
ทรงพระ
นามว่า พระเจ้าปราสาททอง
บางปะอิน เดิมชื่อบางนางอินหรือบางเลน เคยเป็นภูมิสถานเดิมของพระเจ้าปราสาททอง
เมื่อก่อนที่จะเข้าไปรับราชการในพระนคร จนมีตำแหน่งเป็นเจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์
เมื่อได้ขึ้นครองราขย์ในปีพศ. 2173 (1630) แล้ว พอถึงปีพศ. 2175 พระองค์ก็เสด็จ
มาสร้างบางนางอินให้เป็นสถานที่สำหรับเสด็จประพาส โดยสร้างพระตำหนักไอศวรรค์
ทิพยอาสน์ไว้ที่ริมสระและสร้างวัดชื่อชุมพลนิกายารามไว้ทางด้านหลัง เพราะเคยใช้ที่ตรง
นี้เป็น ที่ชุมนุมไพร่พลมาก่อนเกาะบางปะอินกลายเป็นที่เสด็จประพาสของกษัตริย์อยุธยา
หลังสมัยพระเจ้าปราสาททองทุกพระองค์ จนเมื่อเสียกรุงแล้วบางปะอินจึงถูกทิ้งให้ร้าง
อยู่ถึง 80 ปี พอถึงสมัยรัชกาลที่ 4 ซึ่งพระองค์ได้เสด็จประพาสอยุธยาและผ่านมาทาง
นี้ได้ทอดพระเนตร เห็นที่พระราชวังเก่าเป็นที่ร่มครึ้มด้วยต้นมะม่วงในปีพศ.2408จึง
โปรดให้สร้างพระตำหนักขึ้น ในที่ที่เคยเป็นพระที่นั่งเดิม และพระราชทานนามตามนาม
เดิมว่าพระที่นั่งไอศวรรค์ทิพยอาสน์ พร้อมทั้งได้ทำการบูรณะวัด ชุมพลนิกายารามขึ้น
ใหม่ให้เหมือนเดิมทุกอย่างเสร็จแล้วจึงโปรดให้อัญเชิญพระพุทธรูปปางลอยถาดและ
ปางเดินจงกรม ซึ่งเป็นพระพุทธรูปประจำพระชนมวารของพระเจ้าปราสาททอง และ
สมเด็จพระนารายณ์ เพื่อทำการสมโภชวัด เสร็จงานแล้วจึงได้อัญเชิญพระพุทธรูปทั้ง
2 องค์นั้นกลับกรุงเทพมหานคร พระพุทธรูป 2 องค์นี้เป็นพระพุทธรูปซึ่งรัชกาลที่
3 โปรดให้สร้างขึ้นเมื่อคราวที่ทรงโปรดให้มีการสำรวจพระพุทธรูปปางต่างๆที่เคยมีปรากฎ
อยู่ รวมแล้วจึงได้ 37 ปาง จึงหล่อพระพุทธรูปขึ้น 37 องค์ ขนาดความสูง
5 นิ้วตาม
ปางต่างๆ นั้น ต่อมารัชกาลที่ 4 ทรงถวายพระพุทธรูปเหล่านั้นให้เป็นพระพุทธรูปประ
จำ พระชนมวารของพระมหากษัตริย์ในสมัยอยุธยา 33 พระองค์ (ไม่รวมขุนวรวงษา)
พระเจ้ากรุงธนบุรี 1 องค์ และในสมัยรัตนโกสินทร์ก่อนหน้าพระองค์อีก 3
พระองค์
รวมเป็น 37 องค์พอดี
สมัยรัชกาลที่ 5 พศ. 2415 (1872) โปรดให้สร้างบางปะอินขึ้นมาใหม่ ให้กลับมา
มีชีวิตเหมือนในสมัยอยุธยาแล้วเสร็จในปีพศ. 2419 (1876) โดยมีการขุดสระถม
ดินเป็นงานใหญ่ให้กว้างขวางออกไป และได้สร้างพระที่นั่งขึ้นมาใหม่ เพื่อเป็นที่ประ
ทับตรงที่เป็นพระที่นั่งเดิมของรัชกาลที่ 4 พระราชทานนามว่าพระที่นั่งวโรภาสพิมาน
แล้วสร้างพระที่นั่งขึ้นที่กลางสระพระราชทานนามว่าพระที่นั่งไอศวรรค์ทิพยอาศน์
ต่อ
