ตั้งแต่ยุคแรกที่มนุษย์เริ่มมีการเรียนรู้ที่จะเอาชนะธรรมชาติเพื่อการอยู่รอด
โดยจะย้อนไป
ถึงประวัติของโลกก่อนว่า ตลอดช่วงอายุของโลกที่มีอายุกว่า 4,600 ล้านปีนี้
จากข้อสรุป
ของนักวิชาการทางด้านปฐพีวิทยาและธรณีวิทยา ทำให้เราสามารถที่จะทราบได้ว่า
โลก
กลมๆ ของเราใบนี้ได้ผ่านยุคน้ำแข็งมาแล้วถึง 20 ครั้ง ซึ่งในแต่ละครั้งก็อาจกินเวลาเป็น
แสนๆปี และในทุกครั้งของยุคน้ำแข็ง ก็จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นบนพื้นโลก
ทั้ง
ทางด้านกายภาพ และสรรพชีวิตที่อยู่อาศัยบนโลก เพราะอุณหภูมิที่เปลี่ยนไปมาระหว่าง
ยุคน้ำแข็ง และในขณะที่น้ำแข็งกำลังละลาย รวมทั้งสภาพภูมิศาสตร์ และพื้นที่ก็เกิดมี
การเปี่ยนแปลงด้วยสลับกันไปคือ เมื่อโลกอยู่ในยุคน้ำแข็ง น้ำที่มีอยู่ในโลกจะมีปริมาณ
ลดลง แผ่นดินก็จะเพิ่มมากขึ้นและอาจเป็นแผ่นดินที่ต่อเชื่อมถึงกันเป็นบริเวณกว้าง
ทาง
ด้านอุณหภูมิของโลกในช่วงเวลานั้นก็จะลดลงด้วย จนมนุษย์และสัตว์ทั้งหลายไม่สามาร
ถดำรงชีวิตอยู่ได้
แต่เมื่อได้พิจารณาถึงสภาพพื้นที่ในส่วนต่างๆในโลกแล้ว จะเห็นได้ว่า พื้นที่ในเขตเส้น
ศูนย์สูตรน่าจะเป็นที่ที่สิ่งมีชีวิตทั้งหลายจะพออาศัยอยู่ได้ตามแนวชายฝั่งทะเละ
(เก่า)
ด้วยปัจจัยที่เอื้ออำนวยบางอย่าง และในยุคสมัยที่เรากำลังสร้างอารยธรรมอยู่นี้
เป็นยุค
ที่เพิ่งจะพ้นจากยุคน้ำแข็งเมื่อประมาณ 10,000 กว่าปีมานี้เอง โดยน้ำแข็งได้
เริ่มละลาย
เมื่อประมาณ 30,000 ปีก่อน และในขณะที่น้ำแข็งเริ่มละลาย ปริมาณน้ำบนโลกก็จะสูง
ขึ้น ทำให้พื้นที่ที่เคยติดกันต้องถูกตัดขาดออกจากกัน เพราะน้ำมีระดับสูงขึ้นจากการละ
ลายของน้ำแข็งทำให้มนุษย์ที่เคยอาศัยอยู่ตามแนวชายฝั่งเก่า ต้องอพยพถอยร่นขึ้นไปทาง
เหนือเพื่อหนีน้ำ และมนุษย์บางพวกต้องถูกตัดขาดจากโลกภาย นอกโดยสิ้นเชิงเช่น
ชน
เผ่าอบอริจินในทวีปออสเตรเลีย จนกระทั่งเมื่อระดับน้ำและสภาพของพื้นผิวโลกเริ่มมีสภา
วะคงที่ มนุษย์จึงเริ่มสังเกตุเห็นปรากฎการณ์ต่างๆ และเรียนรู้ที่จะมีชีวิตอยู่ท่ามกลางปรา
กฎการณ์เหล่านั้น ซึ่งในช่วงเวลานั้น มนุษย์ต่างก็มีถิ่นที่อยู่ตามแนวชายฝั่งเป็นส่วนมาก
การสร้างบ้านก็ทำด้วยไม้เป็นหลัก เพราะต้องการความยืดหยุ่นในสภาวะที่ต้องอยู่ใกล้ทะ
