ในเรื่องของพระแก้วมรกตที่จะนำเสนอในที่นี้นั้น ข้าพเจ้าได้เรียบเรียงมาจากหนังสือ
หลายเล่ม โดยมากเป็นหนังสือที่แต่งโดยคนไทย และมีมุมมองที่มีเหตุผลคล้องจอง
กันเป็นอย่างดี แต่อย่างไรก็ตาม ก็ยังต้องแบ่งตำนานออกเป็น 2 ตอนอยู่ดี
คือตั้งแต่
เริ่มสร้าง ถึงตอนที่มาถึงเมืองเชียงราย เป็นตอนที่ 1และตอนต่อจากเมืองเชียงราย
เป็นตอนที่ 2 เนื่องจากตอนที่ 1 นั้น ยังเป็นเพียงตำนานเท่านั้น ไม่ใช่หลักฐานที่มี
เอกสารอ้างอิง แต่ก็ถือได้ว่าเป็นตำนานที่น่าเชื่อถือได้มากทีเดียว ส่วนตอนที่
2 เป็น
ตอนที่มีเอกสารหลักฐานแน่นหนา จึงไม่อาจมีข้อโต้แย้งใดๆได้
การนำเสนอเรื่องพระแก้วมรกตต่อไปนี้ ข้าพเจ้าคงจะใช้การเล่าเรื่อง ประกอบการ
วิเคราะห์ไปในคราวเดียวกัน ขอท่านทั้งหลายโปรดอ่าน แล้วใช้วิจารณญาณเอาตาม
อัธยาศัย
เปิดตำนาน
เริ่มจากการที่พระนาดเสน ผู้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ ซึ่งมีชีวิตอยู่ในสมัย
500 ปีหลัง พุทธกาลเกิดมีความคิดที่จะสร้างพระพุทธรูปองค์หนึ่ง ให้ยืนยงอยู่จนสิ้น5000
ปี
พุทธกาล ครั้นจะสร้างพระด้วยโลหะมีค่าที่นิยมทำกันทั่วไป ก็กลัวว่าจะสูญสลายได้
ง่าย เพราะอาจจะมีใครในกาลข้างหน้ามาทำให้พระพุทธรูปที่จะสร้างด้วยโลหะนี้
เปลี่ยนไปเป็นอย่างอื่นได้ จึงมีความคิดที่จะสร้างพระพุทธรูปด้วยหินที่มีค่า
ก็ยังติด
อยู่ว่า จะเอาหินนั้นมาจากไหน
เมืองที่พระนาคเสนอาศัยอยู่นั้น ชื่อเมือง ปาตะลีบุตร สันนิษฐานว่าคงเป็นเมืองอยู่
แถวๆเมืองไชยาหรือรอบๆบริเวณนั้น
ตำนานยังกล่าวถึงเมือง ลังกาทวีปกัมโพชวิสัย ซึ่งเมื่อวิเคราะห์ตามหลักฐานทางประ
วัติศาสตร์แล้ว ก็ได้ความว่าเมืองนี้น่าจะเป็นเมืองนครศรีธรรมราช ในแหลมมลายูที่
หนังสือบางเล่มบอกว่าพระพุทธรูปองค์นี้ ถูกสร้างมาจากเมืองลังกานั้นก็เป็นเพราะ
มีตำนานบางเล่มกล่าวชื่อเพียงว่า ลังกาทวีป ไม่มีคำ กัมโพชวิสัย ต่อท้าย
จึงเหมาเอา
ว่า พระพุทธรูปองค์นี้มาจากลังกา
ครั้นเมื่อพระอินทราชาทรงทราบว่า พระนาคเสนจะสร้างพระพุทธรูปด้วยหินมีค่าแล้ว
ไม่รู้จะเอาหินมาจากไหน ท่านจึงมาหาพระนาคเสนพร้อมด้วยพระวิษณุ แล้วเสนอตัว