มาจึงได้มีการสร้างพระที่นั่งเวหาศจำรูญ โดยชาวจีนเพื่อถวายพระเกียรติแด่พระองค์
เนื่องในวโรกาศที่กรุงเทพฯมีอายุครบ 100 ปี เป็นลักษณะเก๋งจีน พระองค์ทรงสร้าง
ศาลเหมมณเฑียรเทวราชขึ้นมาใหม่เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติแด่พระเจ้าปราสาท
ทองผู้ทรงสร้างพระราชวังบางปะอินเป็นองค์แรก เสร็จแล้วมีการสมโภชพระเศวตฉัตร
เป็นเวลา 3 วัน หลังจากนั้นก็โปรดการเสด็จบางปะอินหลายครั้ง รวมทั้งการต้อนรับ
พระราชอาคันตุกะจากต่างแดนเช่น รัชทายาทแห่งรัสเซียเป็นต้น และยังใช้เป็นสถาน
ที่ประกอบพระราชพิธีที่สำคัญในบางตรั้งอีกด้วยเช่น พระราชพิธีรัชฎาภิเษกครั้งแรก
และพระราชพิธีสมโภชช้างสำคัญเป็นต้น
เหมมณเฑียรเทวราช
เดิมเป็นศาลเก่าแก่ที่ชาวบางปะอินสร้างถวายพระเจ้าปราสาททอง รัชกาลที่
5 โปรดให้
สร้างใหม่ เนื่องจากในปีพศ. 2423 (1880) พระองค์เสด็จประพาสบางปะอินโดยรถ
ไฟล่วงหน้ามาก่อน และโปรดให้สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์เสด็จมาทางเรือ
พร้อมด้วยเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ แต่ได้เกิดอุบัติเหตุเรือพระที่นั่งล่มระหว่างทาง
สมเด็จฯ
สิ้นพระชนม์ในที่เกิดเหตุ ส่วนเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศหายไป พระองค์ทรงห่วงพระโอรส
มาก จึงได้บนไว้ว่า ถ้าทรงได้พระโอรสกลับมา จะสร้างศาลถวายพระเจ้าปราสาททอง
เมื่อทรงได้พระโอรสคืนมาโดยปลอดภัยแล้ว จึงทรงสร้างศาลถวายเป็นการใช้บน และ
พระราชทานนามว่าเหมมณเฑียรเทวราช
พระที่นั่งไอศวรรค์ทิพยอาสน์
เป็นพระที่นั่งทรงไทยอยู่กลางสระ รัชกาลที่ 5 โปรดให้สร้างด้วยเครื่องไม้ทั้งองค์
รัช
กาลที่ 6 โปรดให้สร้างใหม่ โดยเสริมฐานและเสาให้เป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก
แล้ว
ประดิษฐานพระบรมรูปรัชกาลที่ 5 หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ขนาดเท่าพระองค์จริง
หน้า บันเป็นตราแผ่นดินซึ่งเริ่มมีใช้ในสมัยรัชกาลที่ 5
พระที่นั่งวโรภาสพิมาน
สร้างเป็นอาคารชั้นเดียว เป็นแบบวิคทอเรีย ตั้งอยู่ริมแม่น้ำตรงที่เป็นพระที่นั่งองค์
เดิมของรัชกาลที่ 4 รัชกาลที่ 5 ทรงใช้เป็นที่เสด็จออกขุนนางรวมทั้งงานพระราช
พิธีสำคัญต่างๆ และเคยใช้เป็นที่ประทับของรัชทายาทแห่งรัสเซียด้วย สะพานที่ใช้
เดินเชื่อมไปทางพระที่นั่งอุทยานภูมิเสถียร เป็นสะพานที่ทำฉากไม้กั้นไว้ตรงกลาง
ตามแนวยาว เพื่อเป็นการแบ่งทางเดินระหว่างฝ่ายในและฝ่ายหน้า