เล ในเวลาต่อมา มนุษย์ก็เริ่มมีการขยับขยายย้ายที่อยู่ จากที่เคยอาศัยอยู่ตามแนวชายฝั่ง
ก็ได้อพยพขึ้นเหนือลึกเข้าไปในทวีปตามลำน้ำ โดยใช้เรือเป็นพาหนะ ซึ่งทางน้ำดังกล่าว
ก็คือ แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำโขง แม่น้ำสาละวิน แม่น้ำสินธุ ฯลฯ. และมีอีกพวกหนึ่ง
ได้
พากันลอยเรือไปในทะเล และขึ้นฝั่งตามดินแดนต่างๆเช่น ญี่ปุ่น ดังนั้นวัฒนธรรมหลาย
อย่างของญี่ปุ่น จึงมีความคล้ายคลึงกับวัฒนธรรม ของเอเซียอาคเนย์เดิมเช่น
-ปลูกบ้านอยู่บนเสาใต้ถุนยกสูง (ยังคงมีเหลืออยู่ในบางท้องที่) ซึ่งไม่น่าจะเข้ากันได้เลย
กับสภาวะต่างๆ ในญี่ปุ่น
-การปลูกข้าว ซึ่งได้พิสูจน์แล้วว่า มีการปลูกข้าวที่บ้านเชียงเป็นที่แรกในโลกเมื่อประมาณ
9,700 ปีมาแล้ว
-การทำเครื่องจักสานแบบ 3 แฉก (คนไทยเรียกว่า เฉลว เอาไว้ป้องกันสิ่งชั่วร้าย
มักจะ
ปักไว้ตามคันนา หรืออาจทำเป็นอันเล็กๆ แล้วปักไว้บนปากหม้อขนมต่างๆ เดี๋ยวนี้คงไม่
มีแล้ว ) ซึ่งได้แบบอย่างมาจากแผนที่ของนักเดินเรือในสมัยบุพกาลที่มีการเดินเรือเพื่อ
การย้ายถิ่นฐาน
ทั้ง 3 สิ่งดังกล่าว จะสามารถพบเห็นได้ทั่วไปในเขตเอเซีย อาคเนย์ มนุษย์ในรุ่นนี้เป็น
"ชาวน้ำ" โดยแท้จริง แม้เมื่อได้อพยพขึ้นไปทางเหนือซึ่งมีน้ำไม่มากเหมือนบริเวณแนว
ชายฝั่ง แต่มนุษย์พวกนี้ก็ได้พาเอาสันชาติญานชาวน้ำติดตัวไปด้วย แต่รูปแบบการดำรง
ชีวิตได้เปลี่ยนไป การสร้าง บ้านก็เปลี่ยนไป จากการสร้างบ้านด้วยไม้ก็เปลี่ยนมาเป็น
การสร้างด้วยหิน และเจริญสืบทอดเผ่าพันธุ์กันต่อมาจน เป็นผู้คนที่เจริญกว่าชาวน้ำ
เดิม จากนั้นจึงได้มีการแพร่อารยธรรมกลับลงมาที่ดินแดนชาวน้ำอีกครั้ง
เมื่อมีการศึก
ษาถึงบรรพบุรุษ ผู้ที่ทำการศึกษาในระยะแรกๆ ก็เป็นผู้ที่ไปจากดินแดนชาวน้ำเดิมจน
กลายเป็นชาวบก การกำหนดกฎเกณฑ์ต่างๆ ก็ยึดเอาความคุ้นเคยของชาวบกเป็นบรร
ทัดฐานเช่น การแบ่งยุคก็แบ่งเป็น ยุคหิน ยุคเหล็ก แต่ไม่มีใครแบ่งยุคเป็นยุคไม้
ซึ่งเป็น
ยุคก่อนยุคหินเลย เพิ่งจะได้แบ่งเป็นยุคไม้กับเขาบ้างก็เมื่อไม่นานมานี้เอง
การอพยพของมนุษย์ที่ขึ้นไปทางเหนือนั้น มีความสำคัญไม่น้อยสำหรับศิลปสถาปัตย
กรรมเขมร ซึ่งได้รับการถ่าย ทอดมาจากอินเดียกล่าวคือ เมื่อมนุษย์ได้อพยพไปจนถึง
ภูเขาหิมาลัยแล้ว ก็ได้ค้นพบว่า มีแม่น้ำ 10 สายไหลลงมาจากภูเขานั้น และน้ำในแม่
