เนื่องจากดนตรีไทยไม่มีการบันทึกเป็นตัวโน๊ต การเรียนดนตรีไทยจึงต้องเรียนด้วย
การ "จำ" เท่านั้น โดยเรียน (ต่อเพลง) จากครู ซึ่งแหล่งที่สามารถจะศึกษาวิชาดน
ตรีได้ก็คือ ตามบ้านของขุนนางชั้นสูง ซึ่งในแต่ละบ้านจะมีวงพิณพาทย์เป็นของตน
เอง เพื่อเป็นการประดับบารมี ผู้ที่จะเรียนวิชาดนตรีก็ต้องเข้ามาพักอาศัยอยู่ในบ้าน
นั้น เพราะการเรียนดนตรีต้องใช้เวลานานมาก อาจจะเป็นเดือนหรือเป็นปี บางครั้ง
ก็ต้องต่อเพลงกันตั้งแต่เช้าจนถึงดึก เมื่อศึกษาจนเล่นได้แล้วก็มักจะกลายเป็นนัก
ดนตรีของบ้านนั้นๆ ต่อไป และในบางโอกาศ บรรดาขุนนางทั้งหลายก็จะนำวงดน
ตรีของตนเองออกมาระชันกัน เพื่อแข่งกันว่า วงของใครจะมีฝีมือหรือ ทาง
ดีกว่ากัน
"ทาง" ในที่นี้หมายถึง แนวทำนองที่เล่นให้แปลกออกไปจากทำนองเดิม โดยยังคง
ยึดทางหลัก หรือแนวทำนองเดิมเป็นหลัก ส่วนทางที่เปลี่ยนไป ก็จะเรียกตามสถาน
ที่ที่วงนั้นประจำอยู่ เช่นทางอยุธยา คือวงที่มา จากอยุธยา หรือ ทางหลวงประดิษฐ์
ก็เป็นทางที่ท่านเป็นผู้แปลงเอาไว้ เป็นต้น
เมื่อแรกที่จะเข้ามาฝึกวิชาดนตรีนั้นผู้เรียนจะต้องนำดอกไม้ธูปเทียนมาบูชาครูเป็น
ขั้นตอนแรก แล้วครูก็จะเริ่มสอนด้วยการ จับมือให้ตีฆ้องวงใหญ่เพราะฆ้องเป็นเครื่อง
ที่มีหน้าที่ทำทำนองหลัก ในขณะที่เครื่องอื่นๆ กำลังเล่นทางกันอย่างสนุกสนานนั้น
ฆ้องวงใหญ่ก็ยังคงทำหน้าที่ทำทำนองหลักเรื่อยไปอย่างมั่นคง เพื่อที่เครื่องอื่นจะได้
ไม่หลงทำนอง ยกเว้นในกรณีที่มีการ "เดี่ยว" ฆ้องจึงจะมีโอกาศได้เล่นทางกับเขาบ้าง
ส่วนเพลงที่จะต่อให้เป็นเพลงแรกคือ สาธุการ ซึ่งถือว่าเป็นเพลงครู
ในขณะที่มีการต่อเพลงหรือในการบรรเลง ไม่ว่าจะเป็นการซ้อมหรือบรรเลงจริง
ทั้ง
ครูและลูกศิษย์หรือผู้เล่นทุกคนต้องนั่งลงและใส่เสื้อให้เรียบร้อย เพราะถ้าถอดเสื้อใน
ขณะเล่น จะถือว่าเป็นการไม่เคารพครู ซึ่งเครื่องดนตรีไทยส่วนมากก็ได้ถูกออกแบบ
มาสำหรับที่จะต้องนั่งเล่นอยู่แล้ว
เมื่อเรียนไปได้ระยะหนึ่งจนมีความชำนาญและสามารถที่จะเล่นเพลงได้บ้างแล้ว
ลูก
ศิษย์ทุกคน จะต้องเข้าพิธี "ครอบครู" โดยประธานหรือครูจะเป็นผู้ครอบหัวฤๅษี
ซึ่ง
เป็นครูใหญ่ให้กับศิษย์ทุกคน เชื่อกันว่าเมื่อได้ผ่านพิธีครอบครอบครูนี้แล้วจะทำให้มี
