ตามธรรมเนียมที่ได้มีการปฏิบัติสืบทอดกันมานั้น การแต่งงานคือการที่ฝ่ายชายแต่ง
เอาฝ่ายหญิงเข้ามา ไม่ใข่ฝ่ายหญิงแต่งเอาฝ่ายชายเข้ามา เนื่องจากเหตุที่ว่า
ฝ่ายหญิง
เป็นเพศที่อ่อนแอกว่า จึงต้องเข้าไปอยู่กับฝ่ายชาย เพื่อให้ผู้ชายดูแลปกป้องคุ้มครอง
โดยฝ่ายหญิงก็จะต้องมีความมั่นใจเสียก่อนว่า ฝ่ายชายจะมีความสามารถคุ้มครองตน
ได้หรือไม่ ซึ่งจะตรวจสอบได้โดยดูว่า ชายนั้นได้ผ่านการบวชมาแล้วหรือยัง
ถ้าได้บวช
มาแล้ว ก็อาจจะพอไว้ใจได้ว่า ชายนั้นเป็นคนดีพอที่ฝ่ายหญิงจะฝากชีวิตทั้งชีวิตเอาไว้
ได้ ซึ่งในสมัยดึกดำบรรพ ก่อนที่จะตกลงปลงใจว่าจะแต่งงานกันนั้น ฝ่ายชายจะต้อง
เข้าไปอยู่ที่บ้านฝ่ายหญิงก่อน เพื่อเป็นการพิสูจน์ตัวว่าเป็นผู้มีคุณสมบัติพร้อมในการ
เป็นสามี โดยการเข้าไปทำงานรับใช้ต่างๆ ดังนั้น ฝ่ายชายจึงถูกเรียกว่า
เจ้าบ่าว ส่วน
ฝ่ายชายก็ต้องมีการตรวจสอบด้วยว่า หญิงที่ตนคิดจะแต่งด้วยนั้น มีคุณสมบัติพร้อม
สำหรับการเป็นภรรยาที่ดีเพียงใดเนื่องจากฝ่ายหญิงต้องเข้ามาอยู่กับฝ่ายชายรวมทั้ง
ญาติพี่น้องวงศาคณาญาติของฝ่ายชายด้วย ถ้าได้ภรรยาที่ดีก็จะเป็นที่เชิดชูของทั้งสา
มีและญาติพี่น้อง ถ้าได้ภรรยาไม่ดี ก็จะเป็นที่อับอายให้สังคมนินทาเอาได้
ในสมัยก่อน การแต่งงานอาจจะเป็นการจัดการของผู้ใหญ่ของทั้ง 2 ฝ่าย โดยที่ทั้งชาย
และหญิงอาจจะไม่เคยรู้จักหรือรักกันมาก่อนก็อาจเป็นได้ เนื่องจากระเบียบแบบแผน
ทางสังคมของคนไทยที่สอน (บังคับ) ให้ผู้น้อยต้องเชื่อฟังผู้ใหญ่ในทุกกรณี
รวมทั้งไว้
ใจให้ผู้ใหญ่จัดการเกี่ยวกับชีวิตของตัวเอง ทำให้การแต่งงานในรูปแบบนั้น
ซึ่งเรียกว่า
คลุมถุงชน มักไม่ค่อยจะมีปัญหา แต่เมื่อมาถึงในสมัยนี้คงจะทำแบบนั้นไม่ได้อีกแล้ว
เนื่องจากเงื่อนไขทางสังคมที่เปิดกว้างชึ้น มีความเป็นอิสระมากขึ้น ทั้งในทางความ
คิดและการจัดการกับชีวิตของตัวเอง และมีทางเลือกมากขึ้นในการเลือกคู่ครอง
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการที่ทั้งหญิงและชายจะมีอิสระมากขึ้นในการเลือกคู่แต่การที่จะ
ใช้ชีวิตอยู่ด้วยกันโดยไม่มีพิธีแต่งงานตามอย่างธรรมเนียมของชาวตะวันตกนั้น
ก็ยังคง
ไม่เป็นที่ยอมรับในสังคมไทยมากนัก โดยเฉพาะในสังคมชนบทซึ่งยังคงรักษาระเบียบ
แบบแผนและธรรมเนียมเก่าของไทยโดยเคร่งครัด