พระที่นั่งอุทธยานภูมิเสถียร
สร้างด้วยไม้ตามแบบยุโรป มีสีเขียวอ่อนและแก่สลับกัน รอบอาคารมีเฉลียงรับลม
ทั้งชั้นบนและชั้นล่างเครื่องตบแต่งเป็นของ ที่มาจากฝรั่งเศษสมัยพระเจ้านโปเลียน
ที่ 3 แต่เป็นที่น่าเสียดายว่า พระที่นั่งองค์นี้ถูกไฟไหม้หมดเมื่อวันที่
9 ธันวาคม
พศ. 2481 (1938)
พระที่นั่งเวหาศจำรูญ
สร้างและตบแต่งทั้งภายนอกและภายในตามแบบเก๋งจีน สร้างถวายโดยข้าราชการ
กรมเจ้าท่าซ้าย ซึ่งมีเจ้าพระยาโชฎึกราช เศรษฐีเป็นหัวหน้างานในการก่อสร้าง
โดย
สั่งช่างฝีมือมาจากเมืองจีนและส่งลายกระเบื้องไปทำที่เมืองจีน รัชกาลที่
5 โปรด ประ
ทับที่พระที่นั่งองค์นี้ในฤดูหนาว เพราะมีหน้าต่างกระจกกันลมหนาวได้อย่างดี
หน้า
บัลลังก์ข้างในท้องพระโรงชั้นล่าง ทำเป็นทางลาดเอาไว้ มีบันไดขึ้น 2 ข้าง
ที่ทางลาด
ทำเป็นภาพเต้ายี่ หมายถึงสิ่งทั้งหลายมีของคู่กันหรือตรงข้ามกัน เช่น
กลางคืนคู่กลาง
วัน ร้อนคู่หนาว เป็นต้น ทางลาดดังกล่าวก็ถือได้ว่าเป็นความฉลาดอย่างหนึ่งของคน
จีน ซึ่งหากมีใครที่คิดจะทำร้ายพระมหากษัตริย์ คงจะทำไม่ได้โดยง่าย เพราะติดที่ทาง
ลาดนั้น พื้นด้านหน้าปูด้วยกระเบื้องเคลือบทำจากเมืองจีน ตรงข้ามบัลลังค์มีป้ายแขวน
เขียนเป็นภาษาจีนข้อความพรรณาถึงความสุขสมบูรณ์ของประชาชน ระเบียงด้านข้าง
จะเห็น ฉากกั้นไว้ ซึ่งเป็นของขลังในแบบจีนเพื่อสกัดกั้นความชั่วร้ายและภูติผีปีสาท
ด้านหลังเป็นห้องบรรทมของพระมเหสี ผนังด้านทิศใต้มีลิฟท์โบราณใช้ชักรอกด้วยแรง
คน ด้านหลังพระที่นั่งเป็นห้องสรงแบบยุโรป รัชกาลที่ 6 ทรงสร้างไว้ แต่พระองค์ก็เก็บ
ซ่อนห้องสรงนี้ไว้เป็นอย่างดีไม่ให้ประเจิดประเจ้อจนขัดกับพระที่นั่งที่เป็นแบบโบราณ
ชั้นบนเป็นห้องบรรทมและห้องทรงงานของทั้งรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6
หอวิฑูรทัศนา
เป็นหอสูงสร้างอยู่บนเกาะน้อย รัชกาลที่ 5 ทรงใช้เป็นที่ชมทิวทัศน์รอบเกาะบางปะอิน
วัดนิเวศธรรมประวัติ
หลังจากที่รัชกาลที่ 5 ได้ทรงสร้างพระราชวังบางปะอินจนเสร็จสมบูรณ์แล้ว
พระองค์
ได้ทรงสังเกตุเห็นเกาะเล็กๆที่ข้าง พระราชวังนั้นเป็นที่รกร้างว่างเปล่า
ในบางปีก็มีน้ำ
ท่วมขังจนใช้ประโยชน์อะไรก็ไม่ได้ จึงโปรดให้สร้างวัดขึ้นไว้บนเกาะแห่งนี้
เพื่อให้เป็น
วัดสำหรับพระราชวัง และเป็นที่ทรงบำเพ็ญพระราชกุศล ซึ่งใกล้พระราชวังที่ประทับ
โดยว่าจ้างช่างชื่อ Mr.Younging Grazy เป็นผู้ดำเนินการก่อสร้าง และมีพระราชประสงค์
