ทำไมผู้ชายเท่านั้นที่บวชได้ อาจจะอธิบายได้ว่า ตามลักษณะของสังคมไทยนั้น
ผู้
หญิงได้ถูกบังคับทางสังคมอยู่ แล้วที่จะต้องประพฤติตนอยู่ในกรอบ กฎและระ
เบียบทางสังคมต่างๆ ส่วนฝ่ายชายนั้น มักจะทำตัวอยู่นอกกรอบ และประพฤติตน
ผิดกฎและระเบียบอยู่เสมอ สังคมจึงต้องสร้างธรรมเนียมการบวชขึ้นมา เพื่อจับ
ผู้ชายกลับเข้า ไปอยู่ในกรอบที่ดี อีกเหตุผลหนึ่งซึ่งเกี่ยวกับข้อบัญญัติทางศาสนา
คือ พระสงฆ์ต้องถือศีล 227 ข้อ ซึ่งไม่เป็นการเหลือวิสัยที่มนุษย์จะพึงปฏิบัติได้
ส่วนพระผู้หญิงต้องถือศีลถึงกว่า 300 ข้อ เห็นเหลือวิสัยที่จะถือปฏิบัติ
จึงไม่นิยม
ให้มีการบวชพระผู้หญิง เพราะอาจจะทำให้ศีลเสียได้
ขั้นตอนในการบวช
ตามหลักความเป็นจริงแล้ว การบวชไม่ใช่เรื่องที่ยุ่งยากอะไรนัก เพียงเตรียมผ้า
ไตรคือ สบง จีวร สังฆาฏิ กับเครื่อง อัฏฐบริขารทั้ง 8 ซึ่งมึความจำเป็นในการ
ดำรงชีวิตในสถานะนักบวช แล้วเข้าไปเอ่ยวาจาขอบวชด้วยตนเองเป็นภาษาบา
ลีกับอุปปัชฌา และกล่าวแสดงคำยืนยันในการเป็นมนุษย์ ไม่มีมลทินและพันธะ
ไม่มีหนี้สินค้างชำระ และได้รับอนุญาตจากผู้ปกครองแล้ว เป็นอันว่าบวชได้
ซึ่ง
พิธีต่างๆ ต้องกระทำกันในโบสถ์เท่านั้น แต่เนื่องจากคนไทยถือว่าการบวชเป็น
พิธีที่สำคัญและยิ่งใหญ่สำหรับชีวิตลูกผู้ชาย จึงจำเป็นต้องมีพิธีและขั้นตอนต่างๆ
เพื่อประกาศให้ชุมชนได้รับรู้ พิธีเริ่มด้วยการโกนผม ซึ่งต้องให้บุคคลที่มีความสำ
คัญสำหรับผู้ที่จะบวชเป็นผู้โกนให้ เช่น พ่อหรือแม่ โกนผมแล้วก็จะเปลี่ยนสภาพ
ตัวเองจากการเป็นคนธรรมดาไปเป็น "นาค" โดยการนุ่งขาวห่มขาว ตอนเย็นก็
จะเป็นพิธี "ทำขวัญนาค" โดยหมอขวัญหรือพระผู้ทำพิธีจะแหล่หรือเทศน์ โดย
บรรยายถึงพระคุณของบุพพการีและผู้มีพระคุณต่างๆ ที่ "นาค" ต้องสำนึกในพระ
คุญ และหาทางตอบแทน และจะกล่าวถึงบารมีและบุญญาธิการของผู้ที่มีโอกาศ
ได้บวช เมื่อเสร็จพิธีในช่วงเย็นแล้ว ก็จะรอจนถึงวันรุ่งขึ้น เพื่อเดินทางไปทำพิธี
บวชอย่างเป็นทางการในโบสถ์ต่อไป การเดินทางไปโบสถ์นั้น มักจะจัดเป็นขบวน
ใหญ่โตเพื่อให้สมเกียรติและฐานะ
เกี่ยวกับคำว่านาค มีเรื่องเล่ากันว่า ในสมัยพุทธกาล มีพระยานาคตัวหนึ่ง
มีความประ
สงค์ที่จะบวชเป็นพระ แต่ตัวเองเป็นพระยานาคไม่ใช่มนุษย์ จึงแปลงร่างเป็นมนุษย์แล้ว
ไปขอบวชกับพระพุทธเจ้า ซึ่งพระองค์ก็ทรงรู้ได้ด้วยญานแต่ก็มิได้ทรงห้าม
เพราะไม่
ต้อง การให้พระยานาคเสียความตั้งใจและเสียหน้าพระองค์ต้องการให้พระยานาค
แสดงตนด้วยตนเอง อยู่ต่อมาเมื่อพระยานาคเผลอสติในขณะหลับร่างของพระ ภิกษุ
จึงได้กลับเป็นพระยานาคดังเดิม พระยานาคจึงไม่อาจที่จะครองเพศสมณะอีกต่อไป
จึงได้กลับไปสร้างสมบุญญาบารมีเพื่อที่จะ ได้เกิดมาเป็นมนุษย์ และจะได้มีโอกาศ
บวชเป็นพระในชาติต่อไป
เนื่องจากพระยานาคเป็นผู้ที่มีความประสงค์และศรัทธาแรงกล้าที่จะบวช ผู้คนทั่ว
ไปจีงนิยมเรียกผู้ที่กำลังจะบวช เป็นพระว่า " นาค " ดังเช่นพระยานาคผู้มีศรัทธานั้น
เข้าพรรษา ( พรรษาแปลว่า ปี )
ช่วงเวลาที่นิยมบวชกันมากของปีจะอยู่ในช่วงฝนตกชุกหรือหน้าฝน เนื่องจากในฤดู
ฝน ประชาชนทั่วไปจะทำการเพาะปลูกพืชเช่น ข้าวเป็นต้น พระพุทธเจ้าทรงเกรง
ว่าพระภิกษุที่จาริกยังที่ต่างๆ อาจจะเหยียบย่ำไปบนพืชผล ที่ชาวบ้านปลูกเอาไว้
ทำให้
เกิดความเสียหายได้ พระองค์จึงได้ทรงกำหนดให้พระภิกษุอยู่จำพรรษาในวัดตลอดเว
ลา 3 เดือนในช่วงดูฝน (แรม 1 ค่ำเดือน 8 ถึงขึ้น 15 ค่ำเดือน 11)เป็นช่วงเวลาเข้า
พรรษา [Lent] และจะต้องจำวัดในเสนาสนะ ( ที่อยู่ ) ที่มีฝากั้น4 ด้าน
พร้อมหลังคา
และประตูหน้าต่าง ไม่สามารถจำวัดใน "กลด" ได้ ด้วยเหตุดังกล่าว พระจึงมีเวลาว่าง
มากที่จะศึกษาหาความรู้ ชาวบ้านจึงนิยมบวชบุตรหลานในช่วงเวลานี้ เพื่อ
ศึกษาเล่า
เรียนตลอดพรรษา
เทียนเข้าพรรษาหรือเทียนจำนำพรรษา คือเทียนขนาดใหญ่ที่ชาวบ้านถวายให้วัด
ก่อนวันเข้าพรรษา เพื่อให้แสงสว่างแก่พระที่กำลังศึกษาเล่าเรียนอยู่ในวัดนั้นและยัง
หมายความถึงแสงสว่างแห่งพระศาสนาที่ส่องนำเหล่าพุทธศาสนิกชนให้เดินไปบน
หนทางที่ถูกต้อง