ในขณะที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯยังทรงผนวชอยู่นั้น พระองค์ได้เสด็จประพาส
เมืองโบราณ โดยเฉพาะเมืองเก่าสุโขทัยอยู่บ่อยครั้ง และครั้งหนึ่งในเมืองเก่าสุโขทัยใน
ปีพ.ศ.2376 พระองค์ทรงพบพระแท่นมนังคศิลาอาสน์ซึ่งพังลงมาแล้วตั้งตะแคงอยู่
พระองค์ก็ได้เสด็จประทับนั่งบนพระแท่นนั้นแล้วตรัสว่า "อยู่ทำไมกลางดงกลางป่าไป
อยู่ด้วยกันที่บางกอก จะได้ถือศีลฟังเทศน์" แล้วจึงโปรดให้ ชลอลงมาไว้ที่กรุงเทพฯ
แล้วโปรดให้ก่อเป็นพระแท่นไว้ที่ลานใต้ต้นมะขามในวัดราชาธิวาส คราวเดียวกันนั้น
ก็ทรงพบเสาศิลาสลักอักษรไทยโบราณต้นหนึ่ง กับอักษรขอมโบราณอีกต้นหนึ่งจึงโปรด
ให้นำมาไว้ที่กรุงเทพฯ พร้อมกัน เมื่อทรงย้ายไปครองวัดบวรฯ พระองค์ก็ทรงย้ายเสา
ที่สลักอักษรไทยและพระแท่นฯตามไปด้วย เมื่อพระองค์เสด็จขึ้นครองราชย์แล้ว
พระ องค์ก็ยังโปรดให้ย้ายเข้าไปเก็บรักษาไว้ในพระบรมมหาราชวังเนื่องจากพระ
องค์มีความ
ผูกพันกับของทั้งสองสิ่งนั้นมาก เพราะพระองค์ทรงทราบว่า พ่อขุนรามฯเป็นผู้ทำของ
ทั้งสองนั้นขึ้นมา และพระมหากษัตริย์ในราชจักรีวงศ์ ก็สืบสายเลือดมาจากราชวงศ์พระ
ร่วง โดยผ่านทางพระมหาธรรมราชา ดังนั้น จึงถือว่าพ่อขุนรามฯเป็นบรรพบุรุษทางสาย
เลือดของราชวงศ์จักรี และของพระองค์เองอีกด้วย
ในขณะที่ยังทรงประทับอยู่ที่วัดบวรฯนั้น พระองค์ก็ได้ทรงเพียรพยายามถอดความออก
มาเป็นภาษาไทยปัจจุบัน จนสามารถอ่านได้ความ แต่ก็ยังไม่สมบูรณ์ดีนัก ประมาณปี
พ.ศ.2457 คณะกรรมการหอพระสมุดแห่งชาติได้ว่าจ้างศาสตราจารย์ ยอร์ช เซเดส์
ผู้
เชี่ยวชาญภาษาและอักษรขอม ให้ทำการชำระสอบสวนและแปลจารึกต่างๆที่มีอยู่
รวม
ทั้งเสาสลักอักษรโบราณดังกล่าวด้วยในเสานั้น เมื่อแกะอักษรออกมาแล้วก็จะอ่านได้ว่า
ย้อนกลับไปมองที่ตัวอักษรแต่ละตัวที่ได้ถอดออกไว้แล้วลองพิจารณาดูทีละตัว
จะเห็น
ว่า ไม่มีคำใดเลยที่มีความหมายว่า ประดิษฐ์ จะมีก็แต่คำว่า ใส่ เท่านั้น
การที่จะแปลเอาความหมายจากอักษรโบราณนั้น จำเป็นต้องคำนึงถึงหลายสิ่งหลาย
อย่าง ไม่ใช่แปลกันตามตัวอักษรโต้งๆ ประโยดที่ว่า "เมื่อก่อน ลายสือไทนี้
บ่มี" ถ้าจะ
แปลกันตรงๆก็อาจจะแปลได้ว่า"เมื่อก่อน ลายสือไทนี้ บ่มี" ตรงตัวได้เลย
แต่เราต้อง
พิจารณาเรื่องชนชาติด้วย อย่าลืมว่า ชนชาติไท เป็นชนชาติที่มีความยิ่งใหญ่มาก่อน
ได้สร้างสมอารยธรรมมาเป็นพันๆปี ทั้งรูปแบบการปกครอง การยังชีพ การนับถือศาส