น้ำดังกล่าวก็ได้หล่อเลี้ยงชีวิตที่อยู่ตามแนวแม่น้ำนั้นให้มีความอุดมสมบูรณ์ผู้คนเหล่า
นั้นจึงถือว่าภูเขาหิมาลัยมีความสำคัญต่อชีวิตของพวกเขามาก จึงได้มีการจินตนาการ
และสร้างเป็นเรื่องขึ้นมา เพื่อเพิ่มความสำคัญ เรื่องดังกล่าวนั้นคือ
"ภูมิจักรวาล" มี
เขาพระสุเมรุซึ่งเป็นที่อยู่ของพระศิวะเป็นแกนสำคัญ มีทะเลน้ำนมซึ่งไม่มีที่สิ้นสุดล้อม
รอบ และมีทวีปอยู่ในทิศต่างๆอีก 4 ทวีป หนึ่งในนั้นก็คือ ชมพูทวีป ที่พวกเรากำลังอา
ศัย อยู่นี้นั่นเอง พระศิวะจึงเป็นเทพเจ้าที่สำคัญของขาวอินเดียที่สามารถบันดาลความ
อุดมสมบูรณ์ให้กับชีวิตไปโดยปริยาย ชาวฮินดูผู้สร้างเรื่องภูมิจักรวาลและเขาพระสุเมรุ
จึงบูชาพระศิวะด้วยศิวลึงค์ซึ่งหมายถึงภูเขาหิมาลัยนั่นเอง หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า
ชาว
ฮินดูเชื่อว่า ชีวิตกำเนิดมาจากน้ำ ซึ่งไหลลงมาจากภูเขา ชีวิตจึงกำเนิดออกมาจากภูเขา
ซึ่งในสภาพความเป็นจริง ชีวิต ก็กำเนิดออกมาจากอวัยวะเพศของทั้งหญิงและชาย
ชาว
ฮินดูจึงถือว่า ลึงค์ เป็นสิ่ง สำคัญสูงสุด เทียบเท่าภูเขาหิมาลัยด้วย
และยกให้ลึงค์เป็น
ตัวแทนของเทพเจ้าผู้ที่อยู่บนภูเขานั้น นั่นคือ พระศิวะและเรียกลึงค์นั้นว่า
ศิวะลึงค์ ซึ่ง
ในสังคมยกย่องให้ชายเหนือกว่าหญิง ชาวฮินดูจึงนับถือศิวลึงค์ (shivalinkham)
มาก
กว่าโยนี (ฐานโยนี) แต่ในทางพิธีแล้ว ก็ยังคงใช้ทั้ง 2สิ่งประกอบกันเสมอ
เมื่ออารยธรรมเหล่านี้แพร่เข้าไปยังเขมร จึงมีการก่อสร้างปราสาทต่างๆให้เป็นตัวแทน
รูปแบบของภูมิจักรวาลและพระศิวะ ลักษณะดังกล่าวจึงออกมาเป็นปราสาทที่มีปรางค์
ประธานอยู่ตรงกลาง เปรียบเสมือนเขาพระสุเมรุหรือ หิมาลัย มีเมรุทิศประดับอยู่ที่มุม
ทั้ง 4 เปรียบดังทวีปทั้ง 4 ที่อยู่รอบเขาพระสุเมรุ และยังสร้างบารายต่างๆ
เปรียบดัง
ทะเลน้ำนมที่อยู่รอบเขาพระสุเมรุ
เมื่อมนุษย์อพยพไปถึงภูเขาหิมาลัยนั้น ก็เกิดรูปแบบวัฒนธรรมขึ้นมาอย่างหนึ่งคือวัฒน
ธรรมแบบกักกันน้ำ เนื่องจากสภาพพื้นที่เป็นที่ราบสูง น้ำที่ไหลลงมาจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ
จะมีความแรงและไหลลงมาด้วย ความเร็ว และหายไปหมดในเวลาอันสั้น ในที่สุดก็จะ
ไม่มีน้ำไว้ใช้สอย เพราะน้ำได้ไหลลงสู่เบื้องล่างหมดแล้ว จึงต้องมีการกักกันน้ำเอาไว้ใช้