ความจำและความเข้าใจในการต่อเพลงดีขึ้น รวมทั้งศิลปินแขนงต่างๆ ก็ต้องมาเข้า
พิธีนี้กันทุกคน ไม่ว่าจะเป็น คนรำ คนพิณพาทย์(นักดนตรี) หรือแม้แต่นักร้องนัก
แสดงสมัยใหม่ก็นิยมมาเข้าพิธีนี้เพื่อความเป็นศิริมงคลและความเจริญก้าวหน้าใน
อาชีพ พิธีครอบครูนี้จะจัดขึ้นเป็นประจำทุกปีๆละครั้งที่วัดพระพิเรน กรุงเทพมหา
นครหรือครูบางคนที่มีลูกศิษย์มาก และเป็นครูที่มีชื่อเสียง ก็อาจจะจัดพิธีไว้ครูเป็น
การเฉพาะเช่น อาจารย์หม่อมคึกฤทธิ์ ปราโมทย์ ซึ่งได้จัดให้มีพิธีครอบครูที่บ้าน
ของท่านเองเป็นประจำทุกปี
เมื่อมีความชำนาญมากขึ้นแล้ว ก็จะต่อเพลงที่สูงขึ้นเป็นลำดับ ซึ่งเป็นเพลงชั้นสูง
ต่างๆ เช่นเพลงตระต่าง ๆ จนถึงเพลง ตระเทพนิมิต ซึ่งใช้ในพิธีครอบครู
ผู้เรียน
ต้องเป็นผู้ที่มีอายุครบ 30 ปีขึ้นไป ผ่านการบวชเรียนมาแล้ว ในสมัยก่อนจะต้องได้
รับพระบรมราชานุญาตจากพระมหากษัตริย์ก่อนจึงจะต่อเพลงนี้ได้
ถึงแม้ว่าดนตรีไทยจะไม่ใช้ตัวโน๊ตสำหรับบรรเลง แต่ดนตรีไทยก็มีโน๊ตเหมือนดน
ตรีสากลทั่วไป เพียงแต่ดนตรีไทยมีแต่คีย์ เมเจอร์เท่านั้น คือ คีย์ C
หรือ Am เพราะ
ดนตรีไทยไม่มีชาร์ปหรือแฟลต
เครื่องดนตรีไทย
เครื่องดนตรีไทยแบ่งออกได้ตามหลักสากลคือ ดีด สี ตี เป่า ซึ่งมีเครื่องดนตรีหลัก
ดังนี้คือ
1. เครื่องดีด ได้แก่ พิณ จะเข้
2. เครื่องสี ได้แก่ ซอต่างๆ
3. เครื่องตี ได้แก่ ระนาด ฆ้อง กลอง ฉิ่ง
4. เครื่องเป่า ได้แก่ ปี่ชนิดต่างๆ ขลุ่ย
สำหรับเครื่องตียังแบ่งออกได้เป็นเครื่องทำทำนองคือ ระนาด และฆ้อง และเครื่อง
ประกอบจังหวะคือ กลองชนิดต่างๆ โหม่ง กรับ โดยมีฉิ่งเป็นเครื่องกำกับจังหวะ
วงดนตรีไทย
การที่จะนำเครื่องดนตรีประเภทต่างๆมาเล่นประกอบกันเพื่อให้เป็นวงนั้นได้กำหนด
เอาไว้ว่าจะต้องประกอบด้วยเครื่องดนตรีอย่างน้อย 3 ประเภท คือ
- เครื่องเป่า
- เครื่องประกอบจังหวะ
- เครื่องกำกับจังหวะ ( ฉิ่ง )
วงดนตรีที่มีขนาดเล็กที่สุดคือ วงสะระหม่า ประกอบด้วยปี่ชวา เป็นเครื่องเป่า
กลอง
แขก เป็นเครื่องประกอบจังหวะ และฉิ่ง เป็นเครื่องกำกับจังหวะ ซึ่งมีเครื่องดนตรีครบ
ทั้ง 3 ประเภท
วงดนตรีไทยแบ่งได้เป็นประเภทต่าง ๆ ดังนี้คือ
1. วงเครื่องสายหรือวงมโหรี บรรเลงด้วยเครื่องสายเป็นหลัก
มีกลองแขกเป็นเครื่อง
ประกอบจังหวะ โดยมีขลุ่ยเป็นเครื่องเป่า ร่วมด้วยฉิ่งเป็นเครื่องกำกับจังหวะ