ชีวิตไทยโดยปกติจะเรียบง่ายและสมถะ ยกเว้นเวลามีงานหรือพิธีบางอย่าง ที่ในชีวิต
ของคนๆ หนึ่งอาจจะมีได้เพียงครั้งเดียว เช่นงานบวชหรืองานแต่งงาน คนไทยจะจัด
ให้มีพิธีที่ยิ่งใหญ่และสมฐานะ เพราะเมื่อคิดที่จะจัดทำพิธีกรรมอะไรสักอย่าง
คนไทย
ทำเล็กๆ ไม่เป็น ต้องทำให้ใหญ่เข้าไว้ก่อน
ขั้นตอนต่างๆของพิธีแต่งงาน อาจจะแล้วแต่ฐานะของแต่ละคนว่า จะจัดงานให้ใหญ่โต
ได้เพียงใด แต่โดยสรุปแล้ว ก็อาจจะมีพิธีและขั้นตอนหลักที่เหมือนกันคือ
เมื่อชายและ
หญิงได้มีตกลงและยินยอมที่จะแต่งงานกันแล้ว ฝ่ายชายก็จะจัดการเตรียมผู้ใหญ่ฝ่ายตน
ไปเจรจาสู่ขอกับทางผู้ใหญ่ฝ่ายหญิง เพื่อตกลงกันเรื่องสินสอดทองหมั้นว่า
ฝ่ายหญิง
จะเรียกร้องเอาเท่าใด ซึ่งจำนวนที่จะเรียกเอานั้น มักจะมีการตกลงกันไว้ก่อนที่จะมีการ
เจรจา เพื่อที่จะไม่ให้มีการต่อรองหรือการปฏิเสธ เพราะการแต่งงานไม่ใช่การซื้อขาย
ไม่
ควรมีการต่อรองหรือปฏิเสธ ซึ่งอาจจะทำให้เกิดการผิดใจกันขึ้นได้ในภายหลัง
เมื่อถึงวันพิธี ฝ่ายหญิงมักเป็นฝ่ายจัดเตรียมสถานที่ โดย 3 วันก่อนจะถึงวันงาน
จะมี
การระดมคนมาช่วยกันทำอาหาร และจัดสถานที่ วันแรกเรียกว่า วันเชื่อมน้ำ
เป็นวัน
หาของที่จะทำอาหารและจัดสถานที่เอาเข้ามาไว้ในบ้าน รวมทั้งการเตรียมน้ำเชื่อมเพื่อ
ทำขนมหวานต่างๆ ในวันที่ 2 เรียกว่า วันสุกดิบ เป็นวันที่ต้องเตรียมอาหารและสถาน
ที่กันอย่างจริงจังตั้งแต่เช้าจรดเย็น โดยในตอนเย็นอาจจะมีพิธีสวดมนต์เย็น
โดยฝ่าย
ชายจะเดินทางมาร่วมกับฝ่ายหญิงเพื่อความเป็นศิริมงคลร่วมกัน
เมื่อถึงวันพิธีจริง ที่บ้านของฝ่ายหญิงก็จะต้องมีการเตรียมการไว้พร้อมแล้ว
แต่ตัวฝ่าย
หญิงหรือเจ้าสาวเองนั้น มีข้อห้ามคือ ห้ามออกไปช่วยทำงานใดๆทั้งสิ้น ขอให้เตรียม
ตัวเองเอาไว้ให้สวยเพียงอย่างเดียว เพราะถ้าออกไปช่วยงานแล้วเกิดอุบัติเหตุขึ้นมา
งานนั้นก็อาจจะล้มได้
ทางฝ่ายชาย ก็จะต้องเตรียมขบวนขันหมาก หมายถึงขันใส่เงินและทองของหมั้น
ซึ่ง
ห่อด้วยผ้าสีไว้อย่างสวยงาม โดยมากมักจะให้เด็กสาวๆเป็นผู้ถือ ในขบวนนั้นจะประ
กอบไปด้วยขันหมาก ต้นกล้วย ต้นอ้อยรวมทั้งขนมที่มีชื่อและความหมายที่เป็นมงคล
ต่างๆ มีผู้นำขบวนเรียกว่า นายขันหมาก ทำหน้าที่เป็นผู้จัดการและเจรจาเมื่อขบวน
ขันหมากเดินทางไปถึงบ้านของฝ่ายหญิง และก่อนที่จะเคลื่อนขบวนขันหมากออก
