ความเป็นมา
เมื่อพระยาเม็งรายได้ย้ายเมืองมาอยู่ที่เชียงรายในปีพศ. 1804 แล้วก็ทรงยกทัพไปตีเอา
เมืองหริภุญไชยได้ในปีพศ. 1824 และในขณะที่ประทับอยู่ที่เมืองหริภุญไชยนั้น
ก็ได้
ทรงมองเห็นชัยภูมิในบริเวณที่ราบลุ่มดอยอ้อยช้าง (ดอยสุเทพปัจจุบัน) เป็นชัยภูมิที่
เหมาะสมสำหรับการตั้งเมืองจึงทรงปรึกษากับพระสหายคือ พ่อขุนรามคำแหงแห่งสุโข
ทัย และพระยางำเมืองแห่งพะเยา และช่วยกันสร้างเมืองใหม่ขึ้นมา พระราชทานนาม
เมืองว่า นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่ พระยาเม็งรายเสด็จขึ้นครองเชียงใหม่เมื่อปีพศ.
1839 (1296) เชียงใหม่จึงเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรล้าน นาตั้งแต่บัดนั้น
เชียงใหม่มีการติดต่อกับพุกามอย่างใกล้ชิด และได้นำช่างฝีมือชาวพุกามเข้ามาเป็นจำ
นวนมาก ทำให้ศิลปะล้านนา มีลักษณะคล้ายศิลปะพม่าเป็นส่วนมาก ในสมัยหลังพระ
ยาเม็งรายเชียงใหม่ก็ได้รวมเอาดินแดนโยนกส่วนอื่นๆ เข้ามาไว้ในปกครองมากขึ้นเช่น
พะเยาแพร่ น่าน และในบางรัชกาลก็ยังได้ยกกองทัพลงมาถึงสุโขทัยและพิษณุโลก
แต่ก็ ตีเอาไม่ได้บางครั้งก็ถูกกองทัพอยุธยาบุกขึ้นมาตีเช่น ในสมัยพระเจ้าติโลกราชได้ทำสง
ครามกับสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ หรือในบางครั้งก็เสียเมืองให้พม่าโดยเฉพาะพระ
เจ้าบุเรงนอง ซึ่งตีเมืองเชียงใหม่ได้ในปีพศ. 2101และปกครองเชียงใหม่ต่อมาจนถึง
สมัยกรุงธนบุรี และในขณะเดียวกัน กองทัพพม่าก็ยังยกไปตีถึงเมืองเชียงแสนและล้าน
ช้างในเวลาต่อมา เท่ากับว่า พม่าได้ดินแดนล้านนาทั้งหมดเป็นเมืองขึ้น
ในสมัยธนบุรี
ราวปีพศ. 2317 ธนบุรีจึงส่งกองทัพขึ้นมาช่วยเจ้ากาวิลละขับไล่พม่าออกไปได้
จนถึงสมัยรัชกาลที่ 1ซึ่งพระองค์ได้ทรงแต่งตั้งให้เจ้ากาวิลละขึ้นมาครองเมืองเชียงใหม่
โดยให้มีฐานะเป็นหัวเมืองฝ่ายเหนือ จนถึงสมัยเจ้าดารารัศมี พระชายาในรัชกาลที่
5
ได้ทำการบูรณะเมืองเชียงใหม่ขึ้นมาใหม่โดยได้รับ ความช่วยเหลือจากกรุงเทพฯ.