ช่วย จากนั้น พระอินทราชาพร้อมพระวิษณุก็เสด็จไปนำหินมาจากเขาชื่อวิบลบรรพต
อันว่าเขาลูกนี้นั้นคือเขาที่อยู่ที่แคว้นยูนนานทางใต้ของจีน ตามตำนานบอกว่าอยู่ที่
เมืองราชครึ และเมืองที่ว่านี้คือเมืองที่เคยเป็นถิ่นที่อยู่ของคนไทในยูนนานมาก่อน
เมื่อไปถึงเขาวิบลบรรพตแล้ว ผู้ที่รักษาแหล่งหินอยู่ก็แจ้งให้พระอินทราชาได้ทรง
ทราบว่าหินที่ท่านตั้งใจจะมาเอานั้น ได้มีการรักษาไว้เพื่อถวายให้กับพระเจ้าแผ่นดิน
ของที่นั่น ซึ่งก็หมายถึงฮ่องเต้ ดังนั้น พระอิทราชาจึงได้มาแต่หินที่มีค่ารองลงไปคือ
มรกต ซึ่งก็ถือว่าเป็นหินที่มีค่ามาก เมื่อได้หินมาแล้ว ก็นำกลับมาถวายแด่พระนาด
เสน แล้วพระวิษณุก็แปลงเป็นคนธรรมดา อาสาแกะหินนั้นให้เป็นองค์พระ พระนาค
เสนก็อนุญาต
พระนามพระอินทราชาและพระวิษณุกรรมที่ปรากฏในตำนานนั้น กล่าวกันว่า เสด็จลง
มาจากสรวงสวรรค์ เมื่อเทียบกับเรื่องราวทางประวัติศาสตร์แล้ว เราก็พบว่า
มีกษัตริย์
ชื่อพระอินทราชา และมีพระโอรสนามว่าพระวิษณุอยู่จริง อาจเป็นไปได้ว่า
สรวงสวรรค์
ที่เสด็จลงมานั้น คือเสด็จมาจากปราสาทราชวังของพระองค์เอง ประกอบกับบ้านเมือง
ในเวลานั้นมีความสุขสงบ เปรียบได้ดังสรวงสวรรค์ จึงได้เปรียบไปว่า พระองค์เป็นองค์
อินทร์เสด็จลงมาจากสรวงสวรรค์
ในตำนานกล่าวว่า พระนาคเสนได้อัญเชิญพระบรมธาตุของพระพุทธเจ้าออกมาทำการ
สักการะบูชาจำนวนทั้งหมด 7 องค์ เสร็จแล้วจึงอาราธนาพระบรมธาตุทั้ง 7
นั้นให้เข้า
ไปประดิษฐานอยู่ในองค์พระพุทธรูปนั้น แล้วพระนาคเสนก็กล่าวแก่คนทั้งปวงว่า
อัน
พระพุทธรูปองค์นี้นั้น จะไม่ได้อยู่ในเมืองปาตะลีบุตรนี้ดอก แต่จะเสด็จไปโปรดสัตว์ยัง
5 ประเทศดังนี้ คือ
1. ลังกาทวีปกัมโพชวิสัย (เมือง นครศรีธรรมราช)
2. กรุงศรีอยุธยาวิสัย
3. โยนกวิสัย
4. สุวรรณภูมิวิสัย
5. ปมหลวิสัย
หลังจากนั้นอีก 300 ปี (พ.ศ. 800) ในเมืองปาตลีบุตรเกิดมีศึกสงครามความไม่สงบ
เกิดขึ้น ผู้คนจึงพากันนำพระแก้วมรกตนั้นหนีออกจากเมืองไปไว้ยังลังกาทวีปกำโพช
วิสัย (นครศรีธรรมราช) พร้อมด้วยพระไตรปิฏกอีกชุดหนึ่ง