จากบ้านฝ่ายชายได้นั้น จะต้องมีผู้ที่ฝ่ายหญิงส่งมาเชิญขบวนขันหมากให้เริ่มออกเดิน
ทางเรียกว่า ผู้เลื่อนขันหมาก ทั้งนี้ก็เพื่อให้แน่ใจว่าได้จัดพิธีไว้เพื่อรอขันหมากขบวน
นี้อยู่จริง ไม่ใช่เคลื่อนขบวนกันไปเฉยๆ พอไปถึงที่บ้านงานแล้ว ทางฝ่ายหญิงเกิดทำ
ไม่รู้ไม่ชี้และไม่ต้อนรับให้เข้าบ้าน ก็อาจจะมีการยิงกันเกิดขึ้นได้
เมื่อขบวนขันหมากของเจ้าบ่าวเดินทางมาจนใกล้จะถึงบ้านของเจ้าสาวนั้น จะมีคน
จากทางเจ้าสาวออกมายืนดักขวางทางอยู่เรียกว่า ประตู ซึ่งนายขันหมากจะต้องจ่าย
ค่าผ่านทางแก่ประตูต่างๆ เหล่านั้น การกั้นประตู อาจจะใช้อะไรก็ได้เอาออกมากั้น
แม้แต่ตัวเองคนเดียวก็สามารถออกมายกมือกางออกกั้นเอาไว้ก๋ได้ หรืออาจจะใช้รถ
ขวางถนนไว้ทั้งคันก็ยังเคยมี การกั้นประตูนี้ถือได้ว่าเป็นเรื่องสนุกสนานที่ใครก็สา
มารถทำได้ จนเมื่อขบวนมาถึงหน้าบ้าน ก็จะต้องจ่ายให้กับประตูสำคัญอีก
3 ประตู
คือ ประตูเงิน ประตูนาก และประตทอง ซึ่งต้องจ่ายให้มากกว่าประตูที่ผ่านมา
เพราะ
วัสดุที่จะนำมากั้นนั้นต้องเป็น เงิน นากและทองตามลำดับ เมื่อผ่านประตูสำคัญทั้ง
3 แล้ว ฝ่ายเจ้าสาวก็จะส่งคนถือพานดอกไม้ธูปเทียนออกมาเชิญขบวนขันหมากเข้า
บ้าน เรียกว่า ผู้เชิญขันหมาก ในระหว่างนั้นเจ้าสาวจะต้องอยู่แต่ในห้องเท่านั้น
เมื่อขบวนทั้งหมดเข้ามาในบ้านและจัดตั้งวางของเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เจ้าบ่าวก็จะต้อง
เข้าไปในห้องเพื่อพาเจ้าสาวออกมาทำพิธี โดยเจ้าบ่าวก็จะต้องจ่ายค่าเปิดประตูห้อง
อีกครั้ง จึงจะสามารถเข้าไปในห้องได้ ซึ่งเมื่อออกมาพร้อมกันแล้ว ก็จะเริ่มทำพิธีโดย
คู่บ่าวสาวจะมานั่งอยู่ต่อหน้าญาติผู้ใหญ่ของทั้ง 2 ฝ่ายเพื่อมอบเงินสินสอดและใส่
ทองหมั้นให้กับเจ้าสาว ซึ่งส่วนมากจะมีกำไลทองเป็นหลัก จากนั้นก็จะพากันมาเข้า
ที่เพื่อทำพิธีรดน้ำสังข์ สังข์ที่ใช้ก็จะเป็นสังข์ที่มีก้นเวียนเป็นทักษิณาเพื่อความเป็นศิริ
มงคล น้ำสังข์ที่ใช้ในพิธีมีความหมายว่า น้ำเป็นตัวประสานให้ชีวิต 2 ชีวิตรวมเป็น
หนึ่งเดียว และน้ำก็เป็นสิ่งเย็น เป็นตัวดับร้อนเมื่อยามเกิดการทะเลาะกันในครอบครัว
และเป็นน้ำที่หลั่งออกมาจากสังข์ ซึ่งมีลักษณะเป็นมงคลคือ มีก้นเวียนเป็นทักษิณาวัตร