เชียง
ใหม่จึงกลับมามีความสำตัญขึ้นอีกครั้ง
เมื่อเจ้ากาวิลละขึ้นเป็นกษัตริย์องค์แรกที่ครองเมืองเชียงใหม่นั้น เชียงใหม่เองก็ยังไม่มี
กำลังคนเพียงพอที่จะกอบกู้บ้านเมืองได้ เจ้ากาวิลละจึงต้องออกไปเกณฑ์คนมาจากที่
ต่างๆ เช่น จากเชียงแสน เชียงรุ้ง เชียงตุง เป็นต้น ในสมัยนั้นคนทางล้านนาเรียกว่า
เป็นสมัยแห่งการ "เก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมือง"
ภาชนะที่รู้จักกันดีของชาวล้านนาคือเครื่องเขิน ซึ่งเป็นเครื่องลงรัก แต่ในสมัยก่อนๆ
นั้น คนเหนือเรียกว่า "เครื่องฮัก" หมายถึง เครื่องลงรัก ต่อมาในสมัย
"เก็บผักใส่ซ้า
เก็บหญ้าใส่เมือง" นั้น เจ้ากาวิลละได้กวาดต้อนผู้คนมาจากที่ต่างๆ รวมทั้งคนจาก
แม่น้ำเขิน ซึ่งมีฝีมือในการทำ "เครื่องฮัก"เป็นอันมากพระองค์ทรงจัดให้ชาวเขินเหล่า
นั้นพำนักอยู่ริม กำแพงเมืองด้านทิศใต้ มีหน้าที่ทำเครื่องฮักส่งเข้าไปในราชสำนัก
จึง
เรียกเครื่องฮักว่าเครื่องเขิน เพราะทำขึ้นจากฝีมือชาวเขิน ปีพศ.2440
เชียงใหม่ได้รับ
การยกฐานะเป็นมณฑลพายัพ และเปลี่ยนเป็นจังหวัดเชียงใหม่เมื่อคราวเปลี่ยนระบบ
การปกครองในสมัยรัชกาลที่ 5
back to the top
วัดพระธาตุดอยสุเทพ
สูงจากระดับน้ำทะเล 1,051 เมตร ในเขตอำเภอเมือง มีถนนลาดยางขึ้นไปถึงวัด
ระ
ยะทางจากตีนดอย 11 กม. ผู้ที่นำชาวบ้านในการสร้างถนนคือ ครูบาศรีวิชัย
นักบุญ
แห่งลานนาไทย ด้วยศรัทธาของประชาชนที่มีต่อครูบาฯ และองค์พระธาตุ จึงได้ช่วย
กันทั้งกำลังทรัพย์และกำลังกายในการสร้างถนนมีประชาชนมาจากหมู่บ้านต่างๆรวม
กว่า 5,000 คนมาช่วยงานมีกองอำนวยการอยู่ที่ลานวัดผาลาด มีชาวเขาที่อา
ศัยอยู่ใน
พื้นที่เป็นผู้ถางพงนำหน้า เครื่องมือต่างๆก็มีใช้กันเฉพาะเท่าที่จะหามาได้
การสร้าง
ถนนก็สำเร็จลงได้ในเวลา 5 เดือน 22 วัน
ประวัติการสร้างวัด
พระสุมนเถระแห่งกรุงสุโขทัยได้ขุดพบพระบรมสารีริกธาตุจากใต้เข็ม จึงได้ถวายพระ
ธาตุนั้นแด่พญาลิไทย แต่พญาลิไทมิได้ทรงศรัทธา จึงมิได้ทรงรับเอาไว้ ต่อมาเมื่อพระ
เจ้ากือนาแห่งเมืองเชียงใหม่ มีพระประสงค์ที่จะประดิษฐานพระพุทธศาสนาลัทธิลังกา
วงศ์ในเมืองเชียงใหม่ จึงได้ทูลขอพระสุมนเถระต่อพญาลิไท เพราะพระสุมนคือผู้ที่เดิน
ทางไปศึกษาพระพุทธศาสนาที่ประเทศลังกา และนำลัทธิลังกาวงศ์เข้ามาเผยแพร่ใน
ราชอาณาจักร พญาลิไทจึงได้ส่งพระสุมนและคณะพระสงฆ์จำนวนหนึ่ง เพื่อไปเจริญ
พระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ยังเมืองเชียงใหม่ พร้อมทั้งได้อัญเชิญพระบรมสารีริก
ธาตุไปยังเชียงใหม่ด้วย เมื่อพระสุมนเถระเดินทางมาถึงเชียงใหม่ ก็ถวายพระบรมสา
รีริกธาตุนั้นแด่พระเจ้ากือนา พระเจ้ากือนาก็รับไว้ด้วยศรัทธา แล้วพระธาตุนั้นก็แสดง
ปาฏิหารย์ด้วยการแบ่งองค์ออกเป็น 2 ส่วน พระเจ้ากือนาก็ทรงเลื่อมใสเป็นอันมาก
จึงโปรดให้สร้างเจดีย์ใหญ่ขึ้นที่วัดสวนดอกเพื่อประดิษฐานพระบรมธาตุองค์ที่
1 ส่วน
องค์ที่ 2 ทรงอัญเชิญขึ้นไว้บนหลังช้างชื่อมงคลหัตถี เพื่อเสี่ยงทายหาสถานที่ที่จะสร้าง
วัดเพื่อประดิษฐานพระบรมธาตุนั้น เมื่อช้างมงคลหัตถีวิ่งมาจนถึงดอยสุเทพแห่งนี้
ก็
ได้วิ่งวนรอบดอยเป็น ทักษินาวัตร 3 รอบแล้วจึงหยุด ไพร่พลที่วิ่งตามมาจีงอัญเชิญ
พระบรมธาตุลงจากหลังช้าง พระเจ้ากือนาจึงโปรดให้ สร้างวัดและพระธาคุเพื่อประ
ดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ณ.ยอดดอยลุเทพแห่งนั้นเมื่อปีพศ.1929 (คศ.1386)
พระเจ้ากือนาโปรดให้ขุดหลุมลึก 8 ศอก นำหินก้อนใหญ่มาทำเป็นหีบใส่ไว้ที่ก้นหลุม
แล้วอัญเชิญพระบรมธาตุที่บรร จุอยู่ในผอบลงไปไว้ในหีบ จากนั้นก็ถมด้วยศิลาจนเรียบ
แล้วก่อเจดีย์สูง 10 เมตรครอบฐานที่ประดิษฐานพระบรม ธาตุไว้
ปีพศ. 2081 (1538) ในสมัยพระเมืองแก้ว กษัตริย์องค์ที่ 12 ราชวงศ์เม็งราย
โปรด
ให้มีการบูรณะโดยขยายฐานเจดีย์ออกไปเป็นกว้าง 6 เมตร สูง 22 เมตร เป็นเจดีย์แบบ
ล้านนา คือเป็นเจดีย์ทรงระฆังแบบลังกา ยกฐานสูง มีฉัตรยอดแบบลานนา ในสมัยท้าว
ชายคำโอรสของพระเจ้าเมืองแก้ว ได้พระราชทานทองคำหนัก 1,700 บาท ตีเป็นทอง
จังโกหุ่มองค์พระ ธาตุไว้
ปีพศ. 2100 ( 1557 ) มีการสร้างบรรได 173 ขั้น ( ปัจจุบันมี 304 ขั้น )
ปีพศ. 2336 ( 1793 ) พระเจ้ากาวิลละได้สร้างฉัตรทิศทั้ง 4 มุมและรั้วเหล็ก
back to the top
วัดเจดีย์หลวง
วัดเจดีย์หลวงหรือวัดโชติกาวรวิหาร สร้างสมัยพระเจ้าแสนเมืองมากษัตริย์องค์ที่
9
ราชวงศ์เม็งราย โปรดให้สร้าง เจดีย์ใหญ่ขึ้นที่กลางเมืองสูง 88 ม. ฐานกว้างด้านละ
54 ม. แล้วเสร็จเมื่อปีพศ. 1954 (1411) เนื่องจากเป็นเจดีย์ที่สูงใหญ่มาก
ชาว
เมืองจึงเรียกว่า เจดีย์หลวง
ในปีพศ. 2044 สมัยพระนางเทวีจิระประภา เกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ ทำให้เจดีย์หัก