200 ปีต่อมา (ประมาณพ.ศ.1000) พระเจ้าอนุรุธ ครองเมืองพุกาม (คนละองค์กับ
พระเจ้าอนุรุธที่สถาปนาจุลศักราช) มีพระภิกษุรูปหนึ่ง นามว่า พระสีลขัณฑ์
อาศัย
อยู่ในเมืองพุกามนั้น ค้นพบว่า พระไตรปิฏกที่มีใช้กันในเมืองนั้น ไม่ถูกต้องนัก
และ
ทราบด้วยว่าของจริงที่ถูกนั้น อยู่ที่เมืองลังกาทวีปกัมโพชวิสัย จึงนำความนั้นกราบ
ทูลพระเจ้าอนุรุธ พระเจ้าอนุรุธก็เห็นด้วย พระองค์จึงส่งเรือสำไปยังเมืองลังกาทวีป
ล่วงหน้าไปก่อน เมื่อพระองค์คำนวณว่า เรือที่ส่งไปนั้นน่าที่จะถึงเมืองลังกาทวีปแล้ว
พระองค์จึงขึ้นม้าอัสดร แล้วเหาะไป จึงไปถึงยังเมืองลังกาทวีปนั้นในวันเดียวกัน
(พระองค์ส่งทัพเรือล่วงหน้ามาก่อน แล้วจึงยกทัพบกและทัพม้าตามมาทีหลังซึ่งทำ
เวลาได้ดีกว่า แล้ว จึงมาถึงเมืองลังกาทวีปในเวลาเดียวกัน) เมื่อมาถึงแล้ว
พระเจ้า
อนุรุธก็ทำการเจรจากับเจ้าเมืองลังกาทวีป โดยขอให้พระสีลขัณฑ์ได้บวชให้ถูกต้อง
ตามอย่างพระไตรปิฏกฉบับที่ถูก และขอคัดลอกพระไตรปิฏกนั้น เพื่อนำกลับไปยัง
พุกามประเทศ พระเจ้ากรุงลังกาทวีปก็ตกลง แล้วจึงเริ่มทำการคัดลอก รวมทั้งจัด
การบวชพระที่มาจากพุกามรวม 8 รูป รวมทั้งพระเจ้าอนุรุธก็ได้ร่วมทำการเขียน
พระไตรปิฏกด้วยพระองค์เองด้วย
เมื่อคักลอกพระไตรปิฏกเสร็จแล้ว พระเจ้าอนุรุธก็เดินทางกลับเมืองพุกาม
แต่ได้ขอ
เอาพระแก้วมรกตไปด้วย โดยจัดสำเภาลำหนึ่งสำหรับบรรทุกพระแก้วมรกตและพระ
ไตรปิฏกที่ชาวพุกามเป็นผู้คัดลอกส่วนอีกลำหนึ่งก็บรรทุกพระ 8 รูปที่มาบวชที่เมือง
ลังกาและพระไตรปิฏกที่ชาวลังกาเป็นผู้เขียน แล้วให้สำเภาทั้ง 2 ลำนั้นออกเดิน
ทางออกจากเมืองลังกาทวีป ส่วนพระองค์เองก็ขึ้นม้าเหาะกลับมารออยู่ที่เมืองพุกาม
สำเภาดังกล่าวนั้น มีเพียงลำเดียวเท่านั้นที่ไปถึงเมืองพุกาม คือลำที่บรรทุกพระ
8
รูปและพระไตรปิฏกที่ชาวลังกาเป็นผู้เขียน ส่วนอีกลำหนึ่ง ซึ่งบรรทุกพระแก้วมรกต
กับพระไตรปิฏกที่ชาวพุกามเป็นผู้เขียนนั้น ได้พลัดหลงเข้าไปถึงเมืองอินทปัตนคร
(เมืองลังกาทวีปนั้น หมายถึงเมืองนครศรีธรรมราชจริง เนื่องจากเห็นได้ว่า
สำเภา
