ความเป็นมา
ตำนานสิงหนวัติและพงศาวดารโยนกกล่าวถึงพะเยาว่าเดิมชื่อ ภูกามยาว เป็นส่วนหนึ่ง
ของโยนกนครตั้งแต่สมัยโบราณ มีพ่อขุนเงิน โอรสของกษัตริย์เชียงแสนเป็นกษัตริย์พระ
องค์แรก ปกครองต่อมาจนถึงพระยางำเมือง เป็นกษัตริย์องค์ที่ 9 และเป็นผู้ที่ช่วยพระยา
เม็งรายสร้างเมืองเชียงใหม่พร้อมกับพ่อขุนรามคำแหง แต่หลังจากนั้น พะเยาก็ถูกกลืน
เข้าเป็นดินแดนของล้านนา จนกระทั่งในราวปีพศ. 2318 - 2330 เมื่อคราวเกิดศึกอแซ
หวุ่นกี้ พม่าได้ยกทัพเข้ามาล้านนารวมถึงเชียงแสน พะเยาและลำปาง ผู้คนก็ได้อพยพจาก
เชียงแสนและพะเยาลงไปอยู่ที่ลำปาง ทำให้พะเยากลายเป็นเมืองร้างอยู่ถึง 50
ปี จนถึง
สมัยรัชกาลที่ 3 ซึ่งสงครามสงบลงแล้ว พะเยาก็เริ่มมีผู้คนเข้ามาอาศัยอยู่อีก
โดยมีฐานะ
เป็นเมืองขึ้นของลำปาง และมีเจ้าเมืองปกครอง จนถึงสมัยรัชกาลที่ 5 พวกเงี้ยวได้ก่อ
กบฎขึ้นที่จังหวัดแพร่ และเข้ายึดเมืองน่าน แล้วจึงจะเข้ามายึดพะเยา แต่ทางกรุงเทพฯ.
ได้ส่งกองทหารมาช่วย และปราบกบฎเงี้ยวลงได้อย่างสิ้นเชิง พะเยาจึงรอดพ้นจากกบฎ
ในครั้งนั้นมาได้
หลังจากที่มีการเปลี่ยนรูปแบบการปกครองในปีพศ. 2457 พะเยาจึงได้เป็นอำเภอหนึ่ง
ของของจังหวัดเชียงราย และในปีพศ. 2520 พะเยาจึงได้รับการยกฐานะให้เป็นจังหวัด
วัดศรีโคมคำ
สร้างพร้อมพระประธานในพระอุโบสถในปีพ.ศ.2043 หลังวัดติดกับกว๊านพะเยา
หอวัฒนธรรมนิทัศน์ ตั้งอยู่ห่างจากวัดศรีโคมคำประมาณ 200 เมตร โดยอยู่ในความดู
แลของคณะกรรมการวัด ชั้นล่างจัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับกว๊านพะเยาทั้งหมด
ชั้นบน
จัดแสดงศิลปะและโบราณวัตถุที่พบบริเวณรอบกว๊านและในแถบล้านนา รวมทั้งจัดแสดง
ชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนรอบกว๊านและพงศาวดารโยนก ล้านนา และประวัติเมืองพะเยา
เปิดให้ประชาชนทั่วไปเข้าชมเวลา 09.00 - 17.00 น.ทุกวัน
กว๊านพะเยา
กว๊านพะเยาในอดีตเมื่อก่อนจะมีการสำรวจในปีพศ. 2482 (1939) ลักษณะพื้นที่เป็น
แอ่งก้นกะทะ ซึ่งมีลำน้ำเล็กๆ หลายสายพาน้ำไหลลงมาจากดอยบุษราคัมซึ่งอยู่ตรง
ปลายสุดของเทือกเขาแม่ใจ แล้วไหลลงสู่แม่น้ำอิงซึ่งไหลผ่านทางด้านตะวันออกของดอย
จากนั้นจึงไหลลงสู่แม่น้ำโขงที่อำเภอเชียงของ สภาพพื้นที่โดยทั่วไปเป็นที่ราบลุ่มต่ำ