มักใช้พิ
ธีแต่งงานและงานมงคลต่างๆ
2. วงปี่พาทย์ สมัยก่อนเรียกว่า วงพิณพาทย์
เนื่องจากเคยใช้พิณเป็นเครื่องนำ ต่อมา
ใช้ปี่เป็นเครื่องนำแทนจึงเรียกว่า วงปี่ พาทย์ ถึงแม้ในบางครั้งจะใช้ขลุ่ยแทนปี่
ก็ยัง
คงเรียกว่า วงปี่พาทย์ ส่วนปี่ที่ใช้คือปี่ใน ซึ่งให้เสียงที่ดังและหนักแน่น
ระนาด และ
ฆ้องวงจึงต้องตีด้วยไม้แข็ง เพื่อให้ได้เสียงที่ดังสู้กับเสียงปี่ได้
แล้วจึงเรียก วงปี่พาทย์
นั้นว่า วงปี่พาทย์ไม้แข็ง ประกอบด้วย ปี่ใน ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ฆ้องวงใหญ่
ฆ้อง
วงเล็ก มีเครื่องประกอบจังหวะคือกลองแขก กลองทัด ตะโพน มีฉิ่งเป็นเครื่อง
กำกับ
จังหวะ ส่วนวงปี่พาทย์ที่ใช้ขลุ่ยเป็นเครื่องเป่าแทนปี่ เรียกว่า วงปี่พาทย์ไม้นวม
เนื่อง
จากระนาดและฆ้องตีด้วยไม้นวม เพื่อไม่ให้เสียงดังเกินเสียงขลุ่ยประกอบด้วย
ขลุ่ย
ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงเล็ก เครื่องประกอ[จังหวะคือ กลองแขก
ใช้ตะโพนและกลองทัดในบางครั้ง มีฉิ่งเป็นเครื่องกำกับจังหวะ
วงปี่พาทย์ไม้แข็งจะใช้บรรเลงสำหรับงานพิธีที่สำคัญและต้องการความขลังหรือศักดิ์
สิทธิ หรือใช้บรรเลงเพลงหน้าพาทย์ประกอบการแสดงโขนหรือเพลงโหมโรง เพราะ
วงปี่พาทย์ไม้แข็งจะให้เสียงที่หนักแน่น ขลังและมีพลัง ส่วนวงปี่พาทย์ไม้นวมจะใช้
บรรเลงในงานรื่นเริงหรืองานมงคลต่างๆ
เนื่องจากเสียงปี่มีระดับสูงกว่าเครื่องชนิดอื่น 1 ลูก (ลูก คือ โทนเสียง)
ดังนั้นถ้าจะ
บรรเลงร่วมกันในวง เครื่องทำทำนอง ทุกชิ้นจะต้องทำเสียงให้สูงกว่าปกติ
1 ลูก เพื่อ
ให้ได้เสียงที่เท่ากันกับเสียงปี่ เช่น เพลงลาวดวงเดือน ปกติจะบรรเลงในคีย์
C แต่เมื่อ
ต้องมาบรรเลงร่วมกับปี่ จะต้องเปลี่ยนไปเล่นในคีย์ D ในขณะที่ปี่ก็ยังคงเล่นในคีย์
C
เช่นเดิม ทั้งนี้เป็นเพราะการทำให้เกิดเสียงต่าง ๆ ของปี่นั้น ต้องมีวิธีการบังคับและ
วางรูปนิ้ว รวมถึงการบังคับลมให้แรงและค่อยเพื่อให้ได้เสียงต่างๆที่สมบูรณ์
ซึ่งเป็น
เรื่องยุ่งยากและสลับซับซ้อน ถ้าจะให้ปี่เปลี่ยนเสียงลงมาให้เท่ากับเสียงของเครื่องชนิด
อื่น ทำให้เครื่องชนิด อื่นต้องทำเสียงให้สูงขึ้นไปให้เท่ากับเสียงปี่ซึ่งเป็นเรื่องที่ทำได้
ง่ายกว่า เพราะสามารถทำได้ในขั้นตอนเดียว