นั้นไปเข้าปากน้ำบัณฑายมาศ เมืองอินทปัตโดยง่าย เมืองอินทปัตนี้คือเมืองเขมร
ซึ่งเป็นคำเรียกของคนไทยโบราณที่ไม่ยอมเรียกเมืองว่าเขมร แต่เรียกว่า อินทปัต
แทน)
เมื่อรู้ไปถึงพระเจ้าอนุรุธ พระองค์ก็เสด็จไปถึงเมืองอินทปัตโดยขี่ม้าเหาะไปเพียงลำพัง
เพื่อทวงเอาพระแก้วมรกตนั้น แต่เจ้าเมืองอินทปัตไม่ยอมคืนให้ในชั้นแรก
พระเจ้าอนุ
รุธจึงทำอิทธิฤทธิให้เจ้าเมืองอินทปัตเห็น เจ้าเมืองอินทปัตเห็นแล้วเกิดความกลัว
จึง
ยอมคืนให้ แต่ให้ข้าหลวงมาบอกพระเจ้าอนุรุธว่า พระเจ้าอนุรุธเดินทางมาโดยลำพัง
คงไม่สะดวกที่จะนำสำเภาและของทั้งหมดที่บรรทุกอยู่นั้นกลับไปได้โดยพระองค์เอง
จึงขอให้พระองค์กลับไปก่อน แล้วจะจัดส่งสำเภาพร้องพระแก้วมรกตและของทั้งหมด
ตามไปภายหลัง เมื่อสำเภาดังกล่าวเดินทางมาถึงพุกามแล้ว พระเจ้าอนุรุธก็พบว่าใน
สำเภานั้นไม่มีพระแก้วมรกตมาด้วย พระองค์ก็เสียพระทัยมาก แต่ก็คิดว่า
พระองค์คง
ไม่มีวาสนาที่จะได้พระแก้วองค์นี้มาปฏิบัติบูชา จึงตัดใจเสียคิดว่าเจ้าเมืองอินทปัตคง
จะปฏิบัติบูชาพระแก้วนั้นได้อย่างดี พระแก้วมรกตจึงประดิษฐานอยู่ที่เมืองอินทปัติ
(เขมร) ตั้งแต่บัดนั้น
จนถึงสมัยพระเจ้าเสนก กษัตริย์เมิองอินทปัต พระองค์ไม่ตั้งอยู่ในทศพิธราชธรรมฆ่า
คนโดยไม่มีความผิด พระยานาคซึ่งรักษาเมืองอยู่ก็โกรธ จึงบันดาลให้มีน้ำมาท่วมเมือง
หมด ผู้คนล้มตายเป็นอันมาก และมีผู้นำเอาพระแก้วมรกตหนีน้ำไปไว้ ณ ตำบลที่อยู่
เหนือขึ้นไป
เรื่องที่น้ำท่วมเมืองเขมรนี้ ความจริงคือการที่พวกเขมรบุกเข้ามายึดเมืองอินทปัตได้
เขมรพวกแรกเป็นพุทธ คนละพวกกันกับพวกหลัง เมื่อพวกหลังซึ่งไม่ใช่พุทธ
แต่เป็น
พวกฮินดูยึดเมืองได้แล้ว ก็คงจะทำการกวาดล้างพวกชาวพุทธ ผู้ที่รักษาพระแก้ว
มรกตอยู่ จึงได้นำพระแก้วมรกตหนีไปอยู่ทางเหนือ คือ ตำบลที่เรียกว่า ตาแก้ว
หลัง
จาก ที่พระเจ้าอาทิตยราชจากอโธยาเข้ามาช่วยไว้ได้แล้ว จึงโปรดให้สร้างปราสาทตา
แก้วไว้เป็นอนุสรณ์
เมื่อพระเจ้าอาทิตยราช ผู้เป็นกษัตริย์แห่งเมืองอโธยาทรงทราบเรื่อง ก็ได้เสด็จมาทรง