นา การสร้างวัดวาอาราม ซึ่งคนไทสามารถทำและสร้างสิ่งต่างๆได้สวยงาม วิจิตรพิศ
ดาร นับว่าเป็นชนชาติที่ฉลาดลึกล้ำเอาเรื่องทีเดียว แต่คนไทกลับโง่เง่าเบาปัญญาถึง
กับไม่เคยมีอักษรของตัวเองไว้ใช้ กับเขาบ้างเชียวหรือ การเข้ายึดครองดินแดนของชน
เชื้อชาติอื่นเช่น มอญ ข่า ลั๊ว เป็นต้น ชนชาติต่างๆ ต่างก็มี ภาษาเป็นของตนเอง
รวม
ทั้งต้องมีภาษาเขียนด้วย ถึงจะมีชนบางกลุ่มที่มีแต่ภาษาพูดก็ตามที แต่ก็น้อยมาก
ถ้า
เราไม่เคยมีอักษรของเราเอง แล้วเราจะไปปกครองชนชาติเหล่านั้นได้อย่างไร
ใครเขา
จะมาให้เกียรติไทว่า เป็นผู้มีอำ นาจมากกว่า และยอมอยู่ใต้การปกครองของไท
ข้อเท็จ
จริงที่ควรจะเป็นคือ ตัวอักษรไทนั้น เรามีใช้กันนานมาแล้ว นานจนไม่รู้ว่ามีมาตั้งแต่เมื่อ
ใด ใครเป็นผู้สร้าง นานเท่าๆกับตัวอักษรของมอญ เขมร และอีกหลายชนชาติที่เคลื่อน
ไหวอยู่ในเขตเอเซียอาคเนย์นี้ เพราะพัฒนาการทางภาษาของแต่ละภาษาจำเป็นต้อง
ใช้เวลา อาจจะเป็นพันๆปี หรือกว่านั้น ไม่ใช่นึกอยากจะ ประดิษฐ์ อักษรขึ้นใช้
ก็สา
มารถทำได้เพียงข้ามวัน ดังนั้น อักษรไทโบราณที่ปรากฏอยู่บนเสาศิลานั้น
จึงเป็นอัก
ษรไท ที่มีใช้กันมาก่อน หน้านั้นนานมาแล้ว แต่วัฒนธรรมการแกะสลักตัวอักษรไท
ลงบนหินนั้น ยังไม่เคยมีดังตัวอัก ษรที่ถอดออกมาได้ว่า "เมื่อก่อนลายสือไทนี้
บ่มี"
หมายความว่า(ไม่ใช่แปลว่า)
"เมื่อก่อนลายสือไทแบบนี้ (ที่สลักอยู่บนหิน) ยังไม่เคยมี"
ไม่ใช่ "เมื่อก่อนไม่เคยมีตัวอักษรไทใช้"
ทีนี้เราลองมาสำรวจดูข้อความ ต่อมา
"พ่อขุนรามคำแหงหาใคร่ใจในใจ แลใส่ลายสือไทนี้ ลายสือไท นี้
จึงมีเพื่อพ่อขุนผู้นั้นใส่ไว้"
ยอร์ช เซเดส์ แปลว่า
"พ่อขุนรามคำแหงมีความประสงค์ในพระทัย จึงประดิษฐ์อักษรไทขึ้น
อักษรไทจึงมีขึ้นเพราะพ่อขุนผู้ นั้นโปรดให้ประดิษฐ์ไว้"
ขอให้ลองอ่านประโยคที่เซเดย์แปล เอาไว้ แล้วลองหาดูว่า มีตรงไหนที่แปลว่า
ประดิษฐ์
และที่แปลว่า ประดิษฐ์ ไปเอามาจากไหน มีแต่คำว่า ใส่ ซึ่งแน่นอนว่า คำว่า
ใส่ กับ คำ
ว่า ประดิษฐ์ ย่อมมีความหมายต่างกันโดยสิ้นเชิง และคำว่า ใส่ ที่ปรากฏอยู่นั้น
แน่นอน
ว่าไม่ใช่แปลว่า ประดิษฐ์
พ่อขุนรามคำแหงหาใคร่ใจในใจ แลให้ใส่ลาย
สือไทยนี้
ลายสือนี้จึงมีเพื่อพ่อขุนผู้นั้นใส่ไว้
....................ต้องแปลให้มีความหมายว่า
พ่อขุนรามคำแหงมีพระราชประสงค์ จึงโปรดให้ใส่ (สลัก) ลายสือไท(ที่มีใช้กันมาก่อน