เช่น การทำนาแบบขั้นบันได เพื่อให้น้ำค่อยๆ ไหลลงมา
เมื่อพิจารณาถึงรูปแบบศิลปเขมร จะเห็นได้ว่า ฐานที่รองรับปราสาทต่างๆ เป็นชั้นๆนั้น
ก็เป็นรูปแบบที่จำลอง มาจากวัฒนธรรมแบบกักกันน้ำนั่นเอง ชาวฮินดูยังสร้างเรื่องต่อ
ไปอีกว่า มีพญานาคมาดูดเอาน้ำทั้งหมดบนโลกเอาไว้ แล้วขึ้นไปนอนขดตัวอยู่บนเขา
พระสุเมรุ เมื่อพระอินทร์ทราบเรื่อง ก็ได้มาช่วยเหลือมนุษย์ด้วยการผ่าท้องพระยานาค
นั้น น้ำจึงไหลลงมาจากท้องพระยานาดลงมาตามเขาพระสุเมรุ เปรียบได้กับแม่น้ำทั้ง
10 สาย ที่ไหลลงมาจากภูเขาหิมาลัยนั้น และเป็นต้นเรื่องของคำว่า นาคให้น้ำ
ของคน
ไทย และยังถือว่าพระมหากษัตริย์ เป็นสมมุติเทพที่คอยช่วยเหลือประชาชน
นอกจากการ
ที่สมมติว่าพระองค์เป็นพระศิวะแล้ว ยังถือว่าพระองค์คือ พระอินทร์อีกด้วย
เนื่องจากพระ
อินทร์คือผู้ที่บังคับให้พระยานาคปล่อยน้ำให้มาหล่อเลี้ยงประชาชน ดังนั้น
ในขั้นตอนหนึ่ง
ของพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระมหากษัตริย์จะต้องมีพระราชพิธีอินทราภิเษกเสียก่อน
เพื่อกำหนดให้พระองค์เองเป็นพระอินทร์
สรุปได้ว่า วัฒนธรรมของมนุษย์มีต้นกำเนิดมาจากแถบเอเซียอาคเนย์ เรียกว่า
วัฒนธรรม
ชาวน้ำ และวัฒนธรรมของมนุษย์ที่อพยพขึ้นไปทางเหนือเรียกว่าวัฒนธรรมชาวบก
รวมถึง
พวกที่อพยพเข้าไปในเอเซียไมเนอร์และทวีปยุโรปอีกด้วย ส่วนพวกที่อพยพไปขึ้นฝั่งที่ญี่ปุ่น
นั้น ก็ยังรวมอยู่ในพวกชาวน้ำด้วยเหมือนกัน และเมื่อชาวบกได้สร้างอารยธรรมแบบที่เรียก
ว่าอารยธรรมชาวบกแล้ว จึงนำอารยธรรมนั้นมาเผยแพร่ยังชาวน้ำในภายหลัง ซึ่งเป็นสมัย
ที่เริ่มมีการบันทึกเรื่องราวต่างๆด้วยตัวอักษรกันแล้ว
คนไทยกับความเชื่อเรื่องภูมิจักรวาล
คนไทยรับเอาวัฒนธรรมต่างๆมาจากเขมร โดยเฉพาะในเรื่องที่เกี่ยวกับภูมิจักรวาล
แต่เมื่อ
รับเอามาแล้ว ก็ได้ปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงในหลายๆอย่าง และตัดเอาส่วนต่างๆ
ที่ไม่จำ
เป็นออก เพื่อให้เหมาะกับความเป็นคนไทยเช่น เรื่องภูมิจักรวาล คนไทยก็เปลี่ยนเป็นเรื่อง
ไตรภูมิพระร่วงโดยมีปลาอานนท์หนุนโลกอยู่ แทนที่จะเป็นเต่าหนุนเขาพระสุเมรุ
และรูป
จำลองของเขาพระสุเมรุที่เขมรทำเป็นรูปปราสาทนั้น คนไทยก็ตัดเมรุทิศ ซึ่งหมายถึงทวีป