ที่จะสร้างให้เป็นรูปแบบตะวันตก ซึ่งในการนี้พระองค์ได้มีพระราชดำรัสแก่พสกนิกร
เอาไว้ว่า "ซึ่งข้าพเจ้าได้สร้างวัดให้เป็นรูปแบบทางอย่างของชาวตะวันตก
ทั้งสิ้นนั้น ใช่จะมีใจฝักใฝ่เลื่อมใสในศาสนาอื่นหรือลัทธิอื่นนอกจากพระพุทธศาสนานั้น
หามิได้
เพียงแต่ต้องการที่จะบูชา พระศาสนาด้วยของแปลก และเพื่อให้ประชาชนทั่วไปไว้ดู
เล่นให้เห็นเป็นของแปลกเท่านั้น ซึ่งไม่เคยปรากฎมีมาก่อนใน พระอารามอื่น
และยัง
จะเป็นสิ่งมั่นคงถาวรพอสมควรที่จะเป็นพระอารามหลวงในถิ่นหัวเมืองได้ "
เริ่มทำ
การก่อสร้างในปี พศ. 2419 (1876) แล้วเสร็จในปีพศ. 2421 (1878) รวมเวลา
2 ปี 22 วัน ซึ่งในระหว่างนั้นก็ได้ทรงโปรดให้หล่อพระประธานคือ พระพุทธนฤมล
ธรรโมภาส และหล่อรูปพรอรหันต์สาวก 8 องค์ เพื่อประดิษฐานประจำทิศทั้งแปด
และโปรดให้ข้าราชบริพารและพระบรมวงศานุวงศ์ช่วยกันสร้างพระไตรปิฎกรวม
119
เล่ม แล้วอัญเชิญไปเก็บไว้ในตู้พระธรรม
ที่หน้าบันทำเป็นกระจกสีพระบรมฉายาลักษณ์ของพระองค์เองซึ่งสั่งทำจากประเทศ
ฝรั่งเศษ นอกจากนั้นยังโปรดให้หล่อพระ พุทธรูปสำคัญอีก 3 องค์คือ พระคันธาร
ราษฎร์ หมายถึงรัชกาลที่ 4 ซึ่งเป็นผู้ริเริ่มบูรณะพระราชวังนี้เป็นพระองค์แรก
พระ
พุทธรูปปางลอยถาด เป็นพระพุทธรูปประจำพระชนมวารของพระเจ้าปราสาททอง ผู้ทรงสร้างพระราชวังแห่งนี้เป็นพระองค์แรก
และพระพุทธรูปปางเดินจงกรม เป็น
พระพุทธรูปประจำพระชนมวารของสมเด็จพระนารายณ์ ผู้ซึ่งเคยประทับในพระราช
วังนี้มาก่อนรวมทั้งพระพุทธนิรันตราย ซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่รัชกาลที่
4 ทรงหล่อขึ้น
มา 18 องค์ให้มีขนาดเท่ากับองค์จริง เพื่อประดิษฐานไว้ในฝ่ายวัดธรรมยุติกนิกาย
ทั้งหมด ซึ่งในขณะนั้นเป็นปีที่พระองค์ทรงครองราชย์ครบปีที่ 18 และตั้งพระทัยไว้ว่า
จะทรงสร้างอีกปีละองค์จนกว่าจะสิ้นพระชนม์ แต่การกะไหล่ทองพระทั้ง 18 องค์นั้น
ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ดี พระองค์ก็สิ้นพระชนม์เสียก่อน เมื่อรัชกาลที่ 5
เสด็จขึ้นครอง
ราชย์ต่อมาจึงโปรดให้กะไหล่ทองพระทั้ง 18 องค์นั้นต่อให้เสร็จและหล่อเพิ่มอีกหนึ่ง
องค์เพื่อประดิษฐานไว้ยังวัดที่ทรงสร้างขึ้นใหม่นี้ เพราะทรงมีพระราชประสงค์ที่จะ
ให้เป็นวัดในธรรมยุติกนิกาย เมื่อการสร้างวัดและหล่อพระเสร็จสมบูรณ์แล้ว
จึงทรง อาราธนาพระราชาคณะจากวัดราชประดิษฐาราม กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นวัดใน
ธรรมยุติกนิกายจำนวน 8 รูปให้มาจำพรรษาอยู่ที่วัดนี้