เหมือนกับการไหลลงมาของแม่น้ำ 10 สายที่ไหลลงมาจากหิมาลัยโดยในระหว่างพิธี
รดน้ำ จะมีพระสงฆ์สวดคาถาชัยมงคลต่างๆ เพื่อความเป็นศิริมงคลแก่คู่บ่าวสาว
เมื่อ
เสร็จพิธีรดน้ำแล้ว (เจ้าสาวจะถูกสอนมาว่าให้พยายามลุกขึ้นก่อนเจ้าบ่าว
เพื่อที่เวลา
อยู่ด้วยกัน สามีจะได้อยู่ในโอวาทและอาณัติของฝ่ายหญิง รวมถึงการตักบาตร
ซึ่งจะ
ต้องถือทัพพีเดียวกัน เจ้าสาวจะต้องถือทัพพีให้เหนือกว่ามือของเจ้าบ่าว)
เมื่อถึงกลางคืน ฝ่ายเจ้าสาวก็จะนำเจ้าสาวมาส่งให้เจ้าบ่าวที่รออยู่ในห้องพร้อมญาติ
ผู้ใหญ่ ซึ่งก็คือพิธีส่งตัวเจ้าสาว ซึ่งในการนี้ จะต้องเตรียมคู่สามีภรรยาที่ครองคู่อยู่ด้วย
กันอย่างมั่งมีศรีสุข ให้มาเป็นผู้ปูที่นอนให้แก่คู่บ่าวสาว เพื่อความเป็นศิริมงคลและเป็น
เคล็ดในการครองคู่ เมื่อนำเจ้าสาวมาส่งให้เจ้าบ่าวในห้องแล้ว ญาติทางฝ่ายเจ้าสาว
ก็จะฝากฝังเจ้าสาวให้เจ้าบ่าวดูแล และฝ่ายเจ้าบ่าวก็จะกล่าวรับปากรับคำไม่ให้ทาง
ฝ่ายเจ้าสาวต้องเป็นห่วง แล้วญาติทั้งหมดก็จะออกออกจากห้องไปเป็นอันเสร็จพิธี
และเจ้าบ่าวเจ้าสาวนั้นก็ถือได้ว่าเป็นคู่สามีภรรยากันโดยสมบูรณ์
หลังจากพิธีผ่านพ้นไปแล้วคู่สามีภรรยาใหม่จะต้องหาเวลาและโอกาศที่จะพากันไป
กราบญาติผู้ใหญ่ของแต่ละฝ่าย ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการแนะนำตัวเป็นการภายในอีกครั้ง
หนึ่ง โดยญาติผู้ใหญ่นั้นก็จะเตรียมของของขวัญเอาไว้รับไหว้ อาจเป็นเงิน
หรือทอง
เมื่อไหว้ญาติผู้ใหญ่จนครบถ้วนแล้ว จึงจะถือว่าพิธีแต่งงานนั้นได้เสร็จสิ้นสมบูรณ์
ทั้งทางประเพณีและธรรมเนียมปฏิบัติ ิ
สำหรับกล้วยและอ้อยที่ใช้ในขบวนขันหมากนั้นทางฝ่ายญาติเจ้าสาวที่รับเอาไว้ก็จะ
แบ่งกันกินพอประมาณ เพื่อความเป็นศิริมงคล กล้วยหมายถึงการมีลูกได้ทันใช้และ
การทำมาหากินที่เจริญรุ่งเรือง ส่วนอ้อยหมายถึงความอ่อนหวานในการครองคู่
จาก
นั้นก็จะมีผู้นำกลวยและอ้อยนั้นไปปลูก และกว่าที่กล้วยจะออกลูกออกผล ก็เป็นเวลา
พอดีกับการมีลูก จะได้ใช้กล้วยนั้นเลี้ยงลูกต่อไป ซึ่งในการแต่งงานรายต่อๆไป
ก็มัก
นิยมใช้กล้วยและอ้อยที่เป็นของในขบวนขันหมากมาก่อน
อาหารที่เลี้ยงในระหว่างงานนั้น มีที่เป็นพิเศษคือขนมจีน ต้องเป็นขนมจีนแต่งงาน
เท่านั้น คือจะเป็นขนมจีนเส้นเดียวกันทั้งเข่ง ไม่มีการทำเป็นจับเหมือนขนมจีนธรรม
ดาทั่วไป