ทั้ง 4 ออก คงเหลือไว้แต่องค์เจดีย์ซึ่งหมายถึงเขาพระสุเมรุเพียงอย่างเดียว
โดยทำยอดให้
เล็กลง ฐานของปราสาทที่มาจากวัฒนธรรมแบบกักกันน้ำ ซึ่งไม่มีความจำเป็นสำหรับคน
ไทย เพราะคนไทยไม่มีความจำเป็นต้องกักน้ำไว้ใช้ เมื่อทำเป็นเจดีย์ก็เหลือเพียงฐานเล็กๆ
ที่ออกมาเป็นรูปบัวฐานเจดีย์เท่านั้นเอง
จะเห็นได้ว่าปราสาทเขมรเป็นรูปแบบที่จำลองมาจากภูมิจักรวาลโดยสมบูรณ์ซึ่งเป็นรูปแบบ
ของวัฒนธรรมชาวน้ำ แต่การก่อสร้างกลับรับเอาวัฒนธรรมของชาวบกมาอย่างครบถ้วนนั่น
คือการสร้างปราสาทด้วยหิน และเป็นการก่อสร้างแบบ "รับแรงกด" [Compression]
เพียง
อย่างเดียว ซึ่งเป็นการก่อสร้างตามแบบของชาวบกโดยแท้จริง กล่าวคือ วัสดุที่ใช้ในการก่อ
สร้างคือหิน จะมีความทนต่อแรงกดในอัตราที่สูง แต่มีความทนต่อ "แรงดึง"[Tension]
น้อย
กว่าไม้ถึง 100 เท่า ซึ่งในวัฒนธรรมแบบชาวน้ำนี้ จะใช้วัสดุที่มีความทนต่อแรงกดและแรง
ดึงในอัตราที่เท่ากัน นั่นคือไม้ ดังนั้นการก่อสร้างของชาวบกและชาวน้ำ
จึงมีความแตกต่าง
กันคือ ในแบบของชาวบก ซึ่งใช้วัสดุที่ทนต่อแรงกดอย่างเดียวเป็นหลักนั้น
จะมีลักษณะดิ่ง
ลงเป็นเส้นตรง จะให้เอียงหรือสอบไม่ได้แต่ของชาวน้ำ ซึ่งใช้วัสดุที่ทนต่อแรงกดและแรง
ดึงได้เท่าๆ กันนั้น สามารถที่จะสร้างให้มีความยืดหยุ่นได้ เคลื่อนไหวได้หรือจัดรูปทรงได้
หลายแบบไม่จำกัดอยู่แต่เพียงรูปทรงที่ตรงดิ่งแต่เพียวอย่างเดียว เจดีย์ของไทยจึงมีลักษณะ
โค้งเว้า มน ซึ่งคนไทยสร้างให้เหมือนกับการกลึงไม้ ซึ่งไม้สามารถที่จะกลึงออกมาในลักษ
ณะดังกล่าวได้ โดยใช้อิฐและปูนเป็นส่วนสำคัญ ซึ่งหินไม่สามารถทำได้ ดังนั้นบ้านในแบบ
ของชาวน้ำจึงมีลักษณะ"สอบ" เข้าหากันเป็นรูปตัว A หัวตัด ซึ่งมีฐานที่กว้างกว่า
ทำให้สา
มารถรับน้ำหนักได้ดีกว่า อาจจะมีบ้างในถิ่นที่อยู่ทางเหนือขึ้นไปเช่น
ในภาคเหนือและภาค
อิสานของไทย ที่สร้างบ้านเป็นแบบ "สอบ"ออก เป็นรูปตัว V เพราะทางแถบนั้นไม่ต้องผจญ
กับความแปรปรวนของลมทะเลอย่างทางใต้ และยังเพื่อป้องกันลมหนาวได้อีกด้วย บ้าน
หรือสิ่งก่อสร้างที่มีลักษณะสอบเข้าหรือสอบออกนั้น เป็นบ้านในลักษณะจำเพาะของวัสดุ
ที่เป็นไม้ซึ่งเป็นวัสดุที่ทนต่อทั้งแรงกดและแรงดึงได้ดีเท่านั้น ส่วนหินที่ทนได้เฉพาะแรงกด
อย่างเดียวไม่สามารถทำได้