แล้ว)นี้ ลายสือไท(ที่สลักไว้บนหินแบบ)นี้ จึงมีขึ้นเพราะพ่อขุนผู้นั้น
โปรดให้(สลัก)ใส่
เอาไว้
แล้วทำไม ยอร์ช เซเดส์ จึงเหมาว่า ใส่ คือ ประดิษฐ์ แล้วบอกว่า พ่อขุนรามฯประดิษฐ์
อักษรไทขึ้นมาใช้ เป็นครั้งแรก เนื่องจากท่านไม่เคยพบว่ามีการสลักอักษรไทบนศิลา
มาก่อน เมื่อมาพบศิลานี้ จึงตั้งสมมติฐาน ไว้ก่อน จากคำแปล ในประโยคแรกที่ว่า
เมื่อก่อนลายสือไทนี้บ่มี
ซึ่งท่านแปลเอาตรงๆโดยไม่คำนึงถึงความ
หมาย แต่กลับมา
สร้างความหมายให้กับ คำว่า ใส่ ว่าเป็น ประดิษฐ์ ซึ่งเป็นเรื่องที่ท่านจินตนาการเอาเอง
โดยไม่คำนึง ถึงความเสียหาย ที่จะตามมาว่าจะมากจะน้อย เพียงใด ถือว่าเป็นความมัก
ง่ายทางวิชาการที่ ไม่น่าให้อภัยกัน เลยที่เดียว
เราได้วิเคราะห์จนได้ข้อสรุปแล้วว่า ภาษาไท และตัวอักษรไทนั้น เรามีมาก่อนนานแล้ว
(เคยมีการค้น พบจา รึกโบาณ ที่เก่ากว่ายุดสุโขทัยประมาณ 200-300 ปี และตัวอักษร
ที่พบในจารึกนั้นก็มีความคล้ายเป็น อย่าง มากกับตัวอักษรของสุโขทัย ซึ่งนักวิชาการต่าง
ก็ตั้งเป็นข้อปุจฉาเอาไว้ เพื่อรอการศึกษาในขั้นต่อไป) เรื่องนี้ สามารถอธิบายได้ว่าแม้เรา
จะมีตัวอักษรใช้กันมานานก็ตาม แต่เราก็ไม่เคยมีธรรมเนียมการสลักลงบนหินมาก่อน
จนเมื่อคนไทได้มาอยู่ใต้ การปกครองของเขมร จึงเริ่มมีการสลักข้อความบนหิน
แต่ก็ใช้
ภาษาขอมไม่ใช้ ภาษาไท อาจจะเป็นเพราะเกรงใจขอม นับถือขอมว่าเป็นครูทางเวทย์
มนต์ ถ้าไม่ใช้ภาษาขอมก็จะไม่ศักดิ์สิทธิ์ แล้วครูขอมก็สาปแช่งไว้ว่าต้องใช้ภาษาขอม
เท่านั้น เพราะเมื่อขอมเสียอำนาจให้สุโขทัยแล้วก็ต้องมีอะไรที่เป็นขอมเหลืออยู่บ้าง
นั่น
คือตัวอักษรและปรางค์ขอม เพราะถ้าไม่ใช้ภาษาขอม อำนาจขอมก็ต้องหมดลงโดยสิ้น
เชิง หรือคนไทขอยืมตัวอักษรขอมมาสลักลงบนหินเพื่อ แสดงถึงความมีอำนาจเหนือ
กว่ารัฐอื่นๆ หรือคนไทเมื่อเคยจารหรือจารึกเป็นอักษรขอม ก็ยังคงจารึกอย่างนั้นกัน
ต่อมาด้วยถือเป็นของสูงและศักดิ์สิทธิ์ คนไทสมัยโบราณซึ่งมีอักษรใช้กันนั้น
ก็ได้มีการ
เขียนกันเรื่อยมา จนเมื่อมาอยู่ในอำนาจปกครองของเขมร คนไทก็รับเอาธรรมเนียมการ
จารึกลงบนหินมาจากขอม และใช้ภาษาขอม ซึ่งเป็นการจารึกเรื่องที่มีความสำคัญเช่น
เรื่องพระมหากษัตริย์ เรื่องศาสนา เรื่องของคาถาอาคมต่างๆ แต่ในชีวิตประจำวัน
ต่าง
ก็ยังคงใช้อักษรไทที่มีมาก่อนแล้ว ใช้ในการติดต่อสื่อสารกันอยู่เสมอ จนเมื่อมีการสถา
ปนากรุงสุโขทัยเป็นราชธานีแล้ว ในช่วงต้น ก็ยังคงรักษาธรรมเนียมการใช้อักษรขอม