ช่วยแล้วจึงนำเอาพระแก้วมรกตกลับมาประดิษฐานไว้ที่เมืองอโยธยาด้วย พระแก้วมรกต
จึงได้ประดิษฐานอยู่ที่เมือง อโธยาตั้งแต่นั้น จนได้หลายชั่วกษัตริย์
สมัยต่อมา เจ้าเมืองกำแพงเพชรก็ได้ลงมาขอเอาพระแก้วมรกตไปรักษาไว้ที่เมืองกำแพง
เพชรเป็นอย่างดี จนเมื่อเจ้าราชบุตรของเจ้าเมืองกำแพงเพชรได้จำเริญวัยขึ้นแล้ว
จึงได้
ไปครองเมืองละโว้ ต่อมาเจ้าราชบุตรที่ได้ไปครองเมืองละโว้นั้น ก็ได้กราบทูลขอพระแก้ว
มรกตแก่พระราชบิดา พระราชบิดาก็ทรงอนุญาต พระแก้วมรกตจึงได้ประดิษฐานที่เมือง
ละโว้ แต่เจ้าราชบุตรนั้นคงปฎิบัติบูชาพระแก้วมรกตนั้นได้เพียง 1 ปีกับ
9 เดือนเท่านั้น
ด้วยคงจะเห็นว่า พระพุทธรูปองค์นี้มีความสำคัญนัก เห็นเหลือกำลังที่จะรักษาเอาไว้ได้
หากมีภัยอันตรายใดๆอันอาจจะเกิดแก่พระแก้วมรกตนั้น เจ้าราชบุตรนั้นจึงได้
อัญเชิญพระแก้วมรกตกลับคืนแก่พระราชบิดา พระแก้วมรกตจึงกลับมาประดิษฐานที่กำ
แพงเพชรตาม
เดิม
ทางเจ้าเมืองเชียงราย เมื่อรู้ข่าวว่าพระแก้วมรกตกลับมาอยู่ที่เมืองกำแพงเพชรแล้ว
ก็ลง
มาขอเอาพระแก้วมรกตไปรักษาไว้ยังเมืองเชียงราย อยู่ต่อมา ทางเมืองเชียงรายเกิดสง
ครามรบพุ่งกับเจ้าเมืองเชียงใหม่ แล้วคงจะมีใครอัญเชิญพระแก้วมรกตนั้นเอาไปหลบ
ซ่อนไว้ โดยการเอาปูนมาพอกองค์ แล้วประดิษฐานไว้ในเจดีย์องค์หนึ่ง เมื่อสงครามระ
หว่างเชียงใหม่กับเชียงรายสงบแล้ว เชียงรายก็เข้าไปอยู่ในอานัติของเชียงใหม่ตามเดิม
พระเจ้าเชียงใหม่ก็เสด็จเข้ามายังเมืองเชียงราย วันหนึ่งได้เกิดอัสนีต้องลง
ที่พระเจดีย์ที่ประดิษฐานพระแก้วนั้นแตกออก พระเจ้าเชียงใหม่จึงพบว่า
เป็นพระแก้ว
มรกตองค์สำคัญจึงคิดจะอัญเชิญไปประดิษฐานไว้ที่เชียงใหม่
เรื่องดังต่อไปนี้เป็นเรื่องที่มีผู้บันทึกไว้เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์
ขณะนั้น พุทธศาสนาล่วงแล้วประมาณ 2000 ปี พระเจ้าเชียวใหม่จึงได้อัญเชิญพระ
แก้วมรกตลงมาไว้ที่เมืองเชียงใหม่ โดยอัญเชิญไว้บนหลังช้าง แล้วออกเดินทางจาก
เมืองเชียงรายลงมา ผ่านเมืองลำปาง เมื่อขบานอัญเชิญเดินทางมาถึงเมืองลำปาง
บริเวณวัดดอนชมพู ช้างสำคัญที่อัญเชิญพระแก้วมรกตลงมานั้นก็ไม่มีอาการขยับ