วัฒนธรรมชาวน้ำสำคัญที่ปรากฎอยู่ในวัฒนธรรมไทยคือ วัฒนธรรมการต่อเรือ หมายถึง
เรือเล็กที่ใช้กันในแม่น้ำลำคลอง และวัฒนธรรมการนั่งอยู่ในเรือโดยไม่ทำให้เรือโคลงหรือ
ล่มไปในที่สุด ซึ่งเป็นเรื่องที่คนในประเทศอื่นๆ ไม่สามารถทำได้เรียกได้ว่า
คนไทยรู้จัก
และคุ้นเคยกับเรือโดยสายเลือด การที่จะนั่งอยู่ในเรือหรือร้องรำทำเพลงในเรือโดยที่เรือ
ไม่ล่มนั้น ถือได้ว่าเป็นความสามารถพิเศษที่จะต้องมีการฝึกฝนกันมาเป็นอย่างดีทีเดียว
ทำให้ท่ารำในนาฏศิลป์ไทยมีความอ่อนช้อยงดงาม รวมไปถึงกิริยามารยาทของคนไทยที่
เรียบร้อย และไม่กระโดกกระเดก ก็เป็นผลสืบเนื่องมาจากท่านั่งในเรือนั่นเองและทำให้
เกิดวัฒนธรรมการนั่งพับเพียบกับพื้นซึ่งสามารถที่จะนั่ง อยู่ได้เป็นเวลานานๆ
โดยทั่วไป
แล้ว ชาวเอเซียอาคเนย์จะนั่งกับพื้น มีก็แต่จีนเพียงประเทศเดียวเท่านั้นที่ไม่นั่งกับพื้น
คือ
นั่งบนเก้าอี้ การที่ต้องนั่งกับพื้นทำให้ต้องรักษาความสะอาดของพื้นอยู่เสมอทำให้เกิดมี
วัฒนธรรมการถอดรองเท้าก่อนขึ้นบ้าน เพราะถ้าใส่รองเท้าขึ้นบ้าน จะทำให้พื้นบ้านที่
ต้องนั่งอยู่เสมอนั้นเกิดความสกปรกเลอะเทอะ เปรอะเปื้อน และทำให้ต้องเปลืองแรงทำ
ความสะอาดบ่อยครั้งโดยไม่จำเป็น
การสร้างสรรค์งานสถาปัตยกรรมของคนไทยในสมัยอยุธยาก็ยังมีการอิงรูปแบบของเรือ
คือการสร้างโบสถ์หรือวิหาร โดยสร้างฐานให้มีลักษณะท้องแอ่นคล้ายเรือเรียกว่า
ท้อง
สำเภา ถ้าเป็นธรรมาสน์ก็จะเรียกว่า ท้องอัสดง ซึ่งมีความสัมพันธ์ถึงความจัดเจนในเรื่อง
การใช้เรือของคนไทย และยังเป็นความสัมพันธ์กับสัณชาติญานชาวน้ำที่มีมาแต่ดั้งเดิมอีก
ด้วย การสร้างโบสถ์และวิหารกลางน้ำที่เรียกกันว่าอุทกสีมานั้นชาวพุทธเปรียบโบสถ์ว่า
เป็นเสมือนเรือที่พาให้หลุดพ้นจากทุกข์ ก็คือการไปสู่นิพพาน เหมือนกับเรือในสมัยบุพ
กาล ที่ได้พามนุษย์หนีน้ำที่ท่วมสูงขึ้น และพากันไปหาแหล่งที่อยู่ใหม่
ซึ่งก็คือการพ้นทุกข์
นั่นเอง อุทกสีมาจึงอาจถือได้ว่าเป็นสัญชาติญานของชาวน้ำอย่างหนึ่งจนถึงทุกวันนี้
การวางทิศของวัดนั้น จะหันหน้าไปทางทิศใดก็ได้ แต่สำหรับโบสถ์และวิหารนั้นต้องหัน
หน้าเข้าหาน้ำเสมอ โดยจะคำนึงถึงทิศเป็นเรื่องรอง เนื่องจากในขณะที่พระพุทธเจ้าทรง
ตรัสรู้นั้น พระองค์ประทับนั่งอยู่ใต้ต้นโพธิ และหันพระพักตร์ออกไปทางแม่น้ำ