เพื่อสลักอยู่ เพราะอิทธิพลเขมรยังไม่หมดลงเสียทีเดียว กษัตริย์ สุโขทัยยังคงต้องส่ง
ส่วยน้ำไปเมืองเขมร เพื่อให้กษัตริย์เขมรสรงเป็นประจำทุกปี จนมาถึงสมัยพ่อขุนราม
คำแหงซึ่ง ท่านมีความกล้าหาญที่จะปลดปล่อยคนไทจากการเป็นเมืองขึ้นในอำนาจ
ของเขมร ท่านจึงให้เลิกส่งส่วยน้ำให้เขมร และเลิกธรรมเนียมจำหลักหินด้วยภาษา
ขอม แล้วจึงเริ่มการจำหลักหินด้วยการใช้ตัวอักษรไทแทนเหตุดังกล่าว ข้อความที่ปรา
กฏบนศิลานั้นจึงว่า
เมื่อก่อนลายสือไทนี้ บ่มี ปี1205 ศก ปีมะแม พ่อขุนรามคำแหง
หาใคร่ใจในใจ แลใส่ลายสือไทนี้ ลายสือไทนี้จึงมีเพื่อพ่อขุนผู้นั้น
แต่จะเห็นได้ว่า แม้ในสมัยสุโขทัยหลังสมัยพ่อขุนรามฯนั้น กษัตริย์ สุโขทัยองค์ต่อมาก็ไม่
ได้มีการสลักภาษาไทกันบนหินอีก จะเป็นเพราะไม่มีการใช้ตัวอักษรไทกันแล้วหรือ
เปล่า
เลย เพียงแต่กลับไปใช้วิธีเก่าที่เคยใช้กันมาแต่ก่อนต่างหาก เพราะไม่มีกษัตริย์องค์ใดที่
จะมีความเข้มแข็งและ กล้าหาญเช่นพ่อขุนรามฯ ในการที่จะรักษาปริวรรตกรรมการสลัก
ตัวอักษร หลังจากนั้นก็กลายเป็นความเคยชิน และต่อมาจนถึงสมัยอยุธยา และเลยมา
ถึงสมัยกรุงเทพฯ ซึ่งจะต้องจารใบลานกันด้วยตัวอักษรขอม ดังจะเห็นได้ จากคัมภีร์เก่าๆ
ทั้งที่เป็นพระไตรปิฎก ตำรายาหรือตำราอะไรต่อมิอะไรอีกสารพัด ล้วนแต่จดจารกันด้วย
อักษรขอมทั้งสิ้น แม้การสังคายนาพระไตรปิฎกในรักาลที่ 1 ซึ่งทำเป็นภาษาบาลีแต่จาร
ด้วยอักษรขอม เพิ่งจะมีก็ใน สมัยพระพุทธเจ้าหลวงนี่เอง ที่มีการทำพระไตรปิฎกขึ้นเป็น
ภาษาไทยแท้เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของชนชาติไทย จึงนับได้ว่า พระพุทธเจ้าหลวง
เป็นท่านที่ 2 ที่ปริวรรตการบันทึกด้วยภาษาอื่นมาเป็นการใช้ภาษาไทย โดยท่านแรกคือ
พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ที่ปริวรรตการสลักลงบนหินจากอักษรขอมแล้วมาใช้ภาษาไทย
แทน นั่นจะหมายความว่า ตลอดเวลาตั้งแต่สุโขทัย อยุธยา ธนบุรี รัตนโกสินทร์จนถึงสมัย
พระพุทธเจ้าหลวงที่ทรงทำพระ ไตรปิฎกเป็นภาษาไทยนั้น คนไทยไม่มีภาษาเขียนของเรา
เองใช้กันกระนั้นหรือ
เมื่อศาสตราจารย์ ยอร์ช เซเดส์ ได้แปลออกมาดังนั้น คนไทต่างก็พากันเชื่อตามกันไปหมด
ถ้าจะบอกว่า ตามตูดฝรั่ง หรือเป็นทาสทางปัญญา ก็คงจะแรงเกินไป แต่พวกเราคนไทยจะ
ยอมเดินตามตูดฝรั่ง และเป็น ทาสทาง ปัญญา กันอีกนานแค่ไหน หวงแหนในเกียรติภูมิ
ของความเป็นคนไทบ้างหรือไม่