ในสมัยอยุธยา กำแพงเพชรปรากฎชื่อในพงศาวดารว่า ชากังราว เป็นเมืองปราการ
มี
ความสำคัญทางพุทธศาสนาคือ เคยเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปสำคัญ 2 องค์คือ
พระแก้วมรกต องค์เดียวกันกับที่กรุงเทพฯ. และพระพุทธสิหิงค์ องค์ที่ประดิษฐานอยู่
ที่วัดพระสิงห์ จังหวัดเชียงใหม่ จากหลักฐานทางโบราณคดีได้บอกถึงความสัมพันธ์
ของดินแดน 3 แห่งคือ อยุธยา กำแพงเพชรและล้านนา ซึ่งกำแพงเพชรก็ยังคงรักษา
เอกลักษณ์ทางศิลปะต่าง ๆที่เป็นฝีมือสกุลช่าง "กำแพงเพชร"ของตัวเองเอาไว้ได้
โบราณสถานที่สำคัญ
มีโบราณสถานมากมาย ทั้งที่เกี่ยวกับระบบการป้องกันบ้านเมือง สาธารณูปโภค
และ
ศาสนา โบราณสถานทั้ง 2 ฝั่งแม่น้ำปิงใช้วัสดุก่อสร้างที่แตกต่างกัน แต่ศิลปที่ปรากฎ
มีลักษณะเหมือนกันคือการผสมผสานระหว่างสุโขทัยและอยุธยาด้านตะวันออกของแม่
น้ำปิงซึ่งเป็นที่ตั้งเมืองกำแพงเพชร โบราณสถานสร้างด้วยศิลาแลงและมีขนาดใหญ่
ส่วนโบราณสถานฝั่งตะวันตกคือนครชุม มักสร้างด้วยอิฐและมีขนาดเล็กกว่า
สถาปัตย
กรรมมีที่เด่นอยู่ 2 ลักษณะคือ เจดีย์ฐานสี่เหลี่ยมซ้อน 3 ชั้น เรือนธาตุเป็นซุ้มพระ
ยอดเป็นดอกบัวตูมหรือพุ่มข้าวบิณฑ์ และเจดีย์ทรงแบบลังกา แต่ไม่มีเสาหาร
ตาม
แบบสุโขทัย
โบราณสถานฝั่งตะวันออก
มีการสืบเนื่องความเจริญมาจากนครชุม จึงมีขนาดและผังเมืองคล้ายนครชุม
คือ มี
ทั้งวัดที่อยู่ในเขตตัวเมืองที่เรียกว่าคามวาสี คือ ฝ่ายพระสงฆ์ที่ศึกษาปริยัติธรรม
หรื
อวัดนอกเมืองทีเป็นอรัญวาสี คือฝ่ายพระสงฆ์ที่ศึกษาด้านปฏิบัติธรรม วัด
และโบ
ราณสถานที่อยู่ในเขตเมืองได้แก่ วัดพระแก้ว เป็นวัดหลวงขนาดใหญ่ที่สุด
ตั้งอยู่ใจ กลางเมืองใกล้บริเวณที่สันนิษฐานว่าเป็นพระราชวัง ใช้ประกอบพิธีสำคัญ
ไม่มีภิก
ษุจำพรรษา อาจเคยเป็นที่ประดิษฐานพระแก้วมรกต และพระพุทธสิหิงค์ ดังในตำ
นาน ภายในวัดประกอบด้วยเจดีย์ประธาน มีสิงห์ล้อมอยู่ที่ฐาน และเจดีย์ทรงกลม
ที่ฐานเป็นช้างล้อม ประกอบด้วย วิหาร มณฑป อุโบสถ ศาลา และเจดีย์ราย ทั้งหมด
ล้อมรอบด้วยกำแพงศิลาแลงเป็นแท่ง ๆ ปักรอบ
ศาลพระอิศวร เป็นเทวสถานที่สำคัญ
แต่เดิมมีเทวรูปหลายองค์ประดิษฐานอยู่ โดย
เฉพาะเทวรูปพระอิศวรสำริด ซึ่งมีจารึกที่ฐาน (จารึกหลักที่ 13) ว่า พระเจ้าศรีธรร
มาโศกราชโปรดให้สร้างเทวรูปองค์นี้ขึ้นเมื่อปีพศ.2053(1510) และพบท่อซึ่งพระ
ยาร่วงนำน้ำจากแม่น้ำปิงไปสู่เมืองบางพาน ในตำนานยังได้กล่าวถึงการสร้างและ
บูรณะถนนพระร่วงเพื่อติดต่อกับสุโขทัย และซ่อมแซมโบราณสถานทั้งภายในและ
ภายนอกเมือง
โบราณสถานนอกเมือง หรือเขตอรัญญิก
อรัญญิก หมายถึงสงฆ์ฝ่ายที่มุ่งมั่นในการปฎิบัติธรรมและวิปัสสนา ซึ่งอยู่นอกเขตเมือง
โดยเฉพาะด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ระยะทางประมาณ 2 กม. มีวัดและโบราณสถาน
ที่สำคัญได้แก่ วัดช้างรอบ สร้างอยู่บนยอดเนินสูงสุดของเขตอรัญญิก ประธานของวัด
คือเจดีย์ทรงลังกา ซึ่งยอดหักพังหมดแล้ว มีบันไดทางขึ้นทั้ง 4 ด้าน มีชั้นฐานลานประ
ทักษิณ ประดับด้วยช้างทรงเครื่องครึ่งตัวรวม 68 ตัว ระหว่างช้างแต่ละตัวมีภาพปูนปั้น
รูปพันธุ์พฤกษาในพระพุทธศาสนาเช่นต้นโพธิ์ ต้นสาละ เป็นต้น
วัดสิงห์
สันนิษฐานว่ามีการก่อสร้าง 2 สมัย คือสุโขทัยและอยุธยา เขตพุทธวาสอยู่ตรงกลาง
ล้อมรอบด้วยเขตสังฆวาสหรือกุฎิสงฆ์ โดยมีพระเจดีย์ฐานสี่เหลี่ยมมีซุ้มทั้ง
4 ด้าน
เป็นประธาน ด้านหน้าเป็นพระอุโบ สถ ขนาดใหญ่ยกฐานประทักษิณสูง บนฐาน
ประทักษิณนี้ ประดิษฐานพัทธสีมาไว้ทั้งแปดทิศ มุขด้านหน้าของฐาน ประทักษิณ
มีรูปสิงห์ รูปนาค ประดับ
วัดพระสี่อิริยาบท
เป็นวัดใหญ่ในเขตอรัญญิกกลุ่มกลาง สิ่งสำคัญคือ มณฑปจตุรมุข แต่ละทิศประดิษฐาน
พระพุทธรูป 4 ปางคือ เดิน นั่ง ยืน นอน ปัจจุบันเหลือเพียงพระยืนขนาดใหญ่