แต่ถ้าไม่สา มารถที่จะให้โบสถ์หันหน้าเข้าหาน้ำได้ เนื่องจากในบางพื้นที่เป็นที่แห้ง
แล้งกันดาร ก็จะ
ให้โบสถ์หันหน้าไปทางทิศตะวันออกเท่านั้น ซึ่งถ้าจะให้สร้างโบสถ์โดยหันหน้าเข้าหาน้ำ
เสมอนั้น ก็คงเป็นเรื่องที่ยุ่งยากมากพอสมควร จึงได้สร้างพระยานาคให้เป็นสัญลักษณ์
แทนน้ำเอาง่ายๆเลย โดยจะปรากฎ รูปพระยานาคบนหน้าบันของวัดโดยทั่วไป และที่บัน
ไดทางขึ้นตามวัดในภาคเหนือซึ่งเป็นถิ่นที่จะหาแหล่งน้ำเป็นที่ หมายได้ยาก
การสร้างบ้านในภาคกลางโดยทั่วไปก็จะสร้างให้หันหน้าเข้าหาน้ำอยู่แล้ว เพราะต้องใช้
เป็นที่ขึ้นลงเรือ แต่ถ้าเป็นบ้านที่ไม่ได้อยู่ตรงแม่น้ำ สิ่งที่ต้องระวังคืออย่าให้บ้านหันหน้า
ไปทางทิศตะวันตกเท่านั้น เนื่องจากเรื่องที่ได้กล่าวถึงแล้วคือ เรื่องของพระยานาคที่ดูด
เอาน้ำจากโลกไปจนหมด แล้วขึ้นไปนอนขดตัวอยู่บนเขาพระสุเมรุนั้น ทำให้พระยานาค
เป็นสัญลักษณ์ของน้ำไปโดยปริยาย ซึ่งปรากฎออกมาทางวัฒนธรรมของคนไทย หลาย
อย่างเช่น ประเพณีบุญบั้งไฟของชาวอิสาน ที่แต่งบั้งไฟเป็นรูปพระยานาค
และยังมีรูปของ
พระยานาคปรากฎอยู่ทั่วไปทุกหนทุกแห่ง รวมทั้งหลายอย่างที่ปรากฎเป็นรูปจำลองของ
ภูมิจักรวาลเช่นยอดปราสาท ยอดชฎา ฉัตร บัลลังก์ พระเมรุมาศ ฯลฯ. และโดยบังเอิญที่
พระยานาคก็เป็นสัญลักษณ์ของพระนารายณ์ ซึ่งคนไทยรับเอาคติความเชื่อจากฮินดูที่ว่า
พระมหากษัตริย์เป็นอวตารหนึ่งของพระนารายณ์ เราจึงใช้พระยานาคเป็นสัญลักษณ์ของ
พระนารายณ์บนหน้าบันพร้อมกับการเป็นสัญลักษณ์ของธาตุน้ำโดยปริยาย โดยประกอบ
เข้ากับช่อฟ้า ซึ่งหมายถึงพระยาครุฑ ซึ่งก็เป็นสัญลักษณ์ของพระนารายณ์เหมือนกัน
ทำ
ให้รูปของพระยานาคและพระยาครุฑมีความลงตัวกันพอดี เมื่อนำไปประดับไว้บนหน้าบัน
ของวัดและพระราชวัง โดยมีความหมายถึงธาตุน้ำ ภูมิจักรวาลและพระนารายณ์
เมื่อมนุษย์ได้อพยพไปถึงภูเขาหิมาลัยนั้น พวกเขาได้สังเกตุเห็นแม่น้ำที่ไหลลงมาจากภู
เขานั้น ไหลลงมาโดยเวียนทางขวา ประกอบกับเมื่อสมัยที่มนุษย์กำลังย้ายถิ่นที่อยู่โดยไป
ทางทะเลนั้น พวกเขาก็พบว่ากระแสน้ำได้วนไปทางขวา ซึ่งเข้ากันได้ดีกับทฤษฎีที่ว่า
น้ำ
ทางซีกโลกด้านเหนือจะไหลเวียนไปทางขวา และอารยธรรมบนโลกเรานี้ มีถิ่นกำเนิดมา
จากซีกโลกทางเหนือทั้งสิ้น จากมูลเหตุดังกล่าว ทำให้เกิดประเพณีการทำเวียนทักษิณา
วัตรรอบรูปจำลองของภูมิจักรวาล ซึ่งเวียนไปทางขวา เหมือนดังน้ำที่หล่อเลี้ยงชีวิตไหลลง
มาจากเขาพระสุเมรุโดยไหลเวียนไปทางขวา การเวียนทักษิณานั้น จะกระทำเฉพาะในพิธี
ที่เป็นมงคลเท่านั้น เพื่อความเป็นศิริมงคล สำหรับการแห่ศพโดยเวียนกลับไปทางซ้ายนั้น
ก็หมายถึงการ นำชีวิตเวียนกลับไปสู่จุดเริ่มต้นซึ่งอยู่บนยอดเขาพระสุเมรุนั่นเอง
คำว่าทักษินอาจหมายถึงทิศใต้ แต่ไม่ได้หมายความว่าทักษินแปลว่าทิศใต้ ความจริงแล้ว
คำว่าทักษิณ แปลว่า ขวามือ เนื่องจากในสมัยโบราณ มนุษย์ให้ความสำคัญกับทิศทางที่
พระอาทิตย์ขึ้นเป็นพิเศษ เพราะเมื่อพระอาทิตย์ขึ้น ก็หมายถึงว่า ชีวิตได้เริ่มตื่นขึ้นมาจาก
การหลับอีกครั้ง เมื่อคนหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ทิศใต้จึงอยู่ทางขวามือด้วยเหตุนี้จึง
เรียกทิศใต้ว่า ทักษิณ หมายถึงทิศที่อยู่ทางขวามือ การเดินเวียนทักษิณาวัตร
จึงหมายถึง
การเดินเวียนไปทางขวามือนั่นเอง
หอยเป็นสัตว์ทะเลที่มีความสำคัญต่อชีวิตของชาวน้ำมาแต่สมัยบุพกาลมีหลายสิ่งหลาย
อย่างทางวัฒนธรรมที่ให้ ความสำคัญกับหอย เช่น การใช้หอยให้มีค่าแทนเงิน
เป็นต้น
เมื่อหอยที่มีก้นเวียนเป็นทักษิณาวัตรเช่น หอยสังข์ จึงถือว่าเป็นหอยที่มีความเป็นศิริมง
คลต่อชีวิตเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้นมนุษย์ โดยเฉพาะคนไทยและชาวฮินดู จึงใช้หอยสังข์เพื่อ
การมงคลต่างๆ แม้แต่การวางผังเมืองในสมัยโบราณของคนไทยยังมีบันทึกไว้ว่า
มีการ
วางผังเมืองแบบหอยสังข์เช่น ผังเมืองลำพูน ลำปาง มีบันทึกกล่าวไว้ว่าเมื่อฤษีวาสุเทพ
และฤษีสุกทันตะได้ช่วยกันสร้างเมืองลำพูนนั้น ได้พากันไปหาเพื่อนฤษีอีกตนหนึ่งคือ
ฤษีสัชชนาลัย ซึ่งได้ไปงมหาหอยสังข์จากใต้ทะเลมาให้ฤๅษี 2 ตนแรกจึงลากเส้นไปตาม
ลักษณะของหอยสังข์นั้น และสร้างเมืองไปตามแปลนที่เหมือนหอยสังข์ดังกล่าว
ซึ่งผัง
เมืองรูปหอยสังข์นี้มีลักษณะทางกายภาพที่มีความเป็นอิสระ และสามารถยืดหยุ่นได้
โดย
ไม่จำเป็นต้องยึดติดตายตัวกับรูปทรงทางเรขาคนิตอย่างเขมร และหอยสังข์ยังเป็นอาวุธ
ของพระนารายณ์ที่คนไทยนับถือมากกว่าเทพองค์อื่น ทำให้ลักษณะผังเมืองแบบหอยสังข์
นี้เข้ากันได้ดีกับอุปนิสัยคนไทย เพราะให้ความหมายของภูมิจักรวาลอย่างง่ายๆและ
มี
ความ เป็นอิสระทางด้านกายภาพ