เขยื่อนเต่อย่างใด ไม่ว่าใครจะทำประการใด ช้างนั้นก็ยังคงยืนนิ่งอยู่อย่างนั้นจนเห็น
เป็นอัศจรรย์ จึงต้องอัญเชิญพระแก้วมรกตลงมาประดิษฐานไว้ที่วัดดอนชมพู
เมือง
ลำปางนั้น วัดดอนชมพูคือวัดพระธาตุดอนเต้าในปัจจุบัน
เวลาผ่านไป 32 ปี ทางเชียงใหม่ก็เปลี่ยนกษัตริย์ และกษัตริย์พระองค์ใหม่ก็ได้เสด็จ
มาทรงอัญเชิญพระแก้วมรกตออกจากเมืองลำปาง แล้วไปประดิษฐานไว้ที่เมืองเชียง
ใหม่เป็นผลสำเร็จ พระแก้วมรกตจึงประดิษฐานอยู่ในเมืองเชียงใหม่ตั้งแต่นั้นต่อมา
อีก 84 ปี
ต่อมาเมื่อเชียงใหม่ขาดกาตริย์ที่จะครองเมือง ทางเชียงใหม่จึงขอพระไชยเชษฐามาจาก
เมืองศรีสัตนาคนหุต ให้มาครองเมืองเมื่อมีพระชนมได้ 12 พรรษาพระเจ้าไชยเชษฐามี
พระมารดาเป็นพระราชธิดาของกษัตริย์เชียงใหม่องด์ก่อน และไปเป็นพระมเหสีของพระ
เจ้าโพธิสารแห่งเมืองศรีสัตนคนหุต
อยู่ต่อมาอีก 3 ปี พระเจ้าโพธิสารก็ถึงกาลสวรรคต และเจ้าราชบุตรองค์หนึ่งได้ขึ้นเป็น
กษัตริย์ต่อมาและเจ้าราชบุตรอีกองค์หนึ่งก็เป็นเจ้าครองเมืองเวียงจันทน์
แล้วจึงส่งข่าว
ไปบอกแก่พระไชยเชษฐา พระไชยเชษฐาจึงได้เสด็จกลับมายังเมืองศรสัตนาคนหุติเพื่อ
บำเพ็ญพระราชกุศลแด่พระราชบิดา พร้อมกันนั้น พระองค์ก์ทรงพระวิตกว่า เมือ่กลับไป
ยังเมืองศรีสัตนาคนหุติแล้ว ก็ไม่อาจทราบได้ว่าเมี่อใดจะได้กลับมายังเชียงใหม่อีก
พระ องค์จึงได้อัญเชิญเอาพระแก้วมรกตไปไว้ยังเมืองศรีสัตนาคนหุติด้วยในคราวเดียวกันนั้น
และได้อัญเชิญพระแก้วมรกตให้ประดิษฐานอยู่บนปราสาทหลังเดียวกันกับที่ประดิษฐาน
พระแซกคำอยู่ก่อนแล้ว (พระแซกคำนี้ก็ได้มาจากเมืองเชียงใหม่เช่นเดียวกัน)
และพระ ไชยเชษฐาก็ประทับอยู่ที่เมืองศรีสัตนาคนหุติเป็นเวลา 3 ปี ในระหว่างนั้น
ทางเมือง
เชียงใหม่ก็ขาดกษัตริย์อีก ชาวเมืองจึงนิมนต์พระเมกุฏิให้ลาสิกขา แล้วให้ครองเมือง
เชียงใหม่ เมื่อพระไชยเชษฐาทรงทราบเรื่องก็โกรธ จึงยกทัพเข้ามา หมายจะตีเอาเมือง
เชียงใหม่ โดยยึดเอาเมืองเชียงแสนเอาไว้ก่อน ฝ่ายพระเมกุฏิ เมื่อทราบว่าพระไชยเชษ