พังลงมาครึ่งองค์ พระเจดีย์จึงได้ถูกทิ้งให้ร้างอยู่นานกว่า 400 ปีและกรมศิลปากรได้
ทำการบูรณะในระหว่างปี พศ. 2533 - 2535 ใช้งบประมาณ 35 ล้านบาท
ซุ้มทิศตะวันออก เคยเป็นที่ประดิษฐานพระแก้วมรกตถึง 79 ปี (พศ. 2011-2091/
1468 - 1548) ปัจจุบันประดิษฐานพระพุทธเฉลิมสิริราช สร้างขึ้นเพื่อเฉลิมสิริราช
สมบัติครบ 50 ปี รอบองค์เจดีย์มีช้างปูนปั้นครึ่งตัวประดับอยู่โดยรอบ
ฐานสี่เหลี่ยม
เรือนธาตยกสูง องค์ระฆังขนาดย่อม ศิลปะล้านนา วิหารหลวงสร้างขึ้นครั้งแรกในปี
พศ. 1954 (1411) โดยพระนางติโลกจุฑา พระมารดาของพระเจ้าสามฝั่งแกน พร้อม
ทั้งได้หล่อพระอัฏฐารส สูง 18 ศอก เป็นพระประธานในโบสถ์ พร้อมทั้งพระโมคคัลลา
นะและพระสารีบุตร ประดิษฐานไว้ในวิหาร ที่บันไดทางเข้ามีนาคประดับอยู่ทั้ง
2 ข้าง
วิหารหลังที่เห็นในปัจจุบันสร้างขึ้นใหม่ในปีพศ. 2471(1929)ซึ่งเป็นการซ่อมสร้าง
ครั้งที่ 6 และได้งดศาสนกิจในอุโบสถหลังเก่าตั้งแต่ปีพศ. 2522(1979) เนื่องจาก
สถานที่คับแคบ และย้ายเขตพัทธสีมามาไว้ในวิหารหลังนี้ มีใบเสมาประดับอยู่บนเสา
หน้าพระประธานในวิหาร ถือว่าเป็นเขตพัทธสีมา
เสาอินทขิลหรือหลักเมือง เป็นของเก่าเมื่อครั้งพระยาเม็งรายสร้างเมืองเชียงใหม่
เดิม
อยู่ที่วัดสะดือเมืองข้างศาลากลางหลังเก่า ต่อมาพระเจ้ากาวิลละกษัตริย์องค์ที่
1 ราช
วงศ์ทิพยจักร ได้ย้ายเสาอินทขิลมาไว้ที่วัดเจดีย์หลวงในปีพศ. 2343(1800)
เพื่อ
ความเป็นศิริมงคลของบ้านเมือง รวมทั้งเป็นขวัญและกำลังใจแก่ประชาชน เนื่องจาก
เป็น ยุคที่เชียงใหม่กำลังฟื้นตัวจากการสงคราม
เสาอินทขิลประดิษฐานอยู่ในวิหารจตุรมุขหน้าวัด มีกุมภัณฑ์เฝ้ารักษาอยู่ที่ศาล
ต้น
ยางใหญ่หลังวิหารอิทขิลมีอายุกว่า 200 ปี วัดโคนต้นได้ 10.56 ม. สูงประมาณ
40
ม. ปลูกโดยพระเจ้ากาวิลละเมื่อคราวที่ย้ายเสาอินทขิลมาไว้ที่วัดนี้ เพื่อให้เป็นต้นไม้
คู่บ้านคู่เมือง
บ่อเปิง เปิงแปลว่าคู่ควร หรือเหมาะสม เป็นบ่อขนาดใหญ่เส้นผ่าศูนย์กลาง
4.32
เมตร ลึก 10.29 เมตร บ่อ เปิงหมายถึง บ่อที่มีความเหมาะสมในการก่อสร้างเจดีย์
ขนาดใหญ่ บ่อเปิงมีอยู่ประมาณ 12 บ่อ ขุดในสมัยพระเจ้าติโลกราชเพื่อนำน้ำมาใช้
ในการบูรณะองค์เจดีย์ระหว่างปีพศ.2022-2024 (1479-148) ปัจจุบันบางส่วน
ถูกถมไปบ้างแล้ว เพื่อเอาที่ไปทำประโยชน์ภายในวัด
วัดสวนดอก