3. วงปี่พาทย์มอญหรือปี่พาทย์นางหงส์ มีส่วนประกอบวงคล้ายวงปี่พาทย์ไม้แข็ง
แต่
เปลี่ยนจากฆ้องวงธรรมดามาเป็นฆ้องมอญ จึงเรียกว่า วงปี่พาทย์มอญหรือปี่พาทย์
นางหงส์ เครื่องเป่าเปลี่ยนจากปี่ในเป็นปี่มอญซึ่งมีปากใหญ่เหมือนปากแตร
ระนาด เอกและทุ้มยังคงเดิมและตีด้วยไม้แข็งเหมือนเดิม เพราะใช้ปี่คือปี่มอญเป็นเครื่องเป่า
ส่วนเครื่องประกอบจังหวะเปลี่ยน จากตะโพนเป็นตะโพนมอญ ร่วมกับกลองแขก
ตัด
กลองทัดออกไป และเพิ่ม เปิงมางคอก เข้าไปแทน (เปิง เป็นเครื่องดนตรี ของชาว
มอญและพม่า เหมือนกลองแขก แต่ตรงกลางจะป้อมกว่า มีประมาณ 10 ใบ แต่ละ
ใบก็จะให้เสียงที่มีระดับสูงต่ำไม่เท่า กัน ตามขนาดเล็กและใหญ่ แขวนเรียงไว้ด้วย
กันในคอก โดยเรียงจากเสียงต่ำทางซ้ายไปหาเสียงสูงทางขวา) เพลงที่บรรเลง
ด้วย
วงปี่พาทย์มอญนี้ มักเป็นเพลงที่มีสำเนียงออกไปทางมอญหรือพม่า ซึ่งส่วนมากจะ
เป็นเพลงที่มีทำนองเศร้าและโหยหวน จึงมักใช้วงปี่พาทย์มอญบรรเลงในโอกาศงาน
ศพเท่านั้น
เพลงมอญทั่วไปจะไม่มีโน๊ต ฟา (F) และเครื่องดนตรีที่เป็นของมอญโดยเฉพาะก็จะ
ไม่มีตัวทำเสียง ฟา ด้วยเช่นกัน แต่ก็สา มารถที่จะเล่นเพลงมอญได้ด้วยเครื่องไทย
ตามปกติ เพราะเพียงแต่ไม่ต้องทำเสียงฟา เท่านั้น แต่สำหรับเพลงไทยทั่วไป
คง ไม่สามารถที่จะเล่นด้วยเครื่องคนตรีมอญได้ดีนัก เนื่องจากเพลงไทยยังมีเสียง
ฟา
อยู่ตามปกติ แต่เครื่องมอญไม่สามารถทำ เสียง ฟา ที่มีอยู่ในเพลงไทยได้
4. วงมโหรีปี่พาทย์ไม้นวม เป็นการรวมกันระหว่างวงเครื่องสายหรือวงมโหรี
กับว
งปี่พาทย์ไม้นวมเดิม โดยมากมักเป็นวงที่ ใช้แต่ผู้หญิงเป็นผู้เล่น
5. วงสะระหม่า เป็นวงที่เล็กที่สุด ประกอบด้วยเครื่องดนตรีเพียง
3 ชิ้นคือ ปี่ชวา
กลองแขก และฉิ่ง ซึ่งมีเครื่องดนตรีที่ประกอบกันครบทั้ง 3 ประเภทตามที่มีการ
บังคับไว้สำหรับการเป็นวงดนตรีคือ ปี่ชวาเป็นเครื่องเป่า กลองแขกเป็นเครื่องประ
กอบจังหวะ และฉิ่งเป็นเครื่องกำกับจังหวะ วงสะระหม่าใช้ บรรเลงเพื่อประกอบ
การแสดงศิลปการต่อสู้ป้องกันตนเอง เช่น ชกมวย หรือกระบี่กระบอง เป็นต้น
จังหวะสำหรับดนตรีไทย
ดนตรีไทยมีจังหวะที่แบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทคือชั้นเดียว (ไม่เรียกว่า
1 ชั้น) 2 ชั้น