ฐายกทัพเข้ามาและยึดเมืองเชียงแสนได้แล้ว ก็เกิดคามกลัว จึงเจรจาขอความคุ้มครอง
จากเมืองอังวะ ทางพม่าจึงส่งทหารเข้ามาช่วย ฝ่ายพระไชยเชษฐา เมื่อทราบว่ามีพม่าเข้า
มาช่วย ก็วิตกว่าจะกลายเป็นศึกใหญ่ จะเสียไพร่พลของทั้งเมืองศรีสัตนาคนหุติ
ซึ่งเป็น
ของพระราชบิดา และไพร่พลของเมืองเชียงใหม่ อันเป็นของพระราชมารดาเป็นอันมาก
จึงได้แต่เสด็จประทับอยู่ที่เมืองเชียงแสนนั้นเป็นเวลาอีก 9 ปีแล้วจึงเสด็จกลับยังเมือง
ศรีสัตนาคนหุติ
เมื่อกลับมายังเมืองศรีสัตนาคนหุติแล้ว ก็ทรงเล็งเห็นว่า อันเมืองนี้นั้น
มีความคับแคบ
จึงได้ย้ายไปครองเมืองเวียงจันทน์ และแต่งเมืองเวียงจันทน์จนกลายเป็นเมืองหลวง
ของอาณาจักรล้านช้างตั้งแต่นั้น พร้อมกันนั้น ก็ได้อัญเชิญเอาพระแก้วมรกตขึ้นไปไว้
ยังเมืองเวียงจันทน์ด้วย พระแก้วมรกตจึงประดิษฐานอยู่ที่เวียงจันทน์นับแต่นั้น
เวลา
ก็ล่วงมาอีก 219 ปี
ในสมัยกรุงธนบุรี เมืองลาวเกิดมีเรื่องกับไทย ทางธนบุรีจึงส่งสมเด็จเจ้าพระยามหา
กษัตริย์ศึกออกไปปราบ เมื่อชนะศึกแล้ว ท่านจึงอัญเชิญพระแก้วมรกตนั้น
กลับประ
ดิษฐาน ณ กรุงธนบุรี นับเป็นการอัญเชิญพระแก้วมรกตกลับมาสู่แผ่นดินไทยอีกครั้ง
หลังจากที่ต้องประดิษฐานอยู่ที่เวียงจันทน์เป็นเวลาถึง219 ปี จนเมื่อท่านสร้างเมือง
ใหม่คือ กรุงเทพมหานคร แล้ว ท่านจึงอัญเชิญพระแก้วมรกตข้ามแม่น้ำมาประดิษฐาน
ไว้ยังฝั่งกรุงเทพฯ คือในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม จนถึงปัจจุบัน
เมื่อคราวที่ไทยแพ้สงครามในสงครามโลกครั้งที่ 2 นั้น ไทยต้องคืนดินแดนลาวให้แก่
ฝรั่งเศษและทางฝ่ายฝรั่งเศษก็ได้เรียกร้องที่จะเอาพระแก้วมรกตกลับไปประดิษฐาน
ในเมืองลาวด้วย มีการประชุมตกลงกันที่ประเทศศรีลังกา ในที่สุด ทางฝ่ายไทยจึง
ได้แจ้งให้ทางฝรั่งเศษทราบว่า พระแก้วมรกตมรกตองค์นี้ ได้ถูกสร้างขึ้นมาในดิน
แดนไทย และเคลื่อนไหวอยู่ในดินแดนไทยเป็นเวลานาน จนเมื่อพระไชยเชษฐา
เสด็จกลับไปลาวนั้น พระองค์ก็ได้นำเอาพระแก้วมรกตองค์นี้กลับไปลาวด้วย
จึง
ถือว่า พระแก้วมรกตเป็นสมบัติของไทย ไม่ใช่ของลาว ทางฝรั่งเศสจึงยอมตามที่
ไทยแจ้งนั้น