หรือวัดสวนบุปผาราม พระเจ้ากือนาได้พระราชทานอุทยานสวนดอกไม้ของพระองค์
เพื่อสร้างเป็นวัด เมื่อปีพศ.1914 (1317) เพื่อให้เป็นที่จำพรรษาของพระสุมนเถระ
ผู้นำพระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์มาประดิษฐานในดินแดนล้านนาไทย พระเจ้ากือ
นา พระราชทานนามวัดนี้ว่า วัดบุปผาราม ชาวบ้านนิยมเรียกว่าวัดสวนดอก
เมื่อครั้งที่พระบรมสารีริกธาตุที่พระสุมนเถระอัญเชิญมาจากสุโขทัยได้แสดงปาฏิหารย์
โดยแบ่งองค์ออกเป็น 2 ส่วนนั้น พระเจ้ากือนาโปรดให้สร้างพระเจดีย์สูง
24 ศอก เพื่อ
บรรจุพระบรมสารีริกธาตุองค์ที่ 1และอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุองค์ที่ 2
ขึ้นบนหลัง ช้างมงคลหัตถีเพื่อเสี่ยงทายหาสถานที่เพื่อประดิษฐานพระบรมธาตุนั้น
วัดสวนดอกมีวิหารหลวงที่ใหญ่ที่สุดในภาคเหนือ ภายในวิหารประดิษฐานพระพุทธ
รูปบุทองคำองค์ใหญ่ สร้างสมัยพระเมืองแก้ว และพระพุทธรูปยืนปางรับหญ้าฟ่าง
หัน
หน้าไปทางทิศตะวันตก เจดีย์ประธานบรรจุพระบรมสารรีริกธาตุซึ่งพระสุมนเถระนำมา
จากสุโขทัยเดิมเป็นเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ แต่ครูบาศรีวิชัยได้รื้อออก
แล้วสร้างเจดีย์ใหม่
ขึ้นแทน เป็นเจดีย์ทรงระฆังคว่ำแบบสุโขทัย ฐานสูง มีบันไดขึ้นไปถึงเรือนธาตุแบบล้าน
นา ไม่มีเสาหารบนบัลลังค์ มีเพียงพระพุทธรูปปูนปั้นปางลีลาแบบอย่างสุโขทัย
ด้านเหนือของพระเจดีย์มีกู่บรรจุอัฐิของเจ้านายฝ่ายเหนือ ซึ่งเจ้าดารารัศมีย้ายมาจากริม
ฝั่งแม่น้ำปิง ด้านทิศใต้ของวิหาร มีสถูปซึ่งบรรจุอัฐของครูบาศรีวิชัย
บนหน้าบันของวิหาร
มีลายปั้นเป็นรูปเสือซึ่งหมายถึงปีที่ครูบาเกิดศรีวิชัย คือปีเสือ พระประธานของวัดสวนดอก
คือพระเจ้าเก้าตื้อ ประดิษฐานอยู่ในโบสถ์ซึ่งมีกำแพงวัดล้อมรอบ สร้างโดย
พระเมืองแก้ว
กษัตริย์องค์ที่ 13 ราชวงค์เม็งราย เมื่อพศ. 2047 (1504) เพื่อจะนำไปประดิษฐานเป็น
พระประธาน ในวัดพระสิงห์ แต่เนื่องจากเมื่อหล่อแล้ว องค์พระหนักมาก จึงโปรดให้ประ
ดิษฐานไว้ให้เป็นพระประธานอยู่ที่วัดเก้าตื้อ ซึ่งเป็นคนละวัดกับวัดสวนดอก
ต่อมาจึงรื้อ กำแพงออกและทั้งสองวัดก็กลายมาเป็นวัดเดียวกัน ประชาชนมีความเห็นว่าพระองค์นี้
หนักมากจึงให้ชื่อว่า พระเจ้าเก้าตื้อ หรือ 9,000 ชั่ง ตื้อ เป็นภาษาเหนือ
ซึ่งหมายถึง
น้ำหนักเท่ากับพันชั่ง พระเจ้าเก้าตื้อเป็นพระพุทธรูปแบบล้านนารุ่นหลัง
และรับอิทธิ
พลจากสุโขทัย
วัดเชียงมั่น
เดิมพ่อขุนเม็งรายได้สร้างเป็นตำหนักที่ประทับและสั่งราชการในการสร้างเมือง
ชื่อตำ
หนักเชียงมั่น เมื่อสร้างเมืองเสร็จแล้วจึงถวายตำหนักนั้นเป็นพระอารามแล้วให้ชื่อว่า
วัดเชียงมั่น วัดนี้มีพระพุทธรูปสำคัญ 2 องค์คือ พระเสสังมณี หรือพระแก้วขาว
และ
พระศิลา ด้านหลังวิหารมีเจดีย์ช้างล้อมสร้างขึ้นตรงบริเวณหอบรรทมของพระยาเม็ง
ราย ศิลปล้านนาผสมสุโขทัย ตรงฐานเจดีย์ทำรูปช้างล้อมฐาน เลียนแบบเจดีย์ช้างล้อม
ของพ่อขุนรามคำแหงที่เมืองศรีสัชนาลัย ด้านใต้ขององค์เจดีย์เป็นหอพระไตรปิฎกที่
สร้างแบบศิลปะล้านนาคือด้านล่างก่อด้วยอิฐถือปูน ด้านบนทำด้วยไม้แกะสลักลวด
ลายสวยงาม ด้านข้างเจดีย์คือโบสถ์ขนาดเล็ก ภายในมีพระพุทธรูปประะดิษฐานอยู่
หลายองค์ และยังมีศิลาจารึกซึ่งบันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับการสร้างเมืองเชียงใหม่อยู่ใน
วัดด้วย
วัดพระสิงห์วรวิหาร
เป็นวัดเก่าแก่ เดิมเคยเป็นตลาดมาก่อนเรียกว่า กาดลีเชียง พระเจ้าผายูกษัตริย์องค์ที่
7 แห่งราชวงศ์เม็งราย โปรดให้สร้างวัดนี้ในปีพ.ศ.1888 (1345) พร้อมทั้งสร้างพระ
เจดีย์สูง 24 ศอกองค์หนึ่ง เพื่อใช้เป็นที่บรรจุอัฐิพระราชบิดาของพระองค์
ในสมัยพระ
เจ้าแสนเมืองมา ได้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์ซึ่งได้เป็นของกำนัลจากพระเจ้ากรุงลงกา
มาประดิษฐานไว้ในวัดนี้ พระพุทธสิหิงค์ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยขัดสมาธิเพชร
ประดิษฐานอยู่ในวิหารลายคำ เมื่อถึงเทศกาลสงกรานต์ ชาวเมืองจะอัญเชิญพระพุทธ
รูปองค์นี้แห่ไปตามถนนรอบเมือง
วิหารลายคำ
สร้างสมัยพระเจ้ากาวิโลรส เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์ที่ 6 เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธ
สิหิงค์ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่สำคัญและศักดิ์สิทธิ์ของจังหวัดเชียงใหม่
เป็นวิหารทรงล้าน
นาที่สมบูรณ์แบบที่สุด ภายในวาดภาพจิตรกรรมฝาผนังเรื่องสุวรรณหงส์และสังข์ทอง
พระอุโบสถเป็นแบบล้านนา ฐานก่ออิฐถือปูน ตัวอาคารเป็นไม้ หน้าต่างเป็นซี่ลูกกรง
แบบโบราณ ที่ตรงซุ้มประตูมีลวดลายแกะสลักสวยงาม ลักษณะเป็นแบบของเชียงใหม่
โดยเฉพาะคือ ทำเป็นนาค 2 ตัวเลื้อยลงมา หางเกี่ยวกันที่ยอดซุ้ม มีหงส์
2 ตัวเกาะอยู่