มี
น้ำท่วมขังในฤดูฝนแต่เก็บน้ำได้ไม่มากพอสำหรับฤดูแล้ง และจะใช้ทำประโยชน์อย่าง
ใดก็ไม่ได้ ประกอบกับเป็นพื้นที่ที่กว้างใหญ่มาก จึงได้สร้างเขื่อนขวางลำน้ำแม่น้ำอิง
ตรงบริเวณปลายสุดของดอยบุศราคำ ทำให้มีพื้นที่เก็บน้ำกว้างถึง 12,800
ไร่(5,100
เอเคอร์) โดยไม่เสียทรัพยากรป่าไม้ใดๆ เพราะเป็นพื้นที่ลุ่มอยู่ก่อนแล้ว
และเป็นแหล่ง
น้ำที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 3 ของประเทศ รองจากหนองหารและบึงบรเพ็ด
พ.ศ.2504 (1961) เจ้าชายอากิฮิโต (จักรพรรดิ์องค์ปัจจุบันของญี่ปุ่น) ได้ถวายปลา
พันธุ์ Tilapia แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงนำไปเลี้ยงไว้ที่บ่อในวังสวนจิตร
ลดา เมื่อปลาได้ขยายพันธุ์เพิ่มมากขึ้นก็ทรงนำไปปล่อยยังแหล่งน้ำต่างๆทั่วประเทศ
รวมทั้งกว๊านพะเยา และพระราชทานชื่อปลาเป็นภาษาไทยว่า ปลานิล เนื่องจากเป็น
ปลาที่มีสีดำ บางครั้งก็เรียกว่าปลาดำ มีถิ่นกำเนิดมาจากลุ่มแม่น้ำไนล์
ชื่อเดิมของกว๊านพะเยาคือหนองเอี้ยง มีเรื่องเล่าอยู่ในพงศาวดารโยนกและตำนานเมือง
เหนือว่า ครั้งหนึ่ง พระร่วงเจ้าแห่งเมืองสุโขทัยได้เสด็จมาเยี่ยมพระสหายคือพระยางำ
เมือง ยังเมืองภูกามยาวนี้ และเมื่อพบกับพระนางเทวี มเหสีของพระยางำเมือง
ก็เกิด
รักใคร่ จึงได้ลอบเข้าไปหาพระนางเทวี โดยปลอมพระองค์เป็นพระยางำเมือง
เมื่อพระ
ยางำเมืองทราบเรื่องก็โกรธ และรีบจะไปจับพระร่วง ฝ่ายพระร่วงเมื่อรู้ว่าพระยางำเมือง
กำลังจะมาจับ ก็รีบแปลงองค์เป็นนกเอี้ยงแล้วบินหนีไป แต่ไปได้ไม่นานก็เกิดอ่อนแรง
และตกลงตรงฆนองน้ำที่เป็นกว๊านพะเยาทุกวันนี้ หนองนั้นจึงมีชื่อว่าหนองเอี้ยงตั้งแต่
นั้น
เมื่อคกลงมาแล้วก็แปลงเป็นวัวเดินหนีไปแต่ไปได้ช้าจึงแปลงเป็นต่นดำดินหนีไป
แต่ไป
ติดหินใต้ดิน หนีต่อไปไม่ได้ จึงถูกพระยางำเมืองจับได้ และกำลังจะถูกประหาร
เมื่อ
ความทราบถึงพระยามังราย พระยามังรายจึงเสด็จมาทรงไกล่เกลี่ย และขอร้องให้พระ
ยางำเมืองยกโทษให้แก่พระร่วง โดยพระร่วงต้องไถ่โทษด้วยทองคำสูงเท่าศีรษะพระ
นางเทวี พระร่วงและพระยางำเมืองก็ทรงยินยอม แล้วทั้ง 3 กษัตริย์ก็ลงไปนั่งเอาหลัง
อิงกันในน้ำ กระทำสัตย์สาบานที่จะไม่ทะเลาะกันอีก แม่น้ำนั้นจึงได้ชื่อว่า
แม่น้ำอิง