และ 3 ชั้น และมีลักษณะการตีกลอง ที่เรียกว่า หน้าทับ เช่นหน้าทับทะยอยเป็นต้น
ในแต่ละหน้าทับก็จะตีจังหวะไม่เหมือนกัน และแบ่งเป็นชั้นจังหวะตามจังหวะ ของ
เพลงด้วยเช่นกัน ซึ่งเพลงไทยทุกเพลงก็ได้ถูกกำหนดเอาไว้แล้วว่า เพลงนั้นๆเป็น
เพลงกี่ชั้นและมีหน้าทับอะไรเช่น ลาวดวงเดือน ซึ่งปกติจะเป็นเพลง 2 ชั้น
หน้าทับ
ลาว กลองก็จะตีด้วยหน้าทับลาว 2 ชั้น หรือเต่ากินผักบุ้งเป็นเพลงชั้นเดียว
หน้าทับ
ทะยอย กลองก็จะตีด้วยหน้าทับทะยอยชั้นเดียวเป็นต้น เพลงไทยโดยทั่วไปจะเป็น
เพลงในจังหวะ 2 ชั้นมาแต่เดิม แล้วจึงแปลงเป็นชั้นเดียวหรือ 3 ชั้นในภายหลัง
แต่ อาจจะมีบางเพลงที่เป็นเพลงชั้นเดียวมาแต่เดิมเช่น เต่ากินผักบุ้ง
เพลงเถา หมายถึงเพลงๆเดียวที่มีทำนองจังหวะครบทั้ง
3 ชั้นจังหวะ และจะเริ่มบรร
เลงเพลงด้วยชั้นเดียว 2 ชั้น และ 3 ชั้นตามลำดับ แต่จะไม่แยกเล่นเพียงชั้นเดียวหรือ
3 ชั้นต่างหาก ส่วนที่เป็น 2 ชั้นก็มีบรรเลงกันเป็นปกติอยู่แล้วเช่น เพลง
แขกมอญ
บางขุนพรหม เป็นเพลง 2 ชั้น และแขกมอญบางขุนพรหมเถา เป็นเพลงเถาซี่งต้อง
เล่นให้ครบทั้งเถาคือ ชั้นเดียว 2 ชั้น และ 3 ชั้นแล้วจบด้วย ลูกหมด ซึ่งเป็นทำนอง
เพลงช่วงสั้นๆ ในจังหวะชั้นเดียว มีจังหวะกระชั้นและเร่งเร้า ใช้บรรเลงหลัง
จากจบ
การบรรเลงเพลงปกติ เพื่อแสดงการจบของเพลง
เพลงตับ หมายถึงเพลงในจังหวะ 2 ชั้นหลายเพลงนำมาเล่นรวมอยู่ในตับเดียวกัน
เช่น ตับวิวาห์พระสมุทร ประกอบด้วย เพลง ตับวิวาห์พระสมุทร บังใบ และแขก
สาหร่าย เป็นต้น
เพลงโหมโรง หมายถึงเพลงชุดที่ใช้บรรเลงก่อนการแสดงหรือก่อนการมีกิจกรรม
ต่างๆ เช่น โหมโรงเย็น ซึ่งประกอบด้วย เพลง 12 เพลง เริ่มบรรเลงด้วยเพลงสาธุ
การและบรรเลงต่อไปจนจบครบทั้ง 12 เพลง ใช้บรรเลงก่อนที่จะมีการสวดมนต์
เย็น หรือก่อนการแสดงลิเก เพื่อเป็นการประกาศว่ากำลังจะมีกิจกรรมต่างๆ
เกิด
ขึ้นในเย็นวันนี้
เพลงหน้าพาทย์ คือเพลงที่ใช้บรรเลงประกอบท่ารำเช่นโขน
ถือเป็นเพลงชั้นสูง คน
ไทยรับวัฒนธรรมทางดนตรีมาจากเพื่อนบ้านตั้งแต่สมัยโบราณมาแล้ว แล้วนำมาดัด
แปลงจังหวะและทำนองจนเกิดความพอดีในรูปแบบศิลปของไทย แต่ก็ยังคงสำเนียง
และเค้าเดิมเอาไว้เพื่อให้รู้ว่ามีเค้าเดิมมาจากที่ใดเช่น เชิดจีน มีสำเนียงจีน
เขมรละ
ออองค์ ก็มีสำเนียงเขมร เป็นต้น