ลำปาง
สภาพภูมิศาสตร์
ตั้งอยู่ในภาคเหนือตอนบน สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 268.6 เมตร ห่างจากกรุงเทพ
ประ มาณ 600 กม. มีประชากรประมาณ 920,000 คน มีพื้นที่ประมาณ 12,534 ตร.กม.
พื้นที่ทั่ว ไปเป็นภูเขาและที่ราบสูง มีป่าไม้ทึบอยู่ทางเหนือของจังหวัด ทางตอนกลางเป็นที่
ราบสูง และเป็นแหล่งเกษตร กรรมของจังหวัด เหมาะแก่การปลูกข้าวเหนียว ในหน้าแล้ง
จะปลูกพืชหมุนเวียนคือ ถั่ว หอม กระเทียม มีการปลูกอ้อยในพื้นที่กว้าง มีโรงงานน้ำตาล
อยู่ที่อำเภอเกาะคา 1 โรง ผลไม้ที่ขึ้นชื่อของจังหวัดคือ ลำไย ลิ้นจี่ และแคนตาลูป ตราสัญ
ลักษณ์ประจำจังหวัดลำปางคือ ไก่สีขาว ซึ่งเป็นปีที่หนานทิพย์ช้างเกิด

ลำปางมีอากาศร้อนจัดในฤดูร้อนหนาวจัดในฤดูหนาว เพราะมีพื้นที่เป็นลักษณะแอ่งกะทะ
อุณหภูมิต่ำสุดและสูงสุด คือ 3 - 40 องศาเซียลเซียส ปริมาณฝนเฉลี่ย 1,045.9 มล. มี
แม่น้ำไหลผ่าน 5 สายคือ วัง ตุ๋ย ยาว จาง และงาว มีเขื่อนกิ่วลมกั้นแม่น้ำวัง ห่างไปทาง
เหนือไป 40 กม. เก็บน้ำได้สูงสุด 112 ล้านลบ.เมตร แร่ธาตุที่สำคัญในลำปางคือ ลิกไนต์
ดินขาว หินอ่อน แกรนิต และบอลเคย์

ดอยขุนตาล อยู่ในเทือกเขาผีปันน้ำทางตะวันตกของลำปาง กั้นเขต อ.ห้างฉัตร จ. ลำปาง
และ อ.แม่ทา จ.ลำพูน

ศูนย์อนุรักษ์ช้างลำปาง เดิมอยู่ใกล้กับศาลเจ้าพ่อประตูผา ปัจจุบันย้ายมาอยู่ที่ทุ่งเกวียน
ห่างจากลำปางประมาณ 25 กม. บนเส้นทางเชียงใหม่ อยู่ในความดูแลของกองทำไม้ภาค
เหนือ องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ ทำการฝึกลูกช้างในเบื้องต้นเมื่อลูกช้างอายุได้ 3 - 5 ปี
ฝึกระยะที่ 2 อายุ 6 - 11 ปี ทำการฝึกลูกช้างทุกวัน ยกเว้นวันพระ และปิดเทอมในฤดูฝน
ทำการแสดงทุกวันเวลา 9.00 น. - 11.00 น.

ความเป็นมา
เจ้าอนันตยศเป็นผู้สร้างเมืองลำปาง เมื่อราวปลายศตวรรษที่ 5 - 6 โดยการสนับสนุนของ
พระนางจามเทวี ตั้ง ชื่อเมืองว่า เขลางค์นคร และอาลัมภางค์ แล้วจึงเป็นลำปางในที่สุด

ลำปางเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรล้านนามีเจ้าเมืองปกครอง ในสมัยปลายกรุงศรีอยุธยา
ถึงกรุงธนบุรี พม่าเข้ามามีอิทธิพลในบริเวณนี้ ต่อมาพม่าได้ส่งท้าวมหายศเจ้าเมืองลำพูน
ให้ยกทัพมาตีลำปาง โดยยึดเอาวัดพระธาตุลำปางหลวงเป็นที่ตั้งทัพ เพราะมีกำแพงวัดซึ่ง
แข็งแรงแน่นหนาเป็นป้อมปราการอย่างดี ทำให้กองทัพจากลำปางไม่สามารถตีทัพของ
ท้าวมหายศให้แตกได้ง่ายๆ แต่ในสมัยนั้นก็เกิดมีวีรบุรุษของชาวลำปาง 2 คนคือ

1. เจ้าพ่อประตูผาหรือพญามือเหล็ก ผู้มีความแข็งแกร่ง และสามารถสู้ข้าศึกได้ โดยเอา
มือบังแทนโล่ห์ เมื่อทัพของท้าวมหายศยึดเอาเมืองลำปางเอาไว้ได้พญามือเหล็กจึงได้พา
ขุนนางผู้รักษาเมืองหนีขึ้นไปทางเหนือจนถึงที่ซึ่งเป็นป่า เมื่อข้าศึกตามมาทัน ท่านจึงให้
ทหารพาขุนนางที่พาหนีมานั้นเข้าไปหลบอยู่ในถ้ำ โดยตัวเองออกมาต่อสู้ยัน ทหารจาก
เมืองลำพูนไว้เพียงคนเดียว แต่สามารถฆ่าทหารพม่าตายไปถึง 50 คน จนทหารข้าศึก
เกิดความกลัว นึกว่ากำลังสู้กับผู้วิเศษ เพราะท่านใช้ท่อนแขนแทนโล่ป้องกันคมดาบ ซึ่ง
พญามือเหล็กก็สู้กับข้าศึกจนท่านเหนื่อย และขาดใจตายไปเองในที่สุด แต่ก็ยังยืนเอา
หลังพิงหน้าผาหน้าปากทางเข้าถ้ำไว้ ข้าศึกเห็นแต่ไกลไม่รู้ว่าท่านขาด ใจตายไปแล้ว
ก็เกิดความกลัว จึงล่าถอยไปเอง ต่อมาภายหลังจึงมีคนสร้างศาลเพื่อเป็นที่เคารพสัก
การะเรียกว่า ศาลเจ้าพ่อประตูผา ตรงที่พญามือเหล็กขาดใจตาย ริมทางหลวงหมายเลข
1 จากลำปางไปทางเหนือประมาณ 45 กม.

2. หนานทิพย์ช้าง เคยเป็นคนเลี้ยงช้างอยู่ในเมืองลำปาง และได้เลื่อนชั้นขึ้นมาเป็น
นายบ้านปงยางคก เมื่อท้าวมหายศเจ้าเมืองลำพูนยกทัพเข้ามายึดลำปาง ทางลำปาง
ก็ไม่มีใครที่จะนำทัพเพื่อไปต่อต้านทหารลำพูนได้ หนานทิพย์ช้างจึงได้อาสา โดยลอบ
เข้าไปในวัดพระธาตุลำปางหลวงโดยทางระบายน้ำทางทิศตะวันออกของกำแพงชั้นใน
ซึ่งกว้างเพียง 1 ศอก เมื่อเข้าไปได้แล้วก็ถามหาท้าวมหายศกับทหารรักษาการณ์โดย
อ้างว่า พระนางศรีเมืองซึ่งเป็นภรรยาของท้าวมหายศ ใช้ให้ตนเองนำหนังสือด่วนมา
ให้และต้องให้กับมือ และเมื่อหนานทิพย์ช้างพบท้าวมหายศกำลังเล่นหมากรุกอยู่กับ
ทหารคนสนิทจึงได้ยื่นหนังสือปลอมนั้นให้ ท้าวมหายศเมื่อได้รับหนังสือนั้นแล้ว ก็ไม่
ทันระวังตัว หนานทิพย์ช้างจึงยิงท้าวมหายศตาย ซึ่งยังมีรอยกระสุนบางนัดปรากฎอยู่
ที่รั้วเหล็กที่อยู่รอบพระเจดีย์จน ถึงทุกวันนี้ หลังจากยิงท้าวมหายศตายแล้วหนานทิพย์
ช้างจึงเปิดประตูวัดให้ทหารลำปางที่รออยู่ด้านนอกวัดให้ เข้ามา แล้วขับไล่ทหารเมือง
ลำพูนออกจากเมืองลำปางไป หลังจากนั้น หนานทิพย์ช้างก็ขึ้นเป็นเจ้าเมืองลำปาง ซึ่ง
ในเวลาต่อมา ลูกหลานของหนานทิพย์ช้างก็ได้เป็นเจ้าเมืองลำปางและหัวเมืองทาง
เหนือต่างๆเช่น เชียงใหม่ แพร่ น่าน หนานทิพย์ช้างจึงเป็นต้นสกุลของราชวงค์เมือง
เหนือต่างๆ เช่น ราชวงศ์ทิพย์ช้าง ซึ่งมีเจ้ากาวิลละเป็นผู้ครองเมืองเชียงใหม่ตั้งแต่สมัย
รัชกาลที่ 1 เป็นองค์แรก และยังมีสกุล ณ.เชียงใหม่ ณ.ลำปาง เชื้อเจ็ดตน เป็นต้น

วัดพระธาตุลำปางหลวง
มีเรื่องเล่ากันว่าพระพุทธเจ้าเคยเสด็จมาที่วัดนี้ โดยมีชายชื่อลั๊วอ้ายก้อนนำน้ำผึ้งใส่กระ
บอกไม้ไผ่กับมะพร้าว 4 ลูก และผลมะตูม 4 ลูกมาถวาย พระพุทธองค์ทรงฉันน้ำผึ้งและ
ทิ้งกระบอกไปทางเหนือ พร้อมทั้งทรงพยากรณ์ว่า จะมีคนมาสร้างนครชื่อ ลัมภะกัปปะ
นคร แล้วเอามือลูบพระเกศาออกมาหนึ่งเส้นส่งให้ลั๊วอ้ายก้อน ลั๊วอ้ายก้อนจึงพร้อมด้วย
พระเจ้าประเสนทิ นำพระเกศานั้นไปใส่ไว้ในผอบทอง และขุดหลุมลึก 10 เมตร ฝังผอบ
นั้นไว้พร้อมแก้วแหวน เงินทอง แล้วก่อพระเจดีย์สูง 8 ศอกครอบไว้ พระพุทธองค์ได้พยา
กรณ์ต่อว่า หลังจากปรินิพพานแล้ว 218 ปีจะมี พระอรหันต์สาวกนำพระอัฐิคือพระนลาฎ
ข้างขวาและลำคอหน้าหลังมาบรรจุไว้ในพระเจดีย์ทองที่นี่

ต่อมาในดินแดนสุวรรณภูมิ มีเจ้าเมืองเมืองหนึ่งชื่อพระยาจันทเทวราช อยากได้พระอัฐินั้น
ไปใว้ยังเมืองตน จึงส่งคนมาขุดเอาไป แต่พระอัฐิก็ลอยกลับไปที่เดิม พระยาจันทเทวราชจึง
ได้มาบูรณะและสร้างสิงโตทองคำ 4 ทิศ ถวายทอง 4 โกฎิ 2 โกฎิฝังไว้ที่วัดท่าผา (3 กิโล
เมตรทางใต้ของวัดลำปางหลวง) อีก 2 โกฎิ ฝังไว้ที่ดอย 2 พี่น้อง ในเขตอำเภอ เถิน และ
อธิษฐานขอผู้มีบุญมาขุดทองทั้ง 4 โกฏิ ไปสร้างเป็นเจดีย์สืบไป

ในปีคศ.1115 ได้เกิดภาวะฝนแล้งขาดน้ำ พระนางจามเทวีได้เสด็จมาประทับห่างจากวัด
พระธาตุลำปางหลวง 2 กิโลเมตร เกิดมีลูกไฟโตนดหล่นลงมาบริเวณที่ประทับ พระนาง
นึกว่ามีคนมาแกล้ง จึงส่งคนไปสืบ และได้ความว่า เป็นอภินิหารของพระบรมสารีริกธาตุ
พระนางจึงอธิษฐานขอให้พระบรมสารีริกธาตุช่วยให้พ้นภัยแล้ง หลังจากนั้น จึงมีผู้ไปพบ
น้ำที่ซึมออกมาจากดิน เมื่อขุดออกมาน้ำก็พุ่งตามออกมาแรงมาก เป็นน้ำที่มีกลิ่นหอม และ
มีรสชาดดี พระนางจึงมีความเลื่อมใสในพระบรมสารีริกธาตุนั้นมาก จึงจัดให้มีงานสมโภช
เป็นเวลา 7 วัน และสร้างพระเจดีย์ บรรจุพระบรมสารีริกธาตุนั้น พร้อมทั้งมอบทหารจำ
นวนหนึ่งให้ดูแลเจดีย์ ต่อมาพระนางจามเทวีก็สร้างเมืองขึ้นใหม่ ชื่อว่า เขลางค์นครโดย
ให้โอรสองค์เล็กคือ เจ้าอนันตยศไปครอง ส่วนโอรสองค์โตคือ เจ้ามหันจยศ ให้ครองเมือง
ลำพูนตามเดิม

ปีค.ศ. 1501 สร้างพระเจ้าล้านทอง และพระสีลา บูรณะเจดีย์ให้สูงถึง 45 เมตร
ปีค.ศ. 1602 สร้างฉัตรใส่ยอด

เดิมวัดนี้เคยเป็นวัดหลวงของเมืองเก่าก่อนการสร้างเมืองลำปาง มีการขุดพบซากเมืองโบ
ราณในบริเวณนี้ มีสุสานของเจ้านายฝ่าย เหนืออยู่ในวัด ที่ต้นโพธิ์ใหญ่กลางคงตาลอายุ
ประมาณ 800 ปี จะพบว่ามีผู้นำไม้ง่ามไปค้ำยันกิ่งโพธิ์ไว้เรียกว่า ไม้ค้ำศรี (ศรีหมายถึง
พระศรีมหาโพธิ) เพื่อเป็นการค้ำกิ่งโพธิไม่ให้หักลงมา ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นการต่ออายุของ
เจ้าของไม้ให้มีอายุยืนยาวต่อไป เหมือนกับการช่วยค้ำกิ่งโพธิเอาไว้เพื่อไม่ให้หักลงมา และ
ยังเปรียบได้กับการค้ำ จุนพระศาสนาให้ยั่งยืนต่อไป ซึ่งเป็นกิจกรรมที่นิยมกันในหมู่ชาว
เหนือ ศิลปกรรมภายในวัดเป็นศิลปล้านนา ทั้งอาคาร โบสถ์ และวิหาร เจดีย์ ล้วนสร้าง
ในแบบล้านนาทั้งสิ้น ซึ่งมีอายุราว 700 ปี โดยได้รับการบูรณะและสร้างเสริม หลายครั้ง
มีโบสถ์ขนาดเล็กอยู่ทางด้านมุมกำแพง แต่มีวิหารใหญ่โตโอ่อ่าอยู่ด้านหน้า ตามความนิยม
ของเมืองเหนือที่ให้ความสำคัญแก่วิหารมากกว่าโบสถ์ และโบสถ์ส่วนมากจะไม่มีใบเสมา
แสดงตำแหน่งลูกนิมิตรเหมือนอย่างโบสถ์ทางภาคกลางดังเช่นที่วัดนี้เป็นต้น โดยรอบวิ
หารจะมีภาพเขียนเรื่องต่าง ๆ ซึ่งเข้าใจว่าคงจะรื้อมาจากที่ต่าง ๆ กัน เพราะเรื่องในภาพ
ไม่ต่อเนื่องและไม่ใช่เรื่องเดียวกันทั้งหมด ตรงกลางวิหารมีซุ้มปราสาท ประดิษฐานพระเจ้า ล้านทองและยอดซุ้มทะลุเพดานเนื่องจากมีการสร้างซุ้มขึ้นมาก่อน ซึ่งระดับยอดซุ้มอยู่สูงกว่า
ระดับเพคาน เมื่อมีการสร้างเพดานในภายหลัง จึงต้องเจาะเพดานให้เป็นช่องเพื่อรับยอด
ซุ้ม ด้านหน้าซุ้มภายในวิหาร มีอาสน์สงฆ์ทำด้วยไม้สักทั้งต้นตั้งอยู่ 2 ด้าน อายุประมาณ
200 ปี

ที่หน้าวิหารคือประตูทางออกไปนอกวัดด้านทิศตะวันออก มีบันไดนาคทอดลงไปเบื้องล่าง
ซุ้มประตูทำเป็นทรงปรา สาท ลวดลายปูนปั้น ด้านหลังวิหารคือ พระเจดีย์ประธานของวัด

วัดนี้มีลักษณะการวางผังที่นิยมกันในสมัยนั้นคือ มีวิหารอยู่หน้าพระเจดีย์ทางทิศตะวันออก
เป็นอิทธิพลศิลปสุโขทัย และล้านนา รอบเจดีย์มีรั้วเหล็กซึ่งยังคงมีรอยกระสุนของหนาน
ทิพย์ช้างที่ยิงท้าวมหายศตายที่มุมรั้วเหล็กทั้งสี่ประดิษฐานฉัตรทิศ ซึ่งวัดหลวงในภาคเหนือ
ส่วนมากจะมีฉัตรทิศและรั้วโลหะเป็นสัญญลักษณ์ ที่กลางลานมีสายสลิงค์สำหรับส่งน้ำขึ้น
ไปสรงองค์พระเจดีย์ ซึ่งจะพบได้ทั่วไปในวัดทางภาคเหนือ

ถัดจากกำแพงชั้นในคือพิพิธภัณฑ์และกุฎิพระแก้ว ซึ่งได้มาจากวัดพระธาตุดอนเต้า

วัดพระธาตุดอนเต้าสุชาดาราม
อยู่ทางด้านเหนือของเมืองลำปาง โดยข้ามแม่น้ำวังไปทางประตูม้า อยู่ก่อนถึงประตูม้า 1
กม. สร้างโดยเจ้าอนันตยส โอรสองค์ที่ 2 ของพระนางจามเทวีในปีค.ศ. 680 พระเจดีย์
บรรจุพระบรมสารีริกธาตุและพระเกศา 164 เส้น บูรณะเมื่อปีค.ศ.1602 ฐานเจดีย์กว้าง
26 ม. สูง 50 ม. เป็นเจดีย์ศิลปล้านนา ยกฐานสูง องค์ระฆังเล็กประดับยอดฉัตร ด้าน
หน้าเจดีย์มีวิหารทรงพม่า สร้างโดยชาวพม่าที่เข้ามาติดต่อค้าขายกับเมืองลำปาง เพื่อ
ถวายเป็นอภินันทนาการแก่เจ้าเมืองลำปางเมื่อราว 90 ปีที่แล้ว ภายในประดิษฐานพระ
พุทธรูปแบบพม่า ด้านหลังเจดีย์มีอนุสาวรีย์ช้าง ซึ่งบรรทุกพระแก้วมรกตมาจากเชียงราย
เพื่อจะนำยังไปเชียงใหม่ แต่เมื่อช้างมาถึงเมืองลำปางก็ไม่ยอมเดินต่อ จึงต้องพักพระแก้ว
ไว้ที่วัดนี้เป็นเวลา 32 ปี ด้านมุมกำแพงเป็นพระพุทธรูปปางค์ป่าเลไลย์ขนาดใหญ่ ถัด
มาเป็นวิหารพระนอน ด้านทิศตะวันออกของเจดีย์คือวิหารพระเจ้าทองทิพย์และพระเจ้า
ทันใจ ซึ่งในขณะจะทำการบูรณะนั้น ไม่มีผู้ใดสามารถย้ายพระเจ้าทันใจออกไปจากวิหาร
ได้ จึงต้องบูรณะทั้งที่ยังมีพระเจ้าทันใจประดิษฐานอยู่ และหนานทิพย์ช้างได้ทำพิธี สักการะในวิหารนี้ก่อนที่จะออกไปรบกับท้าวมหายศ

มีเรื่องเล่าว่า มีอุบาสิกาชื่อนางสุชาดา ได้นำผลมะเต้า คือลูกแตงโม มาถวายแด่พระเถระ
ในวัดนี้ เมื่อพระเถระผ่าแตงโมออกจึงพบว่าเป็นหยกชิ้นหนึ่งอยู่ในผลมะเต้านั้น ขณะที่กำ
ลังคิดว่าจะทำประการใดดีกับหยกชิ้นนั้น พลันก็ได้มีมานพหนึ่งเข้ามานมัสการพระเถระ
และได้อาสาที่จะแกะหยกนั้นให้เป็นพระพุทธรูป โดยร้องขอให้พระเถระไปหาเครื่องมือแกะ
สลักมาให้ เมื่อพระเถระกลับมาพร้อมเครื่องมือ มานพนั้นก็ได้หายไปแล้ว และหยกชิ้นนั้น ก็ได้กลายเป็นพระพุทธรูปสวยงามพระเถระจึงเก็บรักษาพระหยกนั้นไว้กับตัว

อยู่ต่อมาชาวเมืองต่างพากันกล่าวหาว่า นางสุชาดาและพระเถระนั้นมีความสัมพันธ์ต่อกัน
เจ้าเมืองลำปางจึงได้ลงโทษประหารแก่นาง แต่ก่อนที่นางจะโดนประหาร นางได้ประกาศ
ต่อเทพดาให้ได้ยินกันทั่วว่า ถ้านางบริสุทธิ์ ขอให้ เลือดของนางอย่าได้ตกลงพื้น พอนาง
ถูกประหารโดยการตัดคอ เลือดของนางก็มิได้ตกถึงพื้น โดยได้ลอยหายไปในอากาศเป็น
ที่อัศจรรย์ คนจึงรู้ว่านางไม่ใช่คนทำผิด จากนั้นเจ้าเมืองลำปางผู้สั่งลงโทษรู้สึกเสียใจ และ
ตรอมใจตายในที่สุด

ฝ่ายพระเถระนั้นเมื่อนางสุชาดาเสียชีวิตแล้ว ก็รู้สึกเสียใจ จึงนำพระหยกนั้นไปฝากไว้ที่วัด
พระธาตุลำปางหลวง แล้วได้หายไปไม่กลับมาอีกเลย

วัดเจดีย์ซาว
ซาวแปลว่า 20 เจดีย์ซาวคือเจดีย์ 20 องค์ เล่ากันว่า เมื่อ 500 ปีหลังพุทธกาล มีพระอร
หันต์ 2 องค์ธุดงค์มาถึงที่นี่ เจ้าเมืองเขลางค์นครในขณะนั้นรู้ข่าว จึงไปนมัสการและได้
ขอพระเกศาของพรอรหันต์องค์ละ 10 เส้น 2 องค์รวมเป็น 20 เส้น แล้วสร้างพระเจดีย์
ขนาดย่อมบรรจุเกศานั้นองค์ละเส้น รวมเป็น 20 องค์ แต่ละองค์สร้างเป็นเรือนธาตุ มี
ฉัตรยอดแบบศิลปะล้านนา บริเวณลานรอบพระเจดีย์มีรูปปูนปั้นเป็นรูปสัตว์ประจำราศีทั้ง
12 ราศี ด้านที่ติดกับโบสถ์ เป็นวิหารประดิษฐานพระพุทธรูปล้านนา ที่มุมพระเจดีย์ด้าน
ทางเข้าวัดเป็นรูปปูนปั้นพระอรหันต์ 2 องค์และเจ้าเมืองลำปาง มุมถัดไปเป็นศาลเจ้าแม่
กวนอิมปางปาฏิหาริย์ 20 กร ทิศเหนือของโบสถ์ เป็นวิหารที่สร้างเสาอยู่ในสระ แต่บันได
เชื่อมต่อกับพื้นดิน ประดิษฐานพระพุทธรูปแสนแซ่ เป็นพระพุทธรูปทองคำแท้สมัยเชียงแสน
อายุราว 1,300 ปี สร้างโดยวิธีเคาะขึ้นรูป ไม่ใช่วิธีหล่อ องค์พระจึงมีลักษณะกลวงข้างใน
พระองค์นี้พบครั้งแรกเมื่อ 10 ปีที่แล้วในไร่อ้อย โดยพบในรอยตีนตะขาบของรถไถดิน แต่ยัง
พบไม่ครบองค์ ต่อมาทางราชการจึงได้ติดตามมาได้จนครบทุกชิ้น ชิ้นสุด ท้าย คือรัศมีพบใน
ร้านขายของเก่าแห่งหนึ่ง ด้านหลังวิหารคือโรงทำยาสมุนไพรและสถานที่จำหน่ายยา ด้าน
หน้าเป็นรูปปูนปั้นของชีวกพราหมณ์ซึ่งเป็นหมอประจำพระองค์พระพุทธเจ้า มีเรื่องเล่ากันว่า ในขณะที่หมอชีวกยังคงศึกษาวิชาการแพทย์อยู่นั้น อาจารย์ได้ใช้ให้ท่านเข้าไปในป่าเพื่อหา
พืชอะไรก็ได้ที่ใช้ทำยาไม่ได้ หมอชีวกจึงเข้าไปในป่าตามที่อาจารย์สั่ง แต่เมื่อท่านกลับออก
มาจากป่า ท่านกลับมาโดยไม่มีอะไรติดมือกลับมาเลย แล้วจึงได้รายงานต่ออาจารย์ของท่าน
ว่า ท่านไม่พบพืชชนิดใดเลยที่ใช้ทำยาไม่ได้ อาจารย์ของท่านจึงได้กล่าวว่า ชีวกพราหมณ์
เป็นผู้รู้จริง และได้ศึกษาวิชาการแพทย์จนสำเร็จสมบูรณ์ตามหลักสูตรแล้วทุกอย่าง

โบสถ์ของวัดเจดีย์ซาวเป็นศิลปะล้านนาแบบประยุกต์ นาคบนหน้าบันมีลักษณะเคลื่อนไหว
เหมือนอย่างของภาคกลาง ซึ่งศิลปะล้านนาของแท้จะมีลักษณะทอดตรงลงมาจากยอด หาง
หงส์หรือเศียรของพญานาคจะเห็นเป็นเศียรพญานาคโดยชัดเจน ลายเหล็กดัดที่ประดับที่
หน้าต่างโบสถ์ทำเป็นลวดลายบัวสี่เหล่า ด้านนอกมีบ่อน้ำสองพี่น้องและรูปปูนปั้น องคุลี
มารกำลังฟังเทศน์จากพระพุทธเจ้